การที่เราไปถามครูบาอาจารย์ว่า นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพราะนั่นหมายถึงการถามว่า นิพพานเป็นสิ่งที่เป็นอัตตา หรือนิพพานเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา
เมื่อมีคำว่า "สิ่ง" แม้จะเป็นสภาวธรรมก็ตาม นั่นหมายถึงมีการปรุงแต่ง ย่อมต้องไม่ใช่นิพพานแน่
เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่านิพพานเป็นอะไร? นิพพานก็ย่อมต้องเป็นนิพพาน หรืออาจจะตอบว่า นิพพานเป็นนิโรธ นิพพานเป็นวิมุติ นิพพานเป็นความพ้นทุกข์ นิพพานเป็นความหลุดพ้น แบบนี้ได้ ไม่ผิดกติกา
ประโยคที่บอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" ไม่ได้หมายถึงนิพพานเป็นสิ่งของหรือสภาวธรรมอะไรสักอย่างที่เรียกว่าอนัตตา แต่หมายถึง นิพพานมีลักษณะเป็นอนัตตา (เช่น ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นตัวตน ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ ฯลฯ)
ก็ฝากไว้พิจารณาเวลาที่ฟังคำอธิบายจากครูบาอาจารย์นะครับ
การที่ครูบาอาจารย์บอกเราว่า นิพพานก็คือนิพพาน เหมือนกับท่านบอกเราว่า นิพพานก็คือนิโรธ นิพพานก็คือพ้นทุกข์ นั่นเอง จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ถ้าเราไปเข้าใจผิด คิดว่าท่านตั้งใจจะบอกว่านิพพานไม่ได้มีลักษณะที่เป็นอนัตตา เดี๋ยวจะคิดไปอย่างอื่น เช่น นิพพานน่าจะควบคุมได้ บังคับบัญชาได้ สั่งได้ เป็นเจ้าของได้ หรือมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่แตกต่างจากอนัตตา
ผมอยากให้เราคิดอย่างเดียวง่ายๆ ว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นอนัตตาเลย และความทุกข์เกิดจากการไปยึดถือเอาสิ่งต่างๆ ที่เป็นอนัตตา เกิดเป็นอัตตาขึ้น เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น
ดังนั้น ถ้าเราไม่ยึดถือ (ที่เรียกว่าอุปาทาน) คือทำให้อุปาทานไม่เกิดขึ้นได้ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้น
(คำว่า "อุปาทาน" คนละความหมายกับ อุปทาน ในภาษาไทย ที่แปลว่า คิดไปเองนะครับ)
ต่อไปใครจะถามว่านิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา ขอให้ถามว่า "นิพพานมีลักษณะเป็นอัตตา หรือมีลักษณะเป็นอนัตตา"
เมื่อมีคำว่า "สิ่ง" แม้จะเป็นสภาวธรรมก็ตาม นั่นหมายถึงมีการปรุงแต่ง ย่อมต้องไม่ใช่นิพพานแน่
เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่านิพพานเป็นอะไร? นิพพานก็ย่อมต้องเป็นนิพพาน หรืออาจจะตอบว่า นิพพานเป็นนิโรธ นิพพานเป็นวิมุติ นิพพานเป็นความพ้นทุกข์ นิพพานเป็นความหลุดพ้น แบบนี้ได้ ไม่ผิดกติกา
ประโยคที่บอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" ไม่ได้หมายถึงนิพพานเป็นสิ่งของหรือสภาวธรรมอะไรสักอย่างที่เรียกว่าอนัตตา แต่หมายถึง นิพพานมีลักษณะเป็นอนัตตา (เช่น ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นตัวตน ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ ฯลฯ)
ก็ฝากไว้พิจารณาเวลาที่ฟังคำอธิบายจากครูบาอาจารย์นะครับ
การที่ครูบาอาจารย์บอกเราว่า นิพพานก็คือนิพพาน เหมือนกับท่านบอกเราว่า นิพพานก็คือนิโรธ นิพพานก็คือพ้นทุกข์ นั่นเอง จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
ถ้าเราไปเข้าใจผิด คิดว่าท่านตั้งใจจะบอกว่านิพพานไม่ได้มีลักษณะที่เป็นอนัตตา เดี๋ยวจะคิดไปอย่างอื่น เช่น นิพพานน่าจะควบคุมได้ บังคับบัญชาได้ สั่งได้ เป็นเจ้าของได้ หรือมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่แตกต่างจากอนัตตา
ผมอยากให้เราคิดอย่างเดียวง่ายๆ ว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นอนัตตาเลย และความทุกข์เกิดจากการไปยึดถือเอาสิ่งต่างๆ ที่เป็นอนัตตา เกิดเป็นอัตตาขึ้น เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น
ดังนั้น ถ้าเราไม่ยึดถือ (ที่เรียกว่าอุปาทาน) คือทำให้อุปาทานไม่เกิดขึ้นได้ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้น
(คำว่า "อุปาทาน" คนละความหมายกับ อุปทาน ในภาษาไทย ที่แปลว่า คิดไปเองนะครับ)