ก่อนอื่น ผมขออนุญาตเอ่ยถึงสมาชิกท่านหนึ่ง คือคุณทำหมู นะครับ ซึ่งได้แสดงความเห็นหนึ่งและมีส่วนทำให้ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระทู้นี้ก็ตาม อีกทั้งไม่ได้หมายความว่าคุณทำหมูจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกระทู้นี้นะครับ ซึ่งความเห็นของคุณทำหมูอยู่ใน Spoil ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้"...จะว่าไปแล้ว ตัวผมเอง สนใจพระพุทธศาสนามาแต่เด็ก ....เน้นว่า ตอนเด็ก เป็นความเห็นผิด
ตอนเด็กๆ มีความเชื่อว่า อัตตา คือ มีตัวตน เช่น คน สัตว์ สิ่งของ
และ อนัตตา คือ ไม่มีตัวตน เช่น สภาพว่าง อวกาศ
รูปธรรม คือ สิ่งใดๆที่รู้ได้ สัมผัสได้ ผมจึงคิดเทียบกับวิทย์ ว่าเป็น สสาร
นามธรรม คือ สิ่งใดที่จับต้องไม่ได้ ผมจึงคิดเทียบกับวิทย์ ว่าเป็น พลังงาน
ซึ่งทั้งหมดเป็นความเห็นผิด และในความเป็นจริงผมก็เรียน มาจากพระอาจารย์เช่นนั้นจริงๆ
ต่อมาผมเริ่มที่จะศึกษา อ่าน และ ทำความเข้าใจเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เป็นลำดับ
หลายปีผ่านไป ผมถึงได้รู้ว่า พระอาจารย์ท่านสอนผมไม่ผิด แต่ ความเข้าใจผิดเป็นเรื่องของผมเอง..."
https://ppantip.com/topic/37311174/comment26
ซึ่งจากความเห็นดังกล่าวนี้เอง ทำให้ผมเกิดข้อสังเกตเรื่องหนึ่งขึ้นมา นั่นคือคำว่า กฏไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะ 3 ประการ ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ จะต้องเป็น "คำวิเศษณ์" เท่านั้น (หรือที่เรียกว่า ลักษณวิเศษณ์)
(คำวิเศษณ์ เป็นคำที่ใช้ "ขยายคำนาม" หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Adjective หรือคำคุณศัพท์)
ซึ่งคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต่างก็เป็นคำวิเศษณ์ทั้งหมด
อนิจจัง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่เที่ยง เช่น สังขารไม่เที่ยง
ทุกข์ หรือ ทุกขัง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทนสภาพเดิมนานๆ ไม่ได้ เช่น สังขารเป็นทุกข์ คือ ทนสภาพเดิมนานๆ ไม่ได้
อนัตตา เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ควบคุมไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ เช่น สังขารควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้
ในขณะที่คำว่า "อัตตา" ที่เป็นคำวิเศษณ์ ไม่มี มีแต่ที่เป็นคำนาม หมายถึง ตัวตน
ดังนั้น เราจะบอกว่า นิพพาน มีคุณลักษณะ 3 ประการ โดยเอาคำวิเศษณ์ 2 อย่าง คือ นิจจัง สุขขัง และเอาคำนาม 1 อย่าง คือ อัตตา แบบนี้ไม่ได้
เหมือนเราบอกว่า สิ่งของชิ้นนี้ มีคุณลักษณะ 3 ประการ แล้วเอาคำนามมาใช้ เช่น โต๊ะ เตียง เก้าอี้ แบบนี้ไม่ได้
แต่ถ้าจะฝืนเลี่ยงเป็น มีความเป็นอัตตา แบบนี้ก็อาจจะได้ แต่นั่นต้องหมายถึง เปลี่ยนอนัตตาให้เป็น มีความเป็นอนัตตา โดยเอาความหมายของอนัตตาที่เป็นคำนามมาใช้แบบเดียวกันด้วย ซึ่งความหมายก็จะเปลี่ยนไป
ดังนั้น คำว่า "นิจจัง สุขขัง อัตตา" นอกจากจะผิดกฏธรรมชาติ ผิดหลักธรรมะ ยังผิดหลักภาษาไทยอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคงจะมีคนที่พยายามจะหาข้ออ้าง เช่น นิพพานเป็นสิ่งที่อยู่เหนือสมมุติ ดังนั้น เราจะใช้อย่างไรก็ได้ ไม่ขึ้นอยู่กับหลักภาษาใดๆ คิดขึ้นใหม่เองก็ได้ แบบนี้คงไม่ได้นะครับ
แต่เอาเป็นว่าผมจะให้ทางออกไว้นะครับ เช่น ถ้าอยากจะบอกว่า นิพพาน ไม่ใช่อนัตตา ก็ต้องใช้คำว่า "ไม่ใช่อนัตตา" แทนที่ไปเลย ซึ่งนั่นก็หมายความว่า นิพพานสามารถสั่งได้ ควบคุมบังคับบัญชาได้ สั่งให้นิพพานก็ได้ ไม่นิพพานก็ได้
สรุปว่า ต่อไปนี้ หากใครคิดจะใช้ นิจจัง สุขขัง อัตตา ก็ขอให้นึกถึงเรื่องนี้ไว้นะครับ
(อ้อ...ขอเสริมอีกนิด คำว่า "ทุกข์" ในอริยสัจสี่ เป็นคำนามนะครับ เช่นเดียวกับอริยสัจข้ออื่นๆ คือ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นคำนามทั้งหมดเช่นกัน)
นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงไม่มี นิจจัง สุขขัง อัตตา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซึ่งจากความเห็นดังกล่าวนี้เอง ทำให้ผมเกิดข้อสังเกตเรื่องหนึ่งขึ้นมา นั่นคือคำว่า กฏไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะ 3 ประการ ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ จะต้องเป็น "คำวิเศษณ์" เท่านั้น (หรือที่เรียกว่า ลักษณวิเศษณ์)
(คำวิเศษณ์ เป็นคำที่ใช้ "ขยายคำนาม" หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Adjective หรือคำคุณศัพท์)
ซึ่งคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต่างก็เป็นคำวิเศษณ์ทั้งหมด
อนิจจัง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่เที่ยง เช่น สังขารไม่เที่ยง
ทุกข์ หรือ ทุกขัง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทนสภาพเดิมนานๆ ไม่ได้ เช่น สังขารเป็นทุกข์ คือ ทนสภาพเดิมนานๆ ไม่ได้
อนัตตา เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ควบคุมไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ เช่น สังขารควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้
ในขณะที่คำว่า "อัตตา" ที่เป็นคำวิเศษณ์ ไม่มี มีแต่ที่เป็นคำนาม หมายถึง ตัวตน
ดังนั้น เราจะบอกว่า นิพพาน มีคุณลักษณะ 3 ประการ โดยเอาคำวิเศษณ์ 2 อย่าง คือ นิจจัง สุขขัง และเอาคำนาม 1 อย่าง คือ อัตตา แบบนี้ไม่ได้
เหมือนเราบอกว่า สิ่งของชิ้นนี้ มีคุณลักษณะ 3 ประการ แล้วเอาคำนามมาใช้ เช่น โต๊ะ เตียง เก้าอี้ แบบนี้ไม่ได้
แต่ถ้าจะฝืนเลี่ยงเป็น มีความเป็นอัตตา แบบนี้ก็อาจจะได้ แต่นั่นต้องหมายถึง เปลี่ยนอนัตตาให้เป็น มีความเป็นอนัตตา โดยเอาความหมายของอนัตตาที่เป็นคำนามมาใช้แบบเดียวกันด้วย ซึ่งความหมายก็จะเปลี่ยนไป
ดังนั้น คำว่า "นิจจัง สุขขัง อัตตา" นอกจากจะผิดกฏธรรมชาติ ผิดหลักธรรมะ ยังผิดหลักภาษาไทยอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าคงจะมีคนที่พยายามจะหาข้ออ้าง เช่น นิพพานเป็นสิ่งที่อยู่เหนือสมมุติ ดังนั้น เราจะใช้อย่างไรก็ได้ ไม่ขึ้นอยู่กับหลักภาษาใดๆ คิดขึ้นใหม่เองก็ได้ แบบนี้คงไม่ได้นะครับ
แต่เอาเป็นว่าผมจะให้ทางออกไว้นะครับ เช่น ถ้าอยากจะบอกว่า นิพพาน ไม่ใช่อนัตตา ก็ต้องใช้คำว่า "ไม่ใช่อนัตตา" แทนที่ไปเลย ซึ่งนั่นก็หมายความว่า นิพพานสามารถสั่งได้ ควบคุมบังคับบัญชาได้ สั่งให้นิพพานก็ได้ ไม่นิพพานก็ได้
สรุปว่า ต่อไปนี้ หากใครคิดจะใช้ นิจจัง สุขขัง อัตตา ก็ขอให้นึกถึงเรื่องนี้ไว้นะครับ
(อ้อ...ขอเสริมอีกนิด คำว่า "ทุกข์" ในอริยสัจสี่ เป็นคำนามนะครับ เช่นเดียวกับอริยสัจข้ออื่นๆ คือ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นคำนามทั้งหมดเช่นกัน)