ประสบการณ์ วิธีดับสัญญาและเวทนา ในนิโรธสมาบัติ
การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญา และเวทนา
คำว่า "ดับ" คืออะไร ความดับก็คือไม่ไปยึดถือ สมมติว่าสิ่งนี้อยู่ในสมองเรา เราเห็นแล้ว เราดับ คือ ไม่อยู่ในสมองเรา เราไม่ไปยึดเขา เขาก็จะไม่ไปอยู่ในสมองของเรา นี่แหละการดับสัญญาตรงนั้น สัญญาณตรงนั้น
มีอยู่ แต่เราไม่ไปยึดไว้ เราก็ปล่อยไว้อยู่ในธรรม สิ่งต่างๆ มาในสมองเรา เราไม่ไปยึด สิ่งนั้นก็อยู่ในสมองเราไม่ได้ มันก็ดับในสมองเรา
แล้วที่เราไปนั่งสมาธิเข้านิโรธสมาบัติเพื่อมาดับตรงนี้นี่เอง เพื่อมาดับสิ่งต่างๆ เพื่อให้เป็นไทขึ้นมา เพื่อไม่ให้เหนี่ยวรั้งจากอารมณ์ต่างๆ เพื่อเป็นอิสระในการเดินทาง เหมือนกับว่าเราขนสัมภาระเยอะแยะแล้วเราจะเดินไปไหวมั้ย เราจะผ่านรูเข็ม ด้ายจะมีปมไม่ได้
เข้าไปในนิโรธสมาบัติแล้ว จำเป็นต้องออกมาด้วยเหรอ เราเข้าไปเพื่อไปเรียนรู้ ไม่ออกมาเราก็จมปลักในนั้น
อย่างเช่น พระพุทธเจ้า เข้านิโรธสมาบัติ ถ้าท่านไม่ออกมา ท่านก็จะจมปลักอยู่ในนั้น ท่านก็ต้องอดข้าวต่อไป
แล้วทำไมเข้านิโรธสมาบัติ ต้องเข้าไป ๗ วัน ถึงจะออกมา ก็ ๗ วัน เข้าไปก็เยอะแล้ว เกินไปที่จะรู้แล้ว บางคนเข้าไปแค่วันเดียวก็รู้แล้ว เพราะว่าเขาพร้อม เข้าไป ๑ ชั่วโมงก็ได้ เข้าไปแค่วินาทีเดียวก็ได้ แค่หนึ่งลมหายใจก็ได้ อยู่ที่เราพร้อมหรือไม่พร้อม อยู่ที่บุญบารมีของเราก็ได้ หรือตัวบารมีของเราก็ได้ หรือว่าตัวตบะบารมีของเราก็ได้ เพียงแค่เราพร้อม อีกนิดเดียวก็สัปปายะแล้วนี่ แค่หนึ่งขณะหายใจจะแค่ไหน แค่หายใจเข้าไป หายใจออกมาก็สำเร็จแล้ว บางคนรู้แล้วแต่อยากจะอยู่ต่อก็มี แล้วที่เขาอยู่ต่อเพื่อพิสูจน์ว่าจะมีอะไรอีกมั้ย บางทีเรารู้แล้วกลัวจะไม่ครบใช่มั้ย แล้วเราอยู่ต่อแล้วจะมีอะไรอีก เพิ่มเติม หรือครบถ้วนมั้ย หรือสิ่งที่เรารู้ประจักษ์มานี่ จะแข็งแรงพอมั้ย พอหรือยัง
แม้ว่าเราได้แล้วเราจะมีความคิดเช่นนั้นหรือ? แน่นอน นี่คือคนรอบคอบ ไม่คิดมักง่าย พอคว้าได้ก็รีบเพ่นออกมา ออกมาแค่จุ๊ดจู๊ เป็นหนอนชาเขียวอยู่นี่แหละ ทุกวันนี้เราเพ่นมาเร็วไป เพราะยังต่อไม่เสร็จ
แล้วทำไมบางคนก็ต้องเข้าไปนิโรธสมาบัติบ่อยจัง ก็มีข้อสงสัยก็ต้องพิสูจน์ ก็เข้าใหม่แล้วนี่ เราจะคิดว่าทุกอย่างเรียบร้อยหมด อย่างนี้ไม่ใช่ ที่เราเข้าไปครั้งใหม่นี้เป็นข้อๆ ไม่ใช่ข้อเก่า ธรรมะเป็นข้อๆ ธรรมเป็นข้อๆ ธรรมเป็นภาวะๆ ก็ยังศึกษาไม่หมด ขนาดพระพุทธเจ้าต้องอาศัยกี่ร้อยชาติกว่าจะศึกษาหมด พอเรียนรู้ไม่หมดก็ต้องเข้าไปศึกษาให้หมด พิสูจน์ต่ออยู่นั้น เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ พิสูจน์อย่างหนึ่งแล้วก็ต้องไปพิสูจน์ต่อว่ามันจะเป็นยังไง มีผลข้างเคียงมั้ย ก็ค้นหาใหม่ว่าผลข้างเคียงจะแก้ไขใหม่ได้ยังไง เป็นเส้นทางแห่งการศึกษาโดยธรรม ต้องเป็นอย่างนี้
วิธีการเข้าสู่นิโรธสมาบัติ
ขั้นที่ ๑. เข้าไปพิสูจน์ ว่าอะไรเป็นอะไร ให้เรียนรู้สิ่งที่จริงแท้
ขั้นที่ ๒. ให้ละ คือ จริงแท้เป็นยังไง เราต้องสรุปจะเอายังไง หรือไม่เอาล่ะ
ขั้นที่ ๓. ปล่อย ไม่ให้ไปเหนี่ยวกัน ไม่ให้ไปยึดไว้ คือ เริ่มละ เริ่มวาง พอละถึงจุดหนึ่งก็เข้าสู่ขั้นที่ ๔
ขั้นที่ ๔-๕ คืนสู่ธรรม คือ ไม่ให้ยึดไว้ในจิต ในความคิดเรา ในจิตของเรา เราไม่ยึดไว้ นี่แหละเราถือว่าดับในจิต แต่ตัวนั้นไม่ได้ดับแต่ตัวนั้นอยู่ในธรรม คือ สรุปแน่ชัดล่ะ ไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นกับอันนี้ละ ก็จะเข้าสู่กระบวนการแยกปลดปล่อย พอเข้าสู่ขั้นที่ ๕ คือปล่อยออกมา คือ ไม่ยึดก็เป็นอิสระต่อกัน ต่อกันเพราะถือว่าข้างในดับ เพราะเราไม่คิดถึงเขาล่ะ ดับล่ะ
ทำไมข้อ ๔-๕ มารวมกัน เพราะเป็นขั้นตอน เช่น ขั้น ๔ คือ รู้จักว่าตัวนี้จะไม่ยึดถือแล้ว พอเรารู้แล้วว่าตรงนี้จะไม่ยึดถือเราจะเริ่มปล่อย ขั้นที่ ๕ ถึงจะดับ ไม่ให้ยึด ไม่เกี่ยวกันล่ะ เพียงแต่ข้อ ๔ พึงรู้ รู้แล้วกำลังปฏิบัติ ข้อที่ ๕ ไม่เกี่ยวล่ะ ถึงจะดับได้ หลุดได้ เป็นจังหวะขั้นตอน เห็นเป็นภาพต่อเนื่องมั้ย? เป็นภาพต่อเนื่องเราถึงเอาข้อ๔-๕ มารวมกัน จะต่อเนื่องกัน ถ้า ๕ ไม่มี ๔ เกิดไม่ได้ ถ้า ๔ ไม่มี ๕ จะไม่สำเร็จ
นิโรธสมาบัตินี้สำคัญมาก คนมักจะละเลย ไม่เข้าใจ พอเราฝึก เข้าสู่สมาบัติถึงจะปล่อยวางได้
คนเราจะหลุดจากอะไรต้องเข้าสู่สมาบัติตรงนี้ เราก็จะหลุดโดยธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องฝืนชะตา แต่ใหม่ๆ เราต้องฝืน แต่ถ้าเรามาถึงตรงนี้เราไม่ต้องฝืน ชิวๆ เลย
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ประสบการณ์ วิธีดับสัญญาและเวทนา ในนิโรธสมาบัติ
การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญา และเวทนา
คำว่า "ดับ" คืออะไร ความดับก็คือไม่ไปยึดถือ สมมติว่าสิ่งนี้อยู่ในสมองเรา เราเห็นแล้ว เราดับ คือ ไม่อยู่ในสมองเรา เราไม่ไปยึดเขา เขาก็จะไม่ไปอยู่ในสมองของเรา นี่แหละการดับสัญญาตรงนั้น สัญญาณตรงนั้น
มีอยู่ แต่เราไม่ไปยึดไว้ เราก็ปล่อยไว้อยู่ในธรรม สิ่งต่างๆ มาในสมองเรา เราไม่ไปยึด สิ่งนั้นก็อยู่ในสมองเราไม่ได้ มันก็ดับในสมองเรา
แล้วที่เราไปนั่งสมาธิเข้านิโรธสมาบัติเพื่อมาดับตรงนี้นี่เอง เพื่อมาดับสิ่งต่างๆ เพื่อให้เป็นไทขึ้นมา เพื่อไม่ให้เหนี่ยวรั้งจากอารมณ์ต่างๆ เพื่อเป็นอิสระในการเดินทาง เหมือนกับว่าเราขนสัมภาระเยอะแยะแล้วเราจะเดินไปไหวมั้ย เราจะผ่านรูเข็ม ด้ายจะมีปมไม่ได้
เข้าไปในนิโรธสมาบัติแล้ว จำเป็นต้องออกมาด้วยเหรอ เราเข้าไปเพื่อไปเรียนรู้ ไม่ออกมาเราก็จมปลักในนั้น
อย่างเช่น พระพุทธเจ้า เข้านิโรธสมาบัติ ถ้าท่านไม่ออกมา ท่านก็จะจมปลักอยู่ในนั้น ท่านก็ต้องอดข้าวต่อไป
แล้วทำไมเข้านิโรธสมาบัติ ต้องเข้าไป ๗ วัน ถึงจะออกมา ก็ ๗ วัน เข้าไปก็เยอะแล้ว เกินไปที่จะรู้แล้ว บางคนเข้าไปแค่วันเดียวก็รู้แล้ว เพราะว่าเขาพร้อม เข้าไป ๑ ชั่วโมงก็ได้ เข้าไปแค่วินาทีเดียวก็ได้ แค่หนึ่งลมหายใจก็ได้ อยู่ที่เราพร้อมหรือไม่พร้อม อยู่ที่บุญบารมีของเราก็ได้ หรือตัวบารมีของเราก็ได้ หรือว่าตัวตบะบารมีของเราก็ได้ เพียงแค่เราพร้อม อีกนิดเดียวก็สัปปายะแล้วนี่ แค่หนึ่งขณะหายใจจะแค่ไหน แค่หายใจเข้าไป หายใจออกมาก็สำเร็จแล้ว บางคนรู้แล้วแต่อยากจะอยู่ต่อก็มี แล้วที่เขาอยู่ต่อเพื่อพิสูจน์ว่าจะมีอะไรอีกมั้ย บางทีเรารู้แล้วกลัวจะไม่ครบใช่มั้ย แล้วเราอยู่ต่อแล้วจะมีอะไรอีก เพิ่มเติม หรือครบถ้วนมั้ย หรือสิ่งที่เรารู้ประจักษ์มานี่ จะแข็งแรงพอมั้ย พอหรือยัง
แม้ว่าเราได้แล้วเราจะมีความคิดเช่นนั้นหรือ? แน่นอน นี่คือคนรอบคอบ ไม่คิดมักง่าย พอคว้าได้ก็รีบเพ่นออกมา ออกมาแค่จุ๊ดจู๊ เป็นหนอนชาเขียวอยู่นี่แหละ ทุกวันนี้เราเพ่นมาเร็วไป เพราะยังต่อไม่เสร็จ
แล้วทำไมบางคนก็ต้องเข้าไปนิโรธสมาบัติบ่อยจัง ก็มีข้อสงสัยก็ต้องพิสูจน์ ก็เข้าใหม่แล้วนี่ เราจะคิดว่าทุกอย่างเรียบร้อยหมด อย่างนี้ไม่ใช่ ที่เราเข้าไปครั้งใหม่นี้เป็นข้อๆ ไม่ใช่ข้อเก่า ธรรมะเป็นข้อๆ ธรรมเป็นข้อๆ ธรรมเป็นภาวะๆ ก็ยังศึกษาไม่หมด ขนาดพระพุทธเจ้าต้องอาศัยกี่ร้อยชาติกว่าจะศึกษาหมด พอเรียนรู้ไม่หมดก็ต้องเข้าไปศึกษาให้หมด พิสูจน์ต่ออยู่นั้น เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ พิสูจน์อย่างหนึ่งแล้วก็ต้องไปพิสูจน์ต่อว่ามันจะเป็นยังไง มีผลข้างเคียงมั้ย ก็ค้นหาใหม่ว่าผลข้างเคียงจะแก้ไขใหม่ได้ยังไง เป็นเส้นทางแห่งการศึกษาโดยธรรม ต้องเป็นอย่างนี้
วิธีการเข้าสู่นิโรธสมาบัติ
ขั้นที่ ๑. เข้าไปพิสูจน์ ว่าอะไรเป็นอะไร ให้เรียนรู้สิ่งที่จริงแท้
ขั้นที่ ๒. ให้ละ คือ จริงแท้เป็นยังไง เราต้องสรุปจะเอายังไง หรือไม่เอาล่ะ
ขั้นที่ ๓. ปล่อย ไม่ให้ไปเหนี่ยวกัน ไม่ให้ไปยึดไว้ คือ เริ่มละ เริ่มวาง พอละถึงจุดหนึ่งก็เข้าสู่ขั้นที่ ๔
ขั้นที่ ๔-๕ คืนสู่ธรรม คือ ไม่ให้ยึดไว้ในจิต ในความคิดเรา ในจิตของเรา เราไม่ยึดไว้ นี่แหละเราถือว่าดับในจิต แต่ตัวนั้นไม่ได้ดับแต่ตัวนั้นอยู่ในธรรม คือ สรุปแน่ชัดล่ะ ไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นกับอันนี้ละ ก็จะเข้าสู่กระบวนการแยกปลดปล่อย พอเข้าสู่ขั้นที่ ๕ คือปล่อยออกมา คือ ไม่ยึดก็เป็นอิสระต่อกัน ต่อกันเพราะถือว่าข้างในดับ เพราะเราไม่คิดถึงเขาล่ะ ดับล่ะ
ทำไมข้อ ๔-๕ มารวมกัน เพราะเป็นขั้นตอน เช่น ขั้น ๔ คือ รู้จักว่าตัวนี้จะไม่ยึดถือแล้ว พอเรารู้แล้วว่าตรงนี้จะไม่ยึดถือเราจะเริ่มปล่อย ขั้นที่ ๕ ถึงจะดับ ไม่ให้ยึด ไม่เกี่ยวกันล่ะ เพียงแต่ข้อ ๔ พึงรู้ รู้แล้วกำลังปฏิบัติ ข้อที่ ๕ ไม่เกี่ยวล่ะ ถึงจะดับได้ หลุดได้ เป็นจังหวะขั้นตอน เห็นเป็นภาพต่อเนื่องมั้ย? เป็นภาพต่อเนื่องเราถึงเอาข้อ๔-๕ มารวมกัน จะต่อเนื่องกัน ถ้า ๕ ไม่มี ๔ เกิดไม่ได้ ถ้า ๔ ไม่มี ๕ จะไม่สำเร็จ
นิโรธสมาบัตินี้สำคัญมาก คนมักจะละเลย ไม่เข้าใจ พอเราฝึก เข้าสู่สมาบัติถึงจะปล่อยวางได้
คนเราจะหลุดจากอะไรต้องเข้าสู่สมาบัติตรงนี้ เราก็จะหลุดโดยธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องฝืนชะตา แต่ใหม่ๆ เราต้องฝืน แต่ถ้าเรามาถึงตรงนี้เราไม่ต้องฝืน ชิวๆ เลย
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต