ปฐมจิต (จิตดั้งเดิม)
เพราะ จิต มีความยึดติด ความยึดถือ ความข้องเกี่ยว.. เกิดขึ้นด้วยความสำคัญว่าเป็นตัวตน จากอาการของจิต.. มโน.. วิญญาณ ที่ปรากฏเกิดขึ้น.. และมีความดับไปในทุกขณะ..
ในภาวะความเกิดดับที่มีความสืบต่อ.. เพราะความเป็นสัตว์ (สัตตาโน) ในวิถีจิตนั้นๆ.. ที่หลงเข้าไปยึดถือธรรมชาติทั้ง ๕ ว่าเป็นตัวตน ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงเกิดภาวะส่งสืบต่อในความเกิด-ดับ
ที่ไม่ยอมให้เกิดความดับสูญสิ้นไป ด้วย ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา.. ที่ประกอบอยู่ในวิถีจิตนั้น จึงพยายามก่อการปรุงแต่งให้มีการเกิดปรากฏ มีความเป็นถูกกระทำ.. จึงเรียกสภาวะดังกล่าวว่า สังขตธรรม..
จิต มโน วิญญาณ ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
จริงๆ แล้ว หากไม่ต้องการคิดให้มากความ ก็พึงสรุปได้เลยว่า จิต มโน วิญญาณ คือสิ่งเดียวกัน เรื่องเดียวกัน เป็น นามธรรม แสดงความเป็น ธาตุรู้ ที่เกาะเกี่ยวกับ รูปธรรม คือ ธาตุที่ถูกรู้ ที่จะแสดงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ดังพระพุทธภาษิตที่ว่า..
“.. มโนปุพฺพํคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา..”
ที่แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีใจ (มโน) เป็นประธาน.. มีใจ (มโน) เป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ (มโน)
แต่เพื่อความเข้าใจให้ถูกลักษณะความหมายของคำ.. จึงควรเข้าใจในการใช้คำทั้งสามที่ต่างลักษณะธรรมกัน แม้เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น วิญญาณ จะใช้ใน ๒ ลักษณะความหมาย คือ ๑. วิญญาณ คือ ธาตุรู้เดิมที่ประภัสสร ที่เรียก วิญญาณธาตุ จนเป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่ง ไม่มีอะไรสร้างขึ้น จึงไม่ดับสูญ และ ๒.วิญญาณ ที่ถูกปรุงแต่งโดยสังขาร หรือถูกอวิชชาปรุงแต่ง เป็นความรู้สึกทางอายตนะ วิญญาณนี้เมื่อดับลงจะเกิดวิญญาณดวงใหญ่.. และเปลี่ยนชื่อไปตามอายตนะนั้นๆ.. หรือวิญญาณที่รู้แจ้งในอารมณ์จากธรรมชาติทั้ง ๕.. คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.. ที่เรียกว่า วิญญาณขันธ์ วิญญาณเหล่านี้ดับสิ้นไป เมื่อกิเลสสิ้นไป.. ดังที่ปรากฏในเรื่อง พระโคธิกะ ที่ไม่ประมาท พากเพียรภาวนา บรรลุ เจโตวิมุตติ ชนิด สามยิกา (ชั่วคราว) แล้วก็เสื่อมไปเป็นอย่างนั้นถึง ๖ ครั้ง
ในครั้งที่ ๗ ท่านคิดว่าจะเอาศาสตรามาให้ได้ หมายความว่า จะเจริญวิปัสสนาให้บังเกิดญาณถึงขั้นอรหัตมรรคญาณให้ได้ จะไม่ยอมให้ญาณไปเสียก่อน
สมัยนั้น พระโคธิกะนำศาสตรามาสำเร็จจริงๆ (บรรลุอรหัตผล) แล้ว
แต่พญามารไม่เข้าใจในความหมายนี้ คิดว่า พระโคธิกะคิดจะฆ่าตัวตายแบบปุถุชนทั่วไป จึงไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลเรื่องดังกล่าว เพื่อขอให้พระองค์ทรงห้ามเสีย โดยกล่าวว่า.. “สาวกของพระองค์ผู้ยินดีในพระศาสนา ยังไม่บรรลุผลสูงสุด กำลังศึกษา จะตายเสียอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า!”
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า..
“ปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมทำอย่างนั้นแล ย่อมไม่จำนงชีวิต
โคธิกะ ถอนตัณหา ขึ้นพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว..”
ขณะนั้น มารผู้ลามก คิดว่า ปฏิสนธิวิญญาณของพระโคธิกะ ตั้งอยู่แล้วในที่ใดหนอ.. จึงพยายามแสวงหาวิญญาณของพระเถระในทิศทั้งปวง
พระพุทธองค์ทรงแสดงความที่มารนั้นพยายามแสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะว่าตั้งอยู่ที่ไหน เมื่อละจากสังขารนี้ไปแล้ว โดยทรงมีพระดำรัสแด่ภิกษุทั้งหลายในเรื่องดังกล่าวว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อโคธิกะ มี วิญญาณไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว!!”
เรื่องวิญญาณหรือธาตุรู้ในความเป็น ปฐมวิญญาณ ซึ่งเป็นธาตุรู้บริสุทธิ์ที่ไม่ดับสูญ กับ วิถีวิญญาณ คือ ธาตุรู้ทางทวารทั้งหก นับเป็นคนละเรื่องกัน.. จึงควรศึกษาให้ละเอียดจากพระธรรมคำสั่งสอน
ต่อมาเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ ว่า “จิตฺตํ” แทน “ปฐมวิญญาณ” เพื่อให้มีความหมายตายตัวเพียงประการเดียว
แต่ก็ยังมีการนำคำว่า “จิต” ไปใช้ในความหมายของ วิถีวิญญาณ จึงทำให้คำว่า “จิต” แปรไป
จึงมีผู้คิดบัญญัติคำว่า “จิตดั้งเดิม” ขึ้นมาใช้แทน ปฐมวิญญาณ และ ปฐมวิญญาณ ที่พระอรหันตสาวกการกสังคายนาไขความว่า วิญญาณ.. ที่หมายถึง ปฐมวิญญาณ นั้น ได้แก่ ปุริมวิญญาณซึ่งคำทั้งสองหมายถึง วิญญาณดั้งเดิม ซึ่งเป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่งในหมู่ธาตุแท้ทั้ง ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ (ช่องว่าง) และวิญญาณ (ธาตุรู้) ซึ่งธาตุแท้ทั้ง ๖ นั้น ไม่มีอะไรสร้างขึ้น จึงเป็นสิ่งไม่ดับสูญ.. ที่นิยมเรียกในปัจจุบันว่า “จิตดั้งเดิม”
ปฐมวิญญาณ (จิตดั้งเดิม) ในตัวคนเราหรือสัตว์ทั้งหลาย เป็นธาตุรู้ที่ไม่รู้จักดับสูญ แต่ เมื่อเกิดอวิชชาและภวตัณหามาประยุกต์แล้ว จึงเป็นสัตว์ผู้ติดข้องในภพ.. สมดังพุทธภาษิตท้ายพระสูตรทั้งหลายที่กล่าวว่า.. “เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความติด เพราะคลายความติดจิตจึงหลุดพ้น.. เมื่อจิตหลุดพ้นก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว”.. จิตดังกล่าวที่หลุดพ้น คือ จิตดั้งเดิม (วิญญาณธาตุ) นั่นเอง...
สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า.. จิตบรรลุถึงพระบรมนิพพาน ที่หมายถึง “อปฺปติฎฺฐํ” แปลว่า จิตไม่ประดิษฐานในภพ คือ ไม่จากอยู่ ไม่หยุดอยู่ ในภพใดๆ อันเป็นสถานสถิตของวิญญาณของสัตว์นั้นๆ ๙ สถาน.. หมายถึง ออกจากโลกได้แล้ว ไม่อยู่ในโลกใดโลกหนึ่ง พญามารแสวงหาวิญญาณของพระอรหันต์ในโลก จึงหาไม่พบ.. สภาพนอกโลกนี้ เรียกว่า โลกุตระ.. ได้แก่ จิตบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส กรรม วิบาก มาปรุงแต่งอีกต่อไป มีแต่ธาตุรู้บริสุทธิ์ล้วนๆ เท่านั้น.. พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงว่า มีสถานที่ใดเป็นที่ตั้งแห่งจิตที่บริสุทธิ์.. แต่ทรงรับรองว่า ไม่ดับสูญ มีสันติสุข ไม่มีการเกิด-การดับให้วุ่นวายอีกต่อไป ตลอดกาลนิรันดร..
จึงควรเข้าใจในลักษณะธรรมของ มโน วิญญาณ จิต ให้ชัดเจน.. เพื่อนำไปสู่การศึกษาตามความหมายของจิต ที่ว่า เป็นธรรมชาติหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์.. จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้คืออารมณ์
จิตเป็นธรรมชาติหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตจึงต้องมีอารมณ์ เพื่อรับอารมณ์จึงจะรู้.. และจำ แล้วคิดนึกต่อไป..
ดังพระภาษิตบาลีที่ว่า..
จินฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถฯ
แปลว่า.. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า จิต..
มีอรรถว่า.. ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ คือ จิต
จึงขอสรุปอีกครั้งว่า
มโน คือ ธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์
จิต คือ ธรรมชาติที่คิดนึก
วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งในอารมณ์นั้น
เมื่อเข้าใจเช่นนี้.. ก็จักได้ปลงใจ วางใจ สงบใจ.. ในการนึก คิด ปรุงแต่ง หรือรับ จำ คิด รู้ ว่า ล้วนเป็นเรื่องของจิตที่ไร้อัตตาตัวตน.. อันไม่ควรเข้าไปยึดถือ.. จนเกิดอาการข้องติด ยึดมั่นในสิ่งนั้น “จนผูกความรู้ไว้กับความคิด.. ละการรู้ในความเป็น..” ที่นำไปสู่มิจฉาทิฏฐิตลอดกาล.. อันเป็นภัยอย่างยิ่งของ สัตว์โลก
ปฐมจิต (จิตดั้งเดิม)
เพราะ จิต มีความยึดติด ความยึดถือ ความข้องเกี่ยว.. เกิดขึ้นด้วยความสำคัญว่าเป็นตัวตน จากอาการของจิต.. มโน.. วิญญาณ ที่ปรากฏเกิดขึ้น.. และมีความดับไปในทุกขณะ..
ในภาวะความเกิดดับที่มีความสืบต่อ.. เพราะความเป็นสัตว์ (สัตตาโน) ในวิถีจิตนั้นๆ.. ที่หลงเข้าไปยึดถือธรรมชาติทั้ง ๕ ว่าเป็นตัวตน ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงเกิดภาวะส่งสืบต่อในความเกิด-ดับ
ที่ไม่ยอมให้เกิดความดับสูญสิ้นไป ด้วย ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา.. ที่ประกอบอยู่ในวิถีจิตนั้น จึงพยายามก่อการปรุงแต่งให้มีการเกิดปรากฏ มีความเป็นถูกกระทำ.. จึงเรียกสภาวะดังกล่าวว่า สังขตธรรม..
จิต มโน วิญญาณ ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
จริงๆ แล้ว หากไม่ต้องการคิดให้มากความ ก็พึงสรุปได้เลยว่า จิต มโน วิญญาณ คือสิ่งเดียวกัน เรื่องเดียวกัน เป็น นามธรรม แสดงความเป็น ธาตุรู้ ที่เกาะเกี่ยวกับ รูปธรรม คือ ธาตุที่ถูกรู้ ที่จะแสดงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ดังพระพุทธภาษิตที่ว่า..
“.. มโนปุพฺพํคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา..”
ที่แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีใจ (มโน) เป็นประธาน.. มีใจ (มโน) เป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ (มโน)
แต่เพื่อความเข้าใจให้ถูกลักษณะความหมายของคำ.. จึงควรเข้าใจในการใช้คำทั้งสามที่ต่างลักษณะธรรมกัน แม้เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น วิญญาณ จะใช้ใน ๒ ลักษณะความหมาย คือ ๑. วิญญาณ คือ ธาตุรู้เดิมที่ประภัสสร ที่เรียก วิญญาณธาตุ จนเป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่ง ไม่มีอะไรสร้างขึ้น จึงไม่ดับสูญ และ ๒.วิญญาณ ที่ถูกปรุงแต่งโดยสังขาร หรือถูกอวิชชาปรุงแต่ง เป็นความรู้สึกทางอายตนะ วิญญาณนี้เมื่อดับลงจะเกิดวิญญาณดวงใหญ่.. และเปลี่ยนชื่อไปตามอายตนะนั้นๆ.. หรือวิญญาณที่รู้แจ้งในอารมณ์จากธรรมชาติทั้ง ๕.. คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.. ที่เรียกว่า วิญญาณขันธ์ วิญญาณเหล่านี้ดับสิ้นไป เมื่อกิเลสสิ้นไป.. ดังที่ปรากฏในเรื่อง พระโคธิกะ ที่ไม่ประมาท พากเพียรภาวนา บรรลุ เจโตวิมุตติ ชนิด สามยิกา (ชั่วคราว) แล้วก็เสื่อมไปเป็นอย่างนั้นถึง ๖ ครั้ง
ในครั้งที่ ๗ ท่านคิดว่าจะเอาศาสตรามาให้ได้ หมายความว่า จะเจริญวิปัสสนาให้บังเกิดญาณถึงขั้นอรหัตมรรคญาณให้ได้ จะไม่ยอมให้ญาณไปเสียก่อน
สมัยนั้น พระโคธิกะนำศาสตรามาสำเร็จจริงๆ (บรรลุอรหัตผล) แล้ว
แต่พญามารไม่เข้าใจในความหมายนี้ คิดว่า พระโคธิกะคิดจะฆ่าตัวตายแบบปุถุชนทั่วไป จึงไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลเรื่องดังกล่าว เพื่อขอให้พระองค์ทรงห้ามเสีย โดยกล่าวว่า.. “สาวกของพระองค์ผู้ยินดีในพระศาสนา ยังไม่บรรลุผลสูงสุด กำลังศึกษา จะตายเสียอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า!”
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า..
“ปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมทำอย่างนั้นแล ย่อมไม่จำนงชีวิต
โคธิกะ ถอนตัณหา ขึ้นพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว..”
ขณะนั้น มารผู้ลามก คิดว่า ปฏิสนธิวิญญาณของพระโคธิกะ ตั้งอยู่แล้วในที่ใดหนอ.. จึงพยายามแสวงหาวิญญาณของพระเถระในทิศทั้งปวง
พระพุทธองค์ทรงแสดงความที่มารนั้นพยายามแสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะว่าตั้งอยู่ที่ไหน เมื่อละจากสังขารนี้ไปแล้ว โดยทรงมีพระดำรัสแด่ภิกษุทั้งหลายในเรื่องดังกล่าวว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อโคธิกะ มี วิญญาณไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว!!”
เรื่องวิญญาณหรือธาตุรู้ในความเป็น ปฐมวิญญาณ ซึ่งเป็นธาตุรู้บริสุทธิ์ที่ไม่ดับสูญ กับ วิถีวิญญาณ คือ ธาตุรู้ทางทวารทั้งหก นับเป็นคนละเรื่องกัน.. จึงควรศึกษาให้ละเอียดจากพระธรรมคำสั่งสอน
ต่อมาเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใหม่ ว่า “จิตฺตํ” แทน “ปฐมวิญญาณ” เพื่อให้มีความหมายตายตัวเพียงประการเดียว
แต่ก็ยังมีการนำคำว่า “จิต” ไปใช้ในความหมายของ วิถีวิญญาณ จึงทำให้คำว่า “จิต” แปรไป
จึงมีผู้คิดบัญญัติคำว่า “จิตดั้งเดิม” ขึ้นมาใช้แทน ปฐมวิญญาณ และ ปฐมวิญญาณ ที่พระอรหันตสาวกการกสังคายนาไขความว่า วิญญาณ.. ที่หมายถึง ปฐมวิญญาณ นั้น ได้แก่ ปุริมวิญญาณซึ่งคำทั้งสองหมายถึง วิญญาณดั้งเดิม ซึ่งเป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่งในหมู่ธาตุแท้ทั้ง ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ (ช่องว่าง) และวิญญาณ (ธาตุรู้) ซึ่งธาตุแท้ทั้ง ๖ นั้น ไม่มีอะไรสร้างขึ้น จึงเป็นสิ่งไม่ดับสูญ.. ที่นิยมเรียกในปัจจุบันว่า “จิตดั้งเดิม”
ปฐมวิญญาณ (จิตดั้งเดิม) ในตัวคนเราหรือสัตว์ทั้งหลาย เป็นธาตุรู้ที่ไม่รู้จักดับสูญ แต่ เมื่อเกิดอวิชชาและภวตัณหามาประยุกต์แล้ว จึงเป็นสัตว์ผู้ติดข้องในภพ.. สมดังพุทธภาษิตท้ายพระสูตรทั้งหลายที่กล่าวว่า.. “เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความติด เพราะคลายความติดจิตจึงหลุดพ้น.. เมื่อจิตหลุดพ้นก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว”.. จิตดังกล่าวที่หลุดพ้น คือ จิตดั้งเดิม (วิญญาณธาตุ) นั่นเอง...
สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า.. จิตบรรลุถึงพระบรมนิพพาน ที่หมายถึง “อปฺปติฎฺฐํ” แปลว่า จิตไม่ประดิษฐานในภพ คือ ไม่จากอยู่ ไม่หยุดอยู่ ในภพใดๆ อันเป็นสถานสถิตของวิญญาณของสัตว์นั้นๆ ๙ สถาน.. หมายถึง ออกจากโลกได้แล้ว ไม่อยู่ในโลกใดโลกหนึ่ง พญามารแสวงหาวิญญาณของพระอรหันต์ในโลก จึงหาไม่พบ.. สภาพนอกโลกนี้ เรียกว่า โลกุตระ.. ได้แก่ จิตบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส กรรม วิบาก มาปรุงแต่งอีกต่อไป มีแต่ธาตุรู้บริสุทธิ์ล้วนๆ เท่านั้น.. พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงว่า มีสถานที่ใดเป็นที่ตั้งแห่งจิตที่บริสุทธิ์.. แต่ทรงรับรองว่า ไม่ดับสูญ มีสันติสุข ไม่มีการเกิด-การดับให้วุ่นวายอีกต่อไป ตลอดกาลนิรันดร..
จึงควรเข้าใจในลักษณะธรรมของ มโน วิญญาณ จิต ให้ชัดเจน.. เพื่อนำไปสู่การศึกษาตามความหมายของจิต ที่ว่า เป็นธรรมชาติหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์.. จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้คืออารมณ์
จิตเป็นธรรมชาติหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตจึงต้องมีอารมณ์ เพื่อรับอารมณ์จึงจะรู้.. และจำ แล้วคิดนึกต่อไป..
ดังพระภาษิตบาลีที่ว่า..
จินฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถฯ
แปลว่า.. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า จิต..
มีอรรถว่า.. ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ คือ จิต
จึงขอสรุปอีกครั้งว่า
มโน คือ ธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์
จิต คือ ธรรมชาติที่คิดนึก
วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งในอารมณ์นั้น
เมื่อเข้าใจเช่นนี้.. ก็จักได้ปลงใจ วางใจ สงบใจ.. ในการนึก คิด ปรุงแต่ง หรือรับ จำ คิด รู้ ว่า ล้วนเป็นเรื่องของจิตที่ไร้อัตตาตัวตน.. อันไม่ควรเข้าไปยึดถือ.. จนเกิดอาการข้องติด ยึดมั่นในสิ่งนั้น “จนผูกความรู้ไว้กับความคิด.. ละการรู้ในความเป็น..” ที่นำไปสู่มิจฉาทิฏฐิตลอดกาล.. อันเป็นภัยอย่างยิ่งของ สัตว์โลก