วิญญาณธาตุ (บุรุษนี้ประกอบด้วยธาตุ ๖) ในมุมมอง ....

กระทู้สนทนา
ที่พระเถระครั้งปฐมสังคายนา ไม่ได้ สังคีติ มุขปาฐะไว้   เป็นอย่างไร?

ซึ่ง จะไม่ขัดกับ ทิฏฐิลามกของ ภิกษุสาติ เกวัฏฏบุตร ที่มีทิฏฐิว่า วิญญาณนี้เท่านั้นที่ท่องเที่ยวไป ไม่มีอะไรอื่น
(ส่วนทำไม ภิกษุสาติ เกวัฏฏบุตร ไม่มี วาทะว่า ต้องมี จุติจิต ทันที ไม่มีอะไรคั่น ยกไว้ และที่จะเสนอ ก็ไม่รับว่า มีจุติจิตแบบที่นักอภิธัมฯสมัยนี้ มีวาทะกัน)

และ ที่ตรัสว่า "บุรุษนี้ประกอบด้วยธาตุ ๖" นั้น  

ขอเดาว่า  ทรงหมายจะหมายถึง ---- กรรมเก่า (กาย) นี้  (สำนวนแปลปฏิจจฯ จากพระโอษฐ์ หน้า ๖๔) ที่ตรัสคำว่า อภิสังขตะ  อภิสญฺเจตยิต   เวทนีย (เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ --- วิญญาณธาตุ (บุรุษนี้ประกอบด้วยธาตุ ๖) คือ  ทรงอยู่  (ธา  ตุ) ซึ่ง กิริยาที่รู้สึกต่ออารมณ์ได้ ที่มีอยู่ในสิ่งนั้น  (อริยสัจจากพระโอษฐ์  หน้า ๒๐๓) ---- ในสิ่งนั้น คือ  อายตนะใน หก ----

โดยเฉพาะ อายตนะที่ ๖ คือ มโน  อันเป็นอายตนะภายใน  ----- ตามพระสูตรใน ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๖๕  อินทรีย์ ๕


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๖๕
ตรัส ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภืกษุนั้น ถึงทับจับฉวยว่า   เรามีอยู่ (อสฺมีติ)   [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังนี้แล้ว
ลำดับนั้น

การก้าวลงแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ๕  ประการย่อมมีขึ้น ได้แก่
อินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหู  อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย  --- ไม่ตรัส  มนินทรีย์  แต่ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มโน (ไม่มีคำว่า ธาตุ  คำว่า อายตนะ คำวามขันธ์ ต่อท้าย) มีอยู่
ธรรมทั้งหลาย มีอยู่
อวิชชามีอยู่


(จากนั้น ตรัส ที่ เวทนา  --- ที่ผมเสนอว่า เนื่องกับ   กรรมเก่า (กาย) นี้  (สำนวนแปลปฏิจจฯ จากพระโอษฐ์ หน้า ๖๔) ที่ตรัสคำว่า อภิสังขตะ  อภิสญฺเจตยิต   เวทนีย ) ....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เป็นผู้อันเวทนา อันเกิดจากอวิชชาสัมผัส ถูกต้องแล้ว  ความถึงทับจับฉวย ว่า  เรามีอยู่ (อสฺมีติ) ดังนี้บ้าง ฯลฯ
ฯลฯ

ซึ่งเนื่องกับ ทุกข์อริยสัจ คือปฏิจจฯ สายสมุทัย
ตามที่ตรัสว่า ก่อนก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติสอนแต่ทุกข์ กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น


จบความนำ
//////////////////////////

ประเด็นกระทู้นี้

มโน  คือ อะไร?  (ที่มโน ไม่ใช่ ในฐานะ อายตนะ  และก่อนจะ คือ มโนวิญญาณธาตุ  (เนื่องกับ บุรุษนี้ประกอบอยู่ด้วยธาตุ ๖ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ช่องว่าง  วิญญาณ)

(๑)  มโน  คือ นามที่มีอาการดั่ง  วานร เหนี่ยวกิ่งไม้  (ดังพระสูตรที่กระทำอุปมา ดู ปฏิจจฯ จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๘๒  สิ่งสามชื่อนั้น  จิตอื่นเกิดขึ้น จิตอื่นดับไป ตลอดวันตลอดคืน   

แต่ มโน (ไม่มีคำว่า ธาตุ  คำว่า อายตนะ คำวามขันธ์ ต่อท้าย) มีอยู่
ธรรมทั้งหลาย มีอยู่
อวิชชามีอยู่

มโน  เป็น อย่างไร? ในมุมมอง นอกพระสูตร
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ศาสนาพุทธ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่