วิธีการเข้าสู่นิโรธสมาบัติ
ขั้นที่ ๑. เข้าไปพิสูจน์ ว่าอะไรเป็นอะไร ให้เรียนรู้สิ่งที่จริงแท้
ขั้นที่ ๒. ให้ละ คือ จริงแท้เป็นยังไง เราต้องสรุปจะเอายังไง หรือไม่เอาล่ะ
ขั้นที่ ๓. ปล่อย ไม่ให้ไปเหนี่ยวกัน ไม่ให้ไปยึดไว้ คือ เริ่มละ เริ่มวาง พอละถึงจุดหนึ่งก็เข้าสู่ขั้นที่ ๔
ขั้นที่ ๔-๕ คืนสู่ธรรม คือ ไม่ให้ยึดไว้ในจิต ในความคิดเรา ในจิตของเรา เราไม่ยึดไว้ นี่แหละเราถือว่าดับในจิต แต่ตัวนั้นไม่ได้ดับแต่ตัวนั้นอยู่ในธรรม คือ สรุปแน่ชัดล่ะ ไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นกับอันนี้ละ ก็จะเข้าสู่กระบวนการแยกปลดปล่อย พอเข้าสู่ขั้นที่ ๕ คือปล่อยออกมา คือ ไม่ยึดก็เป็นอิสระต่อกัน ต่อกันเพราะถือว่าข้างในดับ เพราะเราไม่คิดถึงเขาล่ะ ดับล่ะ
ทำไมข้อ ๔-๕ มารวมกัน เพราะเป็นขั้นตอน เช่น ขั้น ๔ คือ รู้จักว่าตัวนี้จะไม่ยึดถือแล้ว พอเรารู้แล้วว่าตรงนี้จะไม่ยึดถือเราจะเริ่มปล่อย ขั้นที่ ๕ ถึงจะดับ ไม่ให้ยึด ไม่เกี่ยวกันล่ะ เพียงแต่ข้อ ๔ พึงรู้ รู้แล้วกำลังปฏิบัติ ข้อที่ ๕ ไม่เกี่ยวล่ะ ถึงจะดับได้ หลุดได้ เป็นจังหวะขั้นตอน เห็นเป็นภาพต่อเนื่องมั้ย? เป็นภาพต่อเนื่องเราถึงเอาข้อ๔-๕ มารวมกัน จะต่อเนื่องกัน ถ้า ๕ ไม่มี ๔ เกิดไม่ได้ ถ้า ๔ ไม่มี ๕ จะไม่สำเร็จ
นิโรธสมาบัตินี้สำคัญมาก คนมักจะละเลย ไม่เข้าใจ พอเราฝึก เข้าสู่สมาบัติถึงจะปล่อยวางได้
คนเราจะหลุดจากอะไรต้องเข้าสู่สมาบัติตรงนี้ เราก็จะหลุดโดยธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องฝืนชะตา แต่ใหม่ๆ เราต้องฝืน แต่ถ้าเรามาถึงตรงนี้เราไม่ต้องฝืน ชิวๆ เลย
ทุกคนสามารถนำสมาบัตินี้ไปใช้ได้ ไม่มีจำกัดว่าคนนี้ใช้ไม่ได้ ถึงแม้ว่าเป็นโจร แต่เกิดความสำนึก ไปใช้สมาบัติ องคุลิมาลก็ยังรอดมาได้ พิสูจน์ทราบแล้วว่ามันจริงแท้ อย่างไหนดีกว่า
สมาบัติคือการเข้าไปพิสูจน์จริงแท้ ประจักษ์แล้วคืออะไร นี่แหละ เรียกว่าสมาบัติ
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
วิธีการเข้าสู่นิโรธสมาบัติ
ขั้นที่ ๑. เข้าไปพิสูจน์ ว่าอะไรเป็นอะไร ให้เรียนรู้สิ่งที่จริงแท้
ขั้นที่ ๒. ให้ละ คือ จริงแท้เป็นยังไง เราต้องสรุปจะเอายังไง หรือไม่เอาล่ะ
ขั้นที่ ๓. ปล่อย ไม่ให้ไปเหนี่ยวกัน ไม่ให้ไปยึดไว้ คือ เริ่มละ เริ่มวาง พอละถึงจุดหนึ่งก็เข้าสู่ขั้นที่ ๔
ขั้นที่ ๔-๕ คืนสู่ธรรม คือ ไม่ให้ยึดไว้ในจิต ในความคิดเรา ในจิตของเรา เราไม่ยึดไว้ นี่แหละเราถือว่าดับในจิต แต่ตัวนั้นไม่ได้ดับแต่ตัวนั้นอยู่ในธรรม คือ สรุปแน่ชัดล่ะ ไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นกับอันนี้ละ ก็จะเข้าสู่กระบวนการแยกปลดปล่อย พอเข้าสู่ขั้นที่ ๕ คือปล่อยออกมา คือ ไม่ยึดก็เป็นอิสระต่อกัน ต่อกันเพราะถือว่าข้างในดับ เพราะเราไม่คิดถึงเขาล่ะ ดับล่ะ
ทำไมข้อ ๔-๕ มารวมกัน เพราะเป็นขั้นตอน เช่น ขั้น ๔ คือ รู้จักว่าตัวนี้จะไม่ยึดถือแล้ว พอเรารู้แล้วว่าตรงนี้จะไม่ยึดถือเราจะเริ่มปล่อย ขั้นที่ ๕ ถึงจะดับ ไม่ให้ยึด ไม่เกี่ยวกันล่ะ เพียงแต่ข้อ ๔ พึงรู้ รู้แล้วกำลังปฏิบัติ ข้อที่ ๕ ไม่เกี่ยวล่ะ ถึงจะดับได้ หลุดได้ เป็นจังหวะขั้นตอน เห็นเป็นภาพต่อเนื่องมั้ย? เป็นภาพต่อเนื่องเราถึงเอาข้อ๔-๕ มารวมกัน จะต่อเนื่องกัน ถ้า ๕ ไม่มี ๔ เกิดไม่ได้ ถ้า ๔ ไม่มี ๕ จะไม่สำเร็จ
นิโรธสมาบัตินี้สำคัญมาก คนมักจะละเลย ไม่เข้าใจ พอเราฝึก เข้าสู่สมาบัติถึงจะปล่อยวางได้
คนเราจะหลุดจากอะไรต้องเข้าสู่สมาบัติตรงนี้ เราก็จะหลุดโดยธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องฝืนชะตา แต่ใหม่ๆ เราต้องฝืน แต่ถ้าเรามาถึงตรงนี้เราไม่ต้องฝืน ชิวๆ เลย
ทุกคนสามารถนำสมาบัตินี้ไปใช้ได้ ไม่มีจำกัดว่าคนนี้ใช้ไม่ได้ ถึงแม้ว่าเป็นโจร แต่เกิดความสำนึก ไปใช้สมาบัติ องคุลิมาลก็ยังรอดมาได้ พิสูจน์ทราบแล้วว่ามันจริงแท้ อย่างไหนดีกว่า
สมาบัติคือการเข้าไปพิสูจน์จริงแท้ ประจักษ์แล้วคืออะไร นี่แหละ เรียกว่าสมาบัติ
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต