คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
@คนไทย สามารถตั้งชื่อ ที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม หรือ ภาษาต่างประเทศ ได้ ไม่เห็นผิดอะไร ไย จนท. ถึงไม่ยอมให้ตั้ง!!??
สืบเนื่องจากการท่อง PANTIP หาตอบกระทู้ไปเรื่อย
จนมาเจอกับกระทู้ ว่าด้วยการตั้งชื่อและการเปลี่ยนชื่อ
พบว่าหลายๆ กระทู้ มีปัญหาเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อ
เนื่องจาก
- ชื่อที่จะเปลี่ยนหรือตั้ง ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม
- ชื่อที่จะเปลี่ยนหรือตั้ง เป็นภาษาต่างประเทศ
เป็นต้น
เช่นกระทู้เหล่านี้
- ตั้งชื่อใหม่ต้องใช้ชื่อตามพจนานุกรมเท่านั้นหรอคะ
https://ppantip.com/topic/34142457
- ทางเขตไม่เปลี่ยนชื่อให้ค่ะ เพราะไม่มีความหมายในพจนานุกรมไทย แต่ทำไมถึงมีคนที่ใช้ชื่อที่เราจะเปลี่ยนมาใช้บ้างได้ล่ะค่ะ
https://ppantip.com/topic/33293936
- จะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ชื่อนั้นจะต้องมีความหมายหรือ
https://ppantip.com/topic/33469910
- ถูกเจ้าหน้าที่อำเภอปฏิเสธไม่ให้เปลี่ยนชื่อ เค้ามีกฎเกณฑ์อะไรมาจำกัดสิทธิ์ครับ? ขอความรู้หน่อยครับ เคืองหนักมาก!!!
https://ppantip.com/topic/33686370
- สอบถามครับ คนไทยสามารถเปลี่ยนชื่อนามสกุลไทยเป็นชื่อฝรั่งได้มั้ยครับ
https://ppantip.com/topic/32184643
- อยากรู้ความหมายของชื่อนี้ค่ะ
https://ppantip.com/topic/36830556
- คนไทยแท้ สามารถ เปลี่ยนชื่อ เป็นชื่อภาษาอังกฤษ ได้หรือไม่
https://ppantip.com/topic/36829688
ผมเลยลองไปหาข้อมูลดู
พบว่า หลักเกณฑ์การตั้งชื่อ (ว่ากันเฉพาะชื่อตัวก่อน ไม่รวมชื่อสกุล และชื่อรอง)
จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล
คือ พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 6 วรรคหนึ่ง ชื่อตัวต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
มาตรา 16 ผู้มีชื่อตัวหรือชื่อรองอยู่แล้วประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าชื่อตัวหรือชื่อรองที่ขอเปลี่ยนใหม่นั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้อนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
กฎหมายบัญญัติไว้หลักๆ เพียงแค่นี้ครับ
เพราะฉะนั้น หลักเกณฑ์การตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อ ชื่อที่จะตั้งหรือเปลี่ยนนั้น ต้อง
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย
2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระนามของพระราชินี
3. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม (เว้นแต่ ถ้าผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หรือผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้)
4. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
เห็นไหมครับ ว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด
บัญญัติให้ชื่อที่จะตั้งหรือเปลี่ยน ต้องมีความหมายตามพจนานุกรม
หรือ ห้ามเป็นภาษาต่างประเทศ แต่อย่างใด
อีกทั้ง ถ้าผู้มีชื่อตัวอยู่แล้ว ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว
กฎหมาย (มาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505)
ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไว้ว่า เมื่อผู้มีชื่อตัวอยู่แล้ว ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว
ถ้ายื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ถูกต้อง
นายทะเบียนท้องที่ (ต้อง) ตรวจสอบชื่อตัวที่ขอเปลี่ยนใหม่นั้น ว่าขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่
ถ้าไม่ขัด (คือ ชื่อตัวต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย)
ก็ให้อนุญาต และออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
นั่นคือ ถ้ายื่นคำขอถูกต้อง และ ชื่อที่จะเปลี่ยนไม่ขัดกับ พ.ร.บ. นี้
กฎหมาย ให้นายทะเบียนท้องที่ "อนุญาต" เท่านั้น ครับ
ไม่ได้ให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจ ในการจะ อนุญาต หรือ ไม่อนุญาต แต่อย่างใด
การที่มีผู้มาขอเปลี่ยนชื่อตัว โดยยื่นคำขอถูกต้อง และ ชื่อที่จะเปลี่ยนไม่ขัดกับ พ.ร.บ. นี้
แต่นายทะเบียนท้องที่ ไม่อนุญาต ให้เปลี่ยน
เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา ด้วยนะครับ
ตาม มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้
เทศบาล หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ
มาขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้
(พ.ร.บ. เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ "สูงกว่า" เทศบัญญัติ หรือกฎหมายท้องถิ่น)
เพราะฉะนั้น ต่อให้เทศบาล ออกเทศบัญญัติ ว่า "ผู้ที่มีเชื้อชาติไทย สัญาติไทย ชื่อจะต้องไม่เป็นภาษาต่างประเทศ"
หรือ “ชื่อที่ตั้งหรือเปลี่ยน จะต้องมีความหมายตามพจนานุกรม เท่านั้น”
แบบนี้ เทศบัญญัติ บังคับใช้ไม่ได้
และยังเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ อีกด้วย
ตาม มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
ยังไงๆ ถ้าท่านใดพบเจ้าหน้าที่ ไม่ยอมให้ตั้งกรือเปลี่ยนชื่อ
โดยอ้างเหตุผล เช่น ต้องเป็นชื่อที่มีความหมายตามพจนานุกรม หรือ ห้ามเป็นภ่ษาอังกฤษ
ให้ามหากฎหมายที่บัญญัติห้ามนั้น และยกหลักกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล ไปใช้ยันได้เลย
แต่หากเจ้าหน้าที่ยังไม่ยอม ขอฝากถามเจ้าหน้าที่ที
ที่ว่าห้ามๆ นั้น เป็น กฎหมาย หรือ กฎกติกรู
https://ppantip.com/topic/36831088
สืบเนื่องจากการท่อง PANTIP หาตอบกระทู้ไปเรื่อย
จนมาเจอกับกระทู้ ว่าด้วยการตั้งชื่อและการเปลี่ยนชื่อ
พบว่าหลายๆ กระทู้ มีปัญหาเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อ
เนื่องจาก
- ชื่อที่จะเปลี่ยนหรือตั้ง ไม่มีความหมายตามพจนานุกรม
- ชื่อที่จะเปลี่ยนหรือตั้ง เป็นภาษาต่างประเทศ
เป็นต้น
เช่นกระทู้เหล่านี้
- ตั้งชื่อใหม่ต้องใช้ชื่อตามพจนานุกรมเท่านั้นหรอคะ
https://ppantip.com/topic/34142457
- ทางเขตไม่เปลี่ยนชื่อให้ค่ะ เพราะไม่มีความหมายในพจนานุกรมไทย แต่ทำไมถึงมีคนที่ใช้ชื่อที่เราจะเปลี่ยนมาใช้บ้างได้ล่ะค่ะ
https://ppantip.com/topic/33293936
- จะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ชื่อนั้นจะต้องมีความหมายหรือ
https://ppantip.com/topic/33469910
- ถูกเจ้าหน้าที่อำเภอปฏิเสธไม่ให้เปลี่ยนชื่อ เค้ามีกฎเกณฑ์อะไรมาจำกัดสิทธิ์ครับ? ขอความรู้หน่อยครับ เคืองหนักมาก!!!
https://ppantip.com/topic/33686370
- สอบถามครับ คนไทยสามารถเปลี่ยนชื่อนามสกุลไทยเป็นชื่อฝรั่งได้มั้ยครับ
https://ppantip.com/topic/32184643
- อยากรู้ความหมายของชื่อนี้ค่ะ
https://ppantip.com/topic/36830556
- คนไทยแท้ สามารถ เปลี่ยนชื่อ เป็นชื่อภาษาอังกฤษ ได้หรือไม่
https://ppantip.com/topic/36829688
ผมเลยลองไปหาข้อมูลดู
พบว่า หลักเกณฑ์การตั้งชื่อ (ว่ากันเฉพาะชื่อตัวก่อน ไม่รวมชื่อสกุล และชื่อรอง)
จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล
คือ พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 6 วรรคหนึ่ง ชื่อตัวต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
มาตรา 16 ผู้มีชื่อตัวหรือชื่อรองอยู่แล้วประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าชื่อตัวหรือชื่อรองที่ขอเปลี่ยนใหม่นั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้อนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
กฎหมายบัญญัติไว้หลักๆ เพียงแค่นี้ครับ
เพราะฉะนั้น หลักเกณฑ์การตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อ ชื่อที่จะตั้งหรือเปลี่ยนนั้น ต้อง
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย
2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระนามของพระราชินี
3. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม (เว้นแต่ ถ้าผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หรือผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้)
4. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
เห็นไหมครับ ว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด
บัญญัติให้ชื่อที่จะตั้งหรือเปลี่ยน ต้องมีความหมายตามพจนานุกรม
หรือ ห้ามเป็นภาษาต่างประเทศ แต่อย่างใด
อีกทั้ง ถ้าผู้มีชื่อตัวอยู่แล้ว ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว
กฎหมาย (มาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505)
ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไว้ว่า เมื่อผู้มีชื่อตัวอยู่แล้ว ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว
ถ้ายื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ถูกต้อง
นายทะเบียนท้องที่ (ต้อง) ตรวจสอบชื่อตัวที่ขอเปลี่ยนใหม่นั้น ว่าขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่
ถ้าไม่ขัด (คือ ชื่อตัวต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย)
ก็ให้อนุญาต และออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
นั่นคือ ถ้ายื่นคำขอถูกต้อง และ ชื่อที่จะเปลี่ยนไม่ขัดกับ พ.ร.บ. นี้
กฎหมาย ให้นายทะเบียนท้องที่ "อนุญาต" เท่านั้น ครับ
ไม่ได้ให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจ ในการจะ อนุญาต หรือ ไม่อนุญาต แต่อย่างใด
การที่มีผู้มาขอเปลี่ยนชื่อตัว โดยยื่นคำขอถูกต้อง และ ชื่อที่จะเปลี่ยนไม่ขัดกับ พ.ร.บ. นี้
แต่นายทะเบียนท้องที่ ไม่อนุญาต ให้เปลี่ยน
เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา ด้วยนะครับ
ตาม มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้
เทศบาล หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ
มาขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้
(พ.ร.บ. เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ "สูงกว่า" เทศบัญญัติ หรือกฎหมายท้องถิ่น)
เพราะฉะนั้น ต่อให้เทศบาล ออกเทศบัญญัติ ว่า "ผู้ที่มีเชื้อชาติไทย สัญาติไทย ชื่อจะต้องไม่เป็นภาษาต่างประเทศ"
หรือ “ชื่อที่ตั้งหรือเปลี่ยน จะต้องมีความหมายตามพจนานุกรม เท่านั้น”
แบบนี้ เทศบัญญัติ บังคับใช้ไม่ได้
และยังเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ อีกด้วย
ตาม มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
ยังไงๆ ถ้าท่านใดพบเจ้าหน้าที่ ไม่ยอมให้ตั้งกรือเปลี่ยนชื่อ
โดยอ้างเหตุผล เช่น ต้องเป็นชื่อที่มีความหมายตามพจนานุกรม หรือ ห้ามเป็นภ่ษาอังกฤษ
ให้ามหากฎหมายที่บัญญัติห้ามนั้น และยกหลักกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล ไปใช้ยันได้เลย
แต่หากเจ้าหน้าที่ยังไม่ยอม ขอฝากถามเจ้าหน้าที่ที
ที่ว่าห้ามๆ นั้น เป็น กฎหมาย หรือ กฎกติกรู
https://ppantip.com/topic/36831088
แสดงความคิดเห็น
กลัวเจ้าหน้าที่ที่เขตไม่ยอมให้เปลี่ยนชื่อ
ทีนี้เลยคิดว่าอยากจะเปลี่ยนชื่อด้วย(ใฝ่ฝันมานาน)
แต่ก็แอบกลัวว่าเขตจะไม่ยอมให้เปลี่ยนชื่อ(หรือเปล่า) เพราะเป็นชื่อที่นำมาจากภาษาอังกฤษ
แต่มีความหมายดีนะ แปลว่าผู้ที่เกิดวันคริสต์มาส(ความหมายเดียวกับชื่อนาตาลี)
ชื่อนี้เลยฮะ“นาทัชชา”
ส่วนตัวชอบชื่อนี้มากๆ เพราะมันจะพ้องกับชื่อนาตาชาที่มีความหมายเดียวกัน
แถมยังพ้องกับชื่อปัจจุบันด้วยครับ(ณัฏธชัย)
และยังมีความคิดว่าจะเอาชื่อปัจจุบันไปเป็นชื่อรอง(ชื่อกลาง)แทนครับ แต่ก็แอบกลัวว่าทางเขตจะไม่ยอม
ถ้าทางเจ้าหน้าที่ถาม ผมควรตอบยังไงดีครับ
เพราะความหมายคือผู้ที่เกิดวันคริสต์มาส แต่ผมไม่ได้เกิดวันคริสต์มาส
และถ้าทางเขตอนุญาต ผมควรสะกดภาษาอังกฤษว่า Natascha หรือ Natasha ดีครับ
(สะกดแบบหลังผมว่าดูอินเตอร์กว่าหรือเปล่าครับแบบแรกจะออกไปทางอาหรับหน่อยๆ)
ปล. เฟี้ยว์ฟ้าว์ สุดสวิงริงโก้ ยังตั้งได้เลย เลยมโนเองว่า นาทัชชาก็ต้องได้เหมือนกันสิ