สรุป #กกตมีไว้ทำไม เจ้าหน้าที่เขียนรหัสเขตผิด เลือกตั้งล่วงหน้าสุดชุ่ย พิรุธเพียบ
https://www.innnews.co.th/news/news_545679/
เป็นเรื่องร้ายแรงระดับชาติกับการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตที่มีขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
แม้จะยังไม่ถึงเวลาปิดหีบแต่ก็เกิดเสียงเรียกร้องจากประชาชนถึงความผิดปกติของเจ้าหน้าที่คุมเขตเลือกตั้ง ทั้งการกรอกรหัสหน้าซองเลือกตั้งผิดพลาด, การจัดพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม, รายชื่อผู้สมัครตกหล่น
จนทำให้เกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดีย วิจารณ์การทำงานของ กกต. อย่างดุเดือดและเรียกร้องให้หน่วยงานรับผิดชอบด้วยการลาออก จนผุดเป็น #กกตมีไว้ทำไม พุ่งขึ้นอันดับหนึ่ง เทรนด์ทวิตเตอร์ข้ามคืน
เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร วันนี้สรุปมาให้ฟังแล้ว
เจ้าหน้าที่เขียนเขตผิด-ไม่กรอกรหัสเขต
ความแตกต่างระหว่างการเลือกตั้งในวันปกติ และการเลือกตั้งล่วงหน้านั้น สิ่งสำคัญของการเลือกตั้งล่วงหน้า จะต้องมีการกรอกรหัสเขตเพื่อส่งกลับไปนับยังหน่วยภูมิลำเนาต้นทาง
ทว่า พิรุธที่หลายเสียงพูดถึงผ่าน #กกตมีไว้ทำไม พบว่าในหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วย กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือ กปน. มีการกรอกรหัสเขตผิดชัดเจนและหลายใบ ไปจนถึงมีบางหน่วยเลือกตั้งที่ กปน. ไม่ยอมเขียนรหัสเขตเลือกตั้งบนหน้าซอง
ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดเช่นกันว่าบัตรที่ถูกระบุรหัสเขตผิดนั้นมีทั้งหมดกี่ใบ แต่คาดการณ์กันว่าอาจมีการกรอกรหัสผิดถึงหลักร้อยใบ หรือเป็นไปได้ที่อาจมีการกรอกรหัสผิดได้หมดทั้งกล่องได้
ซึ่งเขียนรหัสเขตเลือกตั้งผิด หรือไม่เขียนเลย จะทำให้บัตรเลือกตั้งกลายเป็นบัตรเสีย ไม่ถูกนับคะแนนทันที
โดยพบการกรอกรหัสผิดอย่างชัดเจนในหน่วยเลือกตั้ง เช่น
ช่วงเวลาประมาณ 12.53 น. หน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าสำนักงานเขตห้วยขวาง ชุด 24 (ราชบุรี ระยอง ร้อยเอ็ด) พบเหตุเจ้าหน้าที่ไม่ยอมเขียนรหัสเขตเลือกตั้งบนหน้าซอง และปล่อยให้ประชาชนหย่อนบัตรจนเกือบเต็มกล่อง
หน่วยเลือกตั้งที่จังหวัดนนทบุรี เขียนเขตเลือกตั้งผิดจากเขต 2 เป็นเขต 4 และกรอกรหัสไปรษณีย์แทนรหัสจังหวัด ประมาณ 100 คน
บริเวณหน่วยเลือกตั้งลานหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี มีรายงานว่า กปน. เขียนเขตเลือกตั้งบนบัตรของผู้มาใช้สิทธิจังหวัดบุรีรัมย์ผิดทั้งหมดในช่วงเช้า
และยังมีอีกหลายเขตที่คนไปใช้สิทธิร้องเรียนบนโลกออนไลน์ กรณีเจ้าหน้าที่เขียนเขตผิด หรือไม่ยอมเขียนรหัสเขต แสดงให้เห็นถึงการละหลวมของเจ้าหน้าที่ที่มาจากการคัดเลือกของ กกต. อย่างชัดเจน
รายชื่อผู้สมัครส.ส.ตกหล่น
เนื่องจากการเลือกตั้ง 2566 มีการกำหนดหมายผู้สมัครแต่ละเขตไม่เหมือนกัน จนส่งผลให้ผู้ใช้สิทธิจำนวนมากไม่สามารถจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส. ได้อย่างชัดเจน
จึงทำให้ผู้ใช้สิทธิหลายส่วนอาศัยการดูหมายเลขผู้สมัครที่หน้าคูหา แต่ทว่า จากการร้องเรียนบนทวิตเตอร์พบว่า เอกสารที่หน้าหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าหลายหน่วย ไม่พบรายชื่อผู้สมัครบางพรรคโดยเฉพาะ พรรคเพื่อไทย และ พรรคก้าวไกล เช่น
บนบอร์ดบริเวณหน้าหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าเขต 4 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดสุรินทร์ ไม่มีรายชื่อผู้สมัครพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย โดยคาดการณ์ว่าถูกดึงออกไป สร้างความสับสนแก่ผู้ใช้สิทธิ
แสดงให้เห็นถึงความสะเพร่าของหน่วยงานกำกับดูแลชัดเจน
สถานที่เลือกตั้งไม่รองรับ-อุปกรณ์ไม่คุ้มภาษี
โลกโซเชียลมีเดียมีการแชร์ภาพจากเพจ The Standard จนเป็นไวรัล โดยเป็นภาพเจ้าหน้าที่ขนเข่งผักบรรจุบัตรเลือกตั้งไว้ภายใน
ขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของหน่วยงานที่ได้รับงบสนับสนุนกว่า 6 พันล้านบาท ทั้งที่ตามหลักแล้วควรใช้อุปกรณ์ที่ดูรัดกุม น่าเชื่อถือมากกว่านี้
รวมไปถึงยังมีการเปรียบเทียบการเลือกตั้งของต่างประเทศที่ดูมีการจัดการที่ปลอดภัยกับเสียงประชาชนมากกว่าประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์สถานที่เลือกตั้งในบางหน่วยว่าไม่รองรับกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ แม้กกต. จะสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าเขตใดที่จะมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเท่าใด แต่กลับใช้พื้นที่เล็กจนสร้างความเบียดเสียนชุลมุนให้กับประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
พื้นที่สำนักงานเขตห้วยขวาง มีตัวเลขผู้มาใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 24,000 คน แต่ผู้ใช้สิทธิต้องแออัดต่อแถวเพียงแถวเดียวเพื่อรอเลือกตั้ง โดยไม่มีการขยายพื้นที่แต่อย่างใด
พื้นที่หน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าอีกหลายเขต ผู้ใช้สิทธิจำนวนมาต้องต่อแถวกลางแดด และต้องรอใช้สิทธินานกว่า 2 ชั่วโมงกว่าถึงเวลาปิดหีบ
ผู้ใช้สิทธิมากเกินปกติ
นาย
ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตนักการเมือง ได้ร่วมโพสต์เฟซบุ๊กถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ตรวจสอบการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นกัน
โดยจับสังเกต พบว่า มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเยอะผิดปกติใน 3 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร เกือบแสนคน เมื่อเทียบกับสถิติเดิมของการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อปี 2562
#กกตมีไว้ทำไม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในวันเลือกตั้งหน้าและย้อนไปถึงวีรกรรมที่ก่อนการเลือกตั้ง ส่งผลให้สังคมออนไลน์ผุด #กกตมีไว้ทำไม เรียกร้องการทำงานเจ้าหน้าที่ที่ไม่คุ้มภาษีประชาชนเอาเสียเลย
มีการแชร์คลิปผู้มาใช้สิทธิไปรวมตัวกันประท้วงการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานสะเพร่ากรอกเลขรหัสเขตผิดจนอาจทำให้เกิดบัตรเสีย, มีการร้องเรียนเจ้าหน้าที่แจ้งเขตมั่วซั่วจนทำให้กาเบอร์ผิดไม่ตรงกับเขตตัวเอง
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผู้ใช้สิทธิอีกลายเสียงอีกออกมาเรียกร้องการทำงานสุดมึนของเจ้าหน้าที่ โดยหนึ่งในนั้นเป็นโพสต์ของผู้พิการทางสายตาที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่หน่วยกาบัตรแทน และไม่ให้จับอักษรเบรลล์บนบัตรเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบ
ส่งผลให้เกิดการระดมพลร้องเรียนขับไล่เจ้าหน้าที่ กกต. ในเว็บไซต์ Change.org ซึ่งตอนนี้มีผู้ร่วมลงชื่อทะลุ 1 ล้านราย เพียงข้ามคืน
รวมถึงเรียกร้องให้ กกต. ต้องติดคุกจากประวัติการทำงานขัดกับ คำขวัญประจำองค์กรที่ว่า “สุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม”
หมายเหตุ : คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาจากมติเห็นชอบโดย สนช. ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เอาแล้ว ชี้ยื่นถอดถอน กกต.ได้ ปมจัดกาบัตรล่วงหน้า ฐานประมาทเลินเล่อร้ายแรง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7651043
คอลัมนิสต์ชื่อดัง ฟาดแรง กกต. จัดกาบัตรล่วงหน้า ข้อผิดพลาดอื้อ ทั้งที่ถูกทักท้วงก่อนแล้ว ชี้จงใจทุจริตหรือไม่ พิสูจน์ยาก แต่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง ถอดถอนได้
เมื่อวันที่ 8 พ.ค. นาย
อธึกกิต แสวงสุข คอลัมนิสต์อาวุโส เจ้าของนามปากกา ใบตองแห้ง โพสต์เฟซบุ๊ก
Atukkit Sawangsuk ระบุถึงการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า
สิ่งที่ กกต.อ้างว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่
เป็นสิ่งที่เล็งเห็นได้ และประชาชนก็ทักท้วงมาก่อนหน้านี้ว่า
ทำไมไม่พิมพ์บัตร ส.ส.เขต 400 เขต ให้ต่างกัน ใส่ทั้งเบอร์ใส่ทั้งชื่อใส่ทั้งพรรค
กกต.แม่-ก็ยังดันทุรัง พิมพ์บัตรเหมือนกันทั้ง 400 เขต
ก่อนเลือกตั้งล่วงหน้า ก็ทักท้วงกันอี้ออึงแล้วว่า ให้ระวังจะสับสน เพราะบัตรเหมือนกัน
ถ้าใส่ซองผิด ส่งผิด หรือทุจริตสลับซอง
กาผู้สมัครพรรคฝ่ายค้านเขต 1 ส่งไปนับเขต 2 จะกลายเป็นกา รวมไทยสร้างชาติ
จงใจทุจริตหรือไม่อาจพิสูจน์ยาก แต่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ถอดถอนได้
https://www.facebook.com/baitongpost/posts/pfbid02SyUsMMSJkVETXytVPDgu6tzjjTpKudHBRXs2quetFCdZEAQnSLdyf6JBhSRc1u3Pl
‘แอตต้า’ จวกโยนหินถามทางเก็บภาษีเที่ยวนอก เป็นนโยบายสุดล้าหลัง
https://www.matichon.co.th/economy/news_3965321
‘แอตต้า’ จวกโยนหินถามทางเก็บภาษีเที่ยวนอก เป็นนโยบายสุดล้าหลัง
นาย
อดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เปิดเผยว่า กรณีกรมสรรพากรอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็นการเก็บภาษีเดินทางออกนอกประเทศผ่านทางอากาศ ครั้งละ 1,000 บาท เพื่อเป็นการหารายได้ให้แก่รัฐบาล ป้องกันการนำเงินออกไปใช้ต่างประเทศมากเกินสมควร และรักษาดุลทางการเงินของประเทศนั้น เบื้องต้นประเมินว่าเป็นนโยบายที่มีความล้าหลังมาก โดยในปี 2562 มีคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศประมาณ 1.2 ล้านคน หากเก็บคนละ 1,000 บาท จะสร้างรายได้เข้ารัฐประมาณ 1.2 พันล้านบาท เทียบกับนโยบายปัจจุบัน อาทิ การแจกเงินในบัตรคนจน คิดเป็นเม็ดเงินต่อเดือนอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาทแล้ว จึงมองว่าแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
นาย
อดิษฐ์ กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวถือเป็นการกีดกันการเดินทางออกไปเที่ยวต่างประเทศของคนไทย ในฐานะประชาชนคนไทย การเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ เป็นการใช้เงินส่วนตัวที่หามาเอง ซึ่งการเดินทางคือการเดินรู้โลกกว้าง ทักษะและองค์ความรู้ที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ทำให้เกิดวิสัยทัศ มุมมองใหม่ และโอกาสในการศึกษารวมถึงด้านการค้าการลงทุนต่างๆ ทำให้เมื่อมีการออกนโยบายในการปิดกั้นการเดินทางแบบนี้ ก็สะท้อนถึงตัวตนของผู้ที่คิดนโยบายนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้คนไทยโง่มากขึ้น
นาย
อดิษฐ์ กล่าวว่า การเก็บเงิน 1,000 บาท เพราะอาจทำให้คนไทยเดินทางน้อยลง ลดการนำเงินไปใช้ต่างประเทศ มองว่าไม่ได้ทำให้คนเดินทางน้อยลงได้ แต่เป็นนโยบายที่หากเดินทางไปทำตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวไทยนั้น ถามว่าจะเป็นผลกระทบทำให้ผู้ทำตลาดเจรจาการทำธุรกิจได้ยากขึ้นหรือไม่ เพราะประเทศไทยต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย แต่กลับทำนโยบายกีดกันไม่ให้คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ แล้วถามว่าหากทำธุรกิจภายใต้นโยบายแบบนี้ ใครจะมาคบค้ากับประเทศไทย
นาย
อดิษฐ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลต้องการงบประมาณเพิ่มประมาณ 1.2 พันล้านบาทนี้ ในฐานะประชาชนนั้น อยากให้รัฐบาลพิจารณางบประมาณในการออกไปดูงานต่างประเทศของหน่วยงานรัฐบาล ตัดงบประมาณในส่วนนี้ออกให้หมด เพื่อนำมาเป็นรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นก่อน นำเงินส่วนนั้นมาแทนดีกว่า เพราประชาชนต้องจ่ายเงินด้วยตัวเองในการเดินทาง แต่หน่วยงานรัฐใช้งบประมาณในการเดินทางไปต่างประเทศที่มาจากภาษีของประชาชน โดยประเมินว่าเงินจำนวน 1,000 บาท ที่จะจัดเก็บไม่ได้เป็นภาระมากมายนัก แต่ขัดกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่พยายามเปิดประเทศ และขับเคลื่อนด้วยภาคการท่องเที่ยวในการสร้างรายได้หลักของเศรษฐกิจไทยด้วย
“
หากจะเก็บ 1,000 บาทจากประชนชนในการเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อนำเป็นรายได้เข้ารัฐ อยากให้รัฐบาลนำเสนองบประมาณแต่ละปี ว่าการนำงบประมาณมาใช้ในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ ใช้งบประมาณแต่ละปีอยู่ที่เท่าใด หากประหยัดงบประมาณเหล่านี้จะเป็นอย่างไร บวกกับงบประมาณที่เสียไป หากเทียบกับงานที่ได้มานั้นมีความคุ้มค่ามากน้อยเท่าใด โดยอยากให้มีการจัดทำผลการศึกษาอย่างชัดเจนด้วย” นาย
อดิษฐ์ กล่าว
JJNY : สรุป #กกตมีไว้ทำไม│เอาแล้ว ชี้ยื่นถอดถอนกกต.ได้│‘แอตต้า’จวกเก็บภาษีเที่ยวนอก│กลับลำ!“แวกเนอร์”เตรียมรบต่อในบัคมุต
https://www.innnews.co.th/news/news_545679/
เป็นเรื่องร้ายแรงระดับชาติกับการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตที่มีขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
แม้จะยังไม่ถึงเวลาปิดหีบแต่ก็เกิดเสียงเรียกร้องจากประชาชนถึงความผิดปกติของเจ้าหน้าที่คุมเขตเลือกตั้ง ทั้งการกรอกรหัสหน้าซองเลือกตั้งผิดพลาด, การจัดพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม, รายชื่อผู้สมัครตกหล่น
จนทำให้เกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดีย วิจารณ์การทำงานของ กกต. อย่างดุเดือดและเรียกร้องให้หน่วยงานรับผิดชอบด้วยการลาออก จนผุดเป็น #กกตมีไว้ทำไม พุ่งขึ้นอันดับหนึ่ง เทรนด์ทวิตเตอร์ข้ามคืน
เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร วันนี้สรุปมาให้ฟังแล้ว
เจ้าหน้าที่เขียนเขตผิด-ไม่กรอกรหัสเขต
ความแตกต่างระหว่างการเลือกตั้งในวันปกติ และการเลือกตั้งล่วงหน้านั้น สิ่งสำคัญของการเลือกตั้งล่วงหน้า จะต้องมีการกรอกรหัสเขตเพื่อส่งกลับไปนับยังหน่วยภูมิลำเนาต้นทาง
ทว่า พิรุธที่หลายเสียงพูดถึงผ่าน #กกตมีไว้ทำไม พบว่าในหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วย กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือ กปน. มีการกรอกรหัสเขตผิดชัดเจนและหลายใบ ไปจนถึงมีบางหน่วยเลือกตั้งที่ กปน. ไม่ยอมเขียนรหัสเขตเลือกตั้งบนหน้าซอง
ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดเช่นกันว่าบัตรที่ถูกระบุรหัสเขตผิดนั้นมีทั้งหมดกี่ใบ แต่คาดการณ์กันว่าอาจมีการกรอกรหัสผิดถึงหลักร้อยใบ หรือเป็นไปได้ที่อาจมีการกรอกรหัสผิดได้หมดทั้งกล่องได้
ซึ่งเขียนรหัสเขตเลือกตั้งผิด หรือไม่เขียนเลย จะทำให้บัตรเลือกตั้งกลายเป็นบัตรเสีย ไม่ถูกนับคะแนนทันที
โดยพบการกรอกรหัสผิดอย่างชัดเจนในหน่วยเลือกตั้ง เช่น
ช่วงเวลาประมาณ 12.53 น. หน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าสำนักงานเขตห้วยขวาง ชุด 24 (ราชบุรี ระยอง ร้อยเอ็ด) พบเหตุเจ้าหน้าที่ไม่ยอมเขียนรหัสเขตเลือกตั้งบนหน้าซอง และปล่อยให้ประชาชนหย่อนบัตรจนเกือบเต็มกล่อง
หน่วยเลือกตั้งที่จังหวัดนนทบุรี เขียนเขตเลือกตั้งผิดจากเขต 2 เป็นเขต 4 และกรอกรหัสไปรษณีย์แทนรหัสจังหวัด ประมาณ 100 คน
บริเวณหน่วยเลือกตั้งลานหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี มีรายงานว่า กปน. เขียนเขตเลือกตั้งบนบัตรของผู้มาใช้สิทธิจังหวัดบุรีรัมย์ผิดทั้งหมดในช่วงเช้า
และยังมีอีกหลายเขตที่คนไปใช้สิทธิร้องเรียนบนโลกออนไลน์ กรณีเจ้าหน้าที่เขียนเขตผิด หรือไม่ยอมเขียนรหัสเขต แสดงให้เห็นถึงการละหลวมของเจ้าหน้าที่ที่มาจากการคัดเลือกของ กกต. อย่างชัดเจน
รายชื่อผู้สมัครส.ส.ตกหล่น
เนื่องจากการเลือกตั้ง 2566 มีการกำหนดหมายผู้สมัครแต่ละเขตไม่เหมือนกัน จนส่งผลให้ผู้ใช้สิทธิจำนวนมากไม่สามารถจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส. ได้อย่างชัดเจน
จึงทำให้ผู้ใช้สิทธิหลายส่วนอาศัยการดูหมายเลขผู้สมัครที่หน้าคูหา แต่ทว่า จากการร้องเรียนบนทวิตเตอร์พบว่า เอกสารที่หน้าหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าหลายหน่วย ไม่พบรายชื่อผู้สมัครบางพรรคโดยเฉพาะ พรรคเพื่อไทย และ พรรคก้าวไกล เช่น
บนบอร์ดบริเวณหน้าหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าเขต 4 โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดสุรินทร์ ไม่มีรายชื่อผู้สมัครพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย โดยคาดการณ์ว่าถูกดึงออกไป สร้างความสับสนแก่ผู้ใช้สิทธิ
แสดงให้เห็นถึงความสะเพร่าของหน่วยงานกำกับดูแลชัดเจน
สถานที่เลือกตั้งไม่รองรับ-อุปกรณ์ไม่คุ้มภาษี
โลกโซเชียลมีเดียมีการแชร์ภาพจากเพจ The Standard จนเป็นไวรัล โดยเป็นภาพเจ้าหน้าที่ขนเข่งผักบรรจุบัตรเลือกตั้งไว้ภายใน
ขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของหน่วยงานที่ได้รับงบสนับสนุนกว่า 6 พันล้านบาท ทั้งที่ตามหลักแล้วควรใช้อุปกรณ์ที่ดูรัดกุม น่าเชื่อถือมากกว่านี้
รวมไปถึงยังมีการเปรียบเทียบการเลือกตั้งของต่างประเทศที่ดูมีการจัดการที่ปลอดภัยกับเสียงประชาชนมากกว่าประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์สถานที่เลือกตั้งในบางหน่วยว่าไม่รองรับกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ แม้กกต. จะสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าเขตใดที่จะมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเท่าใด แต่กลับใช้พื้นที่เล็กจนสร้างความเบียดเสียนชุลมุนให้กับประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
พื้นที่สำนักงานเขตห้วยขวาง มีตัวเลขผู้มาใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 24,000 คน แต่ผู้ใช้สิทธิต้องแออัดต่อแถวเพียงแถวเดียวเพื่อรอเลือกตั้ง โดยไม่มีการขยายพื้นที่แต่อย่างใด
พื้นที่หน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าอีกหลายเขต ผู้ใช้สิทธิจำนวนมาต้องต่อแถวกลางแดด และต้องรอใช้สิทธินานกว่า 2 ชั่วโมงกว่าถึงเวลาปิดหีบ
ผู้ใช้สิทธิมากเกินปกติ
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตนักการเมือง ได้ร่วมโพสต์เฟซบุ๊กถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ตรวจสอบการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นกัน
โดยจับสังเกต พบว่า มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเยอะผิดปกติใน 3 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร เกือบแสนคน เมื่อเทียบกับสถิติเดิมของการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อปี 2562
#กกตมีไว้ทำไม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในวันเลือกตั้งหน้าและย้อนไปถึงวีรกรรมที่ก่อนการเลือกตั้ง ส่งผลให้สังคมออนไลน์ผุด #กกตมีไว้ทำไม เรียกร้องการทำงานเจ้าหน้าที่ที่ไม่คุ้มภาษีประชาชนเอาเสียเลย
มีการแชร์คลิปผู้มาใช้สิทธิไปรวมตัวกันประท้วงการทำงานของเจ้าหน้าที่ ที่ทำงานสะเพร่ากรอกเลขรหัสเขตผิดจนอาจทำให้เกิดบัตรเสีย, มีการร้องเรียนเจ้าหน้าที่แจ้งเขตมั่วซั่วจนทำให้กาเบอร์ผิดไม่ตรงกับเขตตัวเอง
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผู้ใช้สิทธิอีกลายเสียงอีกออกมาเรียกร้องการทำงานสุดมึนของเจ้าหน้าที่ โดยหนึ่งในนั้นเป็นโพสต์ของผู้พิการทางสายตาที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่หน่วยกาบัตรแทน และไม่ให้จับอักษรเบรลล์บนบัตรเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบ
ส่งผลให้เกิดการระดมพลร้องเรียนขับไล่เจ้าหน้าที่ กกต. ในเว็บไซต์ Change.org ซึ่งตอนนี้มีผู้ร่วมลงชื่อทะลุ 1 ล้านราย เพียงข้ามคืน
รวมถึงเรียกร้องให้ กกต. ต้องติดคุกจากประวัติการทำงานขัดกับ คำขวัญประจำองค์กรที่ว่า “สุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม”
หมายเหตุ : คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาจากมติเห็นชอบโดย สนช. ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เอาแล้ว ชี้ยื่นถอดถอน กกต.ได้ ปมจัดกาบัตรล่วงหน้า ฐานประมาทเลินเล่อร้ายแรง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7651043
คอลัมนิสต์ชื่อดัง ฟาดแรง กกต. จัดกาบัตรล่วงหน้า ข้อผิดพลาดอื้อ ทั้งที่ถูกทักท้วงก่อนแล้ว ชี้จงใจทุจริตหรือไม่ พิสูจน์ยาก แต่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง ถอดถอนได้
เมื่อวันที่ 8 พ.ค. นายอธึกกิต แสวงสุข คอลัมนิสต์อาวุโส เจ้าของนามปากกา ใบตองแห้ง โพสต์เฟซบุ๊ก Atukkit Sawangsuk ระบุถึงการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า
สิ่งที่ กกต.อ้างว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่
เป็นสิ่งที่เล็งเห็นได้ และประชาชนก็ทักท้วงมาก่อนหน้านี้ว่า
ทำไมไม่พิมพ์บัตร ส.ส.เขต 400 เขต ให้ต่างกัน ใส่ทั้งเบอร์ใส่ทั้งชื่อใส่ทั้งพรรค
กกต.แม่-ก็ยังดันทุรัง พิมพ์บัตรเหมือนกันทั้ง 400 เขต
ก่อนเลือกตั้งล่วงหน้า ก็ทักท้วงกันอี้ออึงแล้วว่า ให้ระวังจะสับสน เพราะบัตรเหมือนกัน
ถ้าใส่ซองผิด ส่งผิด หรือทุจริตสลับซอง
กาผู้สมัครพรรคฝ่ายค้านเขต 1 ส่งไปนับเขต 2 จะกลายเป็นกา รวมไทยสร้างชาติ
จงใจทุจริตหรือไม่อาจพิสูจน์ยาก แต่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ถอดถอนได้
https://www.facebook.com/baitongpost/posts/pfbid02SyUsMMSJkVETXytVPDgu6tzjjTpKudHBRXs2quetFCdZEAQnSLdyf6JBhSRc1u3Pl
‘แอตต้า’ จวกโยนหินถามทางเก็บภาษีเที่ยวนอก เป็นนโยบายสุดล้าหลัง
https://www.matichon.co.th/economy/news_3965321
‘แอตต้า’ จวกโยนหินถามทางเก็บภาษีเที่ยวนอก เป็นนโยบายสุดล้าหลัง
นายอดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เปิดเผยว่า กรณีกรมสรรพากรอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็นการเก็บภาษีเดินทางออกนอกประเทศผ่านทางอากาศ ครั้งละ 1,000 บาท เพื่อเป็นการหารายได้ให้แก่รัฐบาล ป้องกันการนำเงินออกไปใช้ต่างประเทศมากเกินสมควร และรักษาดุลทางการเงินของประเทศนั้น เบื้องต้นประเมินว่าเป็นนโยบายที่มีความล้าหลังมาก โดยในปี 2562 มีคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศประมาณ 1.2 ล้านคน หากเก็บคนละ 1,000 บาท จะสร้างรายได้เข้ารัฐประมาณ 1.2 พันล้านบาท เทียบกับนโยบายปัจจุบัน อาทิ การแจกเงินในบัตรคนจน คิดเป็นเม็ดเงินต่อเดือนอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาทแล้ว จึงมองว่าแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
นายอดิษฐ์ กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวถือเป็นการกีดกันการเดินทางออกไปเที่ยวต่างประเทศของคนไทย ในฐานะประชาชนคนไทย การเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ เป็นการใช้เงินส่วนตัวที่หามาเอง ซึ่งการเดินทางคือการเดินรู้โลกกว้าง ทักษะและองค์ความรู้ที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ทำให้เกิดวิสัยทัศ มุมมองใหม่ และโอกาสในการศึกษารวมถึงด้านการค้าการลงทุนต่างๆ ทำให้เมื่อมีการออกนโยบายในการปิดกั้นการเดินทางแบบนี้ ก็สะท้อนถึงตัวตนของผู้ที่คิดนโยบายนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้คนไทยโง่มากขึ้น
นายอดิษฐ์ กล่าวว่า การเก็บเงิน 1,000 บาท เพราะอาจทำให้คนไทยเดินทางน้อยลง ลดการนำเงินไปใช้ต่างประเทศ มองว่าไม่ได้ทำให้คนเดินทางน้อยลงได้ แต่เป็นนโยบายที่หากเดินทางไปทำตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวไทยนั้น ถามว่าจะเป็นผลกระทบทำให้ผู้ทำตลาดเจรจาการทำธุรกิจได้ยากขึ้นหรือไม่ เพราะประเทศไทยต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย แต่กลับทำนโยบายกีดกันไม่ให้คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ แล้วถามว่าหากทำธุรกิจภายใต้นโยบายแบบนี้ ใครจะมาคบค้ากับประเทศไทย
นายอดิษฐ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลต้องการงบประมาณเพิ่มประมาณ 1.2 พันล้านบาทนี้ ในฐานะประชาชนนั้น อยากให้รัฐบาลพิจารณางบประมาณในการออกไปดูงานต่างประเทศของหน่วยงานรัฐบาล ตัดงบประมาณในส่วนนี้ออกให้หมด เพื่อนำมาเป็นรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นก่อน นำเงินส่วนนั้นมาแทนดีกว่า เพราประชาชนต้องจ่ายเงินด้วยตัวเองในการเดินทาง แต่หน่วยงานรัฐใช้งบประมาณในการเดินทางไปต่างประเทศที่มาจากภาษีของประชาชน โดยประเมินว่าเงินจำนวน 1,000 บาท ที่จะจัดเก็บไม่ได้เป็นภาระมากมายนัก แต่ขัดกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่พยายามเปิดประเทศ และขับเคลื่อนด้วยภาคการท่องเที่ยวในการสร้างรายได้หลักของเศรษฐกิจไทยด้วย
“หากจะเก็บ 1,000 บาทจากประชนชนในการเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อนำเป็นรายได้เข้ารัฐ อยากให้รัฐบาลนำเสนองบประมาณแต่ละปี ว่าการนำงบประมาณมาใช้ในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ ใช้งบประมาณแต่ละปีอยู่ที่เท่าใด หากประหยัดงบประมาณเหล่านี้จะเป็นอย่างไร บวกกับงบประมาณที่เสียไป หากเทียบกับงานที่ได้มานั้นมีความคุ้มค่ามากน้อยเท่าใด โดยอยากให้มีการจัดทำผลการศึกษาอย่างชัดเจนด้วย” นายอดิษฐ์ กล่าว