เลือกตั้ง 2562: บัตรเลือกตั้งแบบใหม่ ใครชอบ ใครชัง – BBCไทย
นอกจากการออกแบบการเลือกตั้งใหม่ “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่สร้างเงื่อนไขซับซ้อนในการคิดคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อแล้ว
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำลังมีแนวคิดออก “บัตรเลือกตั้งแบบใหม่” ที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัคร จนทำให้เกิดกระแสต่อ
ต้าน เพราะต่างเห็นว่าจะสร้างความสับสนจนนำไปสู่โอกาสในการทุจริตการเลือกตั้งได้
เสียงวิจารณ์จากอดีตกรรมการ กกต. และนักกฎหมายมหาชน ระบุว่า บัตรเลือกตั้งที่พิมพ์แบบเดียวใช้ทั่วประเทศ ขัดกับเจตนารมณ์
ของรัฐธรรมนูญและเสี่ยงถูกฟ้องร้องในอนาคต ด้านรองเลขา กกต. เผยยังไม่ตัดสินใจใช้ แค่วางไว้ 2 รูปแบบ มีทั้งแบบข้อมูลครบ
ถ้วน และเฉพาะหมายเลขผู้สมัคร แต่แย้มว่าแบบหลังมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกใช้ เพราะสะดวกในการขนส่งไปเพื่อจัดเลือกตั้งนอก
ราชอาณาจักร
ทว่า ปัญหาที่สำคัญสำหรับคนเลือกตั้งก็คือ หมายเลขผู้สมัครของแต่ละพรรคจะไม่เหมือนกันทั้งประเทศ ขึ้นอยู่กับแต่ละเขตจนเกิดคำ
ถามขึ้นมาว่า “ผู้ลงคะแนนจะจดจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.เขตตนเองได้อย่างไร”
ทำไมบัตรเลือกตั้งต้องมีชื่อพรรค
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์อธิบายเรื่องนี้บนเฟซบุ๊ก
ส่วนตัว Prinya Thaewanarumitkul ว่า “ในบัตรเลือกตั้งนอกจากจะต้องมีชื่อผู้สมัคร และหมายเลขของผู้สมัครแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้
เลยคือ ชื่อพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้นสังกัด เพื่อให้ประชาชนที่จะเลือกเป็นพรรค หรือเลือกจากนโยบายพรรค จะได้ทราบว่าพรรคที่
อยากจะเลือกนั้นมีหมายเลขใด เพื่อที่จะไม่สับสนสงสัยตอนอยู่ในคูหา และสามารถกากบาทได้ถูก”
นักนิติศาสตร์รายนี้อธิบายเพิ่มเติมว่า การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การเลือกผู้แทนหรือเลือกตัวคน แต่ประชาชน
จะต้องมีส่วนในการกำหนดนโยบายของประเทศด้วย เพราะเมื่อพรรคการเมืองใดได้เป็นรัฐบาล พรรคการเมืองนั้นก็มีหน้าที่ต้องนำนโยบาย
ที่หาเสียงไว้ไปเป็นนโยบายประเทศ ประชาชนจึงกำหนดนโยบายประเทศได้โดยการเลือกพรรคการเมืองในวันเลือกตั้ง
ส่อเค้าวุ่นวายอย่างไรเมื่อไม่มีชื่อพรรค
ในการเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เป็นระบบใหม่ที่เรียกว่า “จัดสรรปันส่วนผสม” ตาม พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. มีเนื้อหาทั้งสิ้น
178 มาตรา โดยให้ประชาชนเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต 350 เขต และนำคะแนนผู้สมัคร ส.ส. ทั้งประเทศของพรรคนั้น ๆ ไปคำนวณสัด
ส่วนจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรวม 150 คน ที่น่าสนใจคือ พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีหมายเลขแตกต่างกันในแต่ละเขตเลือกตั้ง
นักกฎหมายมหาชนผู้นี้ วิเคราะห์เพิ่มเติมว่า การไม่มีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง ทำให้ลดทอนความสำคัญของพรรคการเมือง และทำให้
ความได้เปรียบของพรรคการเมืองเก่าหมดไป รวมทั้งเกิดการตั้งคำถามต่อความเป็นกลางของ กกต.
เลือกตั้ง 2562: บัตรเลือกตั้งแบบใหม่
“แล้วก็จะไปกันใหญ่ในเรื่องความสงสัยที่ผู้คนเริ่มตั้งคำถามหรือสงสัยเรื่องความเป็นตัวของตัวเองของ กกต. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนใน
รัฐบาล คสช. ลงมาตั้งพรรคแล้วเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ เรื่องนี้ถ้า กกต. ไม่ถอย ก็จะลามเป็นความ
สงสัยไปถึงการเลือกตั้งทั้งหมดได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแต่ประการใด”
กระแสสังคมยังต่อต้านแนวความคิดนี้อย่างต่อเนื่อง เช่น เฟซบุ๊กเพจของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย ที่มีผู้ติดตามราว 8,600 คน ออกมาเรียก
ร้องให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่พิมพ์โลโก้และชื่อของพรรคการเมืองลงไปในบัตรเลือกตั้งว่า เป็นการตัดโอกาส
ของผู้ไม่รู้หนังสือ ซึ่งเป็นคนกลุ่มหนึ่งในสังคม และสร้างความสับสนจนอาจจะทำให้เกิดบัตรเสียเพิ่มขึ้น
ส่องบัตรเลือกตั้งในต่างประเทศ เน้นเข้าใจง่าย
บีบีซีไทยสำรวจบัตรเลือกตั้งในต่างประเทศพบว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักรเยอรมนี ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ หรือแม้
แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา ก็มีทั้งหมายเลขผู้สมัคร ชื่อพรรคการเมือง โลโก้พรรค เพื่อทำให้ผู้ใช้สิทธิสามารถเลือกได้อย่างถูกต้อง
นี่คือ ตัวอย่างของบัตรเลือกตั้งของ สหราชอาณาจักร ที่ประกอบด้วยรายละเอียดสำคัญสำหรับผู้ลงคะแนน เช่น ชื่อผู้สมัคร ชื่อพรรคการเมืองที่
สังกัด โลโก้พรรค และที่อยู่ของสำนักงานของพรรคการเมือง รวมไปถึงวิธีการลงคะแนนอีกด้วย
ส่อขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ที่ถูกหัวหน้า คสช. ใช้มาตรา 44 ปลดออกจากตำแหน่งก็โพสต์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ทางเฟซบุ๊ก
ในชื่อตนเอง เช่นกัน ในวันที่ 10 ธ.ค. ว่า การพิมพ์บัตรเลือกตั้งในลักษณะที่มีเลขผู้สมัครอย่างเดียว สุ่มเสี่ยงกับการถูกฟ้องว่าเป็นการออกแบบ
บัตรเลือกตั้งที่ขัดกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ
ในเวลาต่อมา นายณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ กกต. ออกมาชี้แจงว่า เรื่องรูปแบบของบัตรเลือกตั้งไม่คิดว่ามีประเด็นเรื่องผิดกฎหมาย
เพราะทั้งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเลือกตั้งก็ไม่ได้เขียน ระบุเพียงลักษณะรูปแบบของบัตรให้เป็นไปตามที่ กกต. กำหนด และมองว่าแม้เป็น
บัตรที่มีหมายเลขอย่างเดียวก็ไม่ได้ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายเพราะ กกต. ก็พยายามนำเสนอข้อมูลผู้สมัครและพรรคการเมือง ให้กับผู้มี
สิทธิ์เลือกตั้งในทุกช่องทางจนถึงที่หน้าหน่วยเลือกตั้งครบถ้วนอยู่แล้ว
เตรียมไว้ 2 รูปแบบ ยังไม่ตัดสินใจ
รองเลขาธิการ กกต อธิบายเพิ่มเติมว่า การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นการทำงานของสำนักงาน โดยออกแบบไว้ 2 รูปแบบ
รูปแบบแรก: บัตรมีข้อมูลครบถ้วน ทั้งเบอร์ ชื่อ และโลโก้พรรคการเมือง ได้รับการออกแบบเสร็จไปในระดับหนึ่งแล้วและได้มีการทาบทาม
ที่มีศักยภาพในการผลิตแล้วจำนวนหนึ่ง โดยจากการประสาน ยืนยันว่าทุกบริษัทสามารถพิมพ์ บัตรรูปแบบดังกล่าวแยกเป็นรายเขตได้ครบ
ทั้ง 350 เขต ระบบป้องกันการปลอมแปลงบัตรมีมาตรฐานไม่ต่างจากที่ผ่านมา และจัดส่งได้ทันตามกำหนดเวลา ซึ่งอยู่ระหว่าง กำหนดราย
ละะเอียดสัญญา ก่อนประกวดราคา แต่ต้องรอการตัดสินใจ เลือกรูปแบบบัตรของ กกต.ก่อน
รูปแบบที่ 2: บัตรที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัคร ซึ่งรูปแบบนี้เกิดจากเมื่อได้รูปแบบบัตรที่มีข้อมูลสมบูรณ์แล้ว และมีการไปประชุมกับหน่วยงานสนับ
สนุนระบุว่า การขนส่งบัตรไปยังผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะต้องเป็นบัตรของเขตเลือกตั้งที่ผู้นั้นมีสิทธิอยู่ ในรอบแรก
ไม่มีปัญหา แต่หากเกิดปัญหาบัตรที่ส่งพลัดหลง หรือส่งไม่ถึงมือ การจะส่งบัตรสำรองต้องส่งตรงคนตรงเขตไปให้อาจมีปัญหา มีข้อเสนอว่าให้
พิมพ์ “บัตรโหล” เพราะถ้าเกิดปัญหา บัตรที่ส่งพัดหลงก็สามารถนำบัตรจากที่อื่นทดแทนได้
“ทั้งหมดยังเป็นเพียงข้อมูล ที่สำนักงานจะเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจของ กกต. ไม่ได้หมายความว่า กกต.ตัดสินใจแล้ว เรากำลังจะประชุม
เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด “นายณัฏฐ์กล่าว และบอกว่า กกต.จะตัดสินใจอีกครั้งต้นสัปดาห์หน้า
เลือกตั้ง 2562: บัตรเลือกตั้งแบบใหม่ ใครชอบ ใครชัง ...ข่าวสดออนไลน์ ...กกต.ยังไม่ตัดสินใจ .../sao..เหลือ..noi
นอกจากการออกแบบการเลือกตั้งใหม่ “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่สร้างเงื่อนไขซับซ้อนในการคิดคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อแล้ว
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำลังมีแนวคิดออก “บัตรเลือกตั้งแบบใหม่” ที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัคร จนทำให้เกิดกระแสต่อ
ต้าน เพราะต่างเห็นว่าจะสร้างความสับสนจนนำไปสู่โอกาสในการทุจริตการเลือกตั้งได้
เสียงวิจารณ์จากอดีตกรรมการ กกต. และนักกฎหมายมหาชน ระบุว่า บัตรเลือกตั้งที่พิมพ์แบบเดียวใช้ทั่วประเทศ ขัดกับเจตนารมณ์
ของรัฐธรรมนูญและเสี่ยงถูกฟ้องร้องในอนาคต ด้านรองเลขา กกต. เผยยังไม่ตัดสินใจใช้ แค่วางไว้ 2 รูปแบบ มีทั้งแบบข้อมูลครบ
ถ้วน และเฉพาะหมายเลขผู้สมัคร แต่แย้มว่าแบบหลังมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกใช้ เพราะสะดวกในการขนส่งไปเพื่อจัดเลือกตั้งนอก
ราชอาณาจักร
ทว่า ปัญหาที่สำคัญสำหรับคนเลือกตั้งก็คือ หมายเลขผู้สมัครของแต่ละพรรคจะไม่เหมือนกันทั้งประเทศ ขึ้นอยู่กับแต่ละเขตจนเกิดคำ
ถามขึ้นมาว่า “ผู้ลงคะแนนจะจดจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.เขตตนเองได้อย่างไร”
ทำไมบัตรเลือกตั้งต้องมีชื่อพรรค
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์อธิบายเรื่องนี้บนเฟซบุ๊ก
ส่วนตัว Prinya Thaewanarumitkul ว่า “ในบัตรเลือกตั้งนอกจากจะต้องมีชื่อผู้สมัคร และหมายเลขของผู้สมัครแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้
เลยคือ ชื่อพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้นสังกัด เพื่อให้ประชาชนที่จะเลือกเป็นพรรค หรือเลือกจากนโยบายพรรค จะได้ทราบว่าพรรคที่
อยากจะเลือกนั้นมีหมายเลขใด เพื่อที่จะไม่สับสนสงสัยตอนอยู่ในคูหา และสามารถกากบาทได้ถูก”
นักนิติศาสตร์รายนี้อธิบายเพิ่มเติมว่า การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การเลือกผู้แทนหรือเลือกตัวคน แต่ประชาชน
จะต้องมีส่วนในการกำหนดนโยบายของประเทศด้วย เพราะเมื่อพรรคการเมืองใดได้เป็นรัฐบาล พรรคการเมืองนั้นก็มีหน้าที่ต้องนำนโยบาย
ที่หาเสียงไว้ไปเป็นนโยบายประเทศ ประชาชนจึงกำหนดนโยบายประเทศได้โดยการเลือกพรรคการเมืองในวันเลือกตั้ง
ส่อเค้าวุ่นวายอย่างไรเมื่อไม่มีชื่อพรรค
ในการเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เป็นระบบใหม่ที่เรียกว่า “จัดสรรปันส่วนผสม” ตาม พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. มีเนื้อหาทั้งสิ้น
178 มาตรา โดยให้ประชาชนเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต 350 เขต และนำคะแนนผู้สมัคร ส.ส. ทั้งประเทศของพรรคนั้น ๆ ไปคำนวณสัด
ส่วนจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อรวม 150 คน ที่น่าสนใจคือ พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีหมายเลขแตกต่างกันในแต่ละเขตเลือกตั้ง
นักกฎหมายมหาชนผู้นี้ วิเคราะห์เพิ่มเติมว่า การไม่มีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง ทำให้ลดทอนความสำคัญของพรรคการเมือง และทำให้
ความได้เปรียบของพรรคการเมืองเก่าหมดไป รวมทั้งเกิดการตั้งคำถามต่อความเป็นกลางของ กกต.
เลือกตั้ง 2562: บัตรเลือกตั้งแบบใหม่
“แล้วก็จะไปกันใหญ่ในเรื่องความสงสัยที่ผู้คนเริ่มตั้งคำถามหรือสงสัยเรื่องความเป็นตัวของตัวเองของ กกต. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนใน
รัฐบาล คสช. ลงมาตั้งพรรคแล้วเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ เรื่องนี้ถ้า กกต. ไม่ถอย ก็จะลามเป็นความ
สงสัยไปถึงการเลือกตั้งทั้งหมดได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแต่ประการใด”
กระแสสังคมยังต่อต้านแนวความคิดนี้อย่างต่อเนื่อง เช่น เฟซบุ๊กเพจของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย ที่มีผู้ติดตามราว 8,600 คน ออกมาเรียก
ร้องให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่พิมพ์โลโก้และชื่อของพรรคการเมืองลงไปในบัตรเลือกตั้งว่า เป็นการตัดโอกาส
ของผู้ไม่รู้หนังสือ ซึ่งเป็นคนกลุ่มหนึ่งในสังคม และสร้างความสับสนจนอาจจะทำให้เกิดบัตรเสียเพิ่มขึ้น
ส่องบัตรเลือกตั้งในต่างประเทศ เน้นเข้าใจง่าย
บีบีซีไทยสำรวจบัตรเลือกตั้งในต่างประเทศพบว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักรเยอรมนี ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ หรือแม้
แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา ก็มีทั้งหมายเลขผู้สมัคร ชื่อพรรคการเมือง โลโก้พรรค เพื่อทำให้ผู้ใช้สิทธิสามารถเลือกได้อย่างถูกต้อง
นี่คือ ตัวอย่างของบัตรเลือกตั้งของ สหราชอาณาจักร ที่ประกอบด้วยรายละเอียดสำคัญสำหรับผู้ลงคะแนน เช่น ชื่อผู้สมัคร ชื่อพรรคการเมืองที่
สังกัด โลโก้พรรค และที่อยู่ของสำนักงานของพรรคการเมือง รวมไปถึงวิธีการลงคะแนนอีกด้วย
ส่อขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ที่ถูกหัวหน้า คสช. ใช้มาตรา 44 ปลดออกจากตำแหน่งก็โพสต์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ทางเฟซบุ๊ก
ในชื่อตนเอง เช่นกัน ในวันที่ 10 ธ.ค. ว่า การพิมพ์บัตรเลือกตั้งในลักษณะที่มีเลขผู้สมัครอย่างเดียว สุ่มเสี่ยงกับการถูกฟ้องว่าเป็นการออกแบบ
บัตรเลือกตั้งที่ขัดกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ
ในเวลาต่อมา นายณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ กกต. ออกมาชี้แจงว่า เรื่องรูปแบบของบัตรเลือกตั้งไม่คิดว่ามีประเด็นเรื่องผิดกฎหมาย
เพราะทั้งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเลือกตั้งก็ไม่ได้เขียน ระบุเพียงลักษณะรูปแบบของบัตรให้เป็นไปตามที่ กกต. กำหนด และมองว่าแม้เป็น
บัตรที่มีหมายเลขอย่างเดียวก็ไม่ได้ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายเพราะ กกต. ก็พยายามนำเสนอข้อมูลผู้สมัครและพรรคการเมือง ให้กับผู้มี
สิทธิ์เลือกตั้งในทุกช่องทางจนถึงที่หน้าหน่วยเลือกตั้งครบถ้วนอยู่แล้ว
เตรียมไว้ 2 รูปแบบ ยังไม่ตัดสินใจ
รองเลขาธิการ กกต อธิบายเพิ่มเติมว่า การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นการทำงานของสำนักงาน โดยออกแบบไว้ 2 รูปแบบ
รูปแบบแรก: บัตรมีข้อมูลครบถ้วน ทั้งเบอร์ ชื่อ และโลโก้พรรคการเมือง ได้รับการออกแบบเสร็จไปในระดับหนึ่งแล้วและได้มีการทาบทาม
ที่มีศักยภาพในการผลิตแล้วจำนวนหนึ่ง โดยจากการประสาน ยืนยันว่าทุกบริษัทสามารถพิมพ์ บัตรรูปแบบดังกล่าวแยกเป็นรายเขตได้ครบ
ทั้ง 350 เขต ระบบป้องกันการปลอมแปลงบัตรมีมาตรฐานไม่ต่างจากที่ผ่านมา และจัดส่งได้ทันตามกำหนดเวลา ซึ่งอยู่ระหว่าง กำหนดราย
ละะเอียดสัญญา ก่อนประกวดราคา แต่ต้องรอการตัดสินใจ เลือกรูปแบบบัตรของ กกต.ก่อน
รูปแบบที่ 2: บัตรที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัคร ซึ่งรูปแบบนี้เกิดจากเมื่อได้รูปแบบบัตรที่มีข้อมูลสมบูรณ์แล้ว และมีการไปประชุมกับหน่วยงานสนับ
สนุนระบุว่า การขนส่งบัตรไปยังผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะต้องเป็นบัตรของเขตเลือกตั้งที่ผู้นั้นมีสิทธิอยู่ ในรอบแรก
ไม่มีปัญหา แต่หากเกิดปัญหาบัตรที่ส่งพลัดหลง หรือส่งไม่ถึงมือ การจะส่งบัตรสำรองต้องส่งตรงคนตรงเขตไปให้อาจมีปัญหา มีข้อเสนอว่าให้
พิมพ์ “บัตรโหล” เพราะถ้าเกิดปัญหา บัตรที่ส่งพัดหลงก็สามารถนำบัตรจากที่อื่นทดแทนได้
“ทั้งหมดยังเป็นเพียงข้อมูล ที่สำนักงานจะเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจของ กกต. ไม่ได้หมายความว่า กกต.ตัดสินใจแล้ว เรากำลังจะประชุม
เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด “นายณัฏฐ์กล่าว และบอกว่า กกต.จะตัดสินใจอีกครั้งต้นสัปดาห์หน้า