@ "มีชัย"ย้ำใช้ระบบบัตรลต. 1 ใบ
ที่รัฐสภามีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาระบบการเลือกตั้งและวิธีการนับคะแนนเลือกตั้ง จากนั้นเวลา 15.00 น. นายมีชัยแถลงว่า หลังจากที่ทาง กรธ.ได้เสนอหลักการระบบการเลือกตั้งและวิธีการคิดคะแนนแบบใหม่ที่จะไม่ทำให้คะแนนของประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งต้องเสียไปไม่ว่าจะลงคะแนนให้กับผู้ใด ซึ่งทาง กรธ.ได้รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด โดยเฉพาะข้อท้วงติงของการไม่นำคะแนนของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาคิดคำนวณ ทาง กรธ.เล็งเห็นว่าข้อท้วงติงดังกล่าวมีเหตุผลจึงได้มีการหารือเพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งเท่าที่มีการปรึกษาหารือยังเห็นว่าการลงคะแนนเลือกตั้งด้วยบัตรเลือกตั้งเพียง 1 ใบ เป็นหลักการที่ถูกต้องเพราะจะทำให้คนที่ไปลงคะแนนเลือกตั้งพิจารณาทั้งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อไปพร้อมกัน ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง
@ ส.ส.เขต350 - ปาร์ตี้ลิสต์150
นายมีชัยกล่าวว่า ส่วนวิธีการที่จะนำคะแนนเหล่านั้นมาคำนวณเพื่อหาสัดส่วนของ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมีด้วยกันหลายวิธี โดยกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะทำเช่นไรจึงจะนำคะแนนทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ลงคะแนนเป็นธรรมและดีที่สุด อยู่กันอยู่อย่างสงบสุข แต่จำนวน ส.ส.นั้นได้ข้อสรุปว่าจะให้มี ส.ส.จำนวน 500 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน โดยบัญชีรายชื่อจะเป็นบัญชีเดียว มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีคนมาจากทุกภาคซึ่งจะมีการเขียนกำหนดไว้ในกฎหมายลูกต่อไป สำหรับฐานที่มาของจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อนั้น ทาง กรธ.พิจารณาแล้วว่าจำนวนตัวเลขมีความใกล้เคียงกับที่ผ่านมามากที่สุด เมื่อจะให้ประชาชนที่ไปลงคะแนนมีน้ำหนัก ไม่แตกต่างไปจากเดิม จึงเห็นว่าน่าจะเป็นเกณฑ์ที่พอดีและเหมาะสม ส่วนเหตุผลของการให้มีบัตรเลือกตั้งเพียง 1 ใบนั้น เชื่อว่าจะเป็นวิธีเดียวที่จะไม่ทำให้คะแนนที่ประชาชนไปลงคะแนนต้องสูญเปล่าไป ขณะเดียวกันทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ยืนยันว่าวิธีการแบบนี้จะช่วยทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งเพราะพรรคต้องคัดเลือกคนที่ดีที่สุดลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นธรรมที่สุด
@ ชี้ช่วยพรรค-รัฐบาลเข้มแข็ง
เมื่อถามว่า ระบบการเลือกตั้งแบบนี้จะส่งผลให้พรรคขนาดกลางและพรรคขนาดเล็กเกิดความเสียเปรียบหรือไม่เพราะไม่สามารถส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งได้ทุกเขต นายมีชัยกล่าวว่า หากส่งน้อยก็ได้คะแนนน้อย ซึ่งเป็นหลักการทั่วไป หากไม่ส่งผู้สมัครแล้วจะได้คะแนนได้อย่างไร ซึ่งต้องส่งเสริมให้พรรคเล็กมีทุน แต่ไม่ว่าจะใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด พรรคเล็กที่ส่งผู้สมัครเท่าใดก็ได้ผลเท่านั้น ส่ง 2 เขต หวังจะให้ได้ 50 เขตแข่งกับพรรคขนาดใหญ่ก็เป็นไปไม่ได้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าหากลงไปช่วยเพื่อให้พรรคเล็กได้คะแนนมากพรรคใหญ่ก็คงจะว่าเอา ช่วยพรรคใหญ่พรรคเล็กก็ว่าเอาได้ เมื่อถามว่า การเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งจะก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างไรบ้าง นายมีชัยกล่าวว่า ผลลัพธ์คือประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิจะมีกำลังใจในการออกมาใช้สิทธิ ไม่ได้ทำเรื่องนี้เพื่อพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่ได้คิดถึงประโยชน์ของพรรค แต่ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง โดยระบบการเลือกตั้งแบบนี้รัฐบาลยังมีความเข้มแข็ง ถ้าชนะมากก็ได้ ส.ส.มาก เป็นหลักการปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องที่กังวล กังวลแต่เพียงว่าเมื่อคนออกมาลงคะแนนเลือกตั้งแล้วจะทำอย่างไรให้คะแนนของประชาชนมีน้ำหนักหรือให้เขามีที่ยืนในสังคม
@ เล็งเพิ่มโทษทุจริตเลือกตั้ง
เมื่อถามว่า ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่จะมีผลกระทบต่อการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า จะไม่ลำบากเพราะ กกต.มีความเชี่ยวชาญ แต่จะมีผลกระทบเพราะเดิมเวลาที่จับได้ว่า ส.ส.แบบเขตไปซื้อเสียง กกต.จะให้ใบแดง ส.ส.เขตผู้นั้น ถามว่า ส.ส.เขตผู้นั้นซื้อเสียงให้ตัวเองหรือซื้อให้บัญชีรายชื่อแนวโน้มคือซื้อให้บัญชีรายชื่อด้วย แต่ถามว่ากระทบต่อบัญชีรายชื่อหรือไม่ คำตอบคือไม่กระทบเพราะเป็นการลงคะแนนทั้งประเทศ ไม่รู้จะแยกอย่างไร กกต.จึงไม่ได้ทำสิ่งใดกับคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ แต่ครั้งนี้เมื่อแยกเป็นเขตและจังหวัด ถ้า ส.ส.แบบเขตผู้ใดทุจริต คะแนนบัญชีรายชื่อของพรรคนั้นจะถูกลบออกแล้วไปเลือกใหม่ เมื่อเลือกใหม่แล้วนำมาคำนวณใหม่ แล้วก็จะมีผลเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อด้วย เพราะฉะนั้นมาตรการนี้จะทำให้พรรคต้องระมัดระวังการทุจริตให้มากยิ่งขึ้นนอกเหนือไปจากบทลงโทษที่กำลังหาทางทำให้แรงขึ้น
@ เล็งปมยุบพรรค-ส่วนบุคคล
เมื่อถามว่า ถ้าต้องเลือกตั้งใหม่ต้องมีการนำคะแนนกลับมาคำนวณเพื่อหา ส.ส.บัญชีรายชื่อหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า คะแนนของทุกพรรคจะเกิดขึ้นตอนเลือกตั้งครั้งใหม่เหมือนกัน ถามว่าจะทำให้เกิดความไม่มั่นคงไหม ก็ต้องถามว่าถ้ามันมาจากการทุจริตจะหลับตาแล้วปล่อยให้อยู่อย่างนั้นต่อไปหรือไม่ คิดว่าไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าทุจริตจนจำนวน ส.ส.ลดน้อยลง คิดว่าควรจะอยู่หรือไม่ เมื่อถามว่า การกำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการทุจริต การยุบพรรคการเมืองยังมีความจำเป็นหรือไม่ ประธาน กรธ.กล่าวว่า ถ้าพรรคทั้งพรรคทุจริตก็ต้องยุบ แต่ว่าคงไม่ใช้แบบระบบเดิมคือผู้บริหารกระทำผิดแล้วยุบพรรค อาจจะเปลี่ยนแปลง ไม่ไปไกลถึงขั้นนั้น เพราะว่าเห็นใจคนที่ไม่เกี่ยวข้อง เมื่อถามว่า เท่ากับว่าจะตัดสิทธิเฉพาะตัวบุคคลแล้วตัวพรรคจะยุบหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า คนที่ทุจริตหรือรู้เห็นเป็นใจ ส่วนตัวพรรคยังไม่มีความคิดที่จะยุบ เว้นแต่พรรคจะกระทำเองแบบเห็นชัดเจน เมื่อถามว่า จะวัดได้อย่างไรว่าพรรคกระทำผิดเอง นายมีชัยกล่าวว่า ถ้าพรรคยอมให้คนต่างชาติเข้ามาบริหาร อย่างนั้นก็ต้องยุบพรรค
@คนอยู่ต่างชาติบริหารต้องยุบ
เมื่อถามว่า ถ้าพรรคยอมให้คนที่อยู่ต่างชาติบริหารต้องยุบพรรคหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่าคนนั้นเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่ ถ้าไม่เป็นก็อาจจะต้องยุบเพราะแปลว่าพรรคนั้นไม่มีคนมีฝีมือพอที่จะบริหารได้แล้ว จึงต้องให้คนที่อยู่ข้างนอกมาบริหาร
เมื่อถามว่า จะวางหลักเกณฑ์อย่างไรเพื่อไม่ให้คนภายนอกเข้ามาบริหารพรรค หลังจากก่อนหน้านี้กกต.เคยบอกว่าเอาผิดไม่ได้ นายมีชัยกล่าวว่า คงไม่เขียนรายละเอียดในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ กรธ.คงวางแต่หลักการเอาไว้ และไปกำหนดรายละเอียดในกฎหมายลูกว่าการกระทำอย่างไรถึงจะถือว่าเป็นการบริหารพรรคการเมืองโดยบุคคลภายนอก ซึ่งถ้าเคยเกิดเป็นปัญหาของ กกต.และถ้า กกต. มาเล่าให้ กรธ.ฟัง กรธ.มีหน้าที่ต้องแก้ปัญหาให้ กกต.
JJNY : มีชัย เผย คนอยู่ต่างชาติบริหาร ต้องยุบ - กรธ.เคาะสภา500คน-สส.2แบบ บัตรใบเดียว
ที่รัฐสภามีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาระบบการเลือกตั้งและวิธีการนับคะแนนเลือกตั้ง จากนั้นเวลา 15.00 น. นายมีชัยแถลงว่า หลังจากที่ทาง กรธ.ได้เสนอหลักการระบบการเลือกตั้งและวิธีการคิดคะแนนแบบใหม่ที่จะไม่ทำให้คะแนนของประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งต้องเสียไปไม่ว่าจะลงคะแนนให้กับผู้ใด ซึ่งทาง กรธ.ได้รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด โดยเฉพาะข้อท้วงติงของการไม่นำคะแนนของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาคิดคำนวณ ทาง กรธ.เล็งเห็นว่าข้อท้วงติงดังกล่าวมีเหตุผลจึงได้มีการหารือเพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งเท่าที่มีการปรึกษาหารือยังเห็นว่าการลงคะแนนเลือกตั้งด้วยบัตรเลือกตั้งเพียง 1 ใบ เป็นหลักการที่ถูกต้องเพราะจะทำให้คนที่ไปลงคะแนนเลือกตั้งพิจารณาทั้งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อไปพร้อมกัน ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง
@ ส.ส.เขต350 - ปาร์ตี้ลิสต์150
นายมีชัยกล่าวว่า ส่วนวิธีการที่จะนำคะแนนเหล่านั้นมาคำนวณเพื่อหาสัดส่วนของ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมีด้วยกันหลายวิธี โดยกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะทำเช่นไรจึงจะนำคะแนนทั้งหมดมาคำนวณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ลงคะแนนเป็นธรรมและดีที่สุด อยู่กันอยู่อย่างสงบสุข แต่จำนวน ส.ส.นั้นได้ข้อสรุปว่าจะให้มี ส.ส.จำนวน 500 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน โดยบัญชีรายชื่อจะเป็นบัญชีเดียว มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีคนมาจากทุกภาคซึ่งจะมีการเขียนกำหนดไว้ในกฎหมายลูกต่อไป สำหรับฐานที่มาของจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อนั้น ทาง กรธ.พิจารณาแล้วว่าจำนวนตัวเลขมีความใกล้เคียงกับที่ผ่านมามากที่สุด เมื่อจะให้ประชาชนที่ไปลงคะแนนมีน้ำหนัก ไม่แตกต่างไปจากเดิม จึงเห็นว่าน่าจะเป็นเกณฑ์ที่พอดีและเหมาะสม ส่วนเหตุผลของการให้มีบัตรเลือกตั้งเพียง 1 ใบนั้น เชื่อว่าจะเป็นวิธีเดียวที่จะไม่ทำให้คะแนนที่ประชาชนไปลงคะแนนต้องสูญเปล่าไป ขณะเดียวกันทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ยืนยันว่าวิธีการแบบนี้จะช่วยทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งเพราะพรรคต้องคัดเลือกคนที่ดีที่สุดลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นธรรมที่สุด
@ ชี้ช่วยพรรค-รัฐบาลเข้มแข็ง
เมื่อถามว่า ระบบการเลือกตั้งแบบนี้จะส่งผลให้พรรคขนาดกลางและพรรคขนาดเล็กเกิดความเสียเปรียบหรือไม่เพราะไม่สามารถส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งได้ทุกเขต นายมีชัยกล่าวว่า หากส่งน้อยก็ได้คะแนนน้อย ซึ่งเป็นหลักการทั่วไป หากไม่ส่งผู้สมัครแล้วจะได้คะแนนได้อย่างไร ซึ่งต้องส่งเสริมให้พรรคเล็กมีทุน แต่ไม่ว่าจะใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด พรรคเล็กที่ส่งผู้สมัครเท่าใดก็ได้ผลเท่านั้น ส่ง 2 เขต หวังจะให้ได้ 50 เขตแข่งกับพรรคขนาดใหญ่ก็เป็นไปไม่ได้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าหากลงไปช่วยเพื่อให้พรรคเล็กได้คะแนนมากพรรคใหญ่ก็คงจะว่าเอา ช่วยพรรคใหญ่พรรคเล็กก็ว่าเอาได้ เมื่อถามว่า การเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งจะก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างไรบ้าง นายมีชัยกล่าวว่า ผลลัพธ์คือประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิจะมีกำลังใจในการออกมาใช้สิทธิ ไม่ได้ทำเรื่องนี้เพื่อพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่ได้คิดถึงประโยชน์ของพรรค แต่ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง โดยระบบการเลือกตั้งแบบนี้รัฐบาลยังมีความเข้มแข็ง ถ้าชนะมากก็ได้ ส.ส.มาก เป็นหลักการปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องที่กังวล กังวลแต่เพียงว่าเมื่อคนออกมาลงคะแนนเลือกตั้งแล้วจะทำอย่างไรให้คะแนนของประชาชนมีน้ำหนักหรือให้เขามีที่ยืนในสังคม
@ เล็งเพิ่มโทษทุจริตเลือกตั้ง
เมื่อถามว่า ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่จะมีผลกระทบต่อการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า จะไม่ลำบากเพราะ กกต.มีความเชี่ยวชาญ แต่จะมีผลกระทบเพราะเดิมเวลาที่จับได้ว่า ส.ส.แบบเขตไปซื้อเสียง กกต.จะให้ใบแดง ส.ส.เขตผู้นั้น ถามว่า ส.ส.เขตผู้นั้นซื้อเสียงให้ตัวเองหรือซื้อให้บัญชีรายชื่อแนวโน้มคือซื้อให้บัญชีรายชื่อด้วย แต่ถามว่ากระทบต่อบัญชีรายชื่อหรือไม่ คำตอบคือไม่กระทบเพราะเป็นการลงคะแนนทั้งประเทศ ไม่รู้จะแยกอย่างไร กกต.จึงไม่ได้ทำสิ่งใดกับคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ แต่ครั้งนี้เมื่อแยกเป็นเขตและจังหวัด ถ้า ส.ส.แบบเขตผู้ใดทุจริต คะแนนบัญชีรายชื่อของพรรคนั้นจะถูกลบออกแล้วไปเลือกใหม่ เมื่อเลือกใหม่แล้วนำมาคำนวณใหม่ แล้วก็จะมีผลเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อด้วย เพราะฉะนั้นมาตรการนี้จะทำให้พรรคต้องระมัดระวังการทุจริตให้มากยิ่งขึ้นนอกเหนือไปจากบทลงโทษที่กำลังหาทางทำให้แรงขึ้น
@ เล็งปมยุบพรรค-ส่วนบุคคล
เมื่อถามว่า ถ้าต้องเลือกตั้งใหม่ต้องมีการนำคะแนนกลับมาคำนวณเพื่อหา ส.ส.บัญชีรายชื่อหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า คะแนนของทุกพรรคจะเกิดขึ้นตอนเลือกตั้งครั้งใหม่เหมือนกัน ถามว่าจะทำให้เกิดความไม่มั่นคงไหม ก็ต้องถามว่าถ้ามันมาจากการทุจริตจะหลับตาแล้วปล่อยให้อยู่อย่างนั้นต่อไปหรือไม่ คิดว่าไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าทุจริตจนจำนวน ส.ส.ลดน้อยลง คิดว่าควรจะอยู่หรือไม่ เมื่อถามว่า การกำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการทุจริต การยุบพรรคการเมืองยังมีความจำเป็นหรือไม่ ประธาน กรธ.กล่าวว่า ถ้าพรรคทั้งพรรคทุจริตก็ต้องยุบ แต่ว่าคงไม่ใช้แบบระบบเดิมคือผู้บริหารกระทำผิดแล้วยุบพรรค อาจจะเปลี่ยนแปลง ไม่ไปไกลถึงขั้นนั้น เพราะว่าเห็นใจคนที่ไม่เกี่ยวข้อง เมื่อถามว่า เท่ากับว่าจะตัดสิทธิเฉพาะตัวบุคคลแล้วตัวพรรคจะยุบหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า คนที่ทุจริตหรือรู้เห็นเป็นใจ ส่วนตัวพรรคยังไม่มีความคิดที่จะยุบ เว้นแต่พรรคจะกระทำเองแบบเห็นชัดเจน เมื่อถามว่า จะวัดได้อย่างไรว่าพรรคกระทำผิดเอง นายมีชัยกล่าวว่า ถ้าพรรคยอมให้คนต่างชาติเข้ามาบริหาร อย่างนั้นก็ต้องยุบพรรค
@คนอยู่ต่างชาติบริหารต้องยุบ
เมื่อถามว่า ถ้าพรรคยอมให้คนที่อยู่ต่างชาติบริหารต้องยุบพรรคหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่าคนนั้นเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่ ถ้าไม่เป็นก็อาจจะต้องยุบเพราะแปลว่าพรรคนั้นไม่มีคนมีฝีมือพอที่จะบริหารได้แล้ว จึงต้องให้คนที่อยู่ข้างนอกมาบริหาร
เมื่อถามว่า จะวางหลักเกณฑ์อย่างไรเพื่อไม่ให้คนภายนอกเข้ามาบริหารพรรค หลังจากก่อนหน้านี้กกต.เคยบอกว่าเอาผิดไม่ได้ นายมีชัยกล่าวว่า คงไม่เขียนรายละเอียดในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ กรธ.คงวางแต่หลักการเอาไว้ และไปกำหนดรายละเอียดในกฎหมายลูกว่าการกระทำอย่างไรถึงจะถือว่าเป็นการบริหารพรรคการเมืองโดยบุคคลภายนอก ซึ่งถ้าเคยเกิดเป็นปัญหาของ กกต.และถ้า กกต. มาเล่าให้ กรธ.ฟัง กรธ.มีหน้าที่ต้องแก้ปัญหาให้ กกต.