JJNY : 4in1 เพื่อไทยแถลงย้ำสูตรตามรธน./คารมยันปิยบุตรไร้เจตนาหมิ่นศาล/สนท.ประกาศ#กกต.ต้องติดคุก/รถเมล์ขึ้นราคา

“เพื่อไทย” แถลงย้ำ สูตรคำนวนส.ส.ต้องคำนวนตามรธน. เล็งเอาผิดกกต.
https://www.matichon.co.th/politics/news_1445593

“เพื่อไทย” แถลงย้ำ สูตรคำนวนส.ส. ชี้ ต้องคำนวนตามรธน. เตือน กกต. กำลังจงใจไม่ปฏิบัติตามรธน. พรรคเตรียมดำเนินการตามกม.-รธน.ทุกช่องทางเพื่อเอาผิด

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 เมษายน ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) แกนนำพรรค นำโดยพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ หัวหน้าพรรค นายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย และนางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรค ร่วมแถลงถึงกรณีที่ดำเนินการยื่นร้องต่อ กกต. เรื่องสูตรวิธีการคำนวนที่นั่ง ส.ส. นายชูศักดิ์ อ่านคำแถลงพรรคพท. กรณีปัญหาการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ว่าตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เผยแพร่ข่าวสารอ้างว่า กกต.ได้เห็นชอบวิธีการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามที่สำนักงาน กกต.ได้เสนอ โดยอ้างว่าเป็นวิธีที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งเป็นวิธีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 91 และ
พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 128 และมาตรา 129 ประกอบกับเจตนารมณ์ของระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลจากการคำนวณตามวิธีการดังกล่าวทำให้มีพรรคการเมืองได้รับจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไม่น้อยกว่า 25 พรรค ซึ่งรวมถึงพรรคที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนต่อ ส.ส.หนึ่งคนด้วยนั้น

พรรคพท.เห็นว่าการนำวิธีการคำนวณดังกล่าวมาใช้จะเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 91 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ มาตรา 128
และยังขัดต่อหลักตรรกวิทยาด้วย ดังเหตุผลต่อไปนี้

1. การที่พรรคการเมืองใดจะได้รับจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองนั้นต้องได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่าจำนวนคะแนนต่อ ส.ส.หนึ่งคน เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (1) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 128 (1) ให้ความสำคัญต่อทุกคะแนนเสียง จึงให้นำทุกคะแนนที่ลงให้กับทุกพรรคการเมืองมารวมกันแล้วหารด้วย 500 คือ จำนวน ส.ส.ทั้งหมด เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยต่อ ส.ส.1 คน ซึ่งจากคะแนนรวมของทุกพรรค 35,532,647 คะแนน หารด้วย 500 ผลลัพธ์คือ 71,065 คะแนน ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นตัวกำหนด ส.ส.พึงมีของแต่ละพรรคด้วย จึงเห็นได้ว่าหลักการที่ว่าทุกคะแนนเสียงมีค่าและไม่เป็นคะแนนตกน้ำนั้น ได้นำมาใช้ในการคิดคำนวณในส่วนนี้แล้ว

2. จำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงมีนั้นต้องยึดจำนวนตามที่คำนวณได้เป็นเกณฑ์จะนำไปเฉลี่ยให้กับพรรคที่มีคะแนนต่ำกว่า 71,065 คะแนนมิได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (2) และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 128 (2) ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับจากทุกเขตเลือกตั้งหารด้วยคะแนนต่อ
ส.ส.หนึ่งคน (71,065) ผลลัพธ์ คือ จำนวน ส.ส.ที่พรรคนั้นจะพึงมีได้เบื้องต้นและเมื่อนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปลบด้วยจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตของพรรคนั้น ผลลัพธ์คือจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคนั้นจะได้รับเบื้องต้น ตามมาตรา128 (3) จะเห็นได้ว่าจำนวน ส.ส.ที่พึงมีของแต่ละพรรคก็ดี หรือจำนวน
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะได้รับเบื้องต้นก็ดี ล้วนมีฐานมาจากที่พรรคนั้นต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่าคะแนนต่อ ส.ส.หนึ่งคน (71,065 คะแนน) ทั้งสิ้น

3. พรรคการเมืองใดที่มีคะแนนต่ำกว่าคะแนนต่อส.ส.หนึ่งคนคือต่ำกว่า 71,065 คะแนนซึ่งไม่มีจำนวน ส.ส. ที่พึงมีและไม่มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่จะได้รับเบื้องต้น ตามมาตรา128 (3) ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับจัดสรรจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 128 (4) เพราะตามมาตรา 128 (4) ให้จัดสรร
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้เฉพาะกับพรรคที่มีสิทธิจะได้รับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 128 (3) เท่านั้น โดยให้จัดสรรเป็นจำนวนเต็มก่อนถ้ายังไม่ครบ 150 คน จึงไปพิจารณาว่าพรรคใดมีเศษจากการคำนวณมากกว่ากัน ดังนั้นเมื่อพรรคใดไม่มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่จะได้รับเบื้องต้น ก็ไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรรดังกล่าว และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจากทุกพรรคที่มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ 71,065 คะแนนขึ้นไปมีจำนวน 152 คน เกินมา 2 คน จึงไม่ต้องไปพิจารณาเรื่องเศษจากการคำนวณ และไม่ต้องไปพิจารณาตามมาตรา128 (6) ด้วยเช่นกัน

นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า 4. พรรคที่จะได้รับการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 128 (5) แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเป็นพรรคที่มี ส.ส.พึงมีเสียก่อน เนื่องจากการคำนวณตามมาตรา 128 (5) ต้องพิจารณาตามมาตรา 128 (2) เป็นหลักโดยจัดสรรภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (1) ถ้าพรรคนั้นมี ส.ส.เขตเท่ากับ หรือ สูงกว่าจำนวนส.ส.ที่พรรคนั้นพึงมี ตามมาตรา 128 (2) ให้พรรคนั้นมี ส.ส.ตามจำนวนที่ได้รับจาก ส.ส.แบบแบ่งเขตและไม่มีสิทธิได้รับจัดสรรแบบ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (2) ให้นำ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ไปจัดสรรให้แก่พรรคที่มี ส.ส.แบบแบ่งเขตต่ำกว่าจำนวน ส.ส.ที่พรรคนั้นจะพึงมี ตามมาตรา 128 (2) (3) การจัดสรรข้างต้นต้องไม่มีผลให้พรรคนั้นมี ส.ส.เกินจำนวนที่พึงมีตามมาตรา 128 (2) ดังนั้น ถ้าพรรคการเมืองใดไม่มี ส.ส. ที่พึงมี ตามมาตรา 128 (2) ตั้งแต่ต้นก็ไม่มีสิทธิได้รับจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 128 (5) ได้ และ

5.พรรคการเมืองที่มีคะแนนต่ำกว่า 71,065 คะแนน ซึ่งเป็นพรรคที่ไม่มี ส.ส.พึงมี ตามมาตรา128 (2) ไม่มีจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่จะได้รับเบื้องต้นตามมาตรา 128 (3) ซึ่งไม่มีสิทธิจะได้รับจัดสรรแบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 128 (4) และ (5) พรรคนั้นก็ย่อมไม่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 128 (7) เพราะพรรคเหล่านั้นไม่มีจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่จะได้รับมาตั้งแต่ต้น จึงไม่มีจำนวน ส.ส.ที่จะมาคูณกับจำนวน 150 และหารด้วยผลบวกของ 150 กับจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่เกิน 150 คนได้

ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายแล้วไม่มีช่องทางใดเลยที่พรรคซึ่งมีคะแนนต่ำกว่า 71,065 คะแนน จะได้รับจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งพรรคพท.ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 เมษายน 2562 ถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้ทบทวนการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เสียใหม่ให้ถูกต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่อไป จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

เมื่อถามว่า หาก กกต. ยังยืนยันสูตรการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่กระจายที่นั่งให้กับพรรคเล็ก ซึ่งไม่เป็นไปตามที่พรรคพท.ให้ข้อคิดเห็น นายภูมิธรรม
กล่าวว่า ข้อเสนอที่เราจะเสนอต่อ กกต. เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ชัด ว่าต้องคำนวณตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 และ
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 ถ้าไม่เป็นไปตามที่เสนอเท่ากับ กกต. จงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ พรรคก็จะดำเนินการตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญทุกช่องทางเพื่อเอาผิด กกต. ซึ่งวันนี้เราต้องทำครบช่องทางตาามกฎหมาย เพื่อให้ กกต. รับรู้ว่ากำลังใช้วิธีคำนวณที่อาจขัดกับรัฐธรรมนูญ หาก กกต. ยังดึงดัน กกต.ต้องรับผิดชอบ และเราจะไม่หยุดอยู่แค่นี้

เมื่อถามว่า 7 พรรคที่ร่วมลงสัตยาบัน เห็นด้วยกับวิธีการคำนวณแบบเดียวกับพรรคพท.หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ทุกพรรคมีความคิดเห็นตรงกัน
แต่พรรคพท.มีความชัดเจนในการทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอความเห็นให้กับ กกต. ว่าทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

ด้านนายชูศักดิ์ กล่าวว่า การคำนวณของ กกต. ตามกฎหมายไม่เห็นมีมาตราใด ให้เอาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 บวกกับ 25 เสียงที่เพื่อไทยได้เกินมาเป็น 175 แล้วไปปรับเหลือ 150 ดังนั้นการจะคำนวณอะไรนอกจากที่กฎหมายกำหนดไม่ได้

เมื่อถามว่า การดำเนินการตามกฎหมายกับ กกต. อาจส่งผลลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า การเลือกตั้งเป็นโมฆะ กับการคำนวณ ส.ส. เป็นคนละประเด็นกัน เพราะการเลือกตั้งโมฆะ คือการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ต้องยื่นผ่านองค์กรที่มีหน้าที่เช่นที่ผ่านมา ยื่นผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่การคำนวณ ส.ส. ถือเป็นคนละประเด็น ส่วนพรรคจะดำเนินการโดยวิธีใด ตามยุทธวิธีคงไม่มีใครบอกช่องทางให้เขารู้ก่อนว่าจะฟ้องในช่องทางและประเด็นใด



'คารม' ยัน 'ปิยบุตร' ไร้เจตนาหมิ่นศาล ย้ำติชมโดยสุจริต
https://voicetv.co.th/read/QMcplrtjm

'ทนายคารม' ยืนยัน 'ปิยบุตร' ไร้เจตนาหมิ่นศาล หลัง คสช. แจ้งความเอาผิดกรณีอ่านคำแถลงการณ์ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ชี้เป็นการติชมโดยสุจริต เตรียมนัดนักกฎหมายให้กำลังใจเลขาธิการพรรควันเดินไปรับทราบข้อกล่าวหา จวก 'เทพไท' เห็นแก่ตัว ชง ม.44 ล้มเลือกตั้ง

นายคารม พลพรกลาง ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) กล่าวถึงกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาฐานหมิ่นศาล ในการอ่านแถลงการณ์หลังพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ถูกยุบพรรค ว่า จากประสบการณ์ที่เคยเป็นทนายต่อสู้คดีหมิ่นศาลของ น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ อดีตส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ที่เจ้าหน้าที่ของศาลเป็นผู้แจ้งความ จนในที่สุดอัยการสั่งไม่ฟ้อง จึงเห็นว่ากรณีของนายปิยบุตรมีความแตกต่างออกไป สามารถโต้แย้งได้ทันทีว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายกฎหมาย คสช. ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียจึงไม่อาจฟ้องร้องได้
อีกทั้งในแง่ข้อเท็จจริงก็สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่านายปิยบุตรไม่ได้มีเจตนาหมิ่น แต่เป็นการติชมโดยสุจริตตามหลักวิชาการจากการอ่านแถลงการณ์แสดงท่าทีเมื่อ ทษช.ถูกยุบ ซึ่งกลุ่มนักกฎหมายอนาคตใหม่เพื่อสังคมที่เท่าเทียมกัน (นอสท.) พร้อมจะไปให้กำลังใจนายปิยบุตรที่จะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 17 เม.ย.นี้ด้วย

นายคารม กล่าวถึงกรณีที่ นายเทพไท เสนพงศ์ ว่าที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ใช้มาตรา 44 เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ว่า ต้องถามว่านี่เป็นการเห็นแก่ตัวหรือไม่ ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วข้อเสนอเช่นนี้ไม่อาจทำได้ เพราะตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง กำหนดบทบาทหน้าที่ของ กกต.ไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม เมื่อผ่านการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.ไปแล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของกกต.ในการดำเนินการขั้นต่อไป พอผลการเลือกตั้งออกมาไม่เป็นอย่างที่หวัง แล้วจะเรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะไม่ได้

ส่วนกรณีที่ยังมีข้อครหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ก็ย่อมเป็นหน้าที่ของ กกต.ในการสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องของการเปิดคะแนนดิบรายหน่วยเลือกตั้ง และสูตรคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หากประเด็นไหนเป็นปัญหาก็แก้เป็นรายกรณีไป ไม่ใช่การล้มกระดานด้วยการทำให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ นอกจากนี้ การรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็ต้องเคารพเจตจำนงของประชาชนที่ไปใช้สิทธิด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่