เจตนารมย์ของ รธน ปี 2560 หมวดการเลือกตั้ง
ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนตัวผมมองว่า ไม่มี รธน ฉบับไหนแล้วที่ให้ความสำคัญกับทุกคะแนนเสียงเท่า รธน.ปี60 ฉบับนี้ ซึ่งหัวใจของ รธน มันอยู่ตรงนี้แหละครับ แล้วจึงแปลงออกมาเป็นสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ อย่างเป็นธรรมที่สุด ซึ่งทุกพรรคการเมืองใช้วิธีคิดวิธีเดียวกันไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทีนี้มาดูวิธีคิดกันซึ่งจะอธิบายแบบง่ายๆ ให้เข้าใจกันทุกคนได้ไม่ยาก
1. จำนวน ส.ส ในสภาที่พึงมีคือ 500 เสียง ดังนั้นการคิด ค่าเฉลี่ยของคะแนน ส.ส 1 คน คือ
จำนวนคะแนนที่ประชาชนเลือกทั้งประเทศ หารด้วย 500
ซึ่งเท่ากับ 35,532,647 / 500 = 71,065.2940 คะแนน ต่อ ส.ส 1 คน
2. ส.ส พึงมี แต่ละพรรค คือ นำคะแนนรวมแต่ละพรรค มาหารด้วย คะแนนเฉลี่ย ตาม ข้อ1
3. ส.ส เขต ได้จากการเลือกตั้ง คะแนนที่ชนะที่1 ในแต่ละเขต จะได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส เขตนั้น
จากตรงนี้เอง ที่เพื่อไทย ได้เปรียบ และทำให้เกิด Overhang effect เหตุเพราะ ว่าที่ส.ส เพื่อไทยหลายๆเขต ทำคะแนนได้ไม่ถึง ค่าเฉลี่ย 71,065 คะแนน เหตุที่เกิดเช่นนี้อาจเพราะเขตนั้น จำนวนผู้ออกมาเลือกตั้งน้อย หรือ คะแนนที่ชนะสูสีกันมาก ทำให้คะแนนไม่ถึงค่าเฉลี่ย แต่ก็สามารถเป็น ส.ส ได้ กรณีนี้ถ้าเป็นการสอบทั่วไป คะแนนที่ไม่ถึงค่าเฉลี่ย อาจถูกปรับตก แต่การเลือก ส.ส ไม่ใช่ เพราะ รธน. คำนึงถึงเสียงทุกเสียง และให้น้ำหนักกับ ส.ส เขต มาก่อน ส.ส บัญชีรายชื่อ เนื่องจากเป็นตัวแทนของทุกเขตจริงๆ ผลของการ overhang ของเพื่อไทย (จำนวน ส.ส overhang ไป 25.5443 คน) จึงทำให้ต้องไปลดจำนวน ส.ส พึงมีของพรรคอื่น ลงในสัดส่วนที่เท่าๆกัน (โดนลดทุกพรรค) กรณีนี้จึงต้องบอกว่าจริงๆแล้วเพื่อไทยได้กำไรมาก
(และอีกส่วนหนึ่งมาจากเพื่อไทยส่ง ส.ส ไม่ครบ 350 เขต)
4. ทีนี้วิธีการคำนวณ ส.ส บัญชีรายชื่อ อันนี้แหละที่ทำให้เป็นประเด็นที่คนวิจารณ์กันมาก เพราะไม่เข้าใจวิธีการคิด และ สื่อบางสื่อด้วยความไม่เข้าใจ หรืออะไรแล้วก็แล้วแต่คำนวณกันผิดเป็นส่วนใหญ่ บาปกรรมเลยไปตกแต่ กกต. หาว่าไม่เป็นธรรม คิดเอาเปรียบคนอื่น
จำนวน ส.ส บัญชีรายชื่อ = จำนวน ส.ส พึงมี จากข้อ2 – ส.ส เขต
ทีนี้ผลจากกการ overhang ของเพื่อไทย ในข้อ3 จึงทำให้พอคำนวณ ส.ส บัญชี รายชื่อจึงทำให้จำนวน ส.ส บัญชีรายชื่อ รวมทุกพรรค เกินเป็น 175.5443 คน จากที่ควรจะเป็นที่ 150 คน ซึ่งตรงนี้ถ้าเป็นการคำนวณแบบตรงไปตรงมาตามคณิตศาสตร์ ส.ส บัญชีรายชื่อของเพื่อไทย ต้องติดลบ 25.5443 คน แต่ รธน. บอกว่าการคำนวณบัญชีรายชื่อ ห้ามไปกระทบจำนวน ส.ส เขต จึงเป็นที่มาว่าต้องไปลด โควต้า ส.ส บัญชีรายชื่อของทุกพรรค ลงในสัดส่วนที่เท่ากัน ด้วยการเทียบบัญญัติไตรยางค์ ดังนั้น พรรคที่ได้ ส.ส บัญชีรายชื่อมากๆ (ในที่นี้คืออนาคตใหม่ที่จริงๆต้องได้ 58.1717 เสียง) จะกระทบมากที่สุด ซึ่ง ส.ส พึงมีของอนาคตใหม่คือ 88.1717 เสียง (เป็นจำนวนที่กล่าวออกสื่อในวันที่จับมือกับพรรคเพื่อไทย)
วิธีคิดขอยกตัวอย่าง จำนวน ส.ส ของอนาคตใหม่ ให้คิดว่า ส.ส บัญชีรายชื่อรวม 175.5443 คน พรรคอนาคตใหม่ได้ 58.1717 เสียง แต่ถ้า ส.ส บัญชีรายชื่อ 150 คน พรรคอนาคตใหม่จะได้เท่ากับ
( 150 x 58.1717 ) / 175.5443 = 49.7069 เมื่อรวมกับ ส.ส เขตอีก 30 คน พรรคอนาคตใหม่จึงมี ส.ส 79.7069 คน จึงเป็นที่มาว่า ทำไม จำนวน ส.ส ของอนาคตใหม่ จึงได้น้อยลงกว่า ส.ส พึงมี แต่การคำนวณผลของ overhang ทำเหมือนกันทุกพรรคนะครับ ทุกพรรคจะโดนลดลงหมด ใครได้โควต้าบัญชีรายชื่อมากจะถูกทอนลงไปมากด้วยเช่นกัน ถึงตรงนี้ต้องบอกว่ากติกายุติธรรมแล้ว
5. เมื่อได้ ส.ส บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคที่เป็นเลขทศนิยมแล้ว ด้วยความที่ รธน. คำนึงถึงทุกเสียงที่ลงคะแนน จึงไม่มีการปัดทศนิยมใดๆทั้งสิ้น ลองคิดดู ถ้าหลักคณิตศาสตร์ 0.51 เสียง บอกให้ปัดขึ้นไปเป็น 1 เสียง แล้ว 0.49 เสียงที่โดนปัดลงละ มันคือ 0.49 x 71,065 = 34,821 เสียง เลยนะ เราจะไปปัดเศษปัดเสียงพวกนี้ทิ้งได้อย่างไร จึงเป็นที่มาว่า เอาจำนวนเต็ม แยกออกมาจากจำนวนทศนิยม แล้วรวมจำนวนเต็มก่อนซึ่งในที่นี้ได้ 129 เสียง จะเหลืออีก 21 เสียง ให้ไปเรียงเศษทศนิยมจากมากไปน้อย แล้ว 21 ลำดับแรก ได้ไปคนละเสียงจนครบ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเลขจำนวนเต็มนั้นชัดเจนเป็นจำนวน ส.ส แน่นอน ทีนี้เลขทศนิยมซึ่งก็คือจำนวนเสียงที่เลือกเข้ามาแต่ละพรรคที่เป็นคะแนนย่อยเนื่องจากจะไม่มีการปัดเสียงใดๆทิ้งดังนั้นวิธีการที่ยุติธรรมที่สุดคือเอาคะแนนมาเรียงจากมากไปน้อยเพื่อปัน ส.ส 21 คนที่เหลือไปให้ทั่วถึง ต้องบอกว่ายุติธรรมมากและคำนึงถึงทุกเสียงเป็นที่สุด
ณ.ตรงนี้ ผมขอยกตัวอย่างพรรคที่ได้คะแนนน้อยๆแต่มีความหมายอย่าง พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ที่ได้คะแนนเสียง 56,339 เสียง ซึ่งถ้าเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆมา ทำอย่างไร ครูก็ไม่ได้เข้าไปเป็น ส.ส แน่นอน แต่ รธน. ฉบับนี้ คำนึงถึง 56,339 เสียง นี้ ให้เข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในสภาแทนครูทั้งประเทศ ต้องบอกว่าเป็นธรรมมากถึงมากที่สุดจริงๆ
6. เมื่อได้ ส.ส บัญชีรายชื่อตามข้อ5 ให้เอาไปรวม กับ ส.ส เขต จะได้จำนวน ส.ส ของแต่ละพรรค
อ้างถึง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑
-มาตรา 128 กำหนดให้ใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง ในการคำนวณ
......................................................................................................................................................................................
เพิ่มเติม ส่วนขยายความ
เนื่องจากมีคนแย้งมามาก 2 เรื่องคือ เรื่องการเหมือนว่าไปตัดคะแนนของอนาคตใหม่กว่า 5 แสน คะแนนทิ้งได้อย่างไร และเรื่องที่สองทำไมพรรคเล็กถึงได้เพราะมีคะแนนแค่ 3 หมื่นกว่าๆ
ประเด็นที่ 1 เรื่องการเหมือนว่าไปตัดคะแนนของอนาคตใหม่กว่า 5 แสน คะแนนทิ้งได้อย่างไร
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ส.ส เพื่อไทย ที่ชนะในเขตส่วนใหญ่ได้คะแนนะ ต่ำกว่าเกณฑ์ ส.ส ที่ควรจะได้ 71,065.2940 คะแนน
ดังนั้น คะแนนที่หายไป เสมือนว่า ทุกพรรคต้องปันคะแนน ที่ตัวเองได้มาให้เพื่อไทย แต่การปัน จะปันแบบตรงๆไม่ได้ ต้องปันแบบเป็นสัดส่วน คนได้มากก็ปันมาก คนได้น้อยก็ปันน้อย เป็นสัดส่วนทางคณิตศาสตร์ (ตรงนี้ต้องอาศัยความเข้าเรื่องคณิตศาสตร์ใมเรื่องสัดส่วนหรือการเทียบบัญญัติไตรยางค์) ดังนั้นคะแนนของอนาคตที่ต้องหายไปกว่า 5 แสนคะแนน เสมือนว่ายกให้เพื่อไทยไปชดเชยกับ ส.ส ที่ได้คะแนนน้อยๆไม่ถึงค่าเฉลี่ยนั่นเอง จริงๆจุดนี้ ถ้าจะให้ทุกพรรคเป็นธรรม ส.ส เขตเพื่อไทยที่ได้คะแนนไม่ถึงค่าเฉลี่ย ต้องสอบตก แต่ รธน. ได้ให้สิทธิกัน ส.ส เขต ก่อนจึงทำแบบนี้ไม่ได้ อธิบายง่ายๆแบบนี้ด้วยการแปลงสูตรคณิตศาสตร์ออกมาเป็นคำพูด น่าจะพอเข้าใจกันนะครับ
( เพื่อไทยได้ ส.ส เขต 138 ที่นั่ง ควรได้คะแนน 138 x 71,065 = 9,806,970 คะแนน แต่ เพื่อไทย ทำคะแนนรวมได้เพียง 7,920,630 คะแนน เท่านั้น มันขาดไปเยอะ ดังนั้นจึงเสมือนว่าทุกพรรคการเมือง ต้องชดเชยส่วนที่ขาดนี้ให้ เพื่อไทย ด้วยวิธีการปรับสัดส่วน)
ประเด็นที่ 2 ทำไมพรรคเล็กถึงได้เพราะมีคะแนนแค่ 3 หมื่นกว่าๆ
ในการคำนวณตาม มาตรา 128(4) กำหนดให้เอาจำนวน ส.ส บัญชีรายชื่อแต่ละพรรคที่เป็นจำนวนเต็มออกมาก่อนและถ้ารวมแล้วยังไม่ถึง 150 คน ขาดไปเท่าไรให้เอาจำนวนที่ขาดไปจัดสรร โดยจำนวนเศษทศนิยมของทุกพรรคมาเรียงแล้วใส่ให้พรรคละ 1 คน ตามลำดับจนครบ 150 คน
ตรงนี้เป็นธรรมอย่างที่สุด อธิบายง่ายๆ อย่างนี้ การเอาจำนวนเต็ม ออกมาก่อนนั่นชัดเจน ทุกพรรคที่ได้ ส.ส บัญชีรายชื่อที่ได้เกิน 1 คน จำได้โควต้าจำนวนเต็มไปก่อน เสมือนว่า 1 คนที่ได้ไป ก็คือ 71,065 คะแนน ถ้า 10 คน ก็ 710,652 คะแนน อันนี้ชัดเจน ทีนี้พอจัดสรรจำนวนเต็มเสร็จ ซึ่งในที่นี้คือ 129 คน เสมือนคะแนน 71,065.2940 x 129 = 9,167,422.9260 คะแนน ส่วนที่เหลือที่เป็นเศษ คือ 21 คน เสมือนคะแนน 71,065.2940 x 21 = 1,492,371.1740 คะแนน ถึงจุดนี้คะแนน 1.4 ล้านกว่าๆนี่แหละที่ทำให้งง ผมให้คิดแบบนี้ คะแนน 1.4 ล้าน เสมือน ให้ลงคะแนนทั้ง 77 พรรค นั่นแหละ และมี โควต้า สส.ให้ 21 คน ดั้งนั้น พรรคที่ได้ 21 อันดับแรก คือพรรคผู้ชนะการเลือกตั้งย่อยนี้ ตัวเลขเศษทศนิยมที่เอาของแต่ละพรรคมาเรียงนั่นแหละครับ คือจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด จากตารางที่ผมทำ พรรคที่มีเศษเยอะสุดคือ พรรคพลังปวงชนไทย มีเศษ 0.9827 ซึ่งถ้าเป็นคะแนนคือ 0.9827 x 71,067.2940 = 69,837.8298 คะแนน ขณะที่พรรคที่เศษน้อยสุดคือ พรรคไทรักธรรม คือ 0.4058 คิดเป็นคะแนนคือ 0.4058 x 71,067.2940 = 28,839.1079 คะแนน ทีนี้ ถามว่า คนที่ได้ที่ 1 คะแนน เยอะกว่าที่ได้ 21 มาก จะพูดว่าไม่เป็นธรรมได้หรือไม่ คงพูดเช่นนี้ไม่ได้แน่ๆ เพราะมันเป็นธรรมที่สุดแล้ว สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปแบบนี้ที่ทำกันมาตลอดทุกที่ในโลกใบนี้
.....................................................
ถ้ามองให้ลึก จริงๆแแล้ววิธีนี้คือการปรับความสมดุล ระหว่าง ส.ส เขต และ ส.ส บัญชีรายชื่อ
คือ เพื่อไทย เก่ง ส.ส เขต แต่ก็ทำคะแนนรวมได้ไม่ดี จึงไม่ได้ ส.ส บัญชีรายชื่อ แต่อนาคตใหม่ ไม่เก่ง ส.ส เขต แต่ก็ทำคะแนนรวมได้ดี จึงไปชนะ ส.ส บัญชีรายชื่อ แต่ก็เสมือนว่าอนาคตใหม่จำเป็นต้องชดเชยคะแนนบางส่วนให้เพื่อไทยเพื่อปรับระบบให้สมดุล เพราะถ้าหากเป็นเลือกตั้ง แบบไม่มีระบบ บัญชีรายชื่อ อนาคตใหม่จะได้ ส.ส เพียง 30 คน เท่านั้น แต่นี่ได้ตั้ง 80 ที่นั่ง ถามใจคุณดูว่าแฟร์ๆหรือไม่
ความเห็นเรื่องการคำนวณ ส.ส ปาร์ตี้ลิสต์ - ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยด้วยครับ
ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนตัวผมมองว่า ไม่มี รธน ฉบับไหนแล้วที่ให้ความสำคัญกับทุกคะแนนเสียงเท่า รธน.ปี60 ฉบับนี้ ซึ่งหัวใจของ รธน มันอยู่ตรงนี้แหละครับ แล้วจึงแปลงออกมาเป็นสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ อย่างเป็นธรรมที่สุด ซึ่งทุกพรรคการเมืองใช้วิธีคิดวิธีเดียวกันไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทีนี้มาดูวิธีคิดกันซึ่งจะอธิบายแบบง่ายๆ ให้เข้าใจกันทุกคนได้ไม่ยาก
1. จำนวน ส.ส ในสภาที่พึงมีคือ 500 เสียง ดังนั้นการคิด ค่าเฉลี่ยของคะแนน ส.ส 1 คน คือ
จำนวนคะแนนที่ประชาชนเลือกทั้งประเทศ หารด้วย 500
ซึ่งเท่ากับ 35,532,647 / 500 = 71,065.2940 คะแนน ต่อ ส.ส 1 คน
2. ส.ส พึงมี แต่ละพรรค คือ นำคะแนนรวมแต่ละพรรค มาหารด้วย คะแนนเฉลี่ย ตาม ข้อ1
3. ส.ส เขต ได้จากการเลือกตั้ง คะแนนที่ชนะที่1 ในแต่ละเขต จะได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส เขตนั้น
จากตรงนี้เอง ที่เพื่อไทย ได้เปรียบ และทำให้เกิด Overhang effect เหตุเพราะ ว่าที่ส.ส เพื่อไทยหลายๆเขต ทำคะแนนได้ไม่ถึง ค่าเฉลี่ย 71,065 คะแนน เหตุที่เกิดเช่นนี้อาจเพราะเขตนั้น จำนวนผู้ออกมาเลือกตั้งน้อย หรือ คะแนนที่ชนะสูสีกันมาก ทำให้คะแนนไม่ถึงค่าเฉลี่ย แต่ก็สามารถเป็น ส.ส ได้ กรณีนี้ถ้าเป็นการสอบทั่วไป คะแนนที่ไม่ถึงค่าเฉลี่ย อาจถูกปรับตก แต่การเลือก ส.ส ไม่ใช่ เพราะ รธน. คำนึงถึงเสียงทุกเสียง และให้น้ำหนักกับ ส.ส เขต มาก่อน ส.ส บัญชีรายชื่อ เนื่องจากเป็นตัวแทนของทุกเขตจริงๆ ผลของการ overhang ของเพื่อไทย (จำนวน ส.ส overhang ไป 25.5443 คน) จึงทำให้ต้องไปลดจำนวน ส.ส พึงมีของพรรคอื่น ลงในสัดส่วนที่เท่าๆกัน (โดนลดทุกพรรค) กรณีนี้จึงต้องบอกว่าจริงๆแล้วเพื่อไทยได้กำไรมาก
(และอีกส่วนหนึ่งมาจากเพื่อไทยส่ง ส.ส ไม่ครบ 350 เขต)
4. ทีนี้วิธีการคำนวณ ส.ส บัญชีรายชื่อ อันนี้แหละที่ทำให้เป็นประเด็นที่คนวิจารณ์กันมาก เพราะไม่เข้าใจวิธีการคิด และ สื่อบางสื่อด้วยความไม่เข้าใจ หรืออะไรแล้วก็แล้วแต่คำนวณกันผิดเป็นส่วนใหญ่ บาปกรรมเลยไปตกแต่ กกต. หาว่าไม่เป็นธรรม คิดเอาเปรียบคนอื่น
จำนวน ส.ส บัญชีรายชื่อ = จำนวน ส.ส พึงมี จากข้อ2 – ส.ส เขต
ทีนี้ผลจากกการ overhang ของเพื่อไทย ในข้อ3 จึงทำให้พอคำนวณ ส.ส บัญชี รายชื่อจึงทำให้จำนวน ส.ส บัญชีรายชื่อ รวมทุกพรรค เกินเป็น 175.5443 คน จากที่ควรจะเป็นที่ 150 คน ซึ่งตรงนี้ถ้าเป็นการคำนวณแบบตรงไปตรงมาตามคณิตศาสตร์ ส.ส บัญชีรายชื่อของเพื่อไทย ต้องติดลบ 25.5443 คน แต่ รธน. บอกว่าการคำนวณบัญชีรายชื่อ ห้ามไปกระทบจำนวน ส.ส เขต จึงเป็นที่มาว่าต้องไปลด โควต้า ส.ส บัญชีรายชื่อของทุกพรรค ลงในสัดส่วนที่เท่ากัน ด้วยการเทียบบัญญัติไตรยางค์ ดังนั้น พรรคที่ได้ ส.ส บัญชีรายชื่อมากๆ (ในที่นี้คืออนาคตใหม่ที่จริงๆต้องได้ 58.1717 เสียง) จะกระทบมากที่สุด ซึ่ง ส.ส พึงมีของอนาคตใหม่คือ 88.1717 เสียง (เป็นจำนวนที่กล่าวออกสื่อในวันที่จับมือกับพรรคเพื่อไทย)
วิธีคิดขอยกตัวอย่าง จำนวน ส.ส ของอนาคตใหม่ ให้คิดว่า ส.ส บัญชีรายชื่อรวม 175.5443 คน พรรคอนาคตใหม่ได้ 58.1717 เสียง แต่ถ้า ส.ส บัญชีรายชื่อ 150 คน พรรคอนาคตใหม่จะได้เท่ากับ
( 150 x 58.1717 ) / 175.5443 = 49.7069 เมื่อรวมกับ ส.ส เขตอีก 30 คน พรรคอนาคตใหม่จึงมี ส.ส 79.7069 คน จึงเป็นที่มาว่า ทำไม จำนวน ส.ส ของอนาคตใหม่ จึงได้น้อยลงกว่า ส.ส พึงมี แต่การคำนวณผลของ overhang ทำเหมือนกันทุกพรรคนะครับ ทุกพรรคจะโดนลดลงหมด ใครได้โควต้าบัญชีรายชื่อมากจะถูกทอนลงไปมากด้วยเช่นกัน ถึงตรงนี้ต้องบอกว่ากติกายุติธรรมแล้ว
5. เมื่อได้ ส.ส บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคที่เป็นเลขทศนิยมแล้ว ด้วยความที่ รธน. คำนึงถึงทุกเสียงที่ลงคะแนน จึงไม่มีการปัดทศนิยมใดๆทั้งสิ้น ลองคิดดู ถ้าหลักคณิตศาสตร์ 0.51 เสียง บอกให้ปัดขึ้นไปเป็น 1 เสียง แล้ว 0.49 เสียงที่โดนปัดลงละ มันคือ 0.49 x 71,065 = 34,821 เสียง เลยนะ เราจะไปปัดเศษปัดเสียงพวกนี้ทิ้งได้อย่างไร จึงเป็นที่มาว่า เอาจำนวนเต็ม แยกออกมาจากจำนวนทศนิยม แล้วรวมจำนวนเต็มก่อนซึ่งในที่นี้ได้ 129 เสียง จะเหลืออีก 21 เสียง ให้ไปเรียงเศษทศนิยมจากมากไปน้อย แล้ว 21 ลำดับแรก ได้ไปคนละเสียงจนครบ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเลขจำนวนเต็มนั้นชัดเจนเป็นจำนวน ส.ส แน่นอน ทีนี้เลขทศนิยมซึ่งก็คือจำนวนเสียงที่เลือกเข้ามาแต่ละพรรคที่เป็นคะแนนย่อยเนื่องจากจะไม่มีการปัดเสียงใดๆทิ้งดังนั้นวิธีการที่ยุติธรรมที่สุดคือเอาคะแนนมาเรียงจากมากไปน้อยเพื่อปัน ส.ส 21 คนที่เหลือไปให้ทั่วถึง ต้องบอกว่ายุติธรรมมากและคำนึงถึงทุกเสียงเป็นที่สุด
ณ.ตรงนี้ ผมขอยกตัวอย่างพรรคที่ได้คะแนนน้อยๆแต่มีความหมายอย่าง พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ที่ได้คะแนนเสียง 56,339 เสียง ซึ่งถ้าเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆมา ทำอย่างไร ครูก็ไม่ได้เข้าไปเป็น ส.ส แน่นอน แต่ รธน. ฉบับนี้ คำนึงถึง 56,339 เสียง นี้ ให้เข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในสภาแทนครูทั้งประเทศ ต้องบอกว่าเป็นธรรมมากถึงมากที่สุดจริงๆ
6. เมื่อได้ ส.ส บัญชีรายชื่อตามข้อ5 ให้เอาไปรวม กับ ส.ส เขต จะได้จำนวน ส.ส ของแต่ละพรรค
อ้างถึง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑
-มาตรา 128 กำหนดให้ใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง ในการคำนวณ
......................................................................................................................................................................................
เพิ่มเติม ส่วนขยายความ
เนื่องจากมีคนแย้งมามาก 2 เรื่องคือ เรื่องการเหมือนว่าไปตัดคะแนนของอนาคตใหม่กว่า 5 แสน คะแนนทิ้งได้อย่างไร และเรื่องที่สองทำไมพรรคเล็กถึงได้เพราะมีคะแนนแค่ 3 หมื่นกว่าๆ
ประเด็นที่ 1 เรื่องการเหมือนว่าไปตัดคะแนนของอนาคตใหม่กว่า 5 แสน คะแนนทิ้งได้อย่างไร
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ส.ส เพื่อไทย ที่ชนะในเขตส่วนใหญ่ได้คะแนนะ ต่ำกว่าเกณฑ์ ส.ส ที่ควรจะได้ 71,065.2940 คะแนน
ดังนั้น คะแนนที่หายไป เสมือนว่า ทุกพรรคต้องปันคะแนน ที่ตัวเองได้มาให้เพื่อไทย แต่การปัน จะปันแบบตรงๆไม่ได้ ต้องปันแบบเป็นสัดส่วน คนได้มากก็ปันมาก คนได้น้อยก็ปันน้อย เป็นสัดส่วนทางคณิตศาสตร์ (ตรงนี้ต้องอาศัยความเข้าเรื่องคณิตศาสตร์ใมเรื่องสัดส่วนหรือการเทียบบัญญัติไตรยางค์) ดังนั้นคะแนนของอนาคตที่ต้องหายไปกว่า 5 แสนคะแนน เสมือนว่ายกให้เพื่อไทยไปชดเชยกับ ส.ส ที่ได้คะแนนน้อยๆไม่ถึงค่าเฉลี่ยนั่นเอง จริงๆจุดนี้ ถ้าจะให้ทุกพรรคเป็นธรรม ส.ส เขตเพื่อไทยที่ได้คะแนนไม่ถึงค่าเฉลี่ย ต้องสอบตก แต่ รธน. ได้ให้สิทธิกัน ส.ส เขต ก่อนจึงทำแบบนี้ไม่ได้ อธิบายง่ายๆแบบนี้ด้วยการแปลงสูตรคณิตศาสตร์ออกมาเป็นคำพูด น่าจะพอเข้าใจกันนะครับ
( เพื่อไทยได้ ส.ส เขต 138 ที่นั่ง ควรได้คะแนน 138 x 71,065 = 9,806,970 คะแนน แต่ เพื่อไทย ทำคะแนนรวมได้เพียง 7,920,630 คะแนน เท่านั้น มันขาดไปเยอะ ดังนั้นจึงเสมือนว่าทุกพรรคการเมือง ต้องชดเชยส่วนที่ขาดนี้ให้ เพื่อไทย ด้วยวิธีการปรับสัดส่วน)
ประเด็นที่ 2 ทำไมพรรคเล็กถึงได้เพราะมีคะแนนแค่ 3 หมื่นกว่าๆ
ในการคำนวณตาม มาตรา 128(4) กำหนดให้เอาจำนวน ส.ส บัญชีรายชื่อแต่ละพรรคที่เป็นจำนวนเต็มออกมาก่อนและถ้ารวมแล้วยังไม่ถึง 150 คน ขาดไปเท่าไรให้เอาจำนวนที่ขาดไปจัดสรร โดยจำนวนเศษทศนิยมของทุกพรรคมาเรียงแล้วใส่ให้พรรคละ 1 คน ตามลำดับจนครบ 150 คน
ตรงนี้เป็นธรรมอย่างที่สุด อธิบายง่ายๆ อย่างนี้ การเอาจำนวนเต็ม ออกมาก่อนนั่นชัดเจน ทุกพรรคที่ได้ ส.ส บัญชีรายชื่อที่ได้เกิน 1 คน จำได้โควต้าจำนวนเต็มไปก่อน เสมือนว่า 1 คนที่ได้ไป ก็คือ 71,065 คะแนน ถ้า 10 คน ก็ 710,652 คะแนน อันนี้ชัดเจน ทีนี้พอจัดสรรจำนวนเต็มเสร็จ ซึ่งในที่นี้คือ 129 คน เสมือนคะแนน 71,065.2940 x 129 = 9,167,422.9260 คะแนน ส่วนที่เหลือที่เป็นเศษ คือ 21 คน เสมือนคะแนน 71,065.2940 x 21 = 1,492,371.1740 คะแนน ถึงจุดนี้คะแนน 1.4 ล้านกว่าๆนี่แหละที่ทำให้งง ผมให้คิดแบบนี้ คะแนน 1.4 ล้าน เสมือน ให้ลงคะแนนทั้ง 77 พรรค นั่นแหละ และมี โควต้า สส.ให้ 21 คน ดั้งนั้น พรรคที่ได้ 21 อันดับแรก คือพรรคผู้ชนะการเลือกตั้งย่อยนี้ ตัวเลขเศษทศนิยมที่เอาของแต่ละพรรคมาเรียงนั่นแหละครับ คือจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด จากตารางที่ผมทำ พรรคที่มีเศษเยอะสุดคือ พรรคพลังปวงชนไทย มีเศษ 0.9827 ซึ่งถ้าเป็นคะแนนคือ 0.9827 x 71,067.2940 = 69,837.8298 คะแนน ขณะที่พรรคที่เศษน้อยสุดคือ พรรคไทรักธรรม คือ 0.4058 คิดเป็นคะแนนคือ 0.4058 x 71,067.2940 = 28,839.1079 คะแนน ทีนี้ ถามว่า คนที่ได้ที่ 1 คะแนน เยอะกว่าที่ได้ 21 มาก จะพูดว่าไม่เป็นธรรมได้หรือไม่ คงพูดเช่นนี้ไม่ได้แน่ๆ เพราะมันเป็นธรรมที่สุดแล้ว สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปแบบนี้ที่ทำกันมาตลอดทุกที่ในโลกใบนี้
.....................................................
ถ้ามองให้ลึก จริงๆแแล้ววิธีนี้คือการปรับความสมดุล ระหว่าง ส.ส เขต และ ส.ส บัญชีรายชื่อ
คือ เพื่อไทย เก่ง ส.ส เขต แต่ก็ทำคะแนนรวมได้ไม่ดี จึงไม่ได้ ส.ส บัญชีรายชื่อ แต่อนาคตใหม่ ไม่เก่ง ส.ส เขต แต่ก็ทำคะแนนรวมได้ดี จึงไปชนะ ส.ส บัญชีรายชื่อ แต่ก็เสมือนว่าอนาคตใหม่จำเป็นต้องชดเชยคะแนนบางส่วนให้เพื่อไทยเพื่อปรับระบบให้สมดุล เพราะถ้าหากเป็นเลือกตั้ง แบบไม่มีระบบ บัญชีรายชื่อ อนาคตใหม่จะได้ ส.ส เพียง 30 คน เท่านั้น แต่นี่ได้ตั้ง 80 ที่นั่ง ถามใจคุณดูว่าแฟร์ๆหรือไม่