“วันชัย”เชื่อพรรคการเมืองโวย“กรธ.”พรรคตัวเองเสียเปรียบ แนะร่างรธน.ต้องไม่เกรงใจใคร
วันที่ 15 พ.ย.58 นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำลังพิจารณาวิธีการเลือก ส.ส.ที่มาของนายกรัฐมนตรี ตลอดจนการถ่วงดุลตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ว่า กรธ.มีเจตนาสำคัญเพื่อให้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกการป้องกันและขจัดการทุจริต ประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่นักการเมืองออกมาเอะอะโวยวาย โดยมองว่าวิธีการที่ กรธ.เสนอนั้น จะทำให้พรรคตัวเองเสียเปรียบ และทำให้พรรคตัวเองได้รับเลือกตั้งน้อย ถือเป็นการมองแต่ประโยชน์ของพรรคตัวเองมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ซึ่งเป็นความเห็นแก่ตัวทางการเมือง
นายวันชัย กล่าวอีกว่า ตนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องไม่เกรงใจใคร รวมถึงต้องไม่ทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เอาประเทศชาติและประชาชนเป็นตัวตั้ง ใครจะได้ประโยชน์เสียประโยชน์อย่าไปสนใจ มุ่งหน้าดำเนินการตามกรอบที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้โดยเฉพาะ ประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความมั่นคงทั้งทางการเมือง และการปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ นี่คือเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญที่กรธ. จะต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เกิดความมั่นคงดังกล่าวให้จงได้ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ต้องมีบทมาตราที่กำหนดเวลาของการสมานแผลแห่งการแตกแยกแตกสามัคคี อย่ารีบเร่งเป็นประชาธิปไตยจ๋า เพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับแหน ที่โยนหินเข้าไปตูม แตกกระจาย สักพักก็กลับมารวมกันใหม่ ก็เหมือนให้มีการเลือกตั้งในระยะที่จะถึงนี้ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม การรัฐประหารการปฏิรูปก็ไร้ผล จึงจะต้องมีกลไกประคับประคองให้ประเทศเข้าที่เข้าทางจนแน่ใจว่าจะไม่กลับมาห้ำหั่นกันอีก แล้วค่อยเป็นประชาธิปไตยแบบสากล
นายวันชัย กล่าวอีกว่าในหลักการ กรธ.ควรร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและเป็นที่ยอมรับของสากล แต่ควรมีบทเฉพาะกาลในระยะเปลี่ยนผ่านและวางรากฐานให้เกิดความมั่นคง คือในระยะสี่ปีแรกที่มีการเลือกตั้งนี้ให้มี ส.ส.เขต 300 คน ให้มีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและบุคคลจากกลุ่มองค์กรผู้มีพลังอำนาจทางสังคมมาเป็น ส.ว.อีก 200 คน ให้รัฐสภาเป็นคนเลือกนายกรัฐมนตรี ด้วยวิธีการนี้ก็จะทำให้การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองมีความมั่นคง ทั้งมีเวลาเยียวยาสมานแผลแห่งความแตกแยกได้ ดังนั้นจึงต้องมีเวลาทิ้งช่วงในระยะเบื้องต้น
ที่มา: www.komchadluek.net
‘วันชัย’เชื่อพรรคการเมืองโวย‘กรธ.’พรรคตัวเองเสียเปรียบ แนะร่างรธน.ต้องไม่เกรงใจใคร
วันที่ 15 พ.ย.58 นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กำลังพิจารณาวิธีการเลือก ส.ส.ที่มาของนายกรัฐมนตรี ตลอดจนการถ่วงดุลตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ว่า กรธ.มีเจตนาสำคัญเพื่อให้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกการป้องกันและขจัดการทุจริต ประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่นักการเมืองออกมาเอะอะโวยวาย โดยมองว่าวิธีการที่ กรธ.เสนอนั้น จะทำให้พรรคตัวเองเสียเปรียบ และทำให้พรรคตัวเองได้รับเลือกตั้งน้อย ถือเป็นการมองแต่ประโยชน์ของพรรคตัวเองมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ซึ่งเป็นความเห็นแก่ตัวทางการเมือง
นายวันชัย กล่าวอีกว่า ตนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องไม่เกรงใจใคร รวมถึงต้องไม่ทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เอาประเทศชาติและประชาชนเป็นตัวตั้ง ใครจะได้ประโยชน์เสียประโยชน์อย่าไปสนใจ มุ่งหน้าดำเนินการตามกรอบที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้โดยเฉพาะ ประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความมั่นคงทั้งทางการเมือง และการปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ นี่คือเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญที่กรธ. จะต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เกิดความมั่นคงดังกล่าวให้จงได้ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ต้องมีบทมาตราที่กำหนดเวลาของการสมานแผลแห่งการแตกแยกแตกสามัคคี อย่ารีบเร่งเป็นประชาธิปไตยจ๋า เพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับแหน ที่โยนหินเข้าไปตูม แตกกระจาย สักพักก็กลับมารวมกันใหม่ ก็เหมือนให้มีการเลือกตั้งในระยะที่จะถึงนี้ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม การรัฐประหารการปฏิรูปก็ไร้ผล จึงจะต้องมีกลไกประคับประคองให้ประเทศเข้าที่เข้าทางจนแน่ใจว่าจะไม่กลับมาห้ำหั่นกันอีก แล้วค่อยเป็นประชาธิปไตยแบบสากล
นายวันชัย กล่าวอีกว่าในหลักการ กรธ.ควรร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยและเป็นที่ยอมรับของสากล แต่ควรมีบทเฉพาะกาลในระยะเปลี่ยนผ่านและวางรากฐานให้เกิดความมั่นคง คือในระยะสี่ปีแรกที่มีการเลือกตั้งนี้ให้มี ส.ส.เขต 300 คน ให้มีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและบุคคลจากกลุ่มองค์กรผู้มีพลังอำนาจทางสังคมมาเป็น ส.ว.อีก 200 คน ให้รัฐสภาเป็นคนเลือกนายกรัฐมนตรี ด้วยวิธีการนี้ก็จะทำให้การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองมีความมั่นคง ทั้งมีเวลาเยียวยาสมานแผลแห่งความแตกแยกได้ ดังนั้นจึงต้องมีเวลาทิ้งช่วงในระยะเบื้องต้น
ที่มา: www.komchadluek.net