"จรัญ"มั่นใจ"มีชัย" ยกร่างรธน.ออกมาดี หนุนโยกศาลรธน. ไว้หมวดศาล
"ประธานทีดีอาร์ไอ"แนะอย่าเขียนรัฐธรรมนูญให้แก้ยาก ควรเปิดช่องให้แก้ได้ ป้องกันถูกฉีก หวั่นระบบเลือกตั้งใหม่ส่อได้รัฐบาลอ่อนแอ "บรรเจิด"เสนอเขียนร่างรัฐธรรมนูญ ถ่วงดุล "หลักประชาธิปไตย-หลักนิติธรรม"ให้ชัด พร้อมหามาตรการตรวจสอบประชานิยม ป้องทุจริตเชิงนโยบาย โฆษกกรธ.ยันระบบ เลือกตั้ง"จัดสรรปันส่วนผสม" ไม่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ
ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ถนนราชดำเนินนอก สถาบันพระปกเกล้า จัดประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 17 มีการจัดอภิปรายร่วมในหัวข้อ "หลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย : ต่างมุมมอง ต่างความเข้าใจ จุดหมายเดียวกัน"
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ความขัดแย้งในประเทศไทย มาจากคน 2 กลุ่ม ถึงแม้ปัจจุบันไม่ได้แสดงออกมา แต่รากเหง้าความคิดยังมีอยู่ ดังนั้น การที่จะให้ทั้ง 2 ฝ่าย ออกจากความขัดแย้งทางการเมือง จะต้องไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อาทิ จะต้อง มีการออกแบบความสมดุล มีนิติรัฐโดยการ เพิ่มบทบาทในบางเรื่อง รัฐสภาต้องมีบทบาทมากขึ้น มีการกระจายอำนาจที่มากขึ้น ลดบทบาทองค์กรอิสระให้ตรวจสอบได้ ด้านกฎหมาย ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเฉพาะการเสนอกฎหมาย
ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อว่า หากเปรียบเทียบ "รัฐธรรมนูญ" เป็น "รถยนต์" จะพบว่าในการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละครั้ง เหมือนทำให้รถมีสัมภาระเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราเอาทุกอย่างไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ แล้วนำทุกเรื่องไปฝากไว้กับองค์กรอิสระ ซึ่งอาจทำให้มีความขัดแย้งเลยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้องค์ประกอบของ "รถรัฐธรรมนูญ" ต้องมี 3 ส่วน คือ 1.คันเร่ง จะต้องมีรัฐที่เข้มแข็ง 2.เบรก จะต้องมีนิติรัฐที่เหมาะสม และ 3.พวงมาลัย จะต้องมีรัฐบาลที่สะท้อนและต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
นายสมเกียรติ กล่าวว่า สำหรับ "รถรัฐธรรมนูญใหม่" ที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กำลังดำเนินการอยู่ จะเห็นว่า เบรก คือรัฐสภาและองค์กรอิสระ ส่วนคันเร่งคือ ระบบเลือกตั้ง และพรรคการเมือง ตนมองว่า ตัวระบบเลือกตั้งจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าเราจะได้รัฐบาลที่ดีหรือไม่ ซึ่งระบบเลือกตั้งที่ กรธ.กำลังคิดกันอยู่ในขณะนี้ จะทำให้ "คันเร่ง" อ่อนลง ซึ่งจะมีปัญหาตามมาคือ เราจะได้รัฐบาลที่อ่อนแอ
ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะว่า 1.รัฐธรรมนูญไม่ควรทำหน้าที่หลายอย่างเกินไป 2.คันเร่งอ่อน เบรกแรง แก้ปัญหาใหญ่ไม่ได้ ดังนั้นควรปรับ คันเร่งและเบรกให้สมดุลกัน ควรใช้เบรกมาตรฐาน ด้วยกลไกรัฐสภา 3.ไม่ควรให้แก้รัฐธรรมนูญยากเกินไปจนต้องทุบรถ
"บรรเจิด"แนะร่างรธน.ป้องทุจริตนโยบาย
ด้านนายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า สังคมไทยเดินมาสู่ความขัดแย้งของ หลักนิติธรรมและหลักการประชาธิปไตยแล้ว โดยจะเห็นได้จาก 20 ปีที่ผ่านมามีปัญหา เพราะฝ่ายหนึ่งยึดหลักประชาธิปไตย อีกฝ่ายยึดหลักนิติธรรม ซึ่งเป็นพัฒนาการทางการเมืองของทุกประเทศทั่วโลกจะต้องเจอ เพราะหลักการทั้ง 2 อยู่คู่กัน จะยึดประชาธิปไตยอย่างเดียวท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่การกินตัวเอง ใช้เสียงข้างมากขยายอำนาจให้ตัวเองและพวกพ้อง โดยทั้ง 2 หลัก มีสิ่งที่เหมือนกันคือการยึดโยงประชาชน คุ้มครองสิทธิประชาชน การจัดการองค์กรใช้อำนาจ การใช้อำนาจนิติบัญญัติ เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ดังนั้นขณะนี้เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญ จึงต้องทำให้ทั้ง 2 หลักมีดุลยภาพต่อกัน
นายบรรเจิด กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีความขัดแย้งระหว่างหลักประชาธิปไตยกับหลักนิติธรรม โดยฝ่ายการเมืองพยายามแก้รัฐธรรมนูญ โดยอ้างเรื่องเสียงข้างมาก แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยหลักนิติธรรมว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดกับรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการตรวจสอบกฎหมาย ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเขียนให้ชัดถึงอำนาจของ 2 หลักการนี้
นอกจากนั้นต้องคิดว่าฝ่ายบริหาร กับฝ่ายตรวจสอบ อย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะสามารถเข้าไปตรวจสอบการทำนโยบายของรัฐบาลได้มากน้อยเพียงใด ระหว่างทำนโยบายสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีปัญหาโครงการจำนำข้าว ที่ฝ่ายการเมืองอ้างประชาธิปไตย อ้างเรื่องนโยบาย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องมีความชัดเจนในเรื่องนโยบายประชานิยม ควรบังคับอย่างไร ตรวจสอบอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบายอีก
"จรัญ"มั่นใจ"มีชัย"ทำร่างรธน.ออกมาดี
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังให้สัมภาษณ์ถึงการทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกรธ.เตรียมปรับให้ศาลรัฐธรรมนูญ อยู่ในหมวดศาลแทน หมวดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ว่า ตนเห็นด้วยว่าศาลรัฐธรรมนูญควรอยู่ในหมวดศาล เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการในการตรวจสอบทั้งระดับการเมืองและระดับรัฐธรรมนูญ หากจะให้มีศาลรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องอยู่หมวดศาล เพราะถ้าหากให้มีศาลรัฐธรรมนูญ แล้วอยู่ในสถานะองค์กรอิสระ ก็จะทำให้มีปัญหาในแง่ของการตรวจสอบ รวมถึงถูกครอบงำ แทรกแซง ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพ
"ผมมั่นใจในตัวคุณมีชัย เพราะผมก็เป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง จึงเชื่อว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถในกรธ. จะไม่ทำให้ประเด็นนี้เป็นปัญหาต่อบ้านเมืองอย่างแน่นอน และกรณีกรธ.ยังต้องนำประเด็นต่างๆ ไปฟังความคิดเห็นจากสังคมว่าเป็นอย่างไร และอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวทาง ไม่ว่าผลของกรณีนี้จะออกมาไม่เป็นอย่างที่ผมคาดหวัง ก็เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญก็พร้อมจะยอมรับผลนั้น เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ"
โฆษกกรธ.มั่นใจระบบเลือกตั้งใหม่
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวถึง เสียงวิจารณ์ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่กรธ.ออกแบบว่าจะเกิดการทุจริตที่รุนแรง และรัฐบาลจะอ่อนแอ ว่า ตนไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น กรธ.พยายามออกแบบให้รัฐธรรมนูญออกมาดีที่สุด รูปแบบการเลือกตั้งนี้หากพรรคคัดสรรส่งคนที่ดีที่สุดมาให้ประชาชนเลือกในทุกเขต พวกเขาก็อาจจะได้คะแนน ส.ส.เขตแบบล้นหลามได้ อาจจะเกินครึ่งหนึ่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ด้วยซ้ำ ไม่จำเป็นว่าระบบนี้จะทำให้เป็นรัฐบาลผสมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากไม่อยากได้รัฐบาลผสม แต่ละพรรคการเมืองก็ต้องพยายามคัดเลือกคนดี มีความสามารถ และออกแบบนโยบายของพรรคให้ดี
โฆษก กรธ. กล่าวด้วยว่า ส่วนข้อกังวลว่าจะทำให้การทุจริตรุนแรงมากขึ้นนั้น ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญยังมีกลไกอื่น ๆ เพื่อป้องกันการทุจริต เช่น บทลงโทษของคนทุจริตที่จะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต หรือการยุบพรรคที่ยังมีอยู่ หากกรรมการ หรือคนทั้งพรรครู้เห็นและทำการทุจริต ซึ่งก็จะไปลงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้หากประชาชนออกมาใช้สิทธิเกินกว่า 70% เชื่อว่าการซื้อเสียงก็แทบไม่มีผลเมื่อดูจากผลการวิจัยการเลือกตั้งครั้งที่ผ่าน ๆ มา
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
หวั่นรัฐบาลใหม่'อ่อนแอ''ทีดีอาร์ไอ'แนะออกแบบรัฐธรรมนูญ'สมดุล-ยิดนิติรัฐ'
"ประธานทีดีอาร์ไอ"แนะอย่าเขียนรัฐธรรมนูญให้แก้ยาก ควรเปิดช่องให้แก้ได้ ป้องกันถูกฉีก หวั่นระบบเลือกตั้งใหม่ส่อได้รัฐบาลอ่อนแอ "บรรเจิด"เสนอเขียนร่างรัฐธรรมนูญ ถ่วงดุล "หลักประชาธิปไตย-หลักนิติธรรม"ให้ชัด พร้อมหามาตรการตรวจสอบประชานิยม ป้องทุจริตเชิงนโยบาย โฆษกกรธ.ยันระบบ เลือกตั้ง"จัดสรรปันส่วนผสม" ไม่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ
ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ถนนราชดำเนินนอก สถาบันพระปกเกล้า จัดประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 17 มีการจัดอภิปรายร่วมในหัวข้อ "หลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย : ต่างมุมมอง ต่างความเข้าใจ จุดหมายเดียวกัน"
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ความขัดแย้งในประเทศไทย มาจากคน 2 กลุ่ม ถึงแม้ปัจจุบันไม่ได้แสดงออกมา แต่รากเหง้าความคิดยังมีอยู่ ดังนั้น การที่จะให้ทั้ง 2 ฝ่าย ออกจากความขัดแย้งทางการเมือง จะต้องไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อาทิ จะต้อง มีการออกแบบความสมดุล มีนิติรัฐโดยการ เพิ่มบทบาทในบางเรื่อง รัฐสภาต้องมีบทบาทมากขึ้น มีการกระจายอำนาจที่มากขึ้น ลดบทบาทองค์กรอิสระให้ตรวจสอบได้ ด้านกฎหมาย ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเฉพาะการเสนอกฎหมาย
ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อว่า หากเปรียบเทียบ "รัฐธรรมนูญ" เป็น "รถยนต์" จะพบว่าในการร่างรัฐธรรมนูญแต่ละครั้ง เหมือนทำให้รถมีสัมภาระเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราเอาทุกอย่างไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ แล้วนำทุกเรื่องไปฝากไว้กับองค์กรอิสระ ซึ่งอาจทำให้มีความขัดแย้งเลยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้องค์ประกอบของ "รถรัฐธรรมนูญ" ต้องมี 3 ส่วน คือ 1.คันเร่ง จะต้องมีรัฐที่เข้มแข็ง 2.เบรก จะต้องมีนิติรัฐที่เหมาะสม และ 3.พวงมาลัย จะต้องมีรัฐบาลที่สะท้อนและต้องตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
นายสมเกียรติ กล่าวว่า สำหรับ "รถรัฐธรรมนูญใหม่" ที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กำลังดำเนินการอยู่ จะเห็นว่า เบรก คือรัฐสภาและองค์กรอิสระ ส่วนคันเร่งคือ ระบบเลือกตั้ง และพรรคการเมือง ตนมองว่า ตัวระบบเลือกตั้งจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าเราจะได้รัฐบาลที่ดีหรือไม่ ซึ่งระบบเลือกตั้งที่ กรธ.กำลังคิดกันอยู่ในขณะนี้ จะทำให้ "คันเร่ง" อ่อนลง ซึ่งจะมีปัญหาตามมาคือ เราจะได้รัฐบาลที่อ่อนแอ
ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะว่า 1.รัฐธรรมนูญไม่ควรทำหน้าที่หลายอย่างเกินไป 2.คันเร่งอ่อน เบรกแรง แก้ปัญหาใหญ่ไม่ได้ ดังนั้นควรปรับ คันเร่งและเบรกให้สมดุลกัน ควรใช้เบรกมาตรฐาน ด้วยกลไกรัฐสภา 3.ไม่ควรให้แก้รัฐธรรมนูญยากเกินไปจนต้องทุบรถ
"บรรเจิด"แนะร่างรธน.ป้องทุจริตนโยบาย
ด้านนายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า สังคมไทยเดินมาสู่ความขัดแย้งของ หลักนิติธรรมและหลักการประชาธิปไตยแล้ว โดยจะเห็นได้จาก 20 ปีที่ผ่านมามีปัญหา เพราะฝ่ายหนึ่งยึดหลักประชาธิปไตย อีกฝ่ายยึดหลักนิติธรรม ซึ่งเป็นพัฒนาการทางการเมืองของทุกประเทศทั่วโลกจะต้องเจอ เพราะหลักการทั้ง 2 อยู่คู่กัน จะยึดประชาธิปไตยอย่างเดียวท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่การกินตัวเอง ใช้เสียงข้างมากขยายอำนาจให้ตัวเองและพวกพ้อง โดยทั้ง 2 หลัก มีสิ่งที่เหมือนกันคือการยึดโยงประชาชน คุ้มครองสิทธิประชาชน การจัดการองค์กรใช้อำนาจ การใช้อำนาจนิติบัญญัติ เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ดังนั้นขณะนี้เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญ จึงต้องทำให้ทั้ง 2 หลักมีดุลยภาพต่อกัน
นายบรรเจิด กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีความขัดแย้งระหว่างหลักประชาธิปไตยกับหลักนิติธรรม โดยฝ่ายการเมืองพยายามแก้รัฐธรรมนูญ โดยอ้างเรื่องเสียงข้างมาก แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยหลักนิติธรรมว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดกับรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการตรวจสอบกฎหมาย ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเขียนให้ชัดถึงอำนาจของ 2 หลักการนี้
นอกจากนั้นต้องคิดว่าฝ่ายบริหาร กับฝ่ายตรวจสอบ อย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะสามารถเข้าไปตรวจสอบการทำนโยบายของรัฐบาลได้มากน้อยเพียงใด ระหว่างทำนโยบายสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีปัญหาโครงการจำนำข้าว ที่ฝ่ายการเมืองอ้างประชาธิปไตย อ้างเรื่องนโยบาย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องมีความชัดเจนในเรื่องนโยบายประชานิยม ควรบังคับอย่างไร ตรวจสอบอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบายอีก
"จรัญ"มั่นใจ"มีชัย"ทำร่างรธน.ออกมาดี
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังให้สัมภาษณ์ถึงการทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกรธ.เตรียมปรับให้ศาลรัฐธรรมนูญ อยู่ในหมวดศาลแทน หมวดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ว่า ตนเห็นด้วยว่าศาลรัฐธรรมนูญควรอยู่ในหมวดศาล เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการในการตรวจสอบทั้งระดับการเมืองและระดับรัฐธรรมนูญ หากจะให้มีศาลรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องอยู่หมวดศาล เพราะถ้าหากให้มีศาลรัฐธรรมนูญ แล้วอยู่ในสถานะองค์กรอิสระ ก็จะทำให้มีปัญหาในแง่ของการตรวจสอบ รวมถึงถูกครอบงำ แทรกแซง ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพ
"ผมมั่นใจในตัวคุณมีชัย เพราะผมก็เป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง จึงเชื่อว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถในกรธ. จะไม่ทำให้ประเด็นนี้เป็นปัญหาต่อบ้านเมืองอย่างแน่นอน และกรณีกรธ.ยังต้องนำประเด็นต่างๆ ไปฟังความคิดเห็นจากสังคมว่าเป็นอย่างไร และอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวทาง ไม่ว่าผลของกรณีนี้จะออกมาไม่เป็นอย่างที่ผมคาดหวัง ก็เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญก็พร้อมจะยอมรับผลนั้น เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ"
โฆษกกรธ.มั่นใจระบบเลือกตั้งใหม่
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. กล่าวถึง เสียงวิจารณ์ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่กรธ.ออกแบบว่าจะเกิดการทุจริตที่รุนแรง และรัฐบาลจะอ่อนแอ ว่า ตนไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น กรธ.พยายามออกแบบให้รัฐธรรมนูญออกมาดีที่สุด รูปแบบการเลือกตั้งนี้หากพรรคคัดสรรส่งคนที่ดีที่สุดมาให้ประชาชนเลือกในทุกเขต พวกเขาก็อาจจะได้คะแนน ส.ส.เขตแบบล้นหลามได้ อาจจะเกินครึ่งหนึ่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ด้วยซ้ำ ไม่จำเป็นว่าระบบนี้จะทำให้เป็นรัฐบาลผสมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากไม่อยากได้รัฐบาลผสม แต่ละพรรคการเมืองก็ต้องพยายามคัดเลือกคนดี มีความสามารถ และออกแบบนโยบายของพรรคให้ดี
โฆษก กรธ. กล่าวด้วยว่า ส่วนข้อกังวลว่าจะทำให้การทุจริตรุนแรงมากขึ้นนั้น ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญยังมีกลไกอื่น ๆ เพื่อป้องกันการทุจริต เช่น บทลงโทษของคนทุจริตที่จะถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต หรือการยุบพรรคที่ยังมีอยู่ หากกรรมการ หรือคนทั้งพรรครู้เห็นและทำการทุจริต ซึ่งก็จะไปลงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้หากประชาชนออกมาใช้สิทธิเกินกว่า 70% เชื่อว่าการซื้อเสียงก็แทบไม่มีผลเมื่อดูจากผลการวิจัยการเลือกตั้งครั้งที่ผ่าน ๆ มา
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ