ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) แกนนำพรรคเพื่อไทย อาทิ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี เป็นต้น ร่วมแถลงข่าวภายหลังทราบมติของ สนช.ที่มีมติไม่ถอดถอนอดีต 248 ส.ส.กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.มิชอบ
โดย พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทยขอขอบคุณ สนช.ที่ได้ให้ความเป็นธรรมกับอดีต ส.ส.ทุกคน เพราะเราไม่ได้ทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย การกล่าวหาของ ป.ป.ช.ก่อนหน้านี้ พรรคได้แถลงไปแล้วว่ากระบวนการสอบสวนของ ป.ป.ช.ไม่ได้ให้ความเป็นธรรม แม้กระทั่งการแถลงปิดคดีเมือวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ตัวแทนของ ป.ป.ช.รายหนึ่งได้กล่าวต่อที่ประชุม สนช.ว่า สนช.ไม่จำเป็นต้องรักษามาตรฐาน คนที่รักษามาตรฐาน คือศาล แม้ สนช.จะเคยลงมติไม่ถอดถอนอดีต 38 ส.ว.ไปแล้วก็ไม่เกี่ยวกับกรณีอดีต ส.ส.248 คน ซึ่งในความเป็นจริงทั้งอดีต ส.ส.และอดีต ส.ว.ได้ทำงานร่วมกัน ทั้งการเสนอญัตติ การพิจารณาและการลงมติ แต่การที่ตัวแทน ป.ป.ช.บอกว่า สนช.ไม่จำเป็นต้องรักษามาตรฐาน ทำให้เสียความรู้สึกว่าให้ สนช.ไปแบบคดๆ ไม่ต้องไปแบบตรงๆ ก็ได้ ทั้งที่ สนช.เป็นองค์กรนิติบัญญัติ เป็นเสาหลักของบ้านเมือง แต่เมื่อผล สนช.ไม่เชื่อ และมีมติไม่ถอดถอนก็ต้องขอบคุณ สนช.ที่ยังคงความเป็นธรรม
เมื่อถามว่าผลการลงมติในครั้งนี้จะนำไปสู่ความปรองดองได้หรือไม่ พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า ทุกฝ่ายไม่ว่าใครก็อยากเห็นความปรองดองของบ้านเมือง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทางพรรคเพื่อไทยให้ความร่วมมือกับ คสช.เต็มที่เพื่อให้ท่านมีโอกาสทำงาน ปฏิรูปในสิ่งที่ท่านตั้งความหวังไว้เพื่อให้บ้านเมืองสงบ นำไปสู่ความปรองดอง
เมื่อถามถึงข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า แม้ว่าพรรคห้ามประชุม แต่เท่าที่ฟังสมาชิกพรรคได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ และได้สรุปเป็นแนวทางไว้ 4 ประเด็น เพื่อส่งต่อนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในต้นสัปดาห์หน้า เพื่อให้นำไปปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบด้วย 1.ที่มาของนายกฯ พรรคไม่เห็นด้วยที่นายกฯ จะมาจากคนนอกได้ เพราะไม่ใช่แนวทางของประชาธิปไตยนายกฯ ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 2.ที่มา ส.ว.ซึ่งกรรมาธิการฯ กำหนดให้มาจากการเลือกตั้ง 77 คน และสรรหามากถึง 123 คน ซึ่งไม่ผูกพันกับประชาชน แต่อำนาจของ ส.ว.มีอำนาจมาก ทั้งอำนาจการถอดถอน และกรั่นกรองกฎหมายร่วมกับสภาฯ ดังนั้นพรรคเห็นว่า ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 3.เรื่องการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ พรรคเห็นว่าเป็นเหมือนซุปเปอร์องค์กร การที่ให้คณะกรรมการฯ ชุดนี้มีอำนาจในยามเกิดวิกฤตินั้น คำว่าวิกฤตินั้นต้องวิกฤติขนาดไหน ตีความยาก รัฐบาลหรือคณะผู้บริหารซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาน ไม่ควรอยู่ภายใต้การบงการหรือสั่งการของคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพราะมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารมากเกินไป ที่สำคัญพรรคเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย และ 4.เรื่องการกีดกันผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง เมื่อถูกลงโทษเว้นวรรคทางการเมืองแล้ว ทำไมยังจะถูกลงโทษซ้ำโดยการขาดคุณสมบัติห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งพรรคไม่เห็นด้วย
เมื่อถามถึงกรณีที่ สปช.อาจลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีผลกกระทบต่อโรดแม็ป พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า เห็นว่าทางรัฐบาลได้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับเรื่องนี้ไว้แล้ว หากไม่ผ่านก็คงต้องร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ เชื่อว่าอาจจะต้องยืดโรดแม็ปออกไป
ด้านนายสามารถ กล่าวว่า ส่วนการตั้งคำถามประชามตินั้น รัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ให้อำนาจ สนช.และ สปชเสนอคำถามได้ฝ่ายละหนึ่งคำถาม แต่ต้องผ่านการพิจารณาจาก ครม. หาก ครม.เห็นชอบจึงจะส่งให้ กกต.ตั้งคำถามต่อไป อย่างไรก็ตาม การตั้งคำถามที่ว่าปฏิรูป 2 ปีก่อนการเลือกตั้งนั้น กรรมาธิการฯ ต้องกลับไปแก้ร่างรัฐธรรมนูญโดยเขียนให้มีการชะลอการเลือกตั้งออกไปแล้วปฏิรูปก่อน 2 ปี แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าการตั้งคำถามประชามติ ควรตั้งถามแบบง่ายๆ ไม่ใช่การถามในลักษณะดังกล่าว เพราะต้องมีรายละเอียดอีกว่าจะปฏิรูปอย่างไร ดังนั้นเชื่อว่า ครม.จะไม่เห็นชอบกับคำถามดังกล่าว
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในกระบวนการถอดถอน เราเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ยืนยันว่าเราทุกคนทำตามหน้าที่ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญชี้แนะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เราก็ทำตามกรอบกติกา การตัดสินใจแบบนี้จะเรียกว่าเป็นการล้มล้างการปกครองได้อย่างไร ดังนั้นไม่มีเหตุผลที่จะถอดถอนเราอยู่แล้ว เพราะเราทำสิ่งที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อคิดเห็นเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเรื่องรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ และข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เราจะแสดงท่าทีอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยเป็นการรวบรวมความคิดเห็น และจะส่งถึงประธานกรรมาธิการฯ ในต้นสัปดาห์หน้า
JJNY : 'เพื่อไทย'ขอบคุณสนช. มีมติไม่ถอดถอนอดีต248ส.ส.
โดย พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทยขอขอบคุณ สนช.ที่ได้ให้ความเป็นธรรมกับอดีต ส.ส.ทุกคน เพราะเราไม่ได้ทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย การกล่าวหาของ ป.ป.ช.ก่อนหน้านี้ พรรคได้แถลงไปแล้วว่ากระบวนการสอบสวนของ ป.ป.ช.ไม่ได้ให้ความเป็นธรรม แม้กระทั่งการแถลงปิดคดีเมือวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ตัวแทนของ ป.ป.ช.รายหนึ่งได้กล่าวต่อที่ประชุม สนช.ว่า สนช.ไม่จำเป็นต้องรักษามาตรฐาน คนที่รักษามาตรฐาน คือศาล แม้ สนช.จะเคยลงมติไม่ถอดถอนอดีต 38 ส.ว.ไปแล้วก็ไม่เกี่ยวกับกรณีอดีต ส.ส.248 คน ซึ่งในความเป็นจริงทั้งอดีต ส.ส.และอดีต ส.ว.ได้ทำงานร่วมกัน ทั้งการเสนอญัตติ การพิจารณาและการลงมติ แต่การที่ตัวแทน ป.ป.ช.บอกว่า สนช.ไม่จำเป็นต้องรักษามาตรฐาน ทำให้เสียความรู้สึกว่าให้ สนช.ไปแบบคดๆ ไม่ต้องไปแบบตรงๆ ก็ได้ ทั้งที่ สนช.เป็นองค์กรนิติบัญญัติ เป็นเสาหลักของบ้านเมือง แต่เมื่อผล สนช.ไม่เชื่อ และมีมติไม่ถอดถอนก็ต้องขอบคุณ สนช.ที่ยังคงความเป็นธรรม
เมื่อถามว่าผลการลงมติในครั้งนี้จะนำไปสู่ความปรองดองได้หรือไม่ พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า ทุกฝ่ายไม่ว่าใครก็อยากเห็นความปรองดองของบ้านเมือง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทางพรรคเพื่อไทยให้ความร่วมมือกับ คสช.เต็มที่เพื่อให้ท่านมีโอกาสทำงาน ปฏิรูปในสิ่งที่ท่านตั้งความหวังไว้เพื่อให้บ้านเมืองสงบ นำไปสู่ความปรองดอง
เมื่อถามถึงข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า แม้ว่าพรรคห้ามประชุม แต่เท่าที่ฟังสมาชิกพรรคได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ และได้สรุปเป็นแนวทางไว้ 4 ประเด็น เพื่อส่งต่อนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในต้นสัปดาห์หน้า เพื่อให้นำไปปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบด้วย 1.ที่มาของนายกฯ พรรคไม่เห็นด้วยที่นายกฯ จะมาจากคนนอกได้ เพราะไม่ใช่แนวทางของประชาธิปไตยนายกฯ ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 2.ที่มา ส.ว.ซึ่งกรรมาธิการฯ กำหนดให้มาจากการเลือกตั้ง 77 คน และสรรหามากถึง 123 คน ซึ่งไม่ผูกพันกับประชาชน แต่อำนาจของ ส.ว.มีอำนาจมาก ทั้งอำนาจการถอดถอน และกรั่นกรองกฎหมายร่วมกับสภาฯ ดังนั้นพรรคเห็นว่า ส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 3.เรื่องการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ พรรคเห็นว่าเป็นเหมือนซุปเปอร์องค์กร การที่ให้คณะกรรมการฯ ชุดนี้มีอำนาจในยามเกิดวิกฤตินั้น คำว่าวิกฤตินั้นต้องวิกฤติขนาดไหน ตีความยาก รัฐบาลหรือคณะผู้บริหารซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาน ไม่ควรอยู่ภายใต้การบงการหรือสั่งการของคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพราะมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารมากเกินไป ที่สำคัญพรรคเห็นว่าไม่เป็นประชาธิปไตย และ 4.เรื่องการกีดกันผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง เมื่อถูกลงโทษเว้นวรรคทางการเมืองแล้ว ทำไมยังจะถูกลงโทษซ้ำโดยการขาดคุณสมบัติห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งพรรคไม่เห็นด้วย
เมื่อถามถึงกรณีที่ สปช.อาจลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีผลกกระทบต่อโรดแม็ป พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า เห็นว่าทางรัฐบาลได้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับเรื่องนี้ไว้แล้ว หากไม่ผ่านก็คงต้องร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ เชื่อว่าอาจจะต้องยืดโรดแม็ปออกไป
ด้านนายสามารถ กล่าวว่า ส่วนการตั้งคำถามประชามตินั้น รัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ให้อำนาจ สนช.และ สปชเสนอคำถามได้ฝ่ายละหนึ่งคำถาม แต่ต้องผ่านการพิจารณาจาก ครม. หาก ครม.เห็นชอบจึงจะส่งให้ กกต.ตั้งคำถามต่อไป อย่างไรก็ตาม การตั้งคำถามที่ว่าปฏิรูป 2 ปีก่อนการเลือกตั้งนั้น กรรมาธิการฯ ต้องกลับไปแก้ร่างรัฐธรรมนูญโดยเขียนให้มีการชะลอการเลือกตั้งออกไปแล้วปฏิรูปก่อน 2 ปี แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าการตั้งคำถามประชามติ ควรตั้งถามแบบง่ายๆ ไม่ใช่การถามในลักษณะดังกล่าว เพราะต้องมีรายละเอียดอีกว่าจะปฏิรูปอย่างไร ดังนั้นเชื่อว่า ครม.จะไม่เห็นชอบกับคำถามดังกล่าว
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในกระบวนการถอดถอน เราเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ยืนยันว่าเราทุกคนทำตามหน้าที่ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญชี้แนะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เราก็ทำตามกรอบกติกา การตัดสินใจแบบนี้จะเรียกว่าเป็นการล้มล้างการปกครองได้อย่างไร ดังนั้นไม่มีเหตุผลที่จะถอดถอนเราอยู่แล้ว เพราะเราทำสิ่งที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อคิดเห็นเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเรื่องรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ และข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เราจะแสดงท่าทีอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยเป็นการรวบรวมความคิดเห็น และจะส่งถึงประธานกรรมาธิการฯ ในต้นสัปดาห์หน้า