ปฏิรูปประเทศไทยสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน อย่าลืมคำว่ามารยาทตามระบอบประชาธิปไตยด้วย หวังว่าคงไม่ได้ยินคำว่ากลไกรัฐสภาอีก

ตามกติกาใหม่เรื่องได้เปรียบ-เสียเปรียบทางการเมือง มันไม่ได้หมายความแค่พรรคใดพรรคหนึ่งได้ ส.ส. มากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่มันหมายความไปถึงว่าพรรคคู่แข่งของคุณได้จำนวน ส.ส. ลดลงเพียงพอที่คุณจะจับมือกับพรรคร่วมอื่นๆเพื่อจัดตั้งรัฐบาลแทนพรรคที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งนั่นหมายถึงมารยาททางการเมืองของคุณมันผิดเพี้ยนและจะนำพาสังคมให้ผิดเพี้ยนต่อไปด้วยในอนาคต โดยใช้คำว่ากลไกรัฐสภามาแอบอ้าง

คำว่ากลไกรัฐสภาคุณคิดว่าจะทำตามใจโดยไม่คำนึงถึงความชอบธรรม มันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศไทยทั้งประเทศ แล้วคุณจะพาประเทศไทยไปยืนต่อหน้าประเทศอื่นทั่วโลกอย่างเต็มภาคภูมิได้อย่างไร

ในส่วนของการเลือกตั้ง ช่วงปลายปีที่แล้วคุณบวรศักดิ์ได้มีแนวคิดที่จะนำพาระบบ Mixed Member Proportional (MMP) ที่ปัจจุบันมี 9 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ คือ เยอรมนี แอลเบเนีย เลโซโท โบลิเวีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เวเนซุเอลา อิตาลี ฮังการี แต่อย่างน้อยๆในส่วนของ ส.ส. ระบบสัดส่วนก็ยังต้องพึ่งพาการการคะแนนเลือกพรรคโดยตรงจากประชาชน หาได้ใช้คะแนนในส่วนที่แพ้ตามระบบเขตเลือกตั้งต่างๆมาคิดคะแนนเหมือนกับที่คุณมีชัยทำไม่

แต่ถึงกระนั้นไม่ว่ากติกาการเลือกตั้งจะออกมาผิดเพี้ยนประการใด และหากผ่านการยอมรับของประชาชนทั้งประเทศ สิ่งหนึ่งที่คุณควรจะมีนั่นคือมารยาทตามระบอบประชาธิปไตย  ดิฉันขออนุญาตเรียนตรงๆตามนี้ว่า กติกาที่กรรมมาธิการร่างรัฐธรรมนูญของคุณมีชัยก็เพี้ยนจนจะรับไม่ได้แล้ว  แต่หากพรรคการเมืองที่ได้อันดับสองใช้กลไกรัฐสภาใช้ความไร้มารยาทจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคที่เล็กลงไป ทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องเพี้ยนหนักซ้ำสองเข้าไปอีก มันไม่ใช่ ปฏิรูปประเทศไทยสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนแน่นอนค่ะ  มันคือการนำพาประเทศไปสู่ระบบคนหัวหมอเท่านั้นเอง

ดิฉันยังยืนยันคำเดิมว่าไม่เห็นด้วยกับกติกาการเลือกตั้งของคุณมีชัย อีกไม่กี่สิบปีพวกเราก็จะตายกันหมดแล้ว แต่ดิฉันก็ไม่อยากให้ลูกหลานของดิฉันต้องมาถูกปกครองด้วยการเมืองระบบหัวหมอ แค่นี้ประเทศยังเพี้ยนต่อหน้าชาวโลกไม่พออีกหรือ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
วิธีที่ อ มีชัยแกทำนั่นก็คือ เหมือนพยายามจะทำให้ระบบพรรค กระจายกันออกไปให้มากที่สุดโดยการใช้ คะแนนปาร์ตี้ลีสต์
มาเป็นตัวช่วยให้พรรคเล็กพรรคน้อย ตอบโจทย์เรื่องความปรองดอง ( ซึ่งมันไม่ใช่)

ถามต่อ ถ้าบอกว่าจะทำให้การเมืองปรองดอง คิดว่าตอบโจทย์นี้ได้จริงหรือ? ในเมื่อ นักการเมืองต่างฝ่าย มีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน
หรือแนวทางการทำงานที่สวนทางกัน แต่ต้องมาร่วมงานกัน จะทำงานได้ราบรื่นจริงหรือ? เผลอๆทำงานกันไปไม่ถึง สองปี ก็ต้องยุบสภา
หรือนายกลาออก แล้วมาเลือกตั้งใหม่อีก สรุป ถ้าเป็นแบบนี้ ประเทศจะเดินหน้าไปไหน

สอง เราเคยมีประสบการณ์เรื่องมารยาท ทางการเมืองมาเยอะ ที่ขบวการงูเห่าแอบแฝงกันอยู่ ใครเสนอตำแหน่งสำคัญไร
ก็สามารถกลืนน้ำลายย้ายข้างกันได้อย่างง่ายๆ เพราะคำว่า " ไม่มีมิตรแท้ บนถนนสายการเมืองนั่นแหล่ะ "

สาม การออกแบบ การเลือกตั้งที่ร่วมผสมเสียงโดยเอาคะแนน คนแพ้มาคิดรวมแบบนี้  คนที่เสียเปรียบก็คือ พรรคใหญ่แน่นอน
เพราะคะแนนต้องถูกแบ่งไป ถามต่อ ถ้าไม่คิดจะทำลายความเข้มแข็งของพรรค หรือสกัดกั้น วิธีนี้ ควรนำมาใช้หรือไม่?

คิดตามระบบ นะ พรรคๆหนึ่ง หากจะทำงานให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีความเป็นความเอกภาพ และบริหารไปให้ได้ตลอดรอดฝั่ง
ความหมายคือเห็นไปในทางเดียวกันนั่นแหล่ะ และถ้าจะเกิดความผิดพลาดก็ให้กระบวนการตรวจสอบเกิดขึ้นมากกว่าจะมาลากเอา
ทหารมาล้มรัฐบาล

ส่วนใครที่กลัวเรื่องโกงกิน คอรับชั่น หรืออะไรๆ ที่พวกเค้ากลัว พวกเค้าก็ควรไปสร้างกระบวนการตรวจสอบให้เข้มแข็งขึ้น
จะเป็นฝ่ายค้านที่ฉลาดๆ องค์กรที่ไม่หวังผลประโยชน์ หรือภาคเอกชนที่ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและจริงใจ โดยผ่านช่องทางกฎหมาย
ที่บริสุทธิ ยุติธรรม และถูกใช้อย่างตรงไปตรงมา จากฝ่ายตุลาการ  เห็นควรจะทำตรงนี้มากกว่าซะอีก

เรากำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบแท้จริงกันแล้ว ปชช เองก็มีวิจารณญาณที่จะคิดได้ ว่าพรรคไหนดีๆ
พรรคไหนไม่ดี ข่าวสารการเมือง เด๋วนี้รวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ซีกโลกไหน ก็รับรู้ได้ทั้งนั้น คนผิดสมัยนี้ อยู่ได้ไม่นานหรอก

อย่าไปกลัวนักการเมืองเลย หันกลับมาให้ปชช เป็นตัวยืนดีกว่าว่า ปชช คิดอะไรต้องการอะไร นักการเมืองไม่ดี ปชช ก็จะตัดสินโทษเอง
แล้วก็ควรเคารพเสียงข้างมาก เพราะความคิดของเสียงข้างมาก คือความต้องการที่ตรงกันในการเลือกนั่นแหล่ะ
ง่ายๆ คือยอมรับ แพ้ ชนะ กันไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่