ระบบเลือกตั้งแบบ "เยอรมัน" หรือที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญบางคนเรียกว่า "ระบบสัดส่วนผสม" (Mixed-Member Proportional Elections) ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายโดยเฉพาะนักเลือกตั้งรุ่นเก่าว่าเป็นการทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ
แต่คนยกร่างบอกว่านี่เป็นการทำให้ "ทุกคะแนนเสียง" มีความสำคัญ และสอดคล้องกับความเป็น "ประชาธิปไตย" มากกว่าระบบการหย่อนบัตรแบบเดิม ๆ
นักการเมืองเดิมบอกว่าระบบเยอรมันที่ว่านี้จะทำให้มีพรรคเล็กพรรคน้อยมาก ทำให้การเมืองไทยปั่นป่วน เพราะยากต่อการควบคุม และจะทำให้กลุ่มการเมืองเล็ก ๆ เกิดขึ้น สามารถต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองมากขึ้น ทำให้การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ
แต่คนที่เห็นด้วยกับการให้มีพรรคการเมืองระดับกลางและเล็กมากขึ้นแย้งว่าระบบเดิมทำให้มีพรรคใหญ่พรรคเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จจนกลายเป็น "เผด็จการรัฐสภา" สามารถจะผ่านกฎหมายฝ่ายตนได้ และสกัดกั้นการเสนอกฎหมายของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเบ็ดเสร็จ
นั่นก็เป็นอุปสรรคต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน
ความจริงการเมืองไทยผ่านทั้งสองปรากฏการณ์มาแล้ว นั่นคือสมัยหนึ่งมีพรรคการเมืองน้อยใหญ่มากมาย และสมาชิกรัฐสภาไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง มี ส.ส. "อิสระ" ที่ไม่ต้องทำตามมติพรรคการเมืองใด
อีกสมัยหนึ่งการเมืองไทยก็บังคับให้ต้องสังกัดพรรค และใช้ระบบ party lists ซึ่งก็กึ่ง ๆ ระบบเยอรมันนี่แหละ ทำให้มีพรรคใหญ่เพียงสองพรรค ซึ่งคนที่สนับสนุนก็บอกว่าถูกต้องแล้วเพราะเหมือนกับพรรคเดโมแครตและรีพับบลิกันของสหรัฐฯที่ถือว่าพัฒนากว่าใครเพื่อนในเรื่องประชาธิปไตย
แต่ทั้งสองกรณีก็สร้างปัญหาการเมือง สร้างความไร้เสถียรภาพและวิกฤตการเมืองของไทยมาแล้ว
คำถามจึงอยู่ที่ว่าประเด็นของประเทศไทยนี่อยู่ที่กติกาหรืออยู่ที่คน?
คำตอบก็คงจะอยู่ตรงกลางระหว่างระบบกับคน แต่ท้ายที่สุดไม่ว่าระบบเดียวกันนี้จะทำแล้วได้ผลในประเทศอื่นใด แต่ไฉนเมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยจึงเจ๊งในเกือบทุกกรณี?
คำตอบก็คือเราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเฉพาะกลุ่มเฉพาะคน แต่ไม่เคยสร้างระบบสังคมที่จะแก้ปัญหาระยะยาวอย่างจริงจัง
การร่างรัฐธรรมนูญทุกครั้งจะเป็นการพยายามจะแก้ปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นจนทำให้เกิดวิกฤต และทำให้ต้องมานั่งเขียนกติกาใหม่ และกติกาใหม่ที่เขียนนั้นก็จะมุ่งแก้เฉพาะปัญหาที่เพิ่งทำให้เกิดวิกฤตครั้งนั้น ๆ โดยไม่มองย้อนกลับไปมาอดีตและประเมินอนาคตว่ารัฐธรรมนูญแบบไหนจึงจะส่งเสริมสิทธิของประชาชนในการสร้างระบอบประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนและแท้จริงได้
ระบบเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นแบบเยอรมัน, อังกฤษ, สหรัฐฯหรือจีนต่างก็ล้วนมีจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง และแต่ละประเทศที่ตัดสินใช้ระบบใดก็เพราะมีประวัติการเมืองและสังคมที่ต้องเรียนรู้และปรับให้เข้ากับความเป็นไป, ภูมิหลังและสภาพสังคมของแต่ละประเทศ
ไทยเราลอกเลียนทั้งแบบอังกฤษ, สหรัฐฯ, ฝรั่งเศสและเยอรมันมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ แต่ก็พิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว
ที่ล้มเหลวไม่ใช่เพราะระบบเขาไม่ดี แต่เพราะเราเอาแต่ "รูปแบบ" แต่ไม่เข้าใจ "เนื้อหา" มาใช้โดยที่เราไม่ได้สร้าง "วินัย" แห่งการเป็นคนในระบอบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง
คนที่เข้ามา "เล่นการเมือง" ของไทยจำนวนไม่น้อยเป็นเพียง "นักฉวยโอกาส" สร้างประโยชน์ให้กับตน คนมีอุดมคติที่จะ "รับใช้ประเทศชาติ" อย่างแท้จริงมีอยู่บ้าง แต่เป็นจำนวนน้อยกว่า
เมื่อการเมืองไทยขาดคนที่มี "วินัย" และขาด "สำนึก" ไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญให้มีระบบการเลือกตั้งที่ประเสริฐเลิศเลอจากประเทศใดก็ไม่อาจจะยกระดับคุณภาพมาตรฐานการเมืองได้
เพราะนักเลือกตั้งมีวิธีที่จะหาช่องโหว่ในกฎหมายเพื่อตีความให้ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด
ความจริงทุกประเทศก็มีนักการเมืองเลว ๆ เหมือนกัน แต่เขาสร้างคนในชาติให้มี "วินัย" และ "ความตื่นตัว" เรื่องการเมืองจนเป็นพลังที่จะคานกับความเลวร้ายของนักการเมืองฉ้อฉลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ
พลังของประชาชนที่จะต้านความชั่วร้ายของนักเลือกตั้งคือระบบตรวจสอบทั้งที่ระบุในกฎหมายและการสร้างกลไกในชีวิตประจำวันของคนในสังคมที่จะเกาะติดและจับตานักการเมืองอย่างกระชั้นชิดเพื่อไม่ให้กระทำความชั่วร้ายต่อประเทศชาติ
แต่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ของไทยวันนี้ก็ยังวนเวียนอยู่กับ "ระบบเลือกตั้ง" โดยไม่ได้วางกลไกการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง และวางรากฐานให้ชุมชนได้มีอำนาจในการตรวจสอบควบคุมการทำงานของนักเลือกตั้งอย่างจริงจังแต่อย่างใด
หากเป็นเช่นนี้ ระบบเยอรมันฝรั่งเศสอังกฤษมะกันผสมกันหมดก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาของการเมืองไทยได้ ผมยืนยัน
http://www.oknation.net/blog/black/2015/01/08/entry-1
ระบบเยอรมันหรือของใคร ก็แก้ปัญหาการเมืองไทยไม่ได้
แต่คนยกร่างบอกว่านี่เป็นการทำให้ "ทุกคะแนนเสียง" มีความสำคัญ และสอดคล้องกับความเป็น "ประชาธิปไตย" มากกว่าระบบการหย่อนบัตรแบบเดิม ๆ
นักการเมืองเดิมบอกว่าระบบเยอรมันที่ว่านี้จะทำให้มีพรรคเล็กพรรคน้อยมาก ทำให้การเมืองไทยปั่นป่วน เพราะยากต่อการควบคุม และจะทำให้กลุ่มการเมืองเล็ก ๆ เกิดขึ้น สามารถต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองมากขึ้น ทำให้การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ
แต่คนที่เห็นด้วยกับการให้มีพรรคการเมืองระดับกลางและเล็กมากขึ้นแย้งว่าระบบเดิมทำให้มีพรรคใหญ่พรรคเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จจนกลายเป็น "เผด็จการรัฐสภา" สามารถจะผ่านกฎหมายฝ่ายตนได้ และสกัดกั้นการเสนอกฎหมายของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเบ็ดเสร็จ
นั่นก็เป็นอุปสรรคต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน
ความจริงการเมืองไทยผ่านทั้งสองปรากฏการณ์มาแล้ว นั่นคือสมัยหนึ่งมีพรรคการเมืองน้อยใหญ่มากมาย และสมาชิกรัฐสภาไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง มี ส.ส. "อิสระ" ที่ไม่ต้องทำตามมติพรรคการเมืองใด
อีกสมัยหนึ่งการเมืองไทยก็บังคับให้ต้องสังกัดพรรค และใช้ระบบ party lists ซึ่งก็กึ่ง ๆ ระบบเยอรมันนี่แหละ ทำให้มีพรรคใหญ่เพียงสองพรรค ซึ่งคนที่สนับสนุนก็บอกว่าถูกต้องแล้วเพราะเหมือนกับพรรคเดโมแครตและรีพับบลิกันของสหรัฐฯที่ถือว่าพัฒนากว่าใครเพื่อนในเรื่องประชาธิปไตย
แต่ทั้งสองกรณีก็สร้างปัญหาการเมือง สร้างความไร้เสถียรภาพและวิกฤตการเมืองของไทยมาแล้ว
คำถามจึงอยู่ที่ว่าประเด็นของประเทศไทยนี่อยู่ที่กติกาหรืออยู่ที่คน?
คำตอบก็คงจะอยู่ตรงกลางระหว่างระบบกับคน แต่ท้ายที่สุดไม่ว่าระบบเดียวกันนี้จะทำแล้วได้ผลในประเทศอื่นใด แต่ไฉนเมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยจึงเจ๊งในเกือบทุกกรณี?
คำตอบก็คือเราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเฉพาะกลุ่มเฉพาะคน แต่ไม่เคยสร้างระบบสังคมที่จะแก้ปัญหาระยะยาวอย่างจริงจัง
การร่างรัฐธรรมนูญทุกครั้งจะเป็นการพยายามจะแก้ปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นจนทำให้เกิดวิกฤต และทำให้ต้องมานั่งเขียนกติกาใหม่ และกติกาใหม่ที่เขียนนั้นก็จะมุ่งแก้เฉพาะปัญหาที่เพิ่งทำให้เกิดวิกฤตครั้งนั้น ๆ โดยไม่มองย้อนกลับไปมาอดีตและประเมินอนาคตว่ารัฐธรรมนูญแบบไหนจึงจะส่งเสริมสิทธิของประชาชนในการสร้างระบอบประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนและแท้จริงได้
ระบบเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นแบบเยอรมัน, อังกฤษ, สหรัฐฯหรือจีนต่างก็ล้วนมีจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง และแต่ละประเทศที่ตัดสินใช้ระบบใดก็เพราะมีประวัติการเมืองและสังคมที่ต้องเรียนรู้และปรับให้เข้ากับความเป็นไป, ภูมิหลังและสภาพสังคมของแต่ละประเทศ
ไทยเราลอกเลียนทั้งแบบอังกฤษ, สหรัฐฯ, ฝรั่งเศสและเยอรมันมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ แต่ก็พิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว
ที่ล้มเหลวไม่ใช่เพราะระบบเขาไม่ดี แต่เพราะเราเอาแต่ "รูปแบบ" แต่ไม่เข้าใจ "เนื้อหา" มาใช้โดยที่เราไม่ได้สร้าง "วินัย" แห่งการเป็นคนในระบอบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง
คนที่เข้ามา "เล่นการเมือง" ของไทยจำนวนไม่น้อยเป็นเพียง "นักฉวยโอกาส" สร้างประโยชน์ให้กับตน คนมีอุดมคติที่จะ "รับใช้ประเทศชาติ" อย่างแท้จริงมีอยู่บ้าง แต่เป็นจำนวนน้อยกว่า
เมื่อการเมืองไทยขาดคนที่มี "วินัย" และขาด "สำนึก" ไม่ว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญให้มีระบบการเลือกตั้งที่ประเสริฐเลิศเลอจากประเทศใดก็ไม่อาจจะยกระดับคุณภาพมาตรฐานการเมืองได้
เพราะนักเลือกตั้งมีวิธีที่จะหาช่องโหว่ในกฎหมายเพื่อตีความให้ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด
ความจริงทุกประเทศก็มีนักการเมืองเลว ๆ เหมือนกัน แต่เขาสร้างคนในชาติให้มี "วินัย" และ "ความตื่นตัว" เรื่องการเมืองจนเป็นพลังที่จะคานกับความเลวร้ายของนักการเมืองฉ้อฉลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ
พลังของประชาชนที่จะต้านความชั่วร้ายของนักเลือกตั้งคือระบบตรวจสอบทั้งที่ระบุในกฎหมายและการสร้างกลไกในชีวิตประจำวันของคนในสังคมที่จะเกาะติดและจับตานักการเมืองอย่างกระชั้นชิดเพื่อไม่ให้กระทำความชั่วร้ายต่อประเทศชาติ
แต่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ของไทยวันนี้ก็ยังวนเวียนอยู่กับ "ระบบเลือกตั้ง" โดยไม่ได้วางกลไกการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง และวางรากฐานให้ชุมชนได้มีอำนาจในการตรวจสอบควบคุมการทำงานของนักเลือกตั้งอย่างจริงจังแต่อย่างใด
หากเป็นเช่นนี้ ระบบเยอรมันฝรั่งเศสอังกฤษมะกันผสมกันหมดก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาของการเมืองไทยได้ ผมยืนยัน
http://www.oknation.net/blog/black/2015/01/08/entry-1