เข้าฌานจะเจริญวิปัสสนา ได้หรือไม่?
มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆ ได้หรือไม่ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้มักอ้างเรื่ององค์ฌาน ในปฐมฌาน มีวิตกและวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียงปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร
ความจริง องค์ฌานเป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น อันที่จริงนั้น ในฌาน มีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมากมาย ดังที่ท่านบรรยายไว้ ทั้งในพระสูตร และพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น ม.อุ.๑๔/๑๕๘/๑๑๘ กล่าวถึงฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ถึงอากิญจัญญายตนะ ทุกชั้นล้วนมีองค์ธรรมเช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น (พุทธธรรม ฉบับปรับขยาาย หน้า ๔๘๑)
ตอบว่า ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
พอมาฌานที่ ๒ ทำไมวิตก วิจาร ถึงไม่มี
เพราะผ่าน ฌานที่ ๑ มาแล้ว
และฌานยิ่งสูง ก็ยิ่งตัดตัวข้างหน้าออก เพราะอะไร
ถ้าเราไม่ทันทำแล้วไปอุเบกขาก็จบ จะเห็นได้ว่าเราทำได้ ๕ ข้อ แล้วก็ลดลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเข้าสู่อุเบกขา ซึ่งจะเป็นตัวทำให้สมาธิมั่นคง
แล้วฌาน ๑ ถึง ฌาน ๓ ไม่มั่นคงเหรอ?
ไม่มั่นคง เพราะเป็น ๔ ขั้นตอน เหมือนกับเรียนระดับประถม ๑-๒-๓-๔
ฌาน เป็นสมาธิหรือไม่ แค่ไหน? ถ้าเข้าสู่ความเป็นเอกัคคตา มีจิตเป็นหนึ่งเดียว ดิ่ง ไม่คิดอะไร เราจะต้องดึงลงมาถึงขั้นที่ ๓ จึงจะลงมาประกอบการพิจารณาได้
ขั้นที่ ๓ คือ สมาธิที่มีกำลังได้ถึงจุด ๓ มีกำลังหนุนส่ง
ถ้าอยู่ในขั้นที่ ๔ จะดิ่งลูกเดียว ดิ่ง และนิ่ง
จะต้องลงมาถึงจุด ๓ จึงจะมีความรู้สึกรับรู้ได้
ขั้นที่ ๑ คือ ทั่วไป เราทำอะไร สนใจหน่อยก็จะเกิดสมาธิแล้ว
ขั้นที่ ๒ รักษาสมาธินั้นได้
ขั้นที่ ๓ มีแรง ที่จะดำรง คงอยู่ในสมาธิ
ขั้นที่ ๔ ดิ่งเข้าไปในสมาธิ (เอกัคคตา) นิ่ง แล้วไม่เกิดประโยชน์
พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าถอยลงมาถึงขั้นที่ ๓ จึงจะเอาพลังสมาธินี้ไปคิด ไปคิดพิจารณาในวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น วิปัสสนา คือ เส้นทาง ศาสตร์ หรือวิธีการ แต่กำลังสมาธิขั้น ๓ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฌาน ๓ เป็นกำลัง พละ หรือเป็นเสบียง อาหารให้สิ่งนั้นๆ ดำเนินการต่อไปได้ ไปหล่อเลี้ยงวิปัสสนา ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่มีแรงพอ ที่จะวิปัสสนากรรมฐาน
คนจะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน บางคนบอกว่าสมาธิไม่เกี่ยว แต่สมาธินี้จะเกี่ยวมาก คือ ให้แรง
แต่สมาธิจะเป็นผู้ไปทำเข้าใจไหม? ก็ไม่ใช่ เพียงแต่เป็นแรงกำลังให้ เหมือนกับเรามีสว่านเจาะ สมาธิก็จะเป็นกำลังไฟฟ้าให้ แต่สว่านเจาะต้องมีองค์ประกอบพร้อม จะต้องมีเครื่อง ดอกสว่าน ฯลฯ
เวลาบวงสรวง เราก็จะนึกถึงองค์นั้น องค์นี้ แล้วก็ถอยออกมานับการสวดว่าสวดจบไปกี่รอบแล้ว ถ้าอย่างนี้จะเป็นอย่างไร?
เป็นอย่างนี้ แสดงว่าสมาธิเราเคลื่อนแล้ว
เราจะต้องให้ปรากฏ ณ ปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันนี้เราเอ่ย "โอม" (ॐ) เราก็ต้องเห็นโอม
แต่เราจะต้องมานับว่าเราสวดโอมไปกี่รอบแล้ว
ก็ต้องไม่นับ
ถ้านับก็ไม่ถึงอยู่ในนี้แล้ว
อันนี้จะต้องดำรงอยู่ ถ้านับก็ต้องส่วนนับ
เราจิตเรานับ เราก็ต้องแยกออกมา ฉะนั้น เราจะต้องให้จิตเราแนบแน่นอยู่กับสิ่งองค์ตรงนั้น เช่น โอม (ॐ) พรหม (ब्रह्मा : Brahma) จิตเราก็จะต้องอยู่กับพรหม ส่วนนับก็ส่วนนับ จิตอีกตัวหนึ่งก็อยู่ส่วนนับ สามารถแยกออกเป็น ๓ จิต ๔ จิต บางครั้ง ๑๒ จิต
เช่น โอม (ॐ) ๑ โอม (ॐ) ๒ โอม (ॐ) ๓ แต่เราก็ต้องดำรงอยู่แห่งความเป็นพรหมอยู่ตลอด แต่จิตเราก็จะไปนึกถึงว่าเราสวดโอมไปกี่จบแล้ว แต่ตัวดำรงแห่งความเป็นพรหมจะต้องอยู่ตลอด การดำรงอยู่ความเป็นพรหม (ब्रह्मा : Brahma) เป็นจิตตัวหนึ่ง ส่วนจิตที่ไปนับว่าสวดได้กี่จบ ก็เป็นจิตอีกตัวหนึ่ง ไม่ใช่จิตที่ดำรงอยู่
"จิตดำรงอยู่" เขาเรียกว่า "จิตสัมพันธ์" กับองค์เทพ ฯลฯ แต่ถ้าเราสวดกี่รอบกี่จบ ก็เป็นจิตนับ แล้วก็ต้องมีจิตสัมพันธ์กับท่าน
แต่ถ้าเราทำได้ทั้งจิตนับ กับจิตสัมพันธ์ ก็เป็นเอกัคคตาได้ไหม?
ก็ไม่ได้ ทุกตัวไม่มีเอกัคคตา เพราะได้เป็นขั้น ๔ เอกัคคตาจะไม่รับรู้อะไร จะดิ่งลูกเดียว จะไม่เข้าใจอะไร จะไม่รับรู้อะไร
ฉะนั้น สมาธิขั้น ๓ จะใช้บ่อยที่สุด ไม่ว่าเราจะบวงสรวง ไหว้องค์เทพ เราจะไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เราใช้ตัวที่ ๓ ทั้งนั้น ตัวที่ ๔ ใช้ดิ่งลูกเดียว พอเราดิ่ง จะรู้สึกตัวแต่จะไม่เคลื่อนออก
แม้เวลาร่างทรง "ทรง" ก็ใช้แค่ขั้น ๓ ขั้น ๔ ไม่มี เพราะว่าขั้น ๔ จะต้องนิ่ง ท่านก็จะไม่มาลงแล้ว ขยับโน้นนี่ไม่ได้ เหมือนกับก้อนหินก้อนหนึ่ง สิ่งที่เราขยับนี้เป็นขั้น ๓
นับก็ส่วนนับ ความสัมพันธ์ก็ส่วนความสัมพันธ์
พอเราบวงสรวงพ่อพรหม เราก็จะนึกถึงใบหน้าพ่อพรหม อย่างนี้ได้ไหม?
ถ้านึก อย่างนี้ไม่ได้ จะต้องมีจิตสัมพันธ์
คำว่า "จิตสัมพันธ์" ก็คือ ให้มองเห็นองค์ท่าน จิตสัมพันธ์กับองค์ จิตเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ เราจะไม่ใช่คำว่านึก จะใช้คำว่านึกไม่ได้ ถ้านึกนี้ยังอ่อนมาก
ต้องบอกว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกับพรหม หรือองค์พ่อพิฆเณศ สุดแล้วแต่เราบวงสรวงองค์ไหน
เหมือนกับเราเอาน้ำกับน้ำมาเทใส่ด้วยกัน ก็เป็นหนึ่งเดียว นึกไม่ได้ ถ้านึกนี้เหมือนกับเอาน้ำมัน มาใส่ในน้ำ
เราจะต้องปฏิบัติคุณธรรมของท่าน ท่านเด่นสายคุณธรรมไหน เราก็มีคุณธรรมเหมือนกับท่าน เขาเรียกว่าเข้าถึงจิตวิญญาณของท่าน ท่านเป็นอย่างไรเราก็เป็นอย่างท่าน เป็นทุกข้อของท่านปฏิบัติ นั้นคือจิตวิญญาณของท่าน แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน แม้แต่พระเยซูก็เหมือนกัน ถ้าเราเข้าใจข้อนี้ไปได้หมด
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
เข้าฌานจะเจริญวิปัสสนา ได้หรือไม่?
มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆ ได้หรือไม่ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้มักอ้างเรื่ององค์ฌาน ในปฐมฌาน มีวิตกและวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียงปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร
ความจริง องค์ฌานเป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น อันที่จริงนั้น ในฌาน มีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมากมาย ดังที่ท่านบรรยายไว้ ทั้งในพระสูตร และพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น ม.อุ.๑๔/๑๕๘/๑๑๘ กล่าวถึงฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ถึงอากิญจัญญายตนะ ทุกชั้นล้วนมีองค์ธรรมเช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น (พุทธธรรม ฉบับปรับขยาาย หน้า ๔๘๑)
ตอบว่า ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
พอมาฌานที่ ๒ ทำไมวิตก วิจาร ถึงไม่มี
เพราะผ่าน ฌานที่ ๑ มาแล้ว
และฌานยิ่งสูง ก็ยิ่งตัดตัวข้างหน้าออก เพราะอะไร
ถ้าเราไม่ทันทำแล้วไปอุเบกขาก็จบ จะเห็นได้ว่าเราทำได้ ๕ ข้อ แล้วก็ลดลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเข้าสู่อุเบกขา ซึ่งจะเป็นตัวทำให้สมาธิมั่นคง
แล้วฌาน ๑ ถึง ฌาน ๓ ไม่มั่นคงเหรอ?
ไม่มั่นคง เพราะเป็น ๔ ขั้นตอน เหมือนกับเรียนระดับประถม ๑-๒-๓-๔
ฌาน เป็นสมาธิหรือไม่ แค่ไหน? ถ้าเข้าสู่ความเป็นเอกัคคตา มีจิตเป็นหนึ่งเดียว ดิ่ง ไม่คิดอะไร เราจะต้องดึงลงมาถึงขั้นที่ ๓ จึงจะลงมาประกอบการพิจารณาได้
ขั้นที่ ๓ คือ สมาธิที่มีกำลังได้ถึงจุด ๓ มีกำลังหนุนส่ง
ถ้าอยู่ในขั้นที่ ๔ จะดิ่งลูกเดียว ดิ่ง และนิ่ง
จะต้องลงมาถึงจุด ๓ จึงจะมีความรู้สึกรับรู้ได้
ขั้นที่ ๑ คือ ทั่วไป เราทำอะไร สนใจหน่อยก็จะเกิดสมาธิแล้ว
ขั้นที่ ๒ รักษาสมาธินั้นได้
ขั้นที่ ๓ มีแรง ที่จะดำรง คงอยู่ในสมาธิ
ขั้นที่ ๔ ดิ่งเข้าไปในสมาธิ (เอกัคคตา) นิ่ง แล้วไม่เกิดประโยชน์
พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าถอยลงมาถึงขั้นที่ ๓ จึงจะเอาพลังสมาธินี้ไปคิด ไปคิดพิจารณาในวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น วิปัสสนา คือ เส้นทาง ศาสตร์ หรือวิธีการ แต่กำลังสมาธิขั้น ๓ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฌาน ๓ เป็นกำลัง พละ หรือเป็นเสบียง อาหารให้สิ่งนั้นๆ ดำเนินการต่อไปได้ ไปหล่อเลี้ยงวิปัสสนา ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่มีแรงพอ ที่จะวิปัสสนากรรมฐาน
คนจะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน บางคนบอกว่าสมาธิไม่เกี่ยว แต่สมาธินี้จะเกี่ยวมาก คือ ให้แรง
แต่สมาธิจะเป็นผู้ไปทำเข้าใจไหม? ก็ไม่ใช่ เพียงแต่เป็นแรงกำลังให้ เหมือนกับเรามีสว่านเจาะ สมาธิก็จะเป็นกำลังไฟฟ้าให้ แต่สว่านเจาะต้องมีองค์ประกอบพร้อม จะต้องมีเครื่อง ดอกสว่าน ฯลฯ
เวลาบวงสรวง เราก็จะนึกถึงองค์นั้น องค์นี้ แล้วก็ถอยออกมานับการสวดว่าสวดจบไปกี่รอบแล้ว ถ้าอย่างนี้จะเป็นอย่างไร?
เป็นอย่างนี้ แสดงว่าสมาธิเราเคลื่อนแล้ว
เราจะต้องให้ปรากฏ ณ ปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันนี้เราเอ่ย "โอม" (ॐ) เราก็ต้องเห็นโอม
แต่เราจะต้องมานับว่าเราสวดโอมไปกี่รอบแล้ว
ก็ต้องไม่นับ
ถ้านับก็ไม่ถึงอยู่ในนี้แล้ว
อันนี้จะต้องดำรงอยู่ ถ้านับก็ต้องส่วนนับ
เราจิตเรานับ เราก็ต้องแยกออกมา ฉะนั้น เราจะต้องให้จิตเราแนบแน่นอยู่กับสิ่งองค์ตรงนั้น เช่น โอม (ॐ) พรหม (ब्रह्मा : Brahma) จิตเราก็จะต้องอยู่กับพรหม ส่วนนับก็ส่วนนับ จิตอีกตัวหนึ่งก็อยู่ส่วนนับ สามารถแยกออกเป็น ๓ จิต ๔ จิต บางครั้ง ๑๒ จิต
เช่น โอม (ॐ) ๑ โอม (ॐ) ๒ โอม (ॐ) ๓ แต่เราก็ต้องดำรงอยู่แห่งความเป็นพรหมอยู่ตลอด แต่จิตเราก็จะไปนึกถึงว่าเราสวดโอมไปกี่จบแล้ว แต่ตัวดำรงแห่งความเป็นพรหมจะต้องอยู่ตลอด การดำรงอยู่ความเป็นพรหม (ब्रह्मा : Brahma) เป็นจิตตัวหนึ่ง ส่วนจิตที่ไปนับว่าสวดได้กี่จบ ก็เป็นจิตอีกตัวหนึ่ง ไม่ใช่จิตที่ดำรงอยู่
"จิตดำรงอยู่" เขาเรียกว่า "จิตสัมพันธ์" กับองค์เทพ ฯลฯ แต่ถ้าเราสวดกี่รอบกี่จบ ก็เป็นจิตนับ แล้วก็ต้องมีจิตสัมพันธ์กับท่าน
แต่ถ้าเราทำได้ทั้งจิตนับ กับจิตสัมพันธ์ ก็เป็นเอกัคคตาได้ไหม?
ก็ไม่ได้ ทุกตัวไม่มีเอกัคคตา เพราะได้เป็นขั้น ๔ เอกัคคตาจะไม่รับรู้อะไร จะดิ่งลูกเดียว จะไม่เข้าใจอะไร จะไม่รับรู้อะไร
ฉะนั้น สมาธิขั้น ๓ จะใช้บ่อยที่สุด ไม่ว่าเราจะบวงสรวง ไหว้องค์เทพ เราจะไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เราใช้ตัวที่ ๓ ทั้งนั้น ตัวที่ ๔ ใช้ดิ่งลูกเดียว พอเราดิ่ง จะรู้สึกตัวแต่จะไม่เคลื่อนออก
แม้เวลาร่างทรง "ทรง" ก็ใช้แค่ขั้น ๓ ขั้น ๔ ไม่มี เพราะว่าขั้น ๔ จะต้องนิ่ง ท่านก็จะไม่มาลงแล้ว ขยับโน้นนี่ไม่ได้ เหมือนกับก้อนหินก้อนหนึ่ง สิ่งที่เราขยับนี้เป็นขั้น ๓
นับก็ส่วนนับ ความสัมพันธ์ก็ส่วนความสัมพันธ์
พอเราบวงสรวงพ่อพรหม เราก็จะนึกถึงใบหน้าพ่อพรหม อย่างนี้ได้ไหม?
ถ้านึก อย่างนี้ไม่ได้ จะต้องมีจิตสัมพันธ์
คำว่า "จิตสัมพันธ์" ก็คือ ให้มองเห็นองค์ท่าน จิตสัมพันธ์กับองค์ จิตเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ เราจะไม่ใช่คำว่านึก จะใช้คำว่านึกไม่ได้ ถ้านึกนี้ยังอ่อนมาก
ต้องบอกว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกับพรหม หรือองค์พ่อพิฆเณศ สุดแล้วแต่เราบวงสรวงองค์ไหน
เหมือนกับเราเอาน้ำกับน้ำมาเทใส่ด้วยกัน ก็เป็นหนึ่งเดียว นึกไม่ได้ ถ้านึกนี้เหมือนกับเอาน้ำมัน มาใส่ในน้ำ
เราจะต้องปฏิบัติคุณธรรมของท่าน ท่านเด่นสายคุณธรรมไหน เราก็มีคุณธรรมเหมือนกับท่าน เขาเรียกว่าเข้าถึงจิตวิญญาณของท่าน ท่านเป็นอย่างไรเราก็เป็นอย่างท่าน เป็นทุกข้อของท่านปฏิบัติ นั้นคือจิตวิญญาณของท่าน แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน แม้แต่พระเยซูก็เหมือนกัน ถ้าเราเข้าใจข้อนี้ไปได้หมด
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต