วิญญาณธาตุเป็นอย่างไร คืออะไร
หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้มีความสำคัญดังนี้
๑. “วิญญาณธาตุ หมายถึง
ระบบประสาทสัมผัสทั้ง ๖ อายตนะ ๖ หรือประตูทั้ง ๖ ของร่างกาย
อันมีระบบประสาทรับรู้ของตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย
โดยมีใจหรือจิตเป็นผู้รับรู้”
(สมองเป็นหนึ่งในอาการ ๓๒ ของร่างกาย
เป็นศูนย์รับระบบประสาทสัมผัสของร่างกาย
ซึ่งทำงานของมันอยู่เป็นปกติ เกิดดับ ๆ อยู่เป็นสันตติธรรม
ผู้ที่ไปรับรู้เรื่องของสมองก็คือจิต
จะเห็นได้ชัดเจนตอนร่างกายถูกดมยาให้สลบหรือใช้ยาสลบ
ร่างกายทุกส่วนก็สลบรวมทั้งสมองด้วย
แต่จิตไม่สลบยังคงรู้อยู่เป็นปกติ มิได้สลบตามร่างกาย
จุดนี้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ขั้นสูงเท่านั้น จึงจะรู้และเข้าใจได้)
๒. "วิญญาณธาตุตัวนี้แหละเป็นตัวสร้างอารมณ์สุข (พอใจ)
สร้างอารมณ์ทุกข์ (ไม่พอใจ) ให้เกิดแก่ร่างกาย”
๓. “บุคคลใดเอาจิตไปเกาะอารมณ์ทั้งสองแล้วหลงคิดว่า
สุข-ทุกข์เวทนาของกายนี้มีในเรา เป็นของเรา (เราคือจิตไม่ใช่กาย)
มีในเขาเป็นของเขา แต่พอร่างกายมันตาย
อารมณ์เหล่านี้ซึ่งเกิดจากวิญญาณธาตุก็ตายไปพร้อมกับกาย”
๔. “แต่จิตไม่เคยตาย จิตเป็นอมตะ ผู้ตายคือร่างกายพร้อมวิญญาณธาตุ
อันตรายอันใหญ่ยิ่งอยู่ที่จิตไปยึดเกาะติดวิญญาณธาตุ
เกาะอารมณ์สุข-ทุกข์ว่าเป็นเรา เป็นของเรา
เอาเวทนาของกายมาเป็นเวทนาของจิต นี่แหละคือตัวสักกายทิฏฐิ ตัวอวิชชา”
๕. “เพราะแยกกาย-เวทนา-จิต-ธรรม ให้ออกจากจิตไม่ได้ สักกายทิฏฐิก็ตัดไม่ได้เช่นกัน”
จิตไม่ใช่วิญญาณธาตุ
หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้มีความสำคัญดังนี้
๑. “วิญญาณธาตุ หมายถึง
ระบบประสาทสัมผัสทั้ง ๖ อายตนะ ๖ หรือประตูทั้ง ๖ ของร่างกาย
อันมีระบบประสาทรับรู้ของตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย
โดยมีใจหรือจิตเป็นผู้รับรู้”
(สมองเป็นหนึ่งในอาการ ๓๒ ของร่างกาย
เป็นศูนย์รับระบบประสาทสัมผัสของร่างกาย
ซึ่งทำงานของมันอยู่เป็นปกติ เกิดดับ ๆ อยู่เป็นสันตติธรรม
ผู้ที่ไปรับรู้เรื่องของสมองก็คือจิต
จะเห็นได้ชัดเจนตอนร่างกายถูกดมยาให้สลบหรือใช้ยาสลบ
ร่างกายทุกส่วนก็สลบรวมทั้งสมองด้วย
แต่จิตไม่สลบยังคงรู้อยู่เป็นปกติ มิได้สลบตามร่างกาย
จุดนี้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ขั้นสูงเท่านั้น จึงจะรู้และเข้าใจได้)
๒. "วิญญาณธาตุตัวนี้แหละเป็นตัวสร้างอารมณ์สุข (พอใจ)
สร้างอารมณ์ทุกข์ (ไม่พอใจ) ให้เกิดแก่ร่างกาย”
๓. “บุคคลใดเอาจิตไปเกาะอารมณ์ทั้งสองแล้วหลงคิดว่า
สุข-ทุกข์เวทนาของกายนี้มีในเรา เป็นของเรา (เราคือจิตไม่ใช่กาย)
มีในเขาเป็นของเขา แต่พอร่างกายมันตาย
อารมณ์เหล่านี้ซึ่งเกิดจากวิญญาณธาตุก็ตายไปพร้อมกับกาย”
๔. “แต่จิตไม่เคยตาย จิตเป็นอมตะ ผู้ตายคือร่างกายพร้อมวิญญาณธาตุ
อันตรายอันใหญ่ยิ่งอยู่ที่จิตไปยึดเกาะติดวิญญาณธาตุ
เกาะอารมณ์สุข-ทุกข์ว่าเป็นเรา เป็นของเรา
เอาเวทนาของกายมาเป็นเวทนาของจิต นี่แหละคือตัวสักกายทิฏฐิ ตัวอวิชชา”
๕. “เพราะแยกกาย-เวทนา-จิต-ธรรม ให้ออกจากจิตไม่ได้ สักกายทิฏฐิก็ตัดไม่ได้เช่นกัน”