พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามสอนผมตลอด 14 ปี (2553-ปัจจุบัน)

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวราราม ท่านจบปริญญาตรี วิศวฯ ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากเรียนจบได้ขอบิดา มารดา มาบวชกับสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่วัดบวร ตอนอายุ 20 ต้นๆ ปัจจุบันท่านอายุ 80 สมเด็จญาณให้พระอาจารย์สุชาติไปเรียนการปฏิบัติกับองค์หลวงตามหาบัว ที่วัดป่าบ้านตาด จนท่านสำเร็จในธรรมตามที่หลวงตามหาบัวรับรอง สมเด็จญาณจึงให้พระอาจารย์สุชาติกลับมาที่วัดญาณสังวราราม เพื่อสั่งสอนธรรมในภาคตะวันออก จนถึงปัจจุบัน ท่านสอนผมตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

1. วิญญาณไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา
ตอบ ให้ทำสัมมาสมาธิจนถึงจตุตถฌาน (ฌาน 4) ทำให้ได้บ่อยๆ จนเป็นวสีแล้วนำมาพิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่า เป็น อนัตตา ให้เบื่อหน่ายในขันธ์ 5 จิตจะวิมุติหลุดพ้นจากกิเลส อวิชชา
พอหยุดความอยากต่างๆ ที่มีอยู่ในใจจนหมดไป ธาตุรู้นี้จะเรียกว่า นิพพานธาตุ

2. จิตเที่ยง เป็นอมตะ เป็นเรา
“ธาตุรู้คือใจ ไม่มีวันแตกดับหรือเสื่อมสลาย และตัวเราที่แท้จริงนี่คือธาตุรู้”
“ธาตุรู้ส่งกระแสไปเชื่อมกับธาตุ 4 คือ ร่างกายของคนและสัตว์ เพื่อจะรับรู้กระแสโลกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้นและกายสัมผัส”
“ธาตุรู้มีอวิชชา จึงกลับเข้าใจผิดว่าตนเอง คือ ร่างกาย จึงเกิดความทุกข์เมื่อร่างกายเกิดความแปรปรวน”
“การเวียนว่ายตายเกิดของธาตุรู้นี้เกิดจากตัณหาความอยาก การฝึกวิปัสสนา ตัดความอยากต่างๆให้หมดไปจากใจ ด้วยการเห็นไตรลักษณ์ เห็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ คือ ร่างกาย นี้ไม่เที่ยง พอหยุดความอยากต่างๆ ที่มีอยู่ในใจจนหมดไป ธาตุรู้นี้จะเรียกว่า นิพพานธาตุ”

ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
"เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น"

"ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย"

3. จิตก็อย่าง วิญญานก็อย่าง
จิตไม่ได้อยู่ในขันธ์ ๕

"จิตคือ ธาตุรู้"
" .. แต่ว่าจิตนั้นก็ยังมีธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง "คือเป็นธาตุรู้ อันเรียกว่าวิญญาณธาตุคือธาตุรู้" คือรู้อะไร ๆ ได้ "แต่ว่าเพราะจิตที่ยังมิได้อบรมนั้นแม้จะเป็นธรรมชาติรู้ ก็ยังเป็นรู้ผิด รู้หลงอยู่" เพราะยังมีอวิชชาคือความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้สิ่งใดก็เป็นความรู้ที่ไม่ทะลุปรุโปร่ง "แต่เป็นความรู้ที่ติดอยู่แค่มายาของสิ่งเหล่านั้น" ยังไม่ทะลุถึงสัจจะคือความจริง ฉะนั้น "จึงมีความยึดถือติดอยู่ในมายาของสิ่งนั้น ๆ ในโลก" เมื่อสิ่งที่ยึดนั้นเป็นเพียงมายา ไม่ใช่เป็นสัจจะคือความจริง "ความรู้ที่ยึดมายานั้นจึงเป็นความรู้ผิด" เป็นความรู้หลง .. "
"การปฏิบัติอบรมจิต"

วิญญาณธาตุ คือ จิต หรือ ธาตุรู้
จิตโดยธรรมชาตินั้น คือ ผุดผ่องเป็นประภัสสร
วิญญาณขันธ์ คือ อาการรู้ของจิตผ่านทวารทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจครับ
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา คือ บังคับให้เป็นไปตามต้องการไม่ได้ แต่จิตพระพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสว่าเป็นอนัตตา แต่ตรัสว่าจิตวิมุติหลุดพ้น
จิตเมื่อปฏิบัติภาวนา อบรมจิต จิตก็จะวิมุติ หลุดพ้น
จิตวิมุติหลุดพ้นอาสวะ จิตถึงวิสังขาร คือ พระนิพพาน
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่