วิญญาณต้องอาศัยร่างกายเกิดขึ้นเสมอ ถ้าไม่มีร่างกาย ก็จะไม่มีวิญญาณ (คำว่า วิญญาณ พระพุทธเจ้าหมายถึง การรับรู้ ไม่ใช่หมายถึง ผี อย่างที่คนไทยที่ไม่มีความรู้มักเข้าใจผิดกันอยู่)
ถ้าจะให้อ้างตำรา ก็ต้องมาจากพระไตรปิฎกที่ว่า เมื่ออายตนะภายนอก (คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์) มาถึงกันเข้ากับ อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) วิญญาณทางอายตนะภายในจึงเกิดขึ้น (คือเกิดการรับรู้ขึ้นมาที่ระบบประสาทของร่างกาย โดยมีใจคอยรับรู้อยู่ตลอดเวลาอีกที)
เมื่อเกิดอายตนะภายในและวิญญาณขึ้นแล้วก็เรียกว่า ผัสสะ (การสัมผัส)
เมื่อมีสิ่งทั้ง ๓ ครบก็จะทำให้เกิด เวทนา (ความรู้สึกต่ออายตนะภายนอก)
เมื่อมีเวทนาแล้วขาดสติ อวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตัวเรา) ก็จะเกิดขึ้นครอบงำจิต ทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งให้เกิดตัณหา (ความอยากได้ อยากเป็นอยู่ ไม่อยากได้)
เมื่อมีตัณหา ก็ทำให้เกิด อุปาทาน (ความยึดถือว่ามีตนเองหรือตัวเราที่มีตัณหา)
เมื่อมีอุปาทาน ก็จะทำให้เกิด ภพ (ความมีความเป็นตัวเราทางจิต)
เมื่อภพแก่กล้า ก็จะทำให้เกิด ชาติ (การเกิดตัวตนหรือตัวเราขึ้นมาในจิตอย่างเข้มข้นเต็มที่)
เมื่อมีชาติ ก็จะเกิดความยึดถือว่ามีตนเองเกิดมาทุกข์ยากบ้าง, มีตนเองแก่บ้าง, มีตนเองที่กำลังจะตายบ้าง, มีตนเองที่กำลังพลัดพรากบ้าง, มีตนเองที่กำลังประบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจบ้าง, มีตนเองที่กำลังผิดหวังบ้าง ซึ่งนี่ก็คืออาการของความทุกข์ของจิต ตามหลักปฏิจจสมุปบาท อันเป็นการอธิบายถึงเรื่องการเกิดขึ้นของความทุกข์โดยละเอียดตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
แต่ถ้าวิญญาณเกิดขึ้นมาและเกิดเวทนาขึ้นมาแล้วมีสติปัญญาและสมาธิพร้อม จิตก็จะไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ขึ้นมา เมื่อไม่มีการเกิดตัวเราขึ้นมา จิตก็ไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น (นิพพาน) ซึ่งนี่ก็คืออาการของการดับไปหรือไม่เกิดขึ้นความทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท อันเป็นการอธิบายถึงเรื่องการดับไปของความทุกข์โดยละเอียดตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
สรุปได้ว่า เหตุให้เกิดวิญญาณก็คือ ร่างกาย แต่เมื่อวิญญาณเกิดขึ้นมาแล้วถูกอวิชชาครอบงำ ก็จะทำให้มีการปรุงแต่งให้เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมา แล้วตัวเรานี้ก็ต้องมาพบกับสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจหรือไม่สมปรารถนา จึงเกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าไม่มีอวิชชาครอบงำ จิตก็จะไม่มีการปุงแต่งให้เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราพร้อมความทุกข์ขึ้นมา เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็นิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว)
วิญญาณต้องอาศัยร่างกายเกิดขึ้นเสมอ เมื่อวิญญาณถูกอวิชชาครอบงำ จิตก็เป็นทุกข์
ถ้าจะให้อ้างตำรา ก็ต้องมาจากพระไตรปิฎกที่ว่า เมื่ออายตนะภายนอก (คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์) มาถึงกันเข้ากับ อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) วิญญาณทางอายตนะภายในจึงเกิดขึ้น (คือเกิดการรับรู้ขึ้นมาที่ระบบประสาทของร่างกาย โดยมีใจคอยรับรู้อยู่ตลอดเวลาอีกที)
เมื่อเกิดอายตนะภายในและวิญญาณขึ้นแล้วก็เรียกว่า ผัสสะ (การสัมผัส)
เมื่อมีสิ่งทั้ง ๓ ครบก็จะทำให้เกิด เวทนา (ความรู้สึกต่ออายตนะภายนอก)
เมื่อมีเวทนาแล้วขาดสติ อวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตัวเรา) ก็จะเกิดขึ้นครอบงำจิต ทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งให้เกิดตัณหา (ความอยากได้ อยากเป็นอยู่ ไม่อยากได้)
เมื่อมีตัณหา ก็ทำให้เกิด อุปาทาน (ความยึดถือว่ามีตนเองหรือตัวเราที่มีตัณหา)
เมื่อมีอุปาทาน ก็จะทำให้เกิด ภพ (ความมีความเป็นตัวเราทางจิต)
เมื่อภพแก่กล้า ก็จะทำให้เกิด ชาติ (การเกิดตัวตนหรือตัวเราขึ้นมาในจิตอย่างเข้มข้นเต็มที่)
เมื่อมีชาติ ก็จะเกิดความยึดถือว่ามีตนเองเกิดมาทุกข์ยากบ้าง, มีตนเองแก่บ้าง, มีตนเองที่กำลังจะตายบ้าง, มีตนเองที่กำลังพลัดพรากบ้าง, มีตนเองที่กำลังประบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจบ้าง, มีตนเองที่กำลังผิดหวังบ้าง ซึ่งนี่ก็คืออาการของความทุกข์ของจิต ตามหลักปฏิจจสมุปบาท อันเป็นการอธิบายถึงเรื่องการเกิดขึ้นของความทุกข์โดยละเอียดตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
แต่ถ้าวิญญาณเกิดขึ้นมาและเกิดเวทนาขึ้นมาแล้วมีสติปัญญาและสมาธิพร้อม จิตก็จะไม่มีการปรุงแต่งให้เกิดตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ขึ้นมา เมื่อไม่มีการเกิดตัวเราขึ้นมา จิตก็ไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น (นิพพาน) ซึ่งนี่ก็คืออาการของการดับไปหรือไม่เกิดขึ้นความทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท อันเป็นการอธิบายถึงเรื่องการดับไปของความทุกข์โดยละเอียดตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
สรุปได้ว่า เหตุให้เกิดวิญญาณก็คือ ร่างกาย แต่เมื่อวิญญาณเกิดขึ้นมาแล้วถูกอวิชชาครอบงำ ก็จะทำให้มีการปรุงแต่งให้เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมา แล้วตัวเรานี้ก็ต้องมาพบกับสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจหรือไม่สมปรารถนา จึงเกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าไม่มีอวิชชาครอบงำ จิตก็จะไม่มีการปุงแต่งให้เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราพร้อมความทุกข์ขึ้นมา เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็นิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว)