(ฺBelle รุ่นปรับปรุงจากไฟหน้าคอม้า)
ปรากฏการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในวงการรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย และได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อค่ายรถจักรยานยนต์ (ญี่ปุ่น) ที่ทำตลาดอยู่ในไทย โดยมีทางค่าย Yamaha เป็นผู้เริ่มจุดกระแสในครั้งนี้
ในปี 2524 ที่ทางค่าย Yamaha ได้ทำการส่งรถจักรยานยนต์ในรหัส Belle 80 เข้าทำตลาด โดยได้นิยามถึงรถไว้ว่า “สปอร์ตครอบครัว” แต่บุคคลในวงการยานยนต์ได้ให้คำนิยามของรถรุ่นนี้ไว้ว่า “รถกระเทย” ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยไว้ได้อย่างดี
ทำไมถึงเปรียบเปรยให้ Yamaha Belle 80 เป็นรถกระเทยนั้น คงต้องย้อนกลับไปก่อนปี 2524 ซึ่งรถจักรยานยนต์ที่ทำตลาดในไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
รถทรงผู้ชาย (มีถังน้ำมันข้างหน้า)
รถทรงแม่บ้าน (มีบังลม ถังน้ำมันอยู่ใต้เบาะนั่ง)
รถทรงสกูเตอร์ (Vespa)
การที่ Belle 80 ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจัดอยู่ในประเภทใดกันแน่ เนื่องจากงานออกแบบมีความก้ำกึ่งระหว่างรถทรงผู้ชายกับรถทรงแม่บ้าน สิ่งนี้เองส่งผลทำให้เกิดเป็นลูกผสมของรถทั้งสองเป็นเภทขึ้น โดยจัดรูปแบบรถให้อยู่ในประเภท รถทรงกระเทย (จะชายแท้ก็ไม่ใช่ จะหญิงแท้ก็ไม่เชิง)
อาจเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทาง Yamaha ได้นำรถในรุ่น Y80 มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจนได้เป็นรถในรหัส Belle 80 ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการถอดบังลมออก เปลี่ยนโช๊คหน้าเป็นแบบเทเลสโคปิค เป็นต้น
(ฺBelle รุ่นแรก ลักษณะไฟหน้าจะคล้ายๆ คอม้า )
สำหรับเครื่องยนต์แล้ว Belle 80 มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยลม (หม้อลม) พร้อมทั้งระบบปอดไอดี YEIS ทั้งนี้มีความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 79 cc มีระยะชักที่ 47.0 - 45.6 มม. สามารถทำทำแรงบิดสูงสุดที่ 0.76 กก.ม ที่รอบเครื่อง 5,500 รอบ/นาที (ไม่เข้าใจว่าทำไมทางบริษัทไม่ระบุแรงม้ามา แต่ดันระบุแรงบิดมา)
ข้อมูลสเปค Belle 80
ข้อมูลสเปค Y 80
จากข้อมูลสเปคเครื่องยนต์ของ Belle 80 สามารถพูดได้เต็มปากว่าในยุคเริ่มต้นของรถทรงกระเทยนั้น ความเร็วแรงยังอยู่ในรูปแบบของรถแม่บ้านมากกว่า ถึงแม้จะเพิ่มเติมระบบจุดระเบิดแบบ CDI รวมไปถึงปอดเก็บไอดี YEIS แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบเคียงกับรถทรงผู้ชายได้ ปัจจัยหลักก็คือทาง Yamaha ให้มาแค่ 3 เกียร์เพียงเท่านั้น
ทั้งนี้เมื่อได้ดูสมรรถนะที่ทาง Yamaha ได้ระบุไว้ในโบรชัวร์แล้วว่า Belle 80 สามารถขึ้นพื้นที่ลาดเอียงสูดสุดที่ 23 องศา ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ในพื้นที่มีภูเขาอย่างแน่นอน ทั้งนี้ถ้ามองแบบการตลาดแล้ว Belle 80 คงไม่สามารถตีตลาดในแทบภาคเหนือในไทยได้อย่างแน่นอน
หลังจากการเปิดตัว Belle 80 ไม่นาน ทางค่าย Yamaha ก็ได้ส่ง Belle Super ภายในปี 2529 เข้ามาทำตลาดรถประเภทสปอร์ตครอบครัวอย่างต่อเนื่อง โดยยังคงสเปคเครื่องยนต์ในรุ่นก่อนไว้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมคือ ไฟหน้า ไฟเลี้ยวหน้า-หลัง ไฟท้าย และแผงหน้าปัดเพียงเท่านั้น
Belle Super
การก้าวครั้งสำคัญของทาง Yamaha ถือว่าเป็นการเสี่ยงหัวก้อยครั้งหนึ่งของทางบริษัท การผลักดันรถประเภทใหม่ๆ เข้าสู่ท้องตลาดนั้น ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ว่าจะประสบความสำเร็จรึไหม สิ่งเดียวที่สามารถทำได้คือการลุ้นหรือภาวนาเพียงเท่านั้น
ในช่วงเริ่มต้นของรถประเภทกระเทยนั้น ถือว่าเป็นปกติที่จะไม่มีค่ายคู่แข่งลงมาแข่งขันด้วย เนื่องจากตลาดมีความสดใหม่มาก ยังไม่มีความแน่นอนใดๆ เลย กว่าที่คู่แข่งจะมั่นใจในตลาดประเภทนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาเป็นปีอยู่เหมือนกัน
เมื่อไม่มีคู่แข่งที่ค่อยกดดันทำให้เกิดการแข่งขัน ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะรีบเร่งพัฒนา เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีใดๆ ก็แล้วแต่ ล้วนมีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทำให้รถกระเทยในยุคเริ่มต้นไม่มีความแรงเท่าที่ควร ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกขัดกับคำนิยามทาง Yamaha ตั้งว่า “สปอร์ตครอบครัว” ซะเหลือเกิน
จวบจนถึงปี 2531 ที่ทาง Yamaha ได้เปลี่ยนแปลง Belle ครั้งใหญ่ โดยเพิ่มขนาดเครื่องยนต์เป็น 100 cc (Belle 100) ซึ่งผู้เขียนจะมาต่อในครั้งต่อไป
#ยามาฮ่าเบล #เบล80 #Yamaha Belle 80
ที่มาของรูปภาพและข้อมูล
ลิงค์ข้อมูลสำหรับรุ่นรถที่เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
Yamaha Belle 80 สวยหมดจด...ทรหดเกินคุ้ม (สปอร์ตกึ่งครอบครัวรุ่นแรกในไทย)
ในปี 2524 ที่ทางค่าย Yamaha ได้ทำการส่งรถจักรยานยนต์ในรหัส Belle 80 เข้าทำตลาด โดยได้นิยามถึงรถไว้ว่า “สปอร์ตครอบครัว” แต่บุคคลในวงการยานยนต์ได้ให้คำนิยามของรถรุ่นนี้ไว้ว่า “รถกระเทย” ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยไว้ได้อย่างดี
ทำไมถึงเปรียบเปรยให้ Yamaha Belle 80 เป็นรถกระเทยนั้น คงต้องย้อนกลับไปก่อนปี 2524 ซึ่งรถจักรยานยนต์ที่ทำตลาดในไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
อาจเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทาง Yamaha ได้นำรถในรุ่น Y80 มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจนได้เป็นรถในรหัส Belle 80 ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการถอดบังลมออก เปลี่ยนโช๊คหน้าเป็นแบบเทเลสโคปิค เป็นต้น
จากข้อมูลสเปคเครื่องยนต์ของ Belle 80 สามารถพูดได้เต็มปากว่าในยุคเริ่มต้นของรถทรงกระเทยนั้น ความเร็วแรงยังอยู่ในรูปแบบของรถแม่บ้านมากกว่า ถึงแม้จะเพิ่มเติมระบบจุดระเบิดแบบ CDI รวมไปถึงปอดเก็บไอดี YEIS แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบเคียงกับรถทรงผู้ชายได้ ปัจจัยหลักก็คือทาง Yamaha ให้มาแค่ 3 เกียร์เพียงเท่านั้น
ทั้งนี้เมื่อได้ดูสมรรถนะที่ทาง Yamaha ได้ระบุไว้ในโบรชัวร์แล้วว่า Belle 80 สามารถขึ้นพื้นที่ลาดเอียงสูดสุดที่ 23 องศา ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ในพื้นที่มีภูเขาอย่างแน่นอน ทั้งนี้ถ้ามองแบบการตลาดแล้ว Belle 80 คงไม่สามารถตีตลาดในแทบภาคเหนือในไทยได้อย่างแน่นอน
หลังจากการเปิดตัว Belle 80 ไม่นาน ทางค่าย Yamaha ก็ได้ส่ง Belle Super ภายในปี 2529 เข้ามาทำตลาดรถประเภทสปอร์ตครอบครัวอย่างต่อเนื่อง โดยยังคงสเปคเครื่องยนต์ในรุ่นก่อนไว้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมคือ ไฟหน้า ไฟเลี้ยวหน้า-หลัง ไฟท้าย และแผงหน้าปัดเพียงเท่านั้น