ตรวจค้น ตำรวจ VS อธิบดีศาล

กรณี ตำรวจ VS อธิบดีศาล  ทีมีการขอตรวจใบขับขี่แล้วอธิบดีศาลไม่ให้  ต่อมา ผกก.โชคดี ได้โพสต์
เฟสบุ๊คส่วนตัวอ้างฏีกากฏหมายที่เกี่ยวข้องว่าทำไปเพื่อป้องกันการฟ้องร้องลูกน้องเพราะคนที่ถูกตรวจ
เป็นผู้ชำนาญด้านกฏหมาย  จึงได้ไปค้นฏีกาดังกล่าวมาดูพบว่ามีสาระดังนี้..

คำพิพากษาฎีกาที่

8722/2555 บริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านที่มีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นประจำและจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่ การ
ที่สิบตำรวจโท ก.และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้นโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใด
จึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียวถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม
กฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วย
กฎหมาย 

จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งใดๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ,มาตรา
138 วรรคสอง และมาตรา 367  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ,มาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา 367

โดยสรุปก็คือ  ผกก.โชคดีเชื่อว่า  การขอตรวจใบขับขี่ต้องมีเหตุอันควรสงสัยจึงจะขอตรวจได้  ถ้าไม่มีเหตุไม่สามารถขอตรวจได้

ถ้าเป็นอย่างนี้  ตำรวจผู้ขอตรวจก็ไม่มีอำนาจขอดูใบขับขี่  ใช่ไหมท่านนักกฏหมาย ? ( ถ้าเป็นตามนี้ตำรวจคนตรวจจะชี้แจงต่อ
คณะกรรมการสอบสวนอย่างไรเพราะจะกลายเป็นว่าตนเองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ?)

ป.ล.
อยากทราบว่า  การขอตรวจใบขับขี่ มันคือการขอตรวจค้นตามนัยยะฏีกานี้หรือไม่ ?
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่