กองเสือป่าในรัชกาลที่ 6 และนักเรียนแพทย์เสือป่าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้มีการสถาปนากองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2454 โดยในการจัดตั้งครั้งแรกนั้นมีสมาชิกถึง 141 คน ทรงดำรงตำแหน่งนายกองใหญ่ ควบคุมกองเสือป่าด้วยพระองค์เอง เรื่องการตั้งกองเสือป่าทรงมีพระราชดำริ ตั้งแต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช เมื่อมีพระราชอำนาจสมบูรณ์หลังจากเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงทรงเริ่มการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นทันที ดังปรากฏในกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ราษฎรในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีความตอนหนึ่งว่า
“การตั้งกองเสือป่าขึ้นด้วยความมุ่งหมายจะให้คนไทยทั่วกันรู้สึกว่าความจงรักภักดี ต่อผู้ดำรงรัฐสีมา อาณาจักรโดยต้องตามมติธรรมประเพณีประการ 1 ความรักชาติบ้านเมือง และนับถือศาสนาประการ 1 ความสามัคคีในคณะและไม่ทำลายซึ่งกันและกัน”
โดยมีคำขวัญพระราชทานของกองเสือป่าคือ
“แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ์
ศัตรูกล้ามาประจัน จะอาจสู้ริปูสลาย”
(คำขวัญเสือป่า)
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยเฉพาะในเชิงยุทธศาสตร์ เห็นได้จากการที่ทรงก่อตั้งกองฝึกฝนในลักษณะอย่างทหารขึ้น ให้พลเรือนได้ฝึกหัดความมีระเบียบวินัยได้ซึมซับวิชาการอย่างทหาร เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศ ในนามพระราชทาน “ กองเสือป่า” โดยก่อนที่จะทรงจัดตั้งกองเสือป่าอย่างเป็นทางการ ได้มีการทดลองฝึกหัดทหารมหาดเล็กจำนวนหนึ่งที่วังสราญรมย์ตามแบบอย่างที่มีพระราชประสงค์ ซึ่งการฝึกลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลจาก “SCOUT” หรือ ลูกเสือที่ถูกก่อตั้งขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย Robert Stephenson Smyth Lord Baden – Powell (ค.ศ. 1857 – 1941 ตรงกับ พ.ศ.2400 – 2484)
สำหรับการรบแบบที่สนพระทัยอย่างยิ่ง คือ สงครามกองโจรและการซ้อมรบในเวลากลางคืนซึ่งถือเป็นการรบแบบใหม่ในสมัยนั้น
นอกจากชื่อกองเสือป่าแล้ว ยังมีการตั้งชื่ออื่นๆตามกิจกรรมและความเหมาะสมขึ้น เช่น “กองเสือป่ารักษาพระองค์” หรือ “กองเสือป่าหลวง” “กองเสือป่ารักษาแผ่นดิน” หรือ “กองเสือป่ารักษาดินแดน” ซึ่งอย่างหลังเป็นเสือป่าสำหรับข้าราชการ สามัญชน พลเรือนทั่วพระนครและตามมณฑล โดยแบ่งเป็น 4 ภาคดูแลตามกลุ่มจังหวัด ถือเป็นต้นแบบของตำรวจตระเวนชายแดนในเวลาต่อมา
การตั้งกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริว่า ควรมีสถานที่ใช้รวมตัวเพื่อประโยชน์ต่างๆ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีสโมสรเสือป่าในแต่ละกองสำหรับเป็นที่ชุมนุม ประชุม สังสรรค์ เป็นที่เล่นกีฬาหลากหลายชนิด อีกทั้งเป็นที่อบรมสั่งสอนและปรึกษากิจการเสือป่าด้วย สโมสรเสือป่าจัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2454 บริเวณสนามเสือป่า
______________________________
ปัจจุบัน เราก็ต้องพร้อมรบ อยู่เสมอ อย่าไปเชื่อ ใครละ
ว่าสมัยนี้ไม่รบกันแล้ว อาวุธจะซื้อทามมมไม
เอามาก็ไม่ได้ใช้ .. ไม่ทำรั่ว แต่อยากจะ ซื้อเครื่องเสียงดีดี ไว้ฟังในบ้าน
ยังไง รบกันมันเสียหายอยู่แล้วละ เศรษฐกิจ
แต่ถ้าไม่มีกำลังรบ คงเสียหายมากยิ่งกว่า
ถ้าเราด้อยกว่า ศัตรู ไม่มีใครมานั่งเจรจา ด้วยหรอกนะ
การฑูต ต้องมีอำนาจทำลายล้างของกองทัพหนุนหลัง ถึงเจรจาได้ง่ายขึ้น
แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ์ ศัตรูกล้ามาประจัน จะอาจสู้ริปูสลาย” (คำขวัญเสือป่า)
กองเสือป่าในรัชกาลที่ 6 และนักเรียนแพทย์เสือป่าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้มีการสถาปนากองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2454 โดยในการจัดตั้งครั้งแรกนั้นมีสมาชิกถึง 141 คน ทรงดำรงตำแหน่งนายกองใหญ่ ควบคุมกองเสือป่าด้วยพระองค์เอง เรื่องการตั้งกองเสือป่าทรงมีพระราชดำริ ตั้งแต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช เมื่อมีพระราชอำนาจสมบูรณ์หลังจากเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงทรงเริ่มการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นทันที ดังปรากฏในกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ราษฎรในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีความตอนหนึ่งว่า
“การตั้งกองเสือป่าขึ้นด้วยความมุ่งหมายจะให้คนไทยทั่วกันรู้สึกว่าความจงรักภักดี ต่อผู้ดำรงรัฐสีมา อาณาจักรโดยต้องตามมติธรรมประเพณีประการ 1 ความรักชาติบ้านเมือง และนับถือศาสนาประการ 1 ความสามัคคีในคณะและไม่ทำลายซึ่งกันและกัน”
โดยมีคำขวัญพระราชทานของกองเสือป่าคือ
ศัตรูกล้ามาประจัน จะอาจสู้ริปูสลาย”
(คำขวัญเสือป่า)
สำหรับการรบแบบที่สนพระทัยอย่างยิ่ง คือ สงครามกองโจรและการซ้อมรบในเวลากลางคืนซึ่งถือเป็นการรบแบบใหม่ในสมัยนั้น
นอกจากชื่อกองเสือป่าแล้ว ยังมีการตั้งชื่ออื่นๆตามกิจกรรมและความเหมาะสมขึ้น เช่น “กองเสือป่ารักษาพระองค์” หรือ “กองเสือป่าหลวง” “กองเสือป่ารักษาแผ่นดิน” หรือ “กองเสือป่ารักษาดินแดน” ซึ่งอย่างหลังเป็นเสือป่าสำหรับข้าราชการ สามัญชน พลเรือนทั่วพระนครและตามมณฑล โดยแบ่งเป็น 4 ภาคดูแลตามกลุ่มจังหวัด ถือเป็นต้นแบบของตำรวจตระเวนชายแดนในเวลาต่อมา
การตั้งกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริว่า ควรมีสถานที่ใช้รวมตัวเพื่อประโยชน์ต่างๆ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีสโมสรเสือป่าในแต่ละกองสำหรับเป็นที่ชุมนุม ประชุม สังสรรค์ เป็นที่เล่นกีฬาหลากหลายชนิด อีกทั้งเป็นที่อบรมสั่งสอนและปรึกษากิจการเสือป่าด้วย สโมสรเสือป่าจัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2454 บริเวณสนามเสือป่า
______________________________
ปัจจุบัน เราก็ต้องพร้อมรบ อยู่เสมอ อย่าไปเชื่อ ใครละ
ว่าสมัยนี้ไม่รบกันแล้ว อาวุธจะซื้อทามมมไม
เอามาก็ไม่ได้ใช้ .. ไม่ทำรั่ว แต่อยากจะ ซื้อเครื่องเสียงดีดี ไว้ฟังในบ้าน
ยังไง รบกันมันเสียหายอยู่แล้วละ เศรษฐกิจ
แต่ถ้าไม่มีกำลังรบ คงเสียหายมากยิ่งกว่า
ถ้าเราด้อยกว่า ศัตรู ไม่มีใครมานั่งเจรจา ด้วยหรอกนะ
การฑูต ต้องมีอำนาจทำลายล้างของกองทัพหนุนหลัง ถึงเจรจาได้ง่ายขึ้น