●●สะเทือนวงการแพทย์!! “พยาบาลจำแลง” รับจ็อบ-หาเงิน บนลมหายใจผู้ป่วย●●

●●สะเทือนวงการแพทย์!! “พยาบาลจำแลง” รับจ็อบ-หาเงิน บนลมหายใจผู้ป่วย●●

             
สังคมล่าตัวพยาบาลแสบ! หลังสวมรอยดูแลผู้ป่วยบนรถเคลื่อนย้าย ไม่สนใจ-ใช้อุปกรณ์ไม่เป็น 
แถมนั่ง
หลับตลอดทาง จนคนไข้เสียชีวิต! ล่าสุด สภาการพยาบาลตรวจสอบไม่พบรายชื่อ คาดทำมานานแล้ว!
ด้านผู้ให้บริการรถเอกชนเปิดใจ มาตรการคัดกรองคนรอบคอบ แต่ยอมรับไม่สามารถตรวจสอบ
ใบวิชาชีพว่าจริงหรือมั่ว!

สวมรอย “พยาบาล” คร่าชีวิตผู้ป่วย!!

อันตรายถึงชีวิต! แอบอ้างวิชาชีพหาเงินบนลมหายใจผู้อื่น สังคมออนไลน์ถล่มเละช่วยกันเตือนภัย
สาวประเภทสองอ้างตัวเป็นพยาบาลเข้ามาทำงานดูแลผู้ป่วยระหว่างการเคลื่อนย้ายภายในรถพยาบาลเอกชน
แห่งหนึ่ง จนทำผู้ป่วยเสียชีวิตคารถพยาบาล!!

เรื่องราวน่าสลดใจเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกชายผู้เสียชีวิต ติดต่อใช้รถบริการฉุกเฉินเอกชนเพื่อย้ายบิดา
กลับไปรักษาต่อที่บ้านใน จ.ชัยภูมิ ภายหลังจากที่หมอวินิจฉัยแล้วว่าไม่มีทางรักษาให้หายจากการเป็นเนื้องอก
ในสมองได้ โดยระหว่างเดินทางพบว่าพยาบาลสาวประเภทสองคนดังกล่าว ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยแต่อย่างใด
เคราะห์ซ้ำยังนั่งหลับมาตลอดทาง

เมื่อได้สังเหตเห็นเครื่องมือวัดออกซิเจนในกระแสเลือดไม่แสดงผลชีพจร จนชีพจรเริ่มอ่อนลง และเสียชีวิต
ในเวลาต่อมาก่อนมาทราบภายหลังว่าเป็นพยาบาลปลอม จึงได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภ.สำโรงเหนือ จ.สมุทรปราการ

จากการตรวจสอบไปยังสภาการพยาบาลในฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพฯ จาก ชื่อ-นามสกุล
เลขที่ประจำตัวประชาชน ไม่พบข้อมูลของบุคคลรายนี้ในฐานข้อมูลแต่อย่างใด นั่นเท่ากับว่าพยาบาล
คนดังกล่าวไม่ใช่พยาบาลที่ถูกต้องหรือมีใบประกอบวิชาชีพอย่างแท้จริง

                       
ทันทีที่เรื่องราวถูกเผยแพร่ออกไปได้นำมาสู่การตั้งคำถามถึงการให้บริการรถพยาบาลเอกชนว่า มีความพร้อม
และมาตรฐานเพียงใดในการจ้างงานพยาบาลจากที่ต่างๆ เข้ามาทำงาน โดยความเห็นส่วนใหญ่วิจารณ์ว่าเป็น
ความหละหลวมของหน่วยงานบริการรถเอกชนต้นสังกัดที่ไม่ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน!

“เคยมีประสบการณ์เรียกรถพยาบาลเอกชนมารับ เนื่องจากแฟนประสบอุบัติเหตุอยู่ต่างจังหวัด จึงต้องรีเฟอร์
ข้ามจังหวัดเพื่อรักษา ซึ่งพยาบาลที่นั่งมาด้วยก็นั่งมาเป็นเพื่อนจริงๆ ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง ต่อออกซิเจนไม่ได้
วัดความดันยังผิดๆ ถูกๆ ไม่รู้จักอุปกรณ์ในรถเลย แถมยังแต่งตัวก็ยังดูไม่เป็นมืออาชีพ”

“เอาจริงๆ นะ สภาการพยาบาลควรมีระบบให้สามารถตรวจสอบชื่อ สถานะ ได้เหมือนกับแพทยสภา
อย่าได้มองว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเลย ขอให้มองว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการดีกว่า”

“เรียนพยาบาลอย่างหนัก จบ4 ปีมา สอบใบประกอบวิชาชีพก็แสนยากลำบาก PN (ผู้ช่วยพยาบาล) NA
(พนักงานช่วยเหลือคนไข้) มารับจ็อบขึ้นเวรโรงงานหรือห้องพยาบาล ได้ค่าแรงเท่าพยาบาลที่มี
ใบประกอบวิชาชีพเฉย วานนายจ้างช่วยตรวจสอบใบประกอบวิชาชีพก่อนจ้างด้วยค่ะ”

อย่างไรก็ดี ทีมข่าว MGR Live ได้ติดต่อไปยังพยาบาลรายหนึ่ง เพื่อยืนยันคำตอบของเรื่องนี้ในฐานะพยาบาล
อาชีพผู้มีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้องว่ามีความเห็นต่อการสวมรอยอาชีพพยาบาลจากกรณีล่าสุดที่ทำให้
ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างไร 'ส้ม' (นามสมมติ) เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งให้ข้อมูลกับทีมข่าวว่า

“จากกรณีที่เกิดขึ้นคิดว่าทางรถพยาบาลเอกชนมีความสะเพร่า การที่จะหาพยาบาลขึ้นรถไปReferคนไข้
จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ทำไมถึงไม่มีการตรวจสอบหรือขอเอกสารใบประกอบวิชาชีพของพยาบาลคนนั้นๆ
ก่อน ทำไมไม่ทำตามหลักการที่ต้องปฎิบัติก่อนการว่าจ้างงาน

ส่วนเรื่องการตรวจสอบว่าใบประกอบวิชาชีพที่พยาบาลแต่ละคนให้มา จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นเอกสารที่
ถูกต้องหรือไม่ ตรงนี้ค่อนข้างตรวจสอบยากนะว่าจริงหรือปลอม

แต่ถ้าร่วมงานกันจริงๆ พยาบาลที่ทำงานด้วยกันจะรู้เอง เคยมีคนบอกว่าทำงานร่วมกับพยาบาลปลอม 
มีหลักฐานด้วยว่าเป็นพยาบาลปลอม แต่แจ้งไปทางสภาพยาบาลเรื่องก็เงียบอยู่ ทุกวันนี้พยาบาลปลอม
คนนั้นก็ยังทำงานพยาบาลอยู่

สำหรับการปลอมเป็นพยาบาลเข้ามาทำงาน จริงๆ มีมานานแล้ว แต่แค่ไม่เกิดเรื่องถึงขั้นทำคนเสียชีวิตเท่านั้นเอง 
ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพยาบาลตามห้องพยาบาลโรงงานที่ถูกจ้างให้ไปประจำ ส่วนในโรงพยาบาลเอกชน
ก็มีบ้าง แต่อยู่ได้ไม่นานเพราะปัจจุบัน HRโรงพยาบาลตรวจสอบเคร่งครัดมากขึ้น”

           
มาตรการแน่นหนา แต่ก็ยังผิดพลาด!?

“พูดตรงๆ นะครับว่าเราก็ไม่เคยตรวจสอบว่าใครของจริง ใครของปลอม อาศัยจากที่เคยทำงานมาด้วยกัน หรือได้รับคำแนะนำว่าไว้ใจได้จากคนในวงการเดียวกันมากกว่า”

อาทิตย์ วิชาโคตรกรรม การผู้จัดการฯ และเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำรถพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เปิดใจกับ
ทีมข่าว MGR Live เกี่ยวกับประเด็นที่สังคมตั้งคำถามถึงมาตรการรับคนเข้าทำงานของหน่วยงานบริการ
รถพยาบาลเอกชน

ซึ่งในสายตาของเจ้าหน้าที่บริการรถเอกชนได้พูดถึงกรณีที่เกิดขึ้นด้วยว่า พยาบาลคนดังกล่าวก็เคยมาสมัคร
รับงานกับบริษัทตนด้วยเหมือนกัน แต่ด้วยระหว่างการสัมภาษณ์ที่มีจุดผิดปกติให้เห็น ตนจึงไม่ได้รับเข้ามาทำงาน

“กรณีพยาบาลปลอมที่กำลังเป็นข่าว จริงๆ เขาเคยมาฝากประวัติไว้กับบริษัทเราเหมือนกันนะครับ
แต่ทางเราสัมภาษณ์แล้วพบว่าเขาให้ข้อมูลไม่ได้เหมือนพยาบาลทั่วไป เราก็เลยยังไม่รับมาให้ทำงาน

ต้องบอกก่อนว่าส่วนใหญ่บริการรถพยาบาลเอกชนจะไม่มีพยาบาลแบบฟูลไทม์ จะมีก็แต่พยาบาลที่รับงาน
เป็นพาร์ทไทม์มากกว่า เวลาที่มีเคสคนไข้เข้ามา เราจะส่งเคสเข้าไปในกลุ่มพยาบาลฟรีแลนซ์ ใครที่สามารถ
ไปได้ก็จะตอบรับมา 

หลังจากนั้นเราก็จะขอให้เขาสำเนาเอกสารใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะมาให้เราในวันงาน ก่อนที่เราจะรับตัว
เขามาทำงานกับเรา เราจะให้เขาส่งข้อมูลมาให้เราก่อน 

แต่พูดตรงๆ นะครับว่าเราก็ไม่เคยตรวจสอบว่าใครของจริง ใครของปลอม อาศัยจากที่เคยทำงานมา
ด้วยกันหรือได้รับคำแนะนำว่าไว้ใจได้จากคนในวงการเดียวกันมากกว่า

ส่วนมาตรการในการคัดกรองคนเข้ามา ถ้าเป็นพนักงานขับรถจะต้องผ่านการอบรมด้านการขับขี่ปลอดภัยมาก่อน แต่ในส่วนของการอบรมด้านการแพทย์ อย่างแรกต้องปฐมพยาบาลได้ สอง ต้องดูแลผู้ป่วยภาวะ
วิกฤตฉุกเฉินได้ เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องผ่านทุกคน

                     

บางเคสเราไม่ได้ใช้พยาบาลเสมอไป เช่น มีคนไข้ที่บ้านต้องการไปตรวจตามที่หมอนัด เราก็ไม่ได้ใช้พยาบาลวิชาชีพ เราใช้แค่ผู้ช่วยพยาบาล แต่ทุกคนต้องมีใบประกอบฯ มาการันตี แต่ถ้าเป็นเคสฉุกเฉินวิกฤตแบบนี้ เราจะไม่ค่อยรับเพราะมันมีปัจจัยเสี่ยงเยอะ”

เท่าที่พอสรุปได้ว่าถึงแม้จะมีขั้นตอนในการรับคนเข้าทำงานอย่างรอบคอบ นั่นคือ การมีใบประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง แต่คำถามที่ตามมาก็คือเจ้าของบริการรถเอกชนจะทราบได้อย่างไรว่าใบประกอบฯ ที่แสดงมานั้นเป็นเอกสารที่ถูกต้องจริงๆ ซึ่งด้านเจ้าของบริการเอกชนก็ยอมรับว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ รวมไปถึงการตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน

“ตรงนี้ยังเป็นจุดอ่อนอยู่สำหรับรถพยาบาลเอกชน เพราะถ้าเราจะตรวจสอบกับสภาการพยาบาลจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ผมไม่แน่ใจว่าตอนนี้สามารถตรวจสอบผ่านออนไลน์ได้หรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นหมอเราสามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์แพทย์สภาได้เลย

ในความเห็นผมทุกวันนี้เทคโนโลยี มันเอื้อให้เราทำงานได้ง่ายมากขึ้น ผมคิดว่าเว็บไซต์เหล่านี้ถ้าสามารถทำระบบให้สามารถตรวจสอบออนไลน์ได้เลยก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน อย่างน้อยการตรวจสอบว่าใช่พยาบาล หรือไม่ใช่พยาบาล มันอาจไม่ได้เป็นผลดีต่อรถเอกชนอย่างเดียว

แต่สำหรับคนที่จ้างพยาบาลไปเฝ้าไข้ หรือต้องการพยาบาลไปประจำห้องพยาบาล โดยเฉพาะตามโรงงานต่างๆ เขามักจ้างพยาบาลไปประจำสถานที่ ถ้าจ่ายยาไม่ผิดหรือไม่มีประเด็นก็ไม่มีใครตรวจสอบ เรียกง่ายๆ ผู้ที่รับบริการก็จะไม่เจอพยาบาลปลอมด้วย”

             
แน่นอนว่าจากกรณีที่เกิดขึ้นคงสะท้อนบทเรียนสู่วงการรถรีเฟอร์พอสมควร โดยเฉพาะมาตรการในการคัดกรองเจ้าหน้าที่พยาบาลเข้ามาดูแลผู้ป่วย เพราะคงไม่มีคนไข้รายไหนอยากฝากลมหายใจไว้กับผู้ที่ขึ้นชื่อว่าช่วยเหลือชีวิตผู้อื่น แต่กลับสวมรอยเข้ามาในคราบพยาบาล!

“ทุกวันนี้คนที่จะใช้บริการรถเอกชนก็ต้องคิดแล้วว่าที่ใส่ชุดขาวมาเป็นของจริงหรือของปลอม ขนาดของจริงเขาก็ยังคิดว่าเป็นของปลอม (หัวเราะ) จริงๆ ไม่อยากให้มันเกิดขึ้น แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ถามว่าเราจะหาวิธีป้องกันดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีกต่อไปในอนาคตได้อย่างไร 

หนึ่งเลยต้องเป็นพยาบาลที่มีใบประกอบวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ จะต้องขอให้เขาอีเมล์เอกสารมาให้ตรวจสอบก่อน แต่เราก็ต้องคุยกับญาติคนไข้ว่าต่อไปนี้ถ้าโทร.มาขอรับบริการ คงต้องใช้เวลานานขึ้นในการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนที่จะส่งคนออกไปรับ ทุกอย่างคงต้องมีการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนมากขึ้นเพื่อความปลอดภัยของคนไข้ครับ”

ข่าวโดย MGR Live

Cr.  https://mgronline.com/live/detail/9620000041047
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่