ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ครับ ก่อนที่จะเป็น ผมได้เจอกับหมอหลากหลายแบบ
ทั้งหมอที่แย่มากๆ และหมอที่ดีมากๆ แต่โดยรวมคือรู้สึกแย่กับหมอใน รพ.รัฐ มากๆ
แต่พอมาเป็น นศพ. ได้รู้ ได้เข้าใจที่มาของปัญหา ก็รู้สึกแย่กับหมอ รพ.รัฐ น้อยลง
แต่ยังไงก็ดี หมอบางคนที่ได้เจอก็แย่มากจริงๆ
ซึ่งน่าจะเป็นมาจากเนื้อแท้เบื้องลึกของตัวเอง ไว้โอกาสดีๆ จะแชร์ประสบการณ์ตรงนี้นะครับ
ที่เกริ่นมาทั้งหมดเพื่อให้เชื่อได้ว่าผมไม่ได้เข้าข้างหมอแต่อย่างใด
แต่จะแสดงความเห็นในฐานะของคนที่เข้าใจทั้งฝั่งของหมอและฝั่งของคนไข้นะครับ
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างหมอและคนไข้ในปัจจุบัน
ผมคิดว่าอยู่ในช่วงปลายๆ รอยต่อของการเปลี่ยนแปลง
ก่อนหน้านี้ในสังคมไทย หมอเป็นคล้ายเทพเทวดา
จะพูด จะห้าม จะเตือนอะไร คนไข้ก็เชื่อฟังหมด
ข้อดีคือ การรักษาคนไข้เป็นไปได้ด้วยดี
หมอก็มีกำลังใจในการรักษาคนไข้
ดูแลคนไข้อย่างดีด้วยจิตวิญญาณของความเป็นหมอ
แต่มันก็มีข้อเสียครับ
สภาพสังคมแบบนี้ทำให้หมอบางส่วนหลงระเริงในอำนาจเหล่านี้
จนในที่สุดก็ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร จนเกิดเป็นปัญหาฟ้องร้องขึ้น
จากนั้นผู้ป่วยก็เริ่มระแวงหมอมากขึ้น มีการฟ้องร้องกันมากขึ้นเรื่อยๆ
ในช่วงแรกๆ ก็ทำให้หมอส่วนใหญ่ระมัดระวังในการตรวจรักษาคนไข้มากขึ้น
ซึ่งนี่เป็นข้อดีครับ แต่พอผ่านไประยะหนึ่ง
หมอส่วนใหญ่ตื่นตัวกับการฟ้องร้องและยกระดับมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพของตนเพิ่มขึ้นแล้ว
แต่ปรากฏว่าการฟ้องร้องกลับไม่ลดลง และยังคงเพิ่มขึ้นอยู่อย่างนั้น
ในสังคมออนไลน์เองก็มีการวิภาควิจารณ์การทำงานของหมอไปในทางเสียๆ หายๆ มากมายในเว็ปบอร์ดต่างๆ
ถึงจุดนี้ คนเป็นหมอก็จะเริ่มเสียกำลังใจในการประกอบวิชาชีพ
เพราะส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาการฟ้องร้องหรือการพูดคุยต่อว่าหมอในเว็ปบอร์ดต่างๆ
เกิดจากความเข้าใจผิดและการจ้องจะจับผิดของคนไข้ต่อตัวหมอที่รักษา
โดยปัญหาส่วนใหญ่เกิดใน รพ.รัฐ ซึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดต่างๆ
ของหมอไทยที่ต้องแบกรับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
ของระบบสาธารณสุขไทยเพื่อให้คนไทยได้ใช้สิทธิการรักษาฟรีทั่วประเทศ(ซึ่งจะไม่พูดถึงรายละเอียดในวันนี้ครับ)
ด้วยมุมมองของผู้ป่วยต่อแพทย์ที่เปลี่ยนไปนี้เอง
ทำให้แพทย์บางส่วนเริ่มทบทวนว่าตนควรทำงานที่ รพ.รัฐ ต่อไปดีหรือไม่
แพทย์ส่วนใหญ่มีทางเลือกที่จะไปทำงานที่โรงพยาบาลเอกชน
ที่ซึ่งมีรายได้ดีกว่ามากๆ งานน้อยกว่ามากๆ
โอกาสผิดพลาดในการประกอบวิชาชีพก็น้อยตามไป
เพราะมีเวลาตรวจมากพอ
แพทย์บางส่วนจริงไหลจาก รพ.รัฐ ไปสู่ รพ.เอกชน
ปัญหาแพทย์ไม่พอใน รพ.รัฐ จึงเพิ่มมากขึ้นตามการฟ้องร้องที่มากขึ้นนั่นเอง
แล้วมุมมองแบบจ้องจับผิดหมอที่เกิดขึ้น ส่งผลอย่างไรบ้าง
สิ่งนี้คือสิ่งที่อย่างจะสื่อมากที่สุดครับ เพราะผลเสียที่เกิดขึ้นนั้น โดยรวมแล้วผมคิดว่าเกิดกับคนไข้มากกว่าแพทย์
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าหมอมีทางเลือกที่จะไป รพ.เอกชน
ถ้าหากหมอรู้สึกทนไม่ไหวกับความเสี่ยงในการโดนฟ้องร้อง
แม้จะมีจิตใจของความเป็นแพทย์
อยากช่วยเหลือผู้ป่วยใน รพ.รัฐ มากแค่ไหน
สุดท้ายเขาก็ออกไป รพ.เอกชน ครับ
เพราะหมอก็มีครอบครัว มีชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลให้ต้องดูแล
การถูกฟ้องร้องนั้น ไม่ว่าหมอจะผิดหรือไม่
ไม่ว่าจะมีโอกาสชนะมากแค่ไหน
ก็ไม่มีใครอยากโดนฟ้องร้องครับ สู้ออกไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยดีกว่า
ทีนี้หมอใน รพ.รัฐ ก็จะมีน้อยลง งานก็จะหนักขึ้น
ปัญหาต่างๆ ก็จะมากขึ้นตามไป
แต่เดิมหมอเคยทำงานอย่างสบายใจ รู้สึกดีกับผู้ป่วย
ตอนนี้ผู้ป่วยจ้องจับผิดหมอมากขึ้น
บรรยากาศในการทำงานก็เปลี่ยนไป
หมอเองก็ระแวงว่าผู้ป่วยจะฟ้องรึเปล่า
นี่เป็นความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดขึ้นกับหมอและผู้ป่วย
และอย่างที่บอกว่าถ้าหมอทนไม่ได้ เขาก็เลือกที่จะไป
สุดท้าย ปัญหาทั้งหมดก็ตกมาอยู่ที่ผู้ป่วย
หลายคนคงคิดว่ามีผู้ป่วยแค่บางส่วนเท่านั้นที่จ้องจะจับผิดหมอ
เรื่องนี้ผมเห็นด้วย แต่จะให้หมอทำไง
ในเมื่อไม่รู้ว่าคนไหนจ้องจับผิด หมอก็เลยต้องระแวงทุกคนนั่นแหละ
แล้วไม่ต้องให้คนไข้ทุกคนมาฟ้องหมอหรอก
คนไข้คนเดียวฟ้องก็แย่เกินทนแล้ว
ก่อนจะจบ ขอสรุปสิ่งที่ผมต้องการจะสืออีกทีนะครับ
ปัญหาการฟ้องร้องหมอที่มากขึ้นในปัจจุบัน
อาจทำให้หมอระมัดระวังในการรักษามากขึ้น
และอาจทำให้มีหมอใน รพ.รัฐ น้อยลง
เพิ่มปัญหาในระบบสาธารณสุขไทย
สุดท้ายก็จะสงผลต่อตัวผู้ป่วยเองมากที่สุด
เพราะหมอยังมีทางเลือกที่จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้
ปล.1
แต่ผมเองก็สนับสนุนการฟ้องร้อง การวิภาควิจารณ์หมอแย่ๆ นะครับ
แต่ถ้าหากมากไป ทำไปโดยไม่มีเหตุผลมากพอ
ทำไปเพราะต้องการจับผิด ทำด้วยใจอคติ ด้วยต้องการเงินทอง
อันนี้ผมว่าไม่ดีครับ
ปล.2
ผมเป็นเพียง นศพ. ไม่ใช่หมอ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และหากผิดพลาดประการใด โปรดชี้แนะด้วยครับ
>>>ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง หมอ และ คนไข้ในปัจจุบัน [ความเห็นของ นศพ. คนหนึ่ง]
ทั้งหมอที่แย่มากๆ และหมอที่ดีมากๆ แต่โดยรวมคือรู้สึกแย่กับหมอใน รพ.รัฐ มากๆ
แต่พอมาเป็น นศพ. ได้รู้ ได้เข้าใจที่มาของปัญหา ก็รู้สึกแย่กับหมอ รพ.รัฐ น้อยลง
แต่ยังไงก็ดี หมอบางคนที่ได้เจอก็แย่มากจริงๆ
ซึ่งน่าจะเป็นมาจากเนื้อแท้เบื้องลึกของตัวเอง ไว้โอกาสดีๆ จะแชร์ประสบการณ์ตรงนี้นะครับ
ที่เกริ่นมาทั้งหมดเพื่อให้เชื่อได้ว่าผมไม่ได้เข้าข้างหมอแต่อย่างใด
แต่จะแสดงความเห็นในฐานะของคนที่เข้าใจทั้งฝั่งของหมอและฝั่งของคนไข้นะครับ
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างหมอและคนไข้ในปัจจุบัน
ผมคิดว่าอยู่ในช่วงปลายๆ รอยต่อของการเปลี่ยนแปลง
ก่อนหน้านี้ในสังคมไทย หมอเป็นคล้ายเทพเทวดา
จะพูด จะห้าม จะเตือนอะไร คนไข้ก็เชื่อฟังหมด
ข้อดีคือ การรักษาคนไข้เป็นไปได้ด้วยดี
หมอก็มีกำลังใจในการรักษาคนไข้
ดูแลคนไข้อย่างดีด้วยจิตวิญญาณของความเป็นหมอ
แต่มันก็มีข้อเสียครับ
สภาพสังคมแบบนี้ทำให้หมอบางส่วนหลงระเริงในอำนาจเหล่านี้
จนในที่สุดก็ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร จนเกิดเป็นปัญหาฟ้องร้องขึ้น
จากนั้นผู้ป่วยก็เริ่มระแวงหมอมากขึ้น มีการฟ้องร้องกันมากขึ้นเรื่อยๆ
ในช่วงแรกๆ ก็ทำให้หมอส่วนใหญ่ระมัดระวังในการตรวจรักษาคนไข้มากขึ้น
ซึ่งนี่เป็นข้อดีครับ แต่พอผ่านไประยะหนึ่ง
หมอส่วนใหญ่ตื่นตัวกับการฟ้องร้องและยกระดับมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพของตนเพิ่มขึ้นแล้ว
แต่ปรากฏว่าการฟ้องร้องกลับไม่ลดลง และยังคงเพิ่มขึ้นอยู่อย่างนั้น
ในสังคมออนไลน์เองก็มีการวิภาควิจารณ์การทำงานของหมอไปในทางเสียๆ หายๆ มากมายในเว็ปบอร์ดต่างๆ
ถึงจุดนี้ คนเป็นหมอก็จะเริ่มเสียกำลังใจในการประกอบวิชาชีพ
เพราะส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาการฟ้องร้องหรือการพูดคุยต่อว่าหมอในเว็ปบอร์ดต่างๆ
เกิดจากความเข้าใจผิดและการจ้องจะจับผิดของคนไข้ต่อตัวหมอที่รักษา
โดยปัญหาส่วนใหญ่เกิดใน รพ.รัฐ ซึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดต่างๆ
ของหมอไทยที่ต้องแบกรับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
ของระบบสาธารณสุขไทยเพื่อให้คนไทยได้ใช้สิทธิการรักษาฟรีทั่วประเทศ(ซึ่งจะไม่พูดถึงรายละเอียดในวันนี้ครับ)
ด้วยมุมมองของผู้ป่วยต่อแพทย์ที่เปลี่ยนไปนี้เอง
ทำให้แพทย์บางส่วนเริ่มทบทวนว่าตนควรทำงานที่ รพ.รัฐ ต่อไปดีหรือไม่
แพทย์ส่วนใหญ่มีทางเลือกที่จะไปทำงานที่โรงพยาบาลเอกชน
ที่ซึ่งมีรายได้ดีกว่ามากๆ งานน้อยกว่ามากๆ
โอกาสผิดพลาดในการประกอบวิชาชีพก็น้อยตามไป
เพราะมีเวลาตรวจมากพอ
แพทย์บางส่วนจริงไหลจาก รพ.รัฐ ไปสู่ รพ.เอกชน
ปัญหาแพทย์ไม่พอใน รพ.รัฐ จึงเพิ่มมากขึ้นตามการฟ้องร้องที่มากขึ้นนั่นเอง
แล้วมุมมองแบบจ้องจับผิดหมอที่เกิดขึ้น ส่งผลอย่างไรบ้าง
สิ่งนี้คือสิ่งที่อย่างจะสื่อมากที่สุดครับ เพราะผลเสียที่เกิดขึ้นนั้น โดยรวมแล้วผมคิดว่าเกิดกับคนไข้มากกว่าแพทย์
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าหมอมีทางเลือกที่จะไป รพ.เอกชน
ถ้าหากหมอรู้สึกทนไม่ไหวกับความเสี่ยงในการโดนฟ้องร้อง
แม้จะมีจิตใจของความเป็นแพทย์
อยากช่วยเหลือผู้ป่วยใน รพ.รัฐ มากแค่ไหน
สุดท้ายเขาก็ออกไป รพ.เอกชน ครับ
เพราะหมอก็มีครอบครัว มีชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลให้ต้องดูแล
การถูกฟ้องร้องนั้น ไม่ว่าหมอจะผิดหรือไม่
ไม่ว่าจะมีโอกาสชนะมากแค่ไหน
ก็ไม่มีใครอยากโดนฟ้องร้องครับ สู้ออกไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยดีกว่า
ทีนี้หมอใน รพ.รัฐ ก็จะมีน้อยลง งานก็จะหนักขึ้น
ปัญหาต่างๆ ก็จะมากขึ้นตามไป
แต่เดิมหมอเคยทำงานอย่างสบายใจ รู้สึกดีกับผู้ป่วย
ตอนนี้ผู้ป่วยจ้องจับผิดหมอมากขึ้น
บรรยากาศในการทำงานก็เปลี่ยนไป
หมอเองก็ระแวงว่าผู้ป่วยจะฟ้องรึเปล่า
นี่เป็นความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดขึ้นกับหมอและผู้ป่วย
และอย่างที่บอกว่าถ้าหมอทนไม่ได้ เขาก็เลือกที่จะไป
สุดท้าย ปัญหาทั้งหมดก็ตกมาอยู่ที่ผู้ป่วย
หลายคนคงคิดว่ามีผู้ป่วยแค่บางส่วนเท่านั้นที่จ้องจะจับผิดหมอ
เรื่องนี้ผมเห็นด้วย แต่จะให้หมอทำไง
ในเมื่อไม่รู้ว่าคนไหนจ้องจับผิด หมอก็เลยต้องระแวงทุกคนนั่นแหละ
แล้วไม่ต้องให้คนไข้ทุกคนมาฟ้องหมอหรอก
คนไข้คนเดียวฟ้องก็แย่เกินทนแล้ว
ก่อนจะจบ ขอสรุปสิ่งที่ผมต้องการจะสืออีกทีนะครับ
ปัญหาการฟ้องร้องหมอที่มากขึ้นในปัจจุบัน
อาจทำให้หมอระมัดระวังในการรักษามากขึ้น
และอาจทำให้มีหมอใน รพ.รัฐ น้อยลง
เพิ่มปัญหาในระบบสาธารณสุขไทย
สุดท้ายก็จะสงผลต่อตัวผู้ป่วยเองมากที่สุด
เพราะหมอยังมีทางเลือกที่จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้
ปล.1
แต่ผมเองก็สนับสนุนการฟ้องร้อง การวิภาควิจารณ์หมอแย่ๆ นะครับ
แต่ถ้าหากมากไป ทำไปโดยไม่มีเหตุผลมากพอ
ทำไปเพราะต้องการจับผิด ทำด้วยใจอคติ ด้วยต้องการเงินทอง
อันนี้ผมว่าไม่ดีครับ
ปล.2
ผมเป็นเพียง นศพ. ไม่ใช่หมอ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และหากผิดพลาดประการใด โปรดชี้แนะด้วยครับ