วิถีแห่งการไปสู่สิ่งที่ดี (สุคะโต)
สุคะโต แปลว่า ผู้ไปดี หมายถึง พระพุทธองค์รู้เหตุแห่งความเป็นมาของกรรม ณ ปัจจุบันนี้ ณ ปัจจุบันนี้พระพุทธเจ้าสามารถที่จะสร้างเหตุใหม่ และกรรมใหม่นำไปสู่อนาคต ผลดีเช่นนั้น
๑. รู้อดีตตรงไหนผิดพลาดเกิดจากอะไร
๒. มาแก้ไข สร้างกรรมใหม่ ตั้งใจใหม่ว่าอยากเป็นอะไร
๓. มีปณิธานที่จะทำ ย่อมเป็นผลเช่นนั้น อนาคตย่อมดี
บางคนอธิบายสุคะโต ผู้ไปดี จะอธิบายข้ามขั้นตอนลัดเดียวไปถึงนิพพานแล้ว
ก่อนไปนิพพานเราจะต้องไปดีก่อน ก่อนไปดีเราต้องทำดีก่อน ทำดีแล้วค่อยสะสมไปนิพพาน บางคนไม่ทันไรก้าวกระโดด บางคนอธิบายแบบนั่งจรวดไปถึงนิพพานแล้ว ก็จะกลายเป็นผิด
แต่การอธิบายอย่างนี้เป็นการอธิบายแบบไต่เต้าไปเรื่อยๆ มรรคถูกต้องแล้ว พอเราทำไปเรื่อยๆ ก็จะไปถึง บางครั้งชาวบ้านก็จะนำมาเป็นข้ออ้างว่า ปินไปไม่ถึงก็ไม่อยากทำ ไม่อยากปฏิบัติธรรม แต่หารู้ไม่ว่า ชาวบ้านทั่วไปต้องทำ ถ้าไม่ทำเราจบเลย ซึ่ง ๓ ข้อนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ค้าขายได้ ทำงานได้ ทำมาหากินได้ โดยใช้หลักธรรม ๓ ข้อนี้
คนบางคน อธิบายมะพร้าวได้แค่เปลือก ไม่เข้าถึงข้างใน "มะพร้าวนี่หนา ข้างในนะอร่อยม๊ากมาก" แล้วคนก็จะไปนั่งเพ่ง มะพร้าวนี้อร่อยๆ อร่อยๆ เพราะว่าผ่าไม่เป็น ไม่รู้จะกินข้างในยังไง เราต้องมีข้อ ๒ เราจะกินมะพร้าว คุณต้องรู้จักการสร้างเหตุรู้จักมะพร้าว รู้จักผ่า พอผ่ามาแล้วจะต้องรู้จักกิน กินแล้วเป็นยังไง อร่อยหรือไม่ พอกินอร่อยเราก็ต้องตั้งปณิธานที่จะไปปลูกมะพร้าว ถ้าเราไม่ปลูกมะพร้าวเราก็ไม่มีกิน ได้แต่นั่งเพ่ง พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ คือ เป็นตัวอย่างให้ว่า คุณไม่เอาอย่างนี้แล้วคุณจะทำยังไง ไม่ใช่ไปนั่งเพ่งอย่างเดียว นั่งขอ จะต้องทำ
แต่เราอะไร เราขอคำชี้แนะ ขอปัญญา ขอโอกาส ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระอริยสงฆ์ที่ผ่านมาแล้ว สำเร็จแล้ว มีความรู้ความสามารถ เราไปขอความรู้ต่อท่าน ขอวิชชากับท่านแล้วเอามาทำ มาปฏิบัติ
ไม่ใช่ให้ท่านช่วยเอามาให้ แต่เราต้องเอาจากท่านมาทำ สรุป ขอปัญญาคำชี้แนะจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปฏิบัติ ไม่ใช่ให้ท่านเอามาให้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
วิถีแห่งการไปสู่สิ่งที่ดี (สุคะโต)
สุคะโต แปลว่า ผู้ไปดี หมายถึง พระพุทธองค์รู้เหตุแห่งความเป็นมาของกรรม ณ ปัจจุบันนี้ ณ ปัจจุบันนี้พระพุทธเจ้าสามารถที่จะสร้างเหตุใหม่ และกรรมใหม่นำไปสู่อนาคต ผลดีเช่นนั้น
๑. รู้อดีตตรงไหนผิดพลาดเกิดจากอะไร
๒. มาแก้ไข สร้างกรรมใหม่ ตั้งใจใหม่ว่าอยากเป็นอะไร
๓. มีปณิธานที่จะทำ ย่อมเป็นผลเช่นนั้น อนาคตย่อมดี
บางคนอธิบายสุคะโต ผู้ไปดี จะอธิบายข้ามขั้นตอนลัดเดียวไปถึงนิพพานแล้ว
ก่อนไปนิพพานเราจะต้องไปดีก่อน ก่อนไปดีเราต้องทำดีก่อน ทำดีแล้วค่อยสะสมไปนิพพาน บางคนไม่ทันไรก้าวกระโดด บางคนอธิบายแบบนั่งจรวดไปถึงนิพพานแล้ว ก็จะกลายเป็นผิด
แต่การอธิบายอย่างนี้เป็นการอธิบายแบบไต่เต้าไปเรื่อยๆ มรรคถูกต้องแล้ว พอเราทำไปเรื่อยๆ ก็จะไปถึง บางครั้งชาวบ้านก็จะนำมาเป็นข้ออ้างว่า ปินไปไม่ถึงก็ไม่อยากทำ ไม่อยากปฏิบัติธรรม แต่หารู้ไม่ว่า ชาวบ้านทั่วไปต้องทำ ถ้าไม่ทำเราจบเลย ซึ่ง ๓ ข้อนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ค้าขายได้ ทำงานได้ ทำมาหากินได้ โดยใช้หลักธรรม ๓ ข้อนี้
คนบางคน อธิบายมะพร้าวได้แค่เปลือก ไม่เข้าถึงข้างใน "มะพร้าวนี่หนา ข้างในนะอร่อยม๊ากมาก" แล้วคนก็จะไปนั่งเพ่ง มะพร้าวนี้อร่อยๆ อร่อยๆ เพราะว่าผ่าไม่เป็น ไม่รู้จะกินข้างในยังไง เราต้องมีข้อ ๒ เราจะกินมะพร้าว คุณต้องรู้จักการสร้างเหตุรู้จักมะพร้าว รู้จักผ่า พอผ่ามาแล้วจะต้องรู้จักกิน กินแล้วเป็นยังไง อร่อยหรือไม่ พอกินอร่อยเราก็ต้องตั้งปณิธานที่จะไปปลูกมะพร้าว ถ้าเราไม่ปลูกมะพร้าวเราก็ไม่มีกิน ได้แต่นั่งเพ่ง พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ คือ เป็นตัวอย่างให้ว่า คุณไม่เอาอย่างนี้แล้วคุณจะทำยังไง ไม่ใช่ไปนั่งเพ่งอย่างเดียว นั่งขอ จะต้องทำ
แต่เราอะไร เราขอคำชี้แนะ ขอปัญญา ขอโอกาส ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระอริยสงฆ์ที่ผ่านมาแล้ว สำเร็จแล้ว มีความรู้ความสามารถ เราไปขอความรู้ต่อท่าน ขอวิชชากับท่านแล้วเอามาทำ มาปฏิบัติ
ไม่ใช่ให้ท่านช่วยเอามาให้ แต่เราต้องเอาจากท่านมาทำ สรุป ขอปัญญาคำชี้แนะจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปฏิบัติ ไม่ใช่ให้ท่านเอามาให้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต