คงจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างนะครับในวลี
แค่รู้ความโลภ โกรธ หลง ขณะรู้นั่นคือมีสติแล้วความโลภ โกรธ หลง จะดับไปเองในขณะรู้
ในอริยะมรรค สติที่เป็นสัมมาที่พระพุทธองค์ทรงให้เจริญ
นั่นคือสติปัฎฐานสี่ คือการระลึกรู้ในกาย เวทนา จิตและธรรม
โดยเริ่มที่กายทั้งการตามระลึกรู้ลมหายใจ อริยะบทน้อยใหญ่ ฯลฯ
เพื่อละนิวรณ์ในเบื้องต้น และบรรลุฌานในระดับต่างๆอันเป็นสติปัฎฐานในหมวดเวทนา
เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้วในหมวดเวทนา ท่านจึงให้ตามระลึกรู้ต่อไปว่า
ขณะนั้นเจตสิก หรือสิ่งที่ปรุงแต่งจิตเป็นอย่างไร มี ไม่มีราคะ โทสะ ฟุ้งซ่าน จิตตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่น มีจิตอื่นที่จริงกว่าหรือไม่ ฯลฯ
ซึ่งเป็นสติปัฎฐานในหมวดจิต และท่านไม่ใช่ให้รู้แค่นั้นครับ
ท่านยังให้ทำจิตให้ปราโมทย์ ตั้งมั่น กระทั่งปล่อยวางจิตด้วย
ทั้งทำจิตให้ปราโมทย์ ตั้งมั่น นั่นก้อคือการละนิวรณ์แล้วบรรลุในสัมมาสมาธิ กระทั่งปล่อยวางจิตคืออุเบกขาซึ่งเป็นองค์ธรรมในจตุตถฌาน
แล้วจึงมาพิจารณาในหมวดธรรม ธรรมที่ท่านให้ยกมาพิจารณาได้แก่
นิวรณ์ ขันธ์ห้า อายตนะ โพชฌงค์ และอริยะสัจสี่ไปตามลำดับ
โปรดสังเกตุว่า ท่านให้พิจารณานิวรณ์ด้วยจิตอันตั้งมั่นปราศจากนิวรณ์ อันมีเหตุมาจากการเจริญสติปัฎฐานมาตามลำดับก่อนแล้ว
มิใช่ไปตามระลึกรู้นิวรณ์โดยไม่ละตั้งแต่แรก
และธรรมหมวดสุดท้ายที่ท่านให้นำมาพิจารณานั่นคืออริยะสัจสี่ ซึ่งเป็นสัมมาทิฎฐิในขั้นโลกุตระอันเป็นปัญญาในอริยะมรรค
นั่นคือสติอันเป็นสัมมาตามที่ท่านแสดง ที่ท่านให้เพียรเจริญ และให้เพียรเจริญยิ่งขึ้นในสัมมาวายามะ
นอกจากนี้ ท่านยังให้เพียรละสิ่งอันเป็นอกุศล สมุทัย หรือโลภ โกรธ หลง
เมื่อมีโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น นั่นย่อมมีอวิชชาแล้ว ( และทั้งโลภและโกรธ นั่นย่อมมีเหตุมาจากหลง )
การไปตามระลึกรู้โลภ โกรธ โดยไม่ละด้วยสัมมาวายามะนั่นเป็นความหลง ไม่ใช่สติอันเป็นสัมมาที่พระพุทธองค์ทรงให้เจริญ
แต่เป็นมิจฉาสติ ที่ท่านให้เพียรละด้วยสัมมาวายามะ
เช่น ผู้ที่กำลังกระทำการโจรกรรม นั่นย่อมต้องรู้ตัวว่าตนกำลังกระทำการโจรกรรมอยู่ ไม่ใช่ไม่รู้ หรือมากระทำโจรกรรมในขณะละเมอ
แล้วการรู้เช่นนั้น จะเป็นสติอันเป็นสัมมาได้อย่างไร
การไปตามระลึกรู้ นิวรณ์ โดยไม่ละ นั่นจึงไม่ใช่สติที่ท่านให้เจริญ แต่เป็นสติที่ท่านให้ละครับ
ควรแยกให้ออกระหว่างสติที่ท่านให้ละหรือมิจฉาสติ และสติที่ท่านให้เจริญหรือสัมมาสติ
มิใช่ไม่จำแนกแยกแยะ อะไรๆก้อแค่รู้พอจบ
ปล และสัมมาสติจะเป็นไปโดยง่าย นั่นก้อย่อมมีเหตุมาจากการรักษาศีลนะครับ
มิใช่วันๆคิด พูด ทำแต่สิ่งที่เป็นอกุศลแล้วยังไม่เพียรละอีก แล้วจู่ๆอยากจะให้มีสติเกิดขึ้นเองโดยไม่ยอมสร้างเหตุแห่งสติ
หรือท่านใด มีความเห็นต่าง หรือเพิ่มเติม ก้อมาร่วมแลกเปลื่อนทางธรรมในประเด็นนี้ เพื่อความกระจ่าง (เสียที ) ในธรรม
ก้อยินดีนะครับ โดยเฉพาะท่านที่แสดงตนว่า มาจากสายดูจิต
อีกประเด็นคือ อะไรๆก้ออ้างความเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้แบบผิดๆ ไว้มีโอกาสคงได้ร่วมกันแลกเปลื่อนเพื่อความกระจ่างในธรรมอีกประเด็นนะครับ
อะไรๆก้อแค่รู้พอจบ นั่นคือสติจริงหรือ ?
แค่รู้ความโลภ โกรธ หลง ขณะรู้นั่นคือมีสติแล้วความโลภ โกรธ หลง จะดับไปเองในขณะรู้
ในอริยะมรรค สติที่เป็นสัมมาที่พระพุทธองค์ทรงให้เจริญ
นั่นคือสติปัฎฐานสี่ คือการระลึกรู้ในกาย เวทนา จิตและธรรม
โดยเริ่มที่กายทั้งการตามระลึกรู้ลมหายใจ อริยะบทน้อยใหญ่ ฯลฯ
เพื่อละนิวรณ์ในเบื้องต้น และบรรลุฌานในระดับต่างๆอันเป็นสติปัฎฐานในหมวดเวทนา
เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้วในหมวดเวทนา ท่านจึงให้ตามระลึกรู้ต่อไปว่า
ขณะนั้นเจตสิก หรือสิ่งที่ปรุงแต่งจิตเป็นอย่างไร มี ไม่มีราคะ โทสะ ฟุ้งซ่าน จิตตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่น มีจิตอื่นที่จริงกว่าหรือไม่ ฯลฯ
ซึ่งเป็นสติปัฎฐานในหมวดจิต และท่านไม่ใช่ให้รู้แค่นั้นครับ
ท่านยังให้ทำจิตให้ปราโมทย์ ตั้งมั่น กระทั่งปล่อยวางจิตด้วย
ทั้งทำจิตให้ปราโมทย์ ตั้งมั่น นั่นก้อคือการละนิวรณ์แล้วบรรลุในสัมมาสมาธิ กระทั่งปล่อยวางจิตคืออุเบกขาซึ่งเป็นองค์ธรรมในจตุตถฌาน
แล้วจึงมาพิจารณาในหมวดธรรม ธรรมที่ท่านให้ยกมาพิจารณาได้แก่
นิวรณ์ ขันธ์ห้า อายตนะ โพชฌงค์ และอริยะสัจสี่ไปตามลำดับ
โปรดสังเกตุว่า ท่านให้พิจารณานิวรณ์ด้วยจิตอันตั้งมั่นปราศจากนิวรณ์ อันมีเหตุมาจากการเจริญสติปัฎฐานมาตามลำดับก่อนแล้ว
มิใช่ไปตามระลึกรู้นิวรณ์โดยไม่ละตั้งแต่แรก
และธรรมหมวดสุดท้ายที่ท่านให้นำมาพิจารณานั่นคืออริยะสัจสี่ ซึ่งเป็นสัมมาทิฎฐิในขั้นโลกุตระอันเป็นปัญญาในอริยะมรรค
นั่นคือสติอันเป็นสัมมาตามที่ท่านแสดง ที่ท่านให้เพียรเจริญ และให้เพียรเจริญยิ่งขึ้นในสัมมาวายามะ
นอกจากนี้ ท่านยังให้เพียรละสิ่งอันเป็นอกุศล สมุทัย หรือโลภ โกรธ หลง
เมื่อมีโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้น นั่นย่อมมีอวิชชาแล้ว ( และทั้งโลภและโกรธ นั่นย่อมมีเหตุมาจากหลง )
การไปตามระลึกรู้โลภ โกรธ โดยไม่ละด้วยสัมมาวายามะนั่นเป็นความหลง ไม่ใช่สติอันเป็นสัมมาที่พระพุทธองค์ทรงให้เจริญ
แต่เป็นมิจฉาสติ ที่ท่านให้เพียรละด้วยสัมมาวายามะ
เช่น ผู้ที่กำลังกระทำการโจรกรรม นั่นย่อมต้องรู้ตัวว่าตนกำลังกระทำการโจรกรรมอยู่ ไม่ใช่ไม่รู้ หรือมากระทำโจรกรรมในขณะละเมอ
แล้วการรู้เช่นนั้น จะเป็นสติอันเป็นสัมมาได้อย่างไร
การไปตามระลึกรู้ นิวรณ์ โดยไม่ละ นั่นจึงไม่ใช่สติที่ท่านให้เจริญ แต่เป็นสติที่ท่านให้ละครับ
ควรแยกให้ออกระหว่างสติที่ท่านให้ละหรือมิจฉาสติ และสติที่ท่านให้เจริญหรือสัมมาสติ
มิใช่ไม่จำแนกแยกแยะ อะไรๆก้อแค่รู้พอจบ
ปล และสัมมาสติจะเป็นไปโดยง่าย นั่นก้อย่อมมีเหตุมาจากการรักษาศีลนะครับ
มิใช่วันๆคิด พูด ทำแต่สิ่งที่เป็นอกุศลแล้วยังไม่เพียรละอีก แล้วจู่ๆอยากจะให้มีสติเกิดขึ้นเองโดยไม่ยอมสร้างเหตุแห่งสติ
หรือท่านใด มีความเห็นต่าง หรือเพิ่มเติม ก้อมาร่วมแลกเปลื่อนทางธรรมในประเด็นนี้ เพื่อความกระจ่าง (เสียที ) ในธรรม
ก้อยินดีนะครับ โดยเฉพาะท่านที่แสดงตนว่า มาจากสายดูจิต
อีกประเด็นคือ อะไรๆก้ออ้างความเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้แบบผิดๆ ไว้มีโอกาสคงได้ร่วมกันแลกเปลื่อนเพื่อความกระจ่างในธรรมอีกประเด็นนะครับ