สติปัฎฐาน๔หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก กับ "สัมมาสติในมรรค๘"

[สัมมาสติในมรรค๘]
ภิกษุ ท. ! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็น
อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้
พิจารณาเห็นกายในกาย(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม)อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่อง
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้

[ในมหาสติปัฎฐานสูตร]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกาย(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม)อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ {เหมือนในสัมมาสติในมรรค๘}
   {ส่วนที่มีมากกว่าสัมมาสติในมรรค๘คือข้อความต่อไปนี้} >>>>>>> [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร..........
............................................. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม
ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก


  ☆☆☆   ในมหาสติปัฎฐานสูตรที่ยกมาแสดงนั้นจะมีข้อความที่ขีดเส้นใต้ไว้เพิ่มเติมขึ้นมา
จากสัมมาสติในมรรค๘
ถ้าพิจารณาดีๆแล้วจะเห็นว่าเป็นส่วนของปัญญาเห็นการเกิดดับของกาย
ซึ่งไม่มีในสัมมาสติในมรรค๘
สัมมาสติในมรรค๘จะแสดงส่วนหนึ่งเท่านั้นจากมหาสติปัฎฐานสูตร
และมีลักษณะเป็น "สมาธิขันธ์" เพื่อการปฎิบัติมุ่งไปสู่สัมมาสมาธิในมรรคข้อสุดท้าย
ไม่มุ่งการเจริญปัญญาเพราะมีในมรรคองค์อื่นๆแล้ว
แต่สติปัฎฐาน๔นั้นจะเป็นทั้ง "สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์" ครับ ☆☆☆

[เครดิตจาก  เภสัชกรสุรพล ไกรสราวุฒิ. สติปัฏฐาน  4   ฉบับวิเคราะห์-สังเคราะห์.- -  กรุงเทพฯ           : ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554].
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่