......ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา. ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง,
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,....
.........เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ,........
.........จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่,............
.........ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ,
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
อุทเทโส จบอุทเทส.
***อาตาปี*** มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน
บางสำนวนว่า มีความเพียรเผากิเลส
อาตาปี>อาตาปะ>ตปะ>ตบะ>ทำให้ร้อน>การบำเพ็ญเพียรเพื่อเผาหรือชำระล้างกิเลส
คำว่า ตบะ นี้มีมาตั้งแต่ศาสนาพราหมณ์แล้ว ก่อนศาสนาพุทธจะเกิด
ผู้บำเพ็ญตบะจะเรียกว่า ดาบส
โดยทั่วไปจะทำการทรมานตนเพื่อล้างกิเลสหรือขอพรจากเทพเจ้า
หรือเช่นในเรื่อง รามเกียรติ์ จะเห็นการบรรยายถึงการบำเพ็ญตบะเพื่อขอพรจากเทพเจ้าเพื่อฤทธิ์อำนาจต่างๆ
การบำเพ็ญตบะนั้นของทางพราหมณ์ ส่วนมากจะเป็นการทำสมาธิหรือการทรมานตน
โดยมีหลักว่าอาศัย ศรัทธาในเทพเจ้า ใช้ความเพียรอย่างสูง ทำอย่างต่อเนื่องค้วยความอดทนอย่างยิ่งยวด
เมี่อพระพุทธองค์ทรงเลือกใช้คำนี้เป็นข้อกำหนดของการเริ่มปฎิบัติสติปัฎฐาน๔
ก็คงจะยึดถือวิธีการตามความหมายของคำศัพย์เดิมที่ใช้กันมาก่อนตามคำว่า "ตบะ"
คือ มีศรัทธา มีความเพียรอย่างมากเพื่อจะได้ทำต่อเนื่องอย่างอดทน
แต่พระพุทธองค์ทรงปฎิเสธการทรมานตนเอง
ฉนั้นในการทำก็ต้องอาศัยทางสายกลางเป็นหลักด้วย
สรุปแล้ว อาตาปี "คือการมีความเพียรที่จะเผากิเลสโดยอดทนทำอย่างต่อเนื่องด้วยศรัทธาและต้องไม่เป็นอัตตกิลมถานุโยค"
นี่เป็นหัวใจของสติปัฎฐาน๔ที่จะทำให้บรรลุธรรมได้ในเวลา7ปี
นี่คือ ศรัทธาและวิริยะ ในพละ๕
นี่คือ ฉันทะและวิริยะ ในอิทธิบาท๔
นี่คือ สัมมาวายามะ ในมรรค๘ ครับ
ปล. โปรดใช้วิจารณญาณในการรับรู้ เพราะนี้เป็นการวิเคราะห์ของ จขกท เองครับ
สติปัฎฐาน๔หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก กับ "อาตาปี"
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,....
.........เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ,........
.........จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่,............
.........ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ,
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
อุทเทโส จบอุทเทส.
***อาตาปี*** มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน
บางสำนวนว่า มีความเพียรเผากิเลส
อาตาปี>อาตาปะ>ตปะ>ตบะ>ทำให้ร้อน>การบำเพ็ญเพียรเพื่อเผาหรือชำระล้างกิเลส
คำว่า ตบะ นี้มีมาตั้งแต่ศาสนาพราหมณ์แล้ว ก่อนศาสนาพุทธจะเกิด
ผู้บำเพ็ญตบะจะเรียกว่า ดาบส
โดยทั่วไปจะทำการทรมานตนเพื่อล้างกิเลสหรือขอพรจากเทพเจ้า
หรือเช่นในเรื่อง รามเกียรติ์ จะเห็นการบรรยายถึงการบำเพ็ญตบะเพื่อขอพรจากเทพเจ้าเพื่อฤทธิ์อำนาจต่างๆ
การบำเพ็ญตบะนั้นของทางพราหมณ์ ส่วนมากจะเป็นการทำสมาธิหรือการทรมานตน
โดยมีหลักว่าอาศัย ศรัทธาในเทพเจ้า ใช้ความเพียรอย่างสูง ทำอย่างต่อเนื่องค้วยความอดทนอย่างยิ่งยวด
เมี่อพระพุทธองค์ทรงเลือกใช้คำนี้เป็นข้อกำหนดของการเริ่มปฎิบัติสติปัฎฐาน๔
ก็คงจะยึดถือวิธีการตามความหมายของคำศัพย์เดิมที่ใช้กันมาก่อนตามคำว่า "ตบะ"
คือ มีศรัทธา มีความเพียรอย่างมากเพื่อจะได้ทำต่อเนื่องอย่างอดทน
แต่พระพุทธองค์ทรงปฎิเสธการทรมานตนเอง
ฉนั้นในการทำก็ต้องอาศัยทางสายกลางเป็นหลักด้วย
สรุปแล้ว อาตาปี "คือการมีความเพียรที่จะเผากิเลสโดยอดทนทำอย่างต่อเนื่องด้วยศรัทธาและต้องไม่เป็นอัตตกิลมถานุโยค"
นี่เป็นหัวใจของสติปัฎฐาน๔ที่จะทำให้บรรลุธรรมได้ในเวลา7ปี
นี่คือ ศรัทธาและวิริยะ ในพละ๕
นี่คือ ฉันทะและวิริยะ ในอิทธิบาท๔
นี่คือ สัมมาวายามะ ในมรรค๘ ครับ
ปล. โปรดใช้วิจารณญาณในการรับรู้ เพราะนี้เป็นการวิเคราะห์ของ จขกท เองครับ