......ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา. ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง,
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,....
.........เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ,........
.........จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่,............
.........ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่,
อาตาปี
สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน
มีสัมปชัญญะ มีสติ,
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
อุทเทโส จบอุทเทส.
สัมปชัญญะ หมายถึงความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ เป็นธรรมที่เอื้อกับสติ ที่อยู่ 4 ลักษณะ
1)สาตกสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด พิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด สิ่งใดๆ ที่เหมาะสมกับเวลา สถานที่ ว่าพึงทำ พึงพูด เช่นไร (อนาคต)
2)โคจรสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนดรู้ในปัจจุบัน ในการกระทำใดๆ ว่าทำสิ่งใดอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหวเช่นไร (ปัจจุบัน) ในมหาสติปัฏฐาน กายานุปัสสนา นั้น หมายถึงโคจรสัมปชัญญะนี้
3)สัมปายสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่อาการจิตที่ไม่มีทุกขเวทนามาก จนขันธ์ทำงานได้ปกติดี เช่นคนมีทุกข์มากย่อมขาดสติได้ ผู้ที่ทุกข์น้อยก็อาจคุมสติได้ดีกว่า
4)สัมโมหสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด รู้สิ่งที่ผ่านมา เคยทำ คำสอนในอดีตที่พึงใช้ รู้ว่าเราเป็นใครมีหน้าที่อะไร สิ่งที่เคยพูดให้สัญญาเอาไว้เช่นรู้ตัวว่าเราเป็นพระพึงรักษาวินัย รู้ตัวว่าละครที่ดูเป็นเพียงการแสดง เราเป็นเพียงคนดูหนังอยู่ คนเราต้องแก่เป็นธรรมดา เท่านั้น (อดีต)
****** สัมปชัญญะเมื่อใช้กับการเจริญสติ ******
1. สาตถสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นประโยชน์หรือไม่ ? เห็นไตรลักษณ์ได้หรือไม่ ? สาตถสัมปชัญญะคือปัญญาที่รู้ถึงประโยชน์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ว่าเป็นวิธีการฝึกจิตเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายคือ พระนิพพาน แล้วจากนั้นเริ่มลงเจริญสติปัฏฐาน หรือเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เป็นหนทางเดียว ในการพ้นจากทุกขอริยสัจ และเข้าถึงความสุขสูงสุดของพระพุทธศาสนา
2. โคจรสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้ปรากฏในปัจจุบัน เกิดขึ้นเอง หรือได้นึกคิดปรุงแต่งสร้างขึ้น เห็นปัจจุบันหรือไม่ ? การกำหนดเจริญสติตามการรับรู้หรืออารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นได้ทันปัจจุบันจากอารมณ์หนึ่ง ไปอีกอารมณ์หนึ่ง ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่เจริญกัมมัฏฐาน ในอิริยาบถย่อย เดินจงกรม และนั่งสมาธิ โดยไม่ได้เกิดความคิดปรุงแต่ง หรือพิจารณาด้วยความคิด
3. สัปปายะสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นที่สบายแก่จิตแก่จริตหรือไม่ ? เป็นการพยายามควบคุมการกำหนดสติ จดจ่อเกินไปเคร่งเครียด หรือปล่อยรู้สบายตามธรรมชาติ สัปปายะสัมปชัญญะเป็นเพียงการมีสติระลึกรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยไม่เพ่ง จี้ บังคับ กด อารมณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงแต่เจริญสติกำหนดได้ต่อเนื่องเท่าทันตามจิต ที่ไปรับอารมณ์อย่างเป็นธรรมชาติ
4. อสัมโมหะสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นสมมติบัญญัติ หรือเป็นปรมัตถ์ เห็นรูปนามหรือไม่ ? อสัมโมหะสัมปชัญญะเป็นปัญญาที่เจริญสติระลึกรู้ได้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่เผลอ มึน นิ่ง หรือคิดฟุ้งซ่าน ด้วยอารมณ์โมหะ เพียงเจริญสติให้ทันปัจจุบันขณะ
(เครดิตจาก วิกิพีเดีย ขอขอบคุณครับ)
☆☆☆"โคจรสัมปชัญญะ" เป็นสัมปชัญญะที่สำคัญที่สุดในสติปัฎฐาน๔ครับ☆☆☆
สติปัฎฐาน๔หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก กับ สัมปะชาโน
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,....
.........เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ,........
.........จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่,............
.........ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ,
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
อุทเทโส จบอุทเทส.
สัมปชัญญะ หมายถึงความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ เป็นธรรมที่เอื้อกับสติ ที่อยู่ 4 ลักษณะ
1)สาตกสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด พิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด สิ่งใดๆ ที่เหมาะสมกับเวลา สถานที่ ว่าพึงทำ พึงพูด เช่นไร (อนาคต)
2)โคจรสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนดรู้ในปัจจุบัน ในการกระทำใดๆ ว่าทำสิ่งใดอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหวเช่นไร (ปัจจุบัน) ในมหาสติปัฏฐาน กายานุปัสสนา นั้น หมายถึงโคจรสัมปชัญญะนี้
3)สัมปายสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่อาการจิตที่ไม่มีทุกขเวทนามาก จนขันธ์ทำงานได้ปกติดี เช่นคนมีทุกข์มากย่อมขาดสติได้ ผู้ที่ทุกข์น้อยก็อาจคุมสติได้ดีกว่า
4)สัมโมหสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด รู้สิ่งที่ผ่านมา เคยทำ คำสอนในอดีตที่พึงใช้ รู้ว่าเราเป็นใครมีหน้าที่อะไร สิ่งที่เคยพูดให้สัญญาเอาไว้เช่นรู้ตัวว่าเราเป็นพระพึงรักษาวินัย รู้ตัวว่าละครที่ดูเป็นเพียงการแสดง เราเป็นเพียงคนดูหนังอยู่ คนเราต้องแก่เป็นธรรมดา เท่านั้น (อดีต)
****** สัมปชัญญะเมื่อใช้กับการเจริญสติ ******
1. สาตถสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นประโยชน์หรือไม่ ? เห็นไตรลักษณ์ได้หรือไม่ ? สาตถสัมปชัญญะคือปัญญาที่รู้ถึงประโยชน์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ว่าเป็นวิธีการฝึกจิตเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายคือ พระนิพพาน แล้วจากนั้นเริ่มลงเจริญสติปัฏฐาน หรือเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เป็นหนทางเดียว ในการพ้นจากทุกขอริยสัจ และเข้าถึงความสุขสูงสุดของพระพุทธศาสนา
2. โคจรสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้ปรากฏในปัจจุบัน เกิดขึ้นเอง หรือได้นึกคิดปรุงแต่งสร้างขึ้น เห็นปัจจุบันหรือไม่ ? การกำหนดเจริญสติตามการรับรู้หรืออารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นได้ทันปัจจุบันจากอารมณ์หนึ่ง ไปอีกอารมณ์หนึ่ง ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่เจริญกัมมัฏฐาน ในอิริยาบถย่อย เดินจงกรม และนั่งสมาธิ โดยไม่ได้เกิดความคิดปรุงแต่ง หรือพิจารณาด้วยความคิด
3. สัปปายะสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นที่สบายแก่จิตแก่จริตหรือไม่ ? เป็นการพยายามควบคุมการกำหนดสติ จดจ่อเกินไปเคร่งเครียด หรือปล่อยรู้สบายตามธรรมชาติ สัปปายะสัมปชัญญะเป็นเพียงการมีสติระลึกรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยไม่เพ่ง จี้ บังคับ กด อารมณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงแต่เจริญสติกำหนดได้ต่อเนื่องเท่าทันตามจิต ที่ไปรับอารมณ์อย่างเป็นธรรมชาติ
4. อสัมโมหะสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นสมมติบัญญัติ หรือเป็นปรมัตถ์ เห็นรูปนามหรือไม่ ? อสัมโมหะสัมปชัญญะเป็นปัญญาที่เจริญสติระลึกรู้ได้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่เผลอ มึน นิ่ง หรือคิดฟุ้งซ่าน ด้วยอารมณ์โมหะ เพียงเจริญสติให้ทันปัจจุบันขณะ
(เครดิตจาก วิกิพีเดีย ขอขอบคุณครับ)
☆☆☆"โคจรสัมปชัญญะ" เป็นสัมปชัญญะที่สำคัญที่สุดในสติปัฎฐาน๔ครับ☆☆☆