......ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา. ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง,
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,....
.........เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ,........
.........จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่,............
.........ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน
สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ
มีสติ,
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
อุทเทโส จบอุทเทส.
สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ
ใน สติปัฎฐาน๔นั้นจะเริ่มตั้งแต่ตัวสตินั้นเป็นสติแบบธรรมดาในชีวิตประจำวันทั่วไปจนสุดท้ายกลายเป็น"มหาสติ"
สติจะแบ่งได้เป็น3อย่างคือ 1)สติรู้ตามจิต 2)สติรู้ทันจิต 3)สติรู้เท่าจิต
จาก เทสรังสีอนุสรณาลัย เรื่อง "สิ้นโลก เหลือธรรม (นัยที่สอง)"
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (หน้า ๙๓) ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง สติ ไว้ดังนี้
"จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ที่รวมเรียกว่ากิเลสอันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต ให้รู้เท่าทันจิต ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ คำว่า " รู้เท่า " คือ สติรู้จิตอยู่ ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่าๆกันนั่นเอง คำว่า " รู้ทัน " คือ สติทันจิตว่าคิดอะไร พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า " รู้ทัน " แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้นี้เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่าไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้ว พอจิตคิดนึก สติจะรู้ทันที ไม่ก่อนไม่หลัง ความคิดของจิตก็จะสงบทันที............"
และ......
"มหาสติปัฏฐาน" นั้นจะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น "มหาสติ" แท้ทีเดียว
หรือดูคำอธิบายที่เข้าใจง่ายๆต่อไปนี้ครับ
สติ 3 ระดับ (คุณมีสติระดับไหน)
พศิน อินทรวงค์
สติมีด้วยกัน 3 ระดับ
1. สติระดับควบคุมความคิด (รู้ตาม)
สติระดับนี้เป็นสติขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ต้องใช้เพื่อดำรงชีวิตประจำวัน เป็นสติที่มีอยู่แล้วในสัตว์โลกตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป เป็นสติที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงาน ความสัมพันธ์ และการแสดงออกให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เช่น นึกว่า "ขณะนี้เรากำลังทำงานอยู่ ก็ต้องตั้งใจทำงาน" หรือนึกว่า "เราไม่ควรไปโกรธเขาเลย ให้อภัยเขาจะดีกว่า จะได้ไม่มีเรื่องติดใจต่อกัน" การฉุกคิดในลักษณะนี้ ล้วนเกิดจากการใช้สติในการควบคุมความคิดทั้งสิ้น สติระดับที่หนึ่งเป็นสติที่ทำให้เรากลายเป็นผู้มองโลกในแง่ดี ถ้าใช้สติระดับที่หนึ่งบ่อยๆ ชีวิตในโลกภายนอกก็จะพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ
2. สติระดับเห็นความคิด (รู้ทัน)
สติระดับนี้เป็นสติที่พระพุทธเจ้าทรงคิดขึ้นมาเป็นคนแรก เป็นการกำหนดสมาธิ วางใจให้เป็นกลาง แล้วจึงใช้สติดึงจิตให้หลุดจากความคิดมาเป็นผู้สังเกต การฝึกสติเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้กลายเป็นผู้เท่าทันความคิด สามารถเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของความคิด ทำให้อยู่เหนืออารมณ์ของตนเองได้ ความทุกข์ต่างๆ จะน้อยลง ความสุขจะเพิ่มขึ้น อัตตาตัวตนจะทุเลาเบา ถ้าฝึกสติในระดับนี้เป็นประจำ สติในระดับแรกก็จะเกิดง่ายขึ้น สติระดับที่สองนี้ ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการฝึกจิตอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่การฝึกวิปัสสนากรรมฐานเป็นต้น
3. สติระดับเหนือความคิด (มหาสติมหาปัญญา) (รู้เท่า)
สติระดับที่สามนี้ เป็นสติที่ก่อให้เกิดปัญญาทะลุโลก เป็นสติที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนสติในระดับที่สองจนเกิดความชำนาญ สติระดับมหาสติมหาปัญญานี้ ไม่จำเป็นต้องใช้การฉุกคิด เพราะเป็นสติที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานเหมือนสายน้ำไหล ไม่มีวันหยุด ไม่มีวันลืม ไม่มีวันเผลอ ไม่มีคำว่าขาดช่วงขาดตอน กล่าวคือเป็นสติที่มีความเร็ว จนสามารถเห็นว่าความคิดและความรู้สึกมีกระบวนการทำงานอย่างไร ทำให้กลายเป็นผู้หมดสิ้นความชั่ว หมดสิ้นในอัตตาตัวตน เป็นผู้พ้นไปจากอำนาจของมายาสมมุติ และสามารถควบคุมสติในสองระดับแรกได้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม พูดง่ายๆ ว่า เป็นภาวะที่บุคคลผู้นั้นเข้าถึงภาวะบรมสุข ไม่สามารถมีความทุกข์ได้อีกต่อไป สติระดับที่สามนี้ เป็นสติที่ทำให้มนุษย์พ้นสภาพจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนโดยสมบูรณ์!!!
(เครดิตจากสมาชิกที่ใช้นามแฝงว่า"เกียดเกียด" ขอขอบคุณครับ)
"พหุปการธรรม" คือธรรมที่มีอุปการะมาก ๒ ประการ
๑.สติ ความระลึกได้ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
☆☆☆☆☆สติที่ฝึกจนเป็น"มหาสติ" นั้นเป็นหัวใจของการปฏิบัติ สติปัฎฐาน๔ ครับ☆☆☆☆☆
สติปัฎฐาน๔หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก กับ "สะติมา"
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,....
.........เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ,........
.........จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่,............
.........ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ,
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
อุทเทโส จบอุทเทส.
สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ
ใน สติปัฎฐาน๔นั้นจะเริ่มตั้งแต่ตัวสตินั้นเป็นสติแบบธรรมดาในชีวิตประจำวันทั่วไปจนสุดท้ายกลายเป็น"มหาสติ"
สติจะแบ่งได้เป็น3อย่างคือ 1)สติรู้ตามจิต 2)สติรู้ทันจิต 3)สติรู้เท่าจิต
จาก เทสรังสีอนุสรณาลัย เรื่อง "สิ้นโลก เหลือธรรม (นัยที่สอง)"
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (หน้า ๙๓) ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง สติ ไว้ดังนี้
"จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ที่รวมเรียกว่ากิเลสอันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต ให้รู้เท่าทันจิต ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ คำว่า " รู้เท่า " คือ สติรู้จิตอยู่ ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่าๆกันนั่นเอง คำว่า " รู้ทัน " คือ สติทันจิตว่าคิดอะไร พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า " รู้ทัน " แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้นี้เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่าไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้ว พอจิตคิดนึก สติจะรู้ทันที ไม่ก่อนไม่หลัง ความคิดของจิตก็จะสงบทันที............"
และ......
"มหาสติปัฏฐาน" นั้นจะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น "มหาสติ" แท้ทีเดียว
หรือดูคำอธิบายที่เข้าใจง่ายๆต่อไปนี้ครับ
สติ 3 ระดับ (คุณมีสติระดับไหน)
พศิน อินทรวงค์
สติมีด้วยกัน 3 ระดับ
1. สติระดับควบคุมความคิด (รู้ตาม)
สติระดับนี้เป็นสติขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ต้องใช้เพื่อดำรงชีวิตประจำวัน เป็นสติที่มีอยู่แล้วในสัตว์โลกตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป เป็นสติที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงาน ความสัมพันธ์ และการแสดงออกให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เช่น นึกว่า "ขณะนี้เรากำลังทำงานอยู่ ก็ต้องตั้งใจทำงาน" หรือนึกว่า "เราไม่ควรไปโกรธเขาเลย ให้อภัยเขาจะดีกว่า จะได้ไม่มีเรื่องติดใจต่อกัน" การฉุกคิดในลักษณะนี้ ล้วนเกิดจากการใช้สติในการควบคุมความคิดทั้งสิ้น สติระดับที่หนึ่งเป็นสติที่ทำให้เรากลายเป็นผู้มองโลกในแง่ดี ถ้าใช้สติระดับที่หนึ่งบ่อยๆ ชีวิตในโลกภายนอกก็จะพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ
2. สติระดับเห็นความคิด (รู้ทัน)
สติระดับนี้เป็นสติที่พระพุทธเจ้าทรงคิดขึ้นมาเป็นคนแรก เป็นการกำหนดสมาธิ วางใจให้เป็นกลาง แล้วจึงใช้สติดึงจิตให้หลุดจากความคิดมาเป็นผู้สังเกต การฝึกสติเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้กลายเป็นผู้เท่าทันความคิด สามารถเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของความคิด ทำให้อยู่เหนืออารมณ์ของตนเองได้ ความทุกข์ต่างๆ จะน้อยลง ความสุขจะเพิ่มขึ้น อัตตาตัวตนจะทุเลาเบา ถ้าฝึกสติในระดับนี้เป็นประจำ สติในระดับแรกก็จะเกิดง่ายขึ้น สติระดับที่สองนี้ ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการฝึกจิตอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่การฝึกวิปัสสนากรรมฐานเป็นต้น
3. สติระดับเหนือความคิด (มหาสติมหาปัญญา) (รู้เท่า)
สติระดับที่สามนี้ เป็นสติที่ก่อให้เกิดปัญญาทะลุโลก เป็นสติที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนสติในระดับที่สองจนเกิดความชำนาญ สติระดับมหาสติมหาปัญญานี้ ไม่จำเป็นต้องใช้การฉุกคิด เพราะเป็นสติที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานเหมือนสายน้ำไหล ไม่มีวันหยุด ไม่มีวันลืม ไม่มีวันเผลอ ไม่มีคำว่าขาดช่วงขาดตอน กล่าวคือเป็นสติที่มีความเร็ว จนสามารถเห็นว่าความคิดและความรู้สึกมีกระบวนการทำงานอย่างไร ทำให้กลายเป็นผู้หมดสิ้นความชั่ว หมดสิ้นในอัตตาตัวตน เป็นผู้พ้นไปจากอำนาจของมายาสมมุติ และสามารถควบคุมสติในสองระดับแรกได้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม พูดง่ายๆ ว่า เป็นภาวะที่บุคคลผู้นั้นเข้าถึงภาวะบรมสุข ไม่สามารถมีความทุกข์ได้อีกต่อไป สติระดับที่สามนี้ เป็นสติที่ทำให้มนุษย์พ้นสภาพจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนโดยสมบูรณ์!!!
(เครดิตจากสมาชิกที่ใช้นามแฝงว่า"เกียดเกียด" ขอขอบคุณครับ)
"พหุปการธรรม" คือธรรมที่มีอุปการะมาก ๒ ประการ
๑.สติ ความระลึกได้ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
☆☆☆☆☆สติที่ฝึกจนเป็น"มหาสติ" นั้นเป็นหัวใจของการปฏิบัติ สติปัฎฐาน๔ ครับ☆☆☆☆☆