"... หนีจากสติไม่ได้เลย นี่ได้พิจารณาได้ทำมาแล้ว จึงได้นำมาสอนท่านทั้งหลายด้วยความแม่นยำ ไม่ผิดพลาดไปได้ สตินี้ตั้งให้ดี คำว่าตั้งสติ ไม่ใช่ว่าตั้งแล้วผิดๆ พลาดๆ เผลอๆ ใช้ไม่ได้อย่างงั้น ตั้งสติต้องเอาจริงเอาจัง ลงว่าได้ตั้งสติแล้ว สตินี้ละจะเป็นธรรมคุ้มครองจิตใจของเราให้เป็นความสงบเย็นใจลงไปได้เป็นลำดับลำดา ถ้าขาดสติเมื่อไร กิเลสตัณหาจะเข้าแทรกแซงและทำลาย กลายเป็นความฟุ้งซ่านรำคาญ ทำความพากเพียรก็ไม่ได้หลักได้ฐาน ได้กฎได้เกณฑ์อะไร ถ้าลงสติขาดจากความเพียรแล้ว ความเพียรไม่เป็นท่า
เดินถ้าขาดสติแล้วก็สักแต่ว่าเดิน นั่งถ้าขาดสติแล้วก็สักแต่ว่านั่งไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นการนั่ง ยืน เดิน นอน ด้วยความมีสตินี้เรียกว่าเป็นผู้มีความเพียรอยู่ตลอดเวลา ความเพียรอยู่ที่สติ ไม่อยู่ที่ไหนนะ ให้จับสติไว้ให้ดี ถ้าสติไม่เผลอจากใจเมื่อไรเป็นความเพียรอยู่ตลอดอิริยาบถ ไม่ว่ายืนว่าเดินว่านั่งว่านอน เว้นแต่ขณะหลับเท่านั้น สติมีอยู่ตลอดเวลา จะตั้งรากฐานของจิตให้เข้าสู่ความสงบเย็นใจได้เป็นลำดับลำดา จากนั้นจิตแน่นหนามั่นคงเข้าไปก็เป็นสมาธิ สมาธิคือความตั้งมั่นแน่นหนามั่นคง สมถะคือความสงบเย็นใจ จากนั้นไปก็เป็นสมาธิความแน่นหนามั่นคงของใจ จากความแน่นหนามั่นคงของใจแล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา
การถอดถอนกิเลสไม่ใช่ถอดถอนด้วยสมาธิความสงบใจเท่านั้น ถอดถอนด้วยปัญญา สมาธินี้เป็นธรรมอิ่มอารมณ์ สมาธิจิตสงบเย็นใจ ไม่หิวโหยในอารมณ์ทั้งหลาย เป็นจิตอิ่มอารมณ์ จิตอิ่มอารมณ์แล้วจะพาทำการทำงานคือคลี่คลายดูสกลกายทั้งข้างนอกข้างในด้วยปัญญาก็เป็นไปได้สะดวก จิตก็ทำงานให้ถ้ามีสติควบคุม นี่ละท่านว่าเมื่อจิตสงบแล้วให้ใช้ปัญญาพินิจพิจารณา..."
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
http://www.luangta.com/
ถ้าสติ ติดแนบอยู่กับความเพียร อยู่ที่ไหนคือความเพียรตลอด สติตั้งแต่สมถธรรมสงบใจ และใช้ตลอดสายเส้นทางการเดินปัญญา
เดินถ้าขาดสติแล้วก็สักแต่ว่าเดิน นั่งถ้าขาดสติแล้วก็สักแต่ว่านั่งไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นการนั่ง ยืน เดิน นอน ด้วยความมีสตินี้เรียกว่าเป็นผู้มีความเพียรอยู่ตลอดเวลา ความเพียรอยู่ที่สติ ไม่อยู่ที่ไหนนะ ให้จับสติไว้ให้ดี ถ้าสติไม่เผลอจากใจเมื่อไรเป็นความเพียรอยู่ตลอดอิริยาบถ ไม่ว่ายืนว่าเดินว่านั่งว่านอน เว้นแต่ขณะหลับเท่านั้น สติมีอยู่ตลอดเวลา จะตั้งรากฐานของจิตให้เข้าสู่ความสงบเย็นใจได้เป็นลำดับลำดา จากนั้นจิตแน่นหนามั่นคงเข้าไปก็เป็นสมาธิ สมาธิคือความตั้งมั่นแน่นหนามั่นคง สมถะคือความสงบเย็นใจ จากนั้นไปก็เป็นสมาธิความแน่นหนามั่นคงของใจ จากความแน่นหนามั่นคงของใจแล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา
การถอดถอนกิเลสไม่ใช่ถอดถอนด้วยสมาธิความสงบใจเท่านั้น ถอดถอนด้วยปัญญา สมาธินี้เป็นธรรมอิ่มอารมณ์ สมาธิจิตสงบเย็นใจ ไม่หิวโหยในอารมณ์ทั้งหลาย เป็นจิตอิ่มอารมณ์ จิตอิ่มอารมณ์แล้วจะพาทำการทำงานคือคลี่คลายดูสกลกายทั้งข้างนอกข้างในด้วยปัญญาก็เป็นไปได้สะดวก จิตก็ทำงานให้ถ้ามีสติควบคุม นี่ละท่านว่าเมื่อจิตสงบแล้วให้ใช้ปัญญาพินิจพิจารณา..."
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
http://www.luangta.com/