สติปัฏฐานปาฐะ

สติปัฏฐานะปาฐะ แปล

ข้อสังเกตุ: คำว่า "ร้องไห้มุขะ)ปาฐะ" แปลว่า การทรงจำพระคาถา/กถานั้น ๆ ด้วยการท่องบ่นให้ขึ้นใจ เพราะในสมัยก่อนยังไม่มี/ไม่นิยมการบันทึกคาถา/กถา เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะท่อน hook เพื่อการง่ายหรือเอื้อต่อการทรงจำ

หนทางสายนี้ ซึ่งเป็นทางไปสายเอก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งเห็นจริง 
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสไว้โดยชอบ เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความอัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มีอยู่แล หนทางสายนี้ ก็คือ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ มีอะไรบ้าง

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ 
เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย​อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้

เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำมีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ 

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็นประจำ มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้

ภิกษุย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยุ่เป็นประจำอย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกาย ทั้งกายในและภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือว่า ความระลึกว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่
เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แค่เพียงสักว่าเป็นทีอาศัยระลึกแค่เพียงสักวาเป็นที่รู้
เธอย่อมไม่ติดอยู่และย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นไรๆ ในโลก ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้แล

ก็ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนืองๆ อย่างไรเล่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหลาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปแห่งเวทนาบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปแห่งเวทนาบ้าง
ก็หรือความระลึกว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น
แค่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แค่เพียงสักว่าเป็นที่อาสัยระลึก
เธอย่อมไม่ติดอยู่และย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนืองๆ อย่างนี้ แล

ก็ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร
ภิกษุโนธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งเป็นภายใน ทั้งเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในจิตบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในจิตบ้าง ก็หรือว่า ความระลึกว่า มีจิตๆ ย่อมปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเธอนั่นเพียงแต่สักรู้ว่า เพียงแต่สักว่า เป็นที่อาศัยระลึก
เธอย่อมไม่ติดอยู่ และย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนืองๆ อย่างนี้แล

ก็ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนื่องๆ อยู่อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลายบ้าง ก็หรือว่า ความระลึกว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ ย่อมปรากฏอยู่ต่อหน้าเธอ เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่า เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น เธอย่อมไม่ติดอยู่ และย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นสิงไรๆ ในโลก
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่อย่างนี้แล

หนทางสายนี้แหละ เป็นหนทางสายเอก ซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้แจ้งเห็นจริง อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อความก้าวล่วงความเศร้าโศกและความคร่ำครวญพิไรรำพัน
เพื่อความอัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง                              
หนทางที่กล่าวถึงซึ่งเป็นหนทางสายเอกนี้ก็คือ สติปัฏฐาน ๔
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เล็งเห็นพระนิพพาน
ผู้ทรงอนุเคราะห์หมู่สัตว์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ย่อมทรงรู้แจ้งซึ่งหนทางสายเอก ในอดีต อนาคต
หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน สัตว์ทั้งหลายล้วนใช้หนทางสายเอกนั้นข้ามห้วงน้ำคือกิเลส
 
คำแปลนี้ ได้มาจาก https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=8278
ส่วนพระบาลีต้นฉบับ ดู สวดมนต์ฉบับหลวง โดย สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่