ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน--ตอนที่ 1: ตามพิจารณาธรรมในแบบนิวรณ์๕

กระทู้คำถาม
ที่มาเขียนเรื่อง " ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน "..นี้นะ  วัตถุประสงค์ที่จะแก้ความเห็นของหลายๆคนที่มักจะพูดเรื่อง
" สุตตมยปัญญา...และ...ภาวนามยปัญญา "  <---แล้วก็จะกล่าวออกมาคล้ายๆ-ไปทำนอง..รู้จำไม่รู้จริง..อะไรในทำนองนี้

- พวกที่เอาพระสูตรมาจำพระสูตรมา...แสดงมาอธิบายนะ... ยังไม่เท่าไร...แค่ได้จำ <---อันนี้..ผิดมหันต์..
- มันจะบรรลุธรรมได้หรือ...กับการที่มาตรึกมาพิจารณาพระสัทธรรมที่ได้เรียนรู้มา.. 
   (ต้องตรวจสอบตามหลักมหาปเทส๔..ด้วย)  ต้องเห็นด้วยตาใน..ในสมาธิ..แสงสว่าง...ซิ <---อันนี้ก็ไม่ใช่ซะที่เดียว

เอ้าฟัง...ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน:  ตามพิจารณาธรรมในแบบนิวรณ์๕  แล้วไปดูที่ผมสรุป


https://etipitaka.com/read/thai/10/216/
 ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒) 
[๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ 
ชื่อว่า กัมมา สทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า 

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า 
พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า 

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ 👈
เพื่อล่วงความโศกและ ปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส 
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน 

หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
.....
...
....

ผมแปลตามศัพท์.. อ่านแล้วส่วนมาจะไม่เข้าใจให้ไปอ่านขอฉบับหลวงได้ที่นี่เลยครับ👉https://etipitaka.com/read/thai/10/223/
หรืออ่านในนี้ก็ได้
👇
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


สรุป...
1. ผมจะสรุปการปฏิบัติ..ในการเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานจาก...ข้อความของพระสูตร..ดังนี้
    1.1 คือเราจะต้องมีความรู้ก่อน...จะต้องมีความรู้เหล่านี้
            - รู้จักนิวรณ์ทั้ง๕...ว่ามันคืออะไร..
            - มันก่อให้เกิด...สังโยชน์อะไร-อย่างไร
            - มันจะเกิดขึ้นมาได้ด้วยเหตุอันใด
            - มันจะดับไปได้อย่างไร
            - จะป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
            - จะต้องรู้จัก...ธรรมภายใน-ภายนอก..ว่าหมายถึงอะไร
               ☝
                จะรู้สิ่งเหล่านี้...ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ไม่ใช่ไปเห็นเองในสมาธิ... เห็นแล้วก็ไม่รู้ว่าอะไร... จะไปพิจารณาธรรมได้อย่างไร
       1.2 เมื่อมีความรู้แล้ว....ก็ให้สังเกตุเห็น...ธรรมที่ปรากฏในจิตของด้วเอง...  คำว่า " ธรรมทั้งหลาย " ...ก็คือ...เวทนา-สัญญา-สังขาร
             ประกอบไปด้วยนิวรณ์๕...หรือไม่.. ถ้ามีต้องรีบดับมัน.. การดับก็โดยการโยนิโสมนสิการที่ถูกต้อง...
       1.3  ตามพิจารณาข้อธรรมที่ตนได้ฟัง-ได้อ่าน-ได้เล่าเรียนมา...ตามหัวข้อในข้อ 1.1 
               พร้อมตามกำจักมันออกไป,.และป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น
        1.4 เมื่อเห็นนิวรณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้น.,,เห็นมันดับไป  <---การตามเห็นนี้คือ...เห็นการเกิดดัยของธรรม... <---เรียกว่า " ปัญญา "
        1.5 เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้... ก็จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด..ในธรรมทั้งหลาย.,เมื่อเบื่อหน่ายก็จะคลายกำหนัด...และหลุดพ้น

2. จะเห็นว่า..." การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน "...ไม่ต้องท่องคำภาวนาใดๆ 
    ไม่ต้องกำหนดลมและการเคลื่อนไหวใดๆ(นั่นมันกายคตาสติ)
    แต่มีสติในการพิจารณาในธรรมที่ปรากฏต่อใจ...อันเป็นนิวรณ์ทั้ง๕..นี้  พร้อมกับสุตตะที่ตนทรงจำไว้,..
    การทบทวบพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้...จะเป็นเหตุให้บรรลุธรรมได้เลย..ตามอาการของโพชฌงค์ 7  คือ...

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
   - พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
  - ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร 
   - แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร 
ก็แต่ว่า
ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ 👈..สติ+ธรรมวิจย+วิริย..สัมโพชฌงค์ 
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ 

เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์  👈..ปีติสัมโพชฌงค์ 
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ  👈..ปีติสัมโพชฌงค์ 
เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ 👈..ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข 
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น 👈..สม่ธิสัมโพชฌงค์  (ตามด้วย..อุเบกขาสัมโพชฌงค์)...ครบองค์ตรัสรูพอดี..พร้อมบรรลุธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ 👉 https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=461&Z=514

3. ให้ไปดูตอนท้ายของ..อานาปาณสติ..กายคตาสติ - เวทนานุปัสสนา - จิตตานุปัสสนา... ตอนท้ายจะกล่าวว่า
    จะต้องเห็น " ธรรม..ที่เกิดขึ้น..และเสื่อมไป "...ปัญญาจึงจะเกิดได้  ความเบื่อหลายคลายกำหนัดจึงจะเกิดขึ้นได้

    และ... จะเห็นได้...รู้ได้,..จะต้องรู้พระสัทธรรมที่ถูกต้อง " เท่านั้น "....ครับ
 
4. นี่คือ.,.พระสูตรที่..ไม่ให้นิวรณ์เกิดขึ้น..เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ทำให้ดับไป...ดูหลักการตามนี้เลย...ครับ
    แสดงไว้ที่....ความคิดเห็นที่ 24...ครับ👉👉https://ppantip.com/topic/41105554/comment24
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 24
4. นี่คือ.,.พระสูตรที่..ไม่ให้นิวรณ์เกิดขึ้น..เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ทำให้ดับไป...ดูหลักการตามนี้เลย...ครับ
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=42&Z=93

  [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนศุภนิมิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจศุภนิมิตโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

            
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนปฏิฆนิมิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

            
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ
ความเมาอาหาร และความที่จิตหดหู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตหดหู่ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

            
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่สงบแห่งใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อบุคคลมีจิตไม่สงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

            
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
เป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย

ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ

            
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
เป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อัน
บุคคลย่อมละได้ เหมือนอศุภนิมิต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอศุภนิมิตโดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วอันบุคคลย่อมละได้ ฯ

            
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
เป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคล
ย่อมละได้ เหมือนเมตตาเจโตวิมุติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจเมตตาเจโตวิมุติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

            
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคล
ย่อมละได้ เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อบุคคลปรารภความเพียรแล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

            
[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะ
ที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความสงบแห่งใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

            
[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ

จบวรรคที่ ๒
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่