หลายคนพอเห็นหัวข้อกระทู้ก็อาจจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งขึ้นมาทันทีนะครับ เพราะอริยสัจสี่ ซึ่งแปลว่า "ความจริงอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ" ดังนั้น ทุกข้อจึงมีความสำคัญเท่ากันหมด จะมาบอกว่าข้อใดข้อหนึ่งสำคัญกว่าไม่ได้
แล้วทำไมผมถึงบอกว่า "ทุกข์" สำคัญที่สุด?
ลองดูนะครับว่า อริยสัจสี่ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. ทุกข์
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. ความพ้นจากทุกข์
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากทุกข์
สังเกตนะครับ ในอริยสัจสี่ทุกข้อ จะมีคำว่า "ทุกข์" รวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น เปรียบเสมือน "ตัวแปรสำคัญ" ที่จะทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
หากเราให้ความหมายของคำว่าทุกข์ผิด ทุกอย่างก็จะผิดหมด และหากเราทำความเข้าใจคำว่าทุกข์ได้ถูกต้อง ทุกอย่างก็ถูกหมดเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราให้ความหมายคำว่าทุกข์คือ "การกลับมาเวียนว่ายตายเกิด" เราก็จะได้
1. การกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
3. ความพ้นจากการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
หรือบางคนอาจจะดัดแปลงหรือสรุปเอาเองว่าทุกข์คือ "กิเลส" ก็จะเป็น
1. กิเลส
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดกิเลส
3. ความพ้นจากกิเลส
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากกิเลส
หากเราให้ความหมายแบบนี้ เราจะสนใจหรือพุ่งเป้าไปที่ทำอย่างไรไม่ให้มีกิเลสอีก หรือทำอย่างไรที่จะไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ซึ่งบางทีอาจจะกลายเป็นไปดินแดนนิพพาน มีชีวิตเป็นอมตะ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เป็นต้น
แล้วคำว่า "ทุกข์" หมายถึงอะไร? พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
"...[๑๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็น
ทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์..."
พระพุทธเจ้าตรัสสรุปให้เราแล้วว่า ทุกข์ ก็คือ "อุปาทานขันธ์ 5" นั่นเอง ถ้าเราลองมาเขียนใหม่ก็จะเป็น
1. อุปาทานขันธ์ 5
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ 5
3. ความพ้นจากอุปาทานขันธ์ 5
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากอุปาทานขันธ์ 5
ดังนั้น สิ่งที่เราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มสนใจศึกษาธรรมะ ควรให้ความสำคัญ หรือจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างแรกเลย นั่นก็คือคำว่า "อุปาทาน" และคำว่า "ขันธ์ 5" ถือว่าเป็น 2 คำที่สำคัญที่สุด หากเราไม่เข้าใจ 2 คำนี้ ไม่มีทางที่จะเข้าใจอริยสัจสี่ หรือไม่มีทางที่จะปฏิบัติได้ถูกต้องเลย (เพราะไม่รู้ทั้งต้นเหตุ และไม่รู้ทั้งเป้าหมาย)
อย่างไรก็ตาม หากมีโอกาสจะมาพูดถึง 2 คำนี้ภายหลังนะครับ แต่แนะนำให้ศึกษาเองได้ทันที จากครูบาอาจารย์ หรือจากกูเกิ้ลนะครับ (แต่ก็ต้องเลือกให้ถูกต้องด้วย)
ทุกวันนี้ หากเราไปถามใครก็ตามว่า ช่วยอธิบายหน่อยว่าอริยสัจสี่คืออะไร น้อยคนที่จะอธิบายได้ ทั้งที่เราเป็นชาวพุทธ แต่ผมคิดว่าต่อไป เราจะมีความเข้าใจอริยสัจสี่กันมากยิ่งขึ้นครับ
ในอริยสัจสี่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "ทุกข์"
แล้วทำไมผมถึงบอกว่า "ทุกข์" สำคัญที่สุด?
ลองดูนะครับว่า อริยสัจสี่ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. ทุกข์
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. ความพ้นจากทุกข์
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากทุกข์
สังเกตนะครับ ในอริยสัจสี่ทุกข้อ จะมีคำว่า "ทุกข์" รวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น เปรียบเสมือน "ตัวแปรสำคัญ" ที่จะทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
หากเราให้ความหมายของคำว่าทุกข์ผิด ทุกอย่างก็จะผิดหมด และหากเราทำความเข้าใจคำว่าทุกข์ได้ถูกต้อง ทุกอย่างก็ถูกหมดเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราให้ความหมายคำว่าทุกข์คือ "การกลับมาเวียนว่ายตายเกิด" เราก็จะได้
1. การกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
3. ความพ้นจากการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด
หรือบางคนอาจจะดัดแปลงหรือสรุปเอาเองว่าทุกข์คือ "กิเลส" ก็จะเป็น
1. กิเลส
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดกิเลส
3. ความพ้นจากกิเลส
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากกิเลส
หากเราให้ความหมายแบบนี้ เราจะสนใจหรือพุ่งเป้าไปที่ทำอย่างไรไม่ให้มีกิเลสอีก หรือทำอย่างไรที่จะไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ซึ่งบางทีอาจจะกลายเป็นไปดินแดนนิพพาน มีชีวิตเป็นอมตะ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เป็นต้น
แล้วคำว่า "ทุกข์" หมายถึงอะไร? พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
"...[๑๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็น
ทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์..."
พระพุทธเจ้าตรัสสรุปให้เราแล้วว่า ทุกข์ ก็คือ "อุปาทานขันธ์ 5" นั่นเอง ถ้าเราลองมาเขียนใหม่ก็จะเป็น
1. อุปาทานขันธ์ 5
2. ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ 5
3. ความพ้นจากอุปาทานขันธ์ 5
4. วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพ้นจากอุปาทานขันธ์ 5
ดังนั้น สิ่งที่เราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มสนใจศึกษาธรรมะ ควรให้ความสำคัญ หรือจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างแรกเลย นั่นก็คือคำว่า "อุปาทาน" และคำว่า "ขันธ์ 5" ถือว่าเป็น 2 คำที่สำคัญที่สุด หากเราไม่เข้าใจ 2 คำนี้ ไม่มีทางที่จะเข้าใจอริยสัจสี่ หรือไม่มีทางที่จะปฏิบัติได้ถูกต้องเลย (เพราะไม่รู้ทั้งต้นเหตุ และไม่รู้ทั้งเป้าหมาย)
อย่างไรก็ตาม หากมีโอกาสจะมาพูดถึง 2 คำนี้ภายหลังนะครับ แต่แนะนำให้ศึกษาเองได้ทันที จากครูบาอาจารย์ หรือจากกูเกิ้ลนะครับ (แต่ก็ต้องเลือกให้ถูกต้องด้วย)
ทุกวันนี้ หากเราไปถามใครก็ตามว่า ช่วยอธิบายหน่อยว่าอริยสัจสี่คืออะไร น้อยคนที่จะอธิบายได้ ทั้งที่เราเป็นชาวพุทธ แต่ผมคิดว่าต่อไป เราจะมีความเข้าใจอริยสัจสี่กันมากยิ่งขึ้นครับ