โดยที่แท้แล้ว ไกวัลยธรรม ก็คือสิ่งเดียวกันกับ สิ่งที่เรียกว่า อสังขตะ หรือ นิพพาน หรือ สุญญตา นั่นเอง ฉะนั้น การรู้เรื่องนี้ การปฏิบัติเรื่องนี้ การเข้าถึงเรื่องนี้ ย่อมทำให้ความเป็นพุทธบริษัท สมบูรณ์ขึ้น (๖)
คำว่า "พุทธะ" แปลว่า "ผู้ตื่น" หมายถึง การตื่นขึ้นใน "ไกวัลยธรรม" อันเป็นการเข้ารวม เป็นอันเดียวกับกาลเวลา อย่างเต็มพื้นที่ เพราะ "ไกวัลย์" เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ตลอดพื้นที่ "สิ่งทั้งปวง" ที่ปรากฏขึ้นในไกวัลย์ เป็นเพียงสัตว์น้ำ ที่โผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ แห่งมหาสมุทร แล้วก็จมหายไป หมายความว่า สิ่งใดที่เกิดมาทีหลัง ในไกวัลย์ ย่อมดับหายไป ในไกวัลย์ แต่ไกวัลย์ก็ยังมีสภาพ เป็นอย่างเดิม ทั้งก่อน และ หลังสิ่งทั้งปวง ไม่เปลี่ยนแปลง อันความไม่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคน กำลังแสวงหา อยู่แล้วมิใช่หรือ
ไกวัลยธรรม ธรรมที่ท่านพุทธทาส ได้บรรยายไว้ในช่วงสุดท้ายของชีวิต
คำว่า "พุทธะ" แปลว่า "ผู้ตื่น" หมายถึง การตื่นขึ้นใน "ไกวัลยธรรม" อันเป็นการเข้ารวม เป็นอันเดียวกับกาลเวลา อย่างเต็มพื้นที่ เพราะ "ไกวัลย์" เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ตลอดพื้นที่ "สิ่งทั้งปวง" ที่ปรากฏขึ้นในไกวัลย์ เป็นเพียงสัตว์น้ำ ที่โผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ แห่งมหาสมุทร แล้วก็จมหายไป หมายความว่า สิ่งใดที่เกิดมาทีหลัง ในไกวัลย์ ย่อมดับหายไป ในไกวัลย์ แต่ไกวัลย์ก็ยังมีสภาพ เป็นอย่างเดิม ทั้งก่อน และ หลังสิ่งทั้งปวง ไม่เปลี่ยนแปลง อันความไม่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคน กำลังแสวงหา อยู่แล้วมิใช่หรือ