(ปรัชญา)สิ่งที่เป็นทุกสิ่งก็คือสิ่งที่ต้องมีทุกหนทุกแห่งไม่เว้นอะไรและสิ่งที่มีทุกหนแห่งก็คือความว่างเท่านั้นจริงหรือไม่

สวัสดีค่ะ ^_^

มีใครในพันทิปเคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่าทุกสิ่งจริงๆมันคืออะไร แล้วเพราะอะไรถึงต้องสนใจเรื่องนี้

จขกท เคยสงสัยมานานหลายปีจนเพิ่งมารู้คำตอบเมื่อเร็วๆนี้เองค่ะ

จากความเห็นส่วนตัว จขกท คิดว่า
สิ่งทั้งปวง ก็คือความว่างเท่านั้น เพราะคำว่าทุกสิ่ง หมายถึงทั้งหมด ไม่เหลืออะไร ดังนั้นทุกสิ่งจึงต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง สัมผัสได้ตลอดเวลา และเมื่อมีอยู่ทุกหนแห่งมันจึงต้องรวมไปถึงแทรกซึมมีอยู่ในสิ่งต่างๆทั้งหมดด้วย(ก็คือเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้)ไม่ว่าจะเป็น สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เกลียด รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯต่างก็ต้องมีสิ่งนี้แทรกซึมอยู่เท่านั้น
และถ้าความว่างไม่ได้อยู่แทรกซึมอยู่ในสิ่งต่างๆทั้งหมด(คือถ้ามีบางสิ่งที่ไม่มีความว่างแทรกซึมอยู่ภายใน) สิ่งนั้นก็จะเรียกว่าความว่างไม่ได้ เพราะถ้าสิ่งใดก็ตามที่ไม่ได้แทรกซึมอยู่ในทุกสิ่ง(คือมีบางสิ่งที่ไม่มีสิ่งนี้) ไม่ได้มีอยู่ทุกหนแห่ง สิ่งนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่มีขอบเขตเหลืออยู่ สามารถบอกส่วนที่เหลือได้ หรืออาจบอกขอบเขตได้(คือยังมีรูปร่างสัณฐานอยู่ว่ากว้างยาวแค่ไหน)ฯ
ดังนั้นความว่างเท่านั้นคือสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง จึงเป็นสิ่งที่เป็นทุกสิ่ง เพราะมีแทรกซึมอยู่ในทุกสิ่ง ไม่ว่าสิ่งใดก็ไม่สามารถหนีพ้นความว่างได้
การที่เราให้ความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเช่น รถ บ้าน ทรัพย์สิน เงินทอง ฯลฯ หรือเกลียดอะไร เช่น การป่วย การตาย ความจน ฯลฯ เชื่ออะไร เป็นอะไร ฯลฯ เราก็แค่สนใจหรือเกลียดฯลฯส่วนหนึ่งของความว่างเท่านั้นเอง
และเพราะอะไรถึงต้องสนใจในเรื่องสิ่งทั้งปวง ก็เพราะว่าถ้าเข้าใจว่ามันเป็นอะไรจริงๆเราก็จะทำกับมันได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

ส่วนไอเดียของการคิดแบบนี้ก็อาจจะมาจากเรื่องนี้ของท่านพุทธทาสค่ะ
ขอก๊อปมานะคะ

-๑-
ไกวัลยธรรม
คือสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง 

การบรรยายธรรมประจำวันเสาร์ ภาควิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๑๖ จักบรรยายเรื่อง "ไกวัลยธรรม" จุดมุ่งหมาย ของการบรรยายธรรม ในวันเสาร์ เพื่อต้องการ ให้พุทธบริษัท ได้รู้ ในเรื่องที่ควรรู้ เพื่อยกฐานะ ของพุทธบริษัท ให้สูงขึ้น ทั้งที่เป็น ส่วนของการปริยัติ และการปฏิบัติ
สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และอยู่หลังสิ่งทั้งปวง ได้แก่ ธรรมชาติที่ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง. (๑)
คำว่า "ไกวัลย์" เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า "เกวะละ" แปลว่า "สิ้นเชิง" หมายถึง "นิพพาน". (๒)
คำว่า "เกวะละ" หรือ "เกวลัง" ยังแปลได้อีก หลายความหมาย แต่โดยใจความ ระบุถึง "นิพพาน" คือ 
- ความเต็มไปหมด ไม่มีที่ว่าง
- ความโดดเดี่ยวที่สุด
- ความแบ่งแยกซอยละเอียดถี่ยิบ
- ความแข็งเป็นดุ้นเป็นก้อนเดียว
- ความไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักเต็ม             (๓)
ไกวัลย์มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง
สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีความสิ้นสุด จึงอยู่ในฐานะที่เป็น สิ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และอยู่ภายหลังสิ่งทั้งปวง หมายความว่า สิ่งทั้งปวง มีความหมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ท่ามกลาง อาณาจักรแห่งความไม่เปลี่ยนแปลงของ "ไกวัลย์" นั้น.     (๔)
มีประโยชน์อะไรหรือ ในการที่จะต้องรู้จัก "ไกวัลย์"
คำตอบ - เพราะ ไกวัลย์ เป็นสิ่งตรงข้ามกับ สังขารทั้งปวง ในเมื่อสังขารทั้งปวง เป็นที่ตั้ง ของความทุกข์ ครั้นนำความยึดมั่นในสังขารทั้งปวง ออกไปเสีย ก็จะพบความสุข ในที่เดียวกันอยู่ตรงนั้น ในทำนองเดียวกัน เอาความร้อนออก พบความเย็น เอาความไม่เที่ยงออก พบความเที่ยง ดังนี้เป็นต้น รวมความว่า เมื่อเอาสิ่งทั้งปวง ออกไปให้หมด ก็จะพบความว่าง คือ "ไกวัลยธรรม" (๕)
โดยที่แท้แล้ว ไกวัลยธรรม ก็คือสิ่งเดียวกันกับ สิ่งที่เรียกว่า อสังขตะ หรือ นิพพาน หรือ สุญญตา นั่นเอง ฉะนั้น การรู้เรื่องนี้ การปฏิบัติเรื่องนี้ การเข้าถึงเรื่องนี้ ย่อมทำให้ความเป็นพุทธบริษัท สมบูรณ์ขึ้น (๖)
คำว่า "พุทธะ" แปลว่า "ผู้ตื่น" หมายถึง การตื่นขึ้นใน "ไกวัลยธรรม" อันเป็นการเข้ารวม เป็นอันเดียวกับกาลเวลา อย่างเต็มพื้นที่ เพราะ "ไกวัลย์" เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ตลอดพื้นที่ "สิ่งทั้งปวง" ที่ปรากฏขึ้นในไกวัลย์ เป็นเพียงสัตว์น้ำ ที่โผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ แห่งมหาสมุทร แล้วก็จมหายไป หมายความว่า สิ่งใดที่เกิดมาทีหลัง ในไกวัลย์ ย่อมดับหายไป ในไกวัลย์ แต่ไกวัลย์ก็ยังมีสภาพ เป็นอย่างเดิม ทั้งก่อน และ หลังสิ่งทั้งปวง ไม่เปลี่ยนแปลง อันความไม่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคน กำลังแสวงหา อยู่แล้วมิใช่หรือ. (๗)
"ไกวัลย์" ทำให้มนุษย์ทุกคนเป็นมิตรกันหมด
การกำหนดว่า เป็นเราเป็นเขา เป็นของเราของเขา จะทำให้ เกิดการแบ่งแยก เมื่อมีการแบ่งแยก การแย่งชิงผลประโยชน์กัน ก็เกิดขึ้น ทำให้คิดเห็นแต่ ประโยชน์ตน พร้อมกันนั้น ก็มีการเบียดเบียน ทำลายประโยชน์ผู้อื่น ความเป็นศัตรูกัน ก็เกิดขึ้น ด้วยการไปยึดถือ  เอาสิ่งเล็กน้อย ที่เปลี่ยนแปลง อันเป็น ประดุจ ฟองคลื่นแห่งไกวัลย์ แต่ถ้ามีการเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" อันเปรียบด้วยแผ่นน้ำ อันกว้างใหญ่ ของมหาสมุทรแล้ว จะทำให้เห็นว่า ทุกคน ย่อมเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่อาจแบ่งแยก ออกจากกันได้เลย แล้วความรัก ความเมตตา ความเป็นมิตร กับผู้อื่น ก็เกิดขึ้น. (๘)
แม้การทะเลาะวิวาทกัน ในระหว่างศาสนา ก็พลอยสิ้นสุด ลงไปด้วย เพราะ "ไกวัลยธรรม" คือสภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวอันเต็มเปี่ยม และมีอยู่ทั่วไป ในทุกหนทุกแห่ง นั่นคือ ย่อมมีอยู่ ในทุกศาสนาด้วย ใครก็ตาม เมื่อเข้าถึงความหมาย ของศาสนาแห่งตนแล้ว ย่อมทำให้เห็น ตรงกันว่า ในโลกนี้ มีเพียงศาสนาเดียว คือ "ศาสนาแห่งไกวัลย์" ไม่ต้องมีการแบ่งแยก ตามชื่อสมมติ ที่ใช้เรียกศาสนา โดยเหตุนี้ จึงทำให้สามารถ ปิดประตู การทะเลาะวิวาท อันเนื่องมาจาก การถือศาสนาเสียได้ แล้วการแยกนิกาย ของแต่ละศาสนา ก็จะไม่เกิดขึ้น ที่ใดมีการแบ่งแยก ที่นั่นแสดงว่า มีการรู้ไม่จริง เป็นลักษณะ แห่งการไร้เดียงสา ของผู้นับถือศาสนานั้นๆ    (๙)
โดยเฉพาะพุทธบริษัท ควรมองศาสนาอื่น ในฐานะที่ว่า เป็นเครื่องมือ ดับทุกข์ระดับหนึ่ง ด้วยกันทั้งนั้น จึงจะชื่อว่า เป็นผู้มอง ด้วยความหมายของ "ไกวัลย์" เมื่อมีความเข้าใจใน "ไกวัลย์" ในความหมาย ที่ทำให้ทุกคน และทุกศาสนา เป็นมิตรกัน อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นการง่าย ที่จะเข้าถึง สุญญตา หรือ นิพพาน หรือ อสังขตธรรม ในทางพุทธศาสนา. (๑๐)
ในความหมายที่กล่าวถึง "พระเจ้า" ในฐานะเป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง ก็ควรหมายถึง "ไกวัลย์" เพราะว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และสิ่งทั้งปวงก็ออกมาจาก "ไกวัลย์" อาศัยไกวัลย์ตั้งอยู่ ในลักษณะอย่างนี้ ย่อมกล่าวได้ว่า ไกวัลย์ เป็นมารดา ของสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นลูก ที่คลอดออกมาจากไกวัลย์ เปรียบด้วย ฟองน้ำ อันเกิดจากน้ำ ฉันใด ก็ฉันนั้น. (๑๑)
ธรรมะในฐานะเป็นลูก ย่อมอยู่ในสภาพ ที่เกิดขึ้น แล้วดับหายไป ทำนองเดียวกับ ฟองน้ำ แต่ธรรมะ ในฐานะเป็นแม่ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่มีอยู่ได้เอง ตลอดอนันตกาล คือ กาลเวลาอันไม่สิ้นสุด และอนันตเทศ คือพื้นที่อันไม่สิ้นสุด. (๑๒)
การที่มนุษย์ไม่อาจเข้าถึง "ไกวัลย์" ได้ ก็เพราะมัวหลงใหลมัวเมา อยู่กับ ฟองน้ำ หรือ ฟองคลื่นแห่งวัฏฏสงสาร อันสำเร็จมาจาก การตกจม อยู่ในรสอร่อย ทางเนื้อหนัง ได้แก่ รสอร่อย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นตัว สร้างความทุกข์ สร้างปัญหา ให้เกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น เมื่อมนุษย์สามารถ รู้จัก และเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" แล้ว จะทำให้สามารถ แก้ปัญหา แห่งความทุกข์ ได้ทุกปัญหา และมีความเป็นมิตร หรือ เป็นอันเดียวกับทุกคน เพราะ "ไกวัลยธรรม" เป็นทั้งหมด ของทุกสิ่ง.
นี่คือ ความจำเป็น ที่จะต้องศึกษา ให้รู้จัก "ไกวัลยธรรม" เพื่อสร้าง ความเป็นมิตร ให้เกิดขึ้น. (๑๓)
ความหมายของคำว่า "ไกวัลยธรรม"
ร่องรอยของ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ที่อยู่ในรูป พระพุทธภาษิต อันขึ้นต้น ด้วยคำว่า "อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปทา วา ตถาคตานํ" อย่างนี้ มีอยู่ ๒ ชุด ชุดหนึ่งหมายถึง "ไตรลักษณ์" คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกชุดหนึ่งหมายถึง "อิทัปปัจจยตา" คือ ปฏิจจสมุปบาท ดังปรากฏจากพระไตรปิฎก ดังนี้ -
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา ว สา ธาตุ    - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฎฐิตตา ธมฺมนิยามตา
- ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ติ.
-ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง.
ดังนี้เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับไตรลักษณ์.     (๑๔)
อีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท มีบาลีที่ขึ้นต้นอย่างเดียวกัน คือ
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา ว สา ธาตุ    - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฏฐิตตา       - ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม
ธมฺมนิยามตา     - เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
อิทปฺปจฺจยตา     - ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น
อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ติ. - ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น.
ดังนี้เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท. (๑๕)
ในความหมายนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็ได้แก่ความหมายตามคำต่างๆ เหล่านี้ คือ -
ตถตา
อวิตถตา
อนญฺญถตา
อิทปฺปจฺจยตา  

- ความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
- แต่จะเป็นไปตามความที่ "เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น".

เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ทุกท่านจะพบ ด้วยตนเองว่า ทุกคำ มีความหมาย ระบุถึง สิ่งเดียวกัน คือ สิ่งที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นแลที่ได้นามว่า "ไกวัลยธรรม". (๑๖)
คำว่า "ตถาคต" แปลว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ถ้าหมายถึง พระพุทธเจ้า ก็กล่าวได้ว่า "มาอย่างพระพุทธเจ้า ไปอย่างพระพุทธเจ้า" ทีนี้ ในความหมายที่ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เรียก "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนั้น (ฐิตา ว สา ธาตุ) ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นตถาคตทั้งหลาย จะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างใด มันก็ยัง ตั้งอยู่อย่างนั้น อย่างไม่ฟังเสียงใคร. (๑๗)
เมื่อถือเอาความหมาย ของคำว่า "ตถาคต" ว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ก็มีความหมาย รวมไปถึง สัตว์ทั้งหลายด้วย คือ "มาอย่างสัตว์ ไปอย่างสัตว์" เมื่อมี การมา ก็ย่อมคู่กับ การไป อันนี้ยังเป็นไป ตามลักษณะของการปรุงแต่ง ฉะนั้น องค์พระพุทธเจ้า ในความหมายของ ตถาคต คงหมายถึง การปรากฏขึ้น โดยรูปธรรม อันอยู่ในกฏที่ว่า "สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ" เมื่อกล่าวถึง การเกิดขึ้น ของพระพุทธเจ้า ก็ย่อมมีการดับไป ของพระพุทธเจ้า อันเป็นส่วนของ รูปธรรม เช่นเดียวกับ สิ่งทั้งหลายที่มี "การเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป".   คำว่า "ตถาคต" แปลว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ถ้าหมายถึง พระพุทธเจ้า ก็กล่าวได้ว่า "มาอย่างพระพุทธเจ้า ไปอย่างพระพุทธเจ้า" ทีนี้ ในความหมายที่ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เรียก "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนั้น (ฐิตา ว สา ธาตุ) ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นตถาคตทั้งหลาย จะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างใด มันก็ยัง ตั้งอยู่อย่างนั้น อย่างไม่ฟังเสียงใคร. (๑๗)
เมื่อถือเอาความหมาย ของคำว่า "ตถาคต" ว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ก็มีความหมาย รวมไปถึง สัตว์ทั้งหลายด้วย คือ "มาอย่างสัตว์ ไปอย่างสัตว์" เมื่อมี การมา ก็ย่อมคู่กับ การไป อันนี้ยังเป็นไป ตามลักษณะของการปรุงแต่ง ฉะนั้น องค์พระพุทธเจ้า ในความหมายของ ตถาคต คงหมายถึง การปรากฏขึ้น โดยรูปธรรม อันอยู่ในกฏที่ว่า "สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ" เมื่อกล่าวถึง การเกิดขึ้น ของพระพุทธเจ้า ก็ย่อมมีการดับไป ของพระพุทธเจ้าอันเป็นส่วนของรูปธรรม เช่นเดียวกับสิ่งทั้งหลายที่มี "การเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป". (๑๘)
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
(ปรัชญา)สิ่งที่เป็นทุกสิ่งก็คือสิ่งที่ต้องมีทุกหนทุกแห่งไม่เว้นอะไรและสิ่งที่มีทุกหนแห่งก็คือความว่างเท่านั้นจริงหรือไม่

- ไม่จริง​ การเข้าไปรับรู้ความว่างก็ยังเป็นความมี(มีความว่าง)

พุทธศาสนาปฏิเสธการเข้าไปยึดส่วนสุดทั้งสอง​ ทั้งความมีและความว่าง​?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่