ไกวัลยธรรม คือ ธรรม ?

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1&ie=utf-8&oe=utf-8&aq=t&rls=org.mozilla:en-US:official&client=firefox-a

^^^^
http://www.buddhadasa.com/kaival/kaival1.html

ความหมายของคำว่า "ไกวัลยธรรม"

ร่องรอยของ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ที่อยู่ในรูป พระพุทธภาษิต อันขึ้นต้น ด้วยคำว่า "อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปทา วา ตถาคตานํ" อย่างนี้ มีอยู่ ๒ ชุด ชุดหนึ่งหมายถึง "ไตรลักษณ์" คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกชุดหนึ่งหมายถึง "อิทัปปัจจยตา" คือ ปฏิจจสมุปบาท ดังปรากฏจากพระไตรปิฎก ดังนี้ -

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม

ฐิตา ว สา ธาตุ    - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว

ธมฺมฎฐิตตา ธมฺมนิยามตา
- ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ติ.
-ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง.

ดังนี้เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับไตรลักษณ์.     (๑๔)

อีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท มีบาลีที่ขึ้นต้นอย่างเดียวกัน คือ

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม

ฐิตา ว สา ธาตุ    - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฏฐิตตา       - ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม
ธมฺมนิยามตา     - เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
อิทปฺปจฺจยตา     - ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น
อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ติ. - ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น.

ดังนี้เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท. (๑๕)

ในความหมายนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็ได้แก่ความหมายตามคำต่างๆ เหล่านี้ คือ -

ตถตา
อวิตถตา
อนญฺญถตา
อิทปฺปจฺจยตา  
    

- ความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
- แต่จะเป็นไปตามความที่ "เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น".

เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ทุกท่านจะพบ ด้วยตนเองว่า ทุกคำ มีความหมาย ระบุถึง สิ่งเดียวกัน คือ สิ่งที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นแลที่ได้นามว่า "ไกวัลยธรรม". (๑๖)

คำว่า "ตถาคต" แปลว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ถ้าหมายถึง พระพุทธเจ้า ก็กล่าวได้ว่า "มาอย่างพระพุทธเจ้า ไปอย่างพระพุทธเจ้า" ทีนี้ ในความหมายที่ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เรียก "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนั้น (ฐิตา ว สา ธาตุ) ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นตถาคตทั้งหลาย จะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างใด มันก็ยัง ตั้งอยู่อย่างนั้น อย่างไม่ฟังเสียงใคร. (๑๗)

เมื่อถือเอาความหมาย ของคำว่า "ตถาคต" ว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ก็มีความหมาย รวมไปถึง สัตว์ทั้งหลายด้วย คือ "มาอย่างสัตว์ ไปอย่างสัตว์" เมื่อมี การมา ก็ย่อมคู่กับ การไป อันนี้ยังเป็นไป ตามลักษณะของการปรุงแต่ง ฉะนั้น องค์พระพุทธเจ้า ในความหมายของ ตถาคต คงหมายถึง การปรากฏขึ้น โดยรูปธรรม อันอยู่ในกฏที่ว่า "สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ" เมื่อกล่าวถึง การเกิดขึ้น ของพระพุทธเจ้า ก็ย่อมมีการดับไป ของพระพุทธเจ้า อันเป็นส่วนของ รูปธรรม เช่นเดียวกับ สิ่งทั้งหลายที่มี "การเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป". (๑๘)

หมายความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเกิดขึ้นในโลก กี่ล้านองค์ ก็ตาม แต่ "ธาตุนั้นก็ยังตั้งอยู่อย่างนั้น" ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้น จึงมิใช่พระพุทธเจ้า หรือตถาคต แต่ผู้ใดมาพบสิ่งนั้นเข้า จะได้นามว่า เป็น "พระพุทธเจ้า" สิ่งนั้นคือ "ไกวัลยธรรม" อันเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ ตลอดกาล. (๑๙)



ประเด็น
ไตรลักษณ์ กับ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท (โพธิราชกุมาร ราชวรรค ม.ม ๑๓/๔๖๑/๕๐๙ ปฏิจจฯ จากพระโอษฐ์ หน้า ๕๕ พุทธทาสภิกขุ)
มี ความหมายของคำว่า "ไกวัลยธรรม" หรือไม่ คือ ---- ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียวฯ

หมายเหตุ
อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท (โพธิราชกุมาร ราชวรรค ม.ม ๑๓/๔๖๑/๕๐๙  -http://ppantip.com/topic/30305150/comment15
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่