ไกวัลย์ ......... ในพระพุทธศาสนา

ผมสงสัยจริงๆว่า การที่ใครบางคน คอยจ้องหาเรื่อง ด่าว่า ให้ร้าย พระสงฆ์องค์เจ้า
ด้วยข้อมูลเท็จ จนติดเป็นนิสัย แล้วเขาจะมีความเจริญในการปฏิบัติธรรม ได้อย่างไร ?

ใครบางคน ที่มักจะแสดงตนเป็นนัยๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่า เขาคนนั้นเป็น นักปฏิบัติธรรม
มันจะเป็นเพียงแค่ ละครตบตา สร้างภาพให้ดูเหนือจริง หรือ เกินจริง หรือเปล่าครับ ?

เพราะล่าสุด ท่านนักปฏิบัติธรรม(กำมะลอ) ก็ได้แสดงให้เห็นถึง ก้นบึ้งของ อุปนิสัยส่วนตัวของเขา
โดยการ วิจารณ์พระพุทธทาสด้วยถ้อยคำสุดคลาสสิคว่า .............. มั่ว



มั่ว อย่างไร ?

ใครคนนั้นเขาอ้างในทำนองว่า ไกวัลย์ เป็นหลักธรรมนอกศาสนา แต่พระพุทธทาส
ไปมั่วเอามาอธิบาย เชน + คริสต์ ให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นพุทธ ........ (มั่ว ซับซ้อน จริงเนอะ)

ที่จริงแล้ว ท่านปยุตโต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไกวัลย์ เป็นคำของคนนอกศาสนา จริง
แต่พระพุทธศาสนา ได้ยืมเอาคำๆนี้มาใช้ โดยปรับแก้ความหมายให้สอดคล้องกับ พระธรรมวินัย



ส่วนอีกคน เขาก็ถามว่า มีบ้างไหมที่ ไกวัลย์ สอดคล้องกับพระไตรปิฎก ?

มีสิครับ

ท่านปยุตโต ระบุถึงกรณีที่ พรหมายุพราหมณ์ ได้กราบทูลถามถึง วิธีที่จะเป็น พระอรหันต์ ผู้ลุ "ไกวัลย์"
คำว่า ไกวัลย์ ในที่นี้ หมายถึง อะไรครับ ?

ข้อความของท่านปยุตโต ในอีกแห่งหนึ่ง ได้อธิบายถึงคำๆ นี้เอาไว้ว่า หมายถึง



กล่าวโดยสรุป ก็คือ พระพุทธศาสนา ได้นำเอาคำว่า ไกวัลย์ เกวละ เกวลี เกวลํ หรือ เกพลี ฯลฯ
มาใช้โดยหมายถึง นิพพาน หรือ ผู้บรรลุนิพพาน นี่เป็นเรื่อง ปกติ ในพระพุทธศาสนา นะครับ



ทีนี้ หากถามต่อไปว่า แล้วคำๆ นี้ในความหมายในทำนองว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง ฯลฯ
มีหลักฐานความหมายในลักษณะนี้ อยู่ใน พระคัมภีร์ บ้างหรือไม่ ?

ก็ต้องตอบว่า มี

เนื่องจาก พระพุทธเจ้า ได้เคยตรัสถึง สิ่งๆหนึ่งที่มีอยู่ ไม่ว่า .......

"พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุ(สิ่ง)อันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม  อิทัปปัจจัย  ก็ยังดำรงอยู่ ฯลฯ"



การพูดความจริงไม่ครบ หรือ พูดความจริงไม่หมด ย่อมไม่ใช่สิ่งดี
ไม่ว่าการกระทำดังกล่าว จะเกิดจากความไม่รู้ หรือ เกิดจาก เจตนา(ชั่ว) ก็ตาม

สรุปแล้ว ใครมั่วกันแน่ครับ ?

ทีนี้ มันมีบางคน พยายามอ้างอภิธรรมแบบกึ่งดิบกึ่งดีว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ย่อมสรุปลงเป็นองค์ธรรม ได้ ๔ อย่างคือ รูป จิต เจตสิก และ นิพพาน
จากนั้น เขาก็ขมวดปมขึ้นมาว่า อิทัปปัจจยตา ไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นแค่ "หลักการ" ที่ใช้อธิบายองค์ธรรม ฯลฯ

แต่ปัญหา ก็คือ ในเมื่ออ้างว่าอิทัปปัจจยตา ไม่ใช่ นิพพาน นั่นต้องหมายความว่า
อิทัปปัจจยตา จะต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง รูป จิต หรือ เจตสิก น่ะสิ

กรุณาบอกให้ชัดๆ หน่อยสิครับว่า มันเป็นอะไร หรือครับ ?

.
.
.

แต่สำหรับผม ผมกลับเห็นว่า เรื่องนี้ พิจารณาไม่ยากเลย
เพราะเราย่อมเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า ที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทนี้ ที่จริงมันมีอยู่ ๒ ส่วน คือ

๑ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่เป็น กฏ
๒ ปฏิจจสมุปปันนธรรม ในฐานะ สิ่ง ที่อยู่ภายใต้ กฏ

ถามว่า พิจารณาอย่างไร?

คุณก็แค่พิจารณาดูว่า สิ่งนั้นๆ(ธรรม) มีอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัย หรือไม่ ?
ถ้ามันมีอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัย ก็เป็น สังขตธรรม เช่น รูป จิต เจตสิก อันนี้ คือ ปฏิจจสมุปปันนธรรม

แต่หากสิ่งนั้นๆ มีอยู่โดยปราศจาก เหตุปัจจัย มันก็เป็น อสังขตธรรม เช่น นิพพาน เป็นต้น
จำเพาะในกรณีนี้ คุณก็แค่พิจารณาไตร่ตรองดูว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่เป็นกฏ
หรือ จะเรียกว่า "หลักการ" หรือ จะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ มันมีอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยหรือไม่ ?

ถ้ากฏ หรือ หลักการ ดังกล่าว มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ตามเหตุปัจจัย มันก็เป็น สังขตธรรม
แต่ถ้ามันมีอยู่อย่างนั้น โดยไม่มีเหตุปัจจัยอะไร ไม่เกิด ไม่ดับ มันก็เป็น อสังขตธรรม

พิจารณาแค่นี้แหละครับ

ดังนั้น สำหรับคนที่เห็นว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่อสังขตธรรม
คุณก็แค่แสดงหลักฐานให้เห็นว่า สิ่งนี้ๆ เกิดและดับ ไปตามเหตุปัจจัย   .......... เรื่องมันก็จะจบ

แต่ปัญหาก็คือ ..........
มันมีหลักฐานบ่งชี้ให้สามารถเข้าใจแบบนั้นได้ไหมล่ะ ?

หรืออาจพิจารณาอีกแบบหนึ่งก็ได้ว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่เป็นกฏ
หรือ หลักการ ตามแต่จะเรียกนี้ มันเป็นของมันอย่างนั้นโดยไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่ ?

เพราะถ้ามันไม่เปลี่ยนแปลง แต่ยังคงเป็นอยู่ของมันอย่างนั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติ หรือไม่ก็ตาม
มันก็ต้องเป็น อสังขตธรรม น่ะสิครับ

แต่ถ้ามันยังตกอยู่ภายใต้อำนาจของ อนิจจัง ทุกขัง กล่าวคือ กฏ หรือ หลักการ ดังกล่าวนี้
มันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่ ไม่แน่นอน เดี๋ยวก็เป็นอย่างนี้ เดี๋ยวก็เป็นอย่างนั้น
ถ้า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท มีลักษณะอย่างเช่นว่านี้ มันก็เป็น สังขตธรรม นั่นแหละครับ

ลองพิจารณาอย่างรอบคอบ สิครับ
หรือไม่ก็ ยกหลักฐานมาแสดงให้เห็นจริงเลยว่า มันไม่เที่ยงอย่างนี้ๆ มัน "ทุกขัง" อย่างนี้ๆ
หากทำได้ แม้เพียงเท่านี้ ก็ย่อมสามารถหาข้อสรุปได้แล้วหละครับ !

อย่างไร ก็ดี ผมยังต้องการฟังคำอธิบาย นะครับ และคาดหวังว่า ท่านนักปฏิบัติธรรม(บางคน)
คงจะไม่กำมะลอเสียจน หลงลืมไปว่า ท่านได้กล่าวตำหนิพระสงฆ์องค์เจ้า ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จว่า .......

มั่ว

ดังนั้น ถ้าหากมีเหตุผล หรือ หลักฐานใด ที่อื่นไปจากนี้ ก็จงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งด้วย(จักเป็นพระคุณอย่างสูง)
แต่หากหมดเหตุผลโต้แย้งแล้วโดยสิ้นเชิง ก็จง ขอขมา(ลาโทษ) "พระ" เสียด้วย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี สำหรับชาวพุทธทั่วไป

ส่วนชาวพุทธกำมะลออีกจำนวนหนึ่ง ทั้งที่เป็นหญิงและชาย ผมคงมิอาจไปคาดหวังอะไรจากคนพวกนี้ได้



นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่