อนัตตา ไม่ใช่ความมี หรือความไม่มี
ความมี คู่กับ ความไม่มี
หากจะใช้กับสิ่งๆใด
ย่อมไม่สามารถพูดอย่างรวบรัด
เพราะว่าการตรัสของพระพุทธเจ้า
พระองค์กล่าวให้ตรงกับสัจธรรม
และไม่ทำให้นำไปอ้างอิงผิดๆ
สิ่งๆใด หากกล่าวว่า สิ่งนั้นๆมี
หากผู้ฟังยังไม่มีสัมมาทิฐิ เรื่องไตรลักษณ์
ย่อมฟังแล้ว ย่อมนำไปยึดกับความเห็นเดิมว่า
สิ่งๆนั้นมีอยู่ และมีอยู่อย่างทำนองถาวร
จะพลัดตกไปในคลองแห่งความคิด
เป็นมิจฉาทิฐิ ชนิดสัสสตทิฐิ
แต่"การมีอยู่"ในความหมายของพระองค์
เป็นการมีอยู่ทีละขณะๆ
เป็นปัจจุบันที่สั้นนิดเดียว
แล้วเปลี่ยนเป็นอีกสิ่งแล้ว
ด้วยสิ่งๆนั้น ปรากฏด้วยเหตุปัจจัย
เป็นกระแสอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
การกล่าวลอยๆว่า
"สิ่งๆนั้นมีอยู่"
จึงง่ายที่จะเข้าใจผิดต่อความเป็นจริง
ในทางเดียวกัน
การกล่าวถึงสิ่งๆใดที่ปรากฏว่ามีอยู่แม้ชั่วขณะ
หรือมีอยู่แบบเกิดดับๆ
"ว่าสิ่งๆนั้นไม่มีอยู่"
ด้วยคำนึงถึงว่าสิ่งๆนั้นชั่วคราว
เป็นมายา เหมือนไม่มีอยู่จริง
หากตรัสว่า"ไม่มี"
ผู้ฟังที่ยังไม่มีสัมมาทิฐิ เรื่องไตรลักษณ์
ย่อมฟังแล้ว จะนำไปยึดกับความเห็นเดิมว่า
"สิ่งทั้งหลายไม่มี"
พลัดตกไปในคลองแห่งความคิด
เป็นมิจฉาทิฐิ ชนิดอุทเฉททิฐิ
พระองค์จึงตรัสอย่างรัดกุมทุกๆครั้ง
เมื่อตรัสเรื่องนี้เป็นนัยโดยอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทว่า
"...ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ..."
และหลายครั้งจะไม่ตรัส เมื่อไม่มีทิฐิที่เป็นฐาน ที่เพียงพอ ในการรับฟัง
คือเรื่องไตรลักษณ์ของขันธ์ ธาตุ อายตนะ
ต่อเมื่อได้ปูพื้นฐาน การฟังบ้างแล้ว
จึงตรัสเรื่องความมี ความไม่มี และทางสายกลางคืออิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
_____________________________________________________________________________
๘. ฉันนสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ...
... ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑.
ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี.
เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น
แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น
มีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา
ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย.
ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ.
ดูกรกัจจานะส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี.
ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ
สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้....
จบ สูตรที่ ๘.
อนัตตา ไม่ใช่ความมี หรือความไม่มี
ความมี คู่กับ ความไม่มี
หากจะใช้กับสิ่งๆใด
ย่อมไม่สามารถพูดอย่างรวบรัด
เพราะว่าการตรัสของพระพุทธเจ้า
พระองค์กล่าวให้ตรงกับสัจธรรม
และไม่ทำให้นำไปอ้างอิงผิดๆ
สิ่งๆใด หากกล่าวว่า สิ่งนั้นๆมี
หากผู้ฟังยังไม่มีสัมมาทิฐิ เรื่องไตรลักษณ์
ย่อมฟังแล้ว ย่อมนำไปยึดกับความเห็นเดิมว่า
สิ่งๆนั้นมีอยู่ และมีอยู่อย่างทำนองถาวร
จะพลัดตกไปในคลองแห่งความคิด
เป็นมิจฉาทิฐิ ชนิดสัสสตทิฐิ
แต่"การมีอยู่"ในความหมายของพระองค์
เป็นการมีอยู่ทีละขณะๆ
เป็นปัจจุบันที่สั้นนิดเดียว
แล้วเปลี่ยนเป็นอีกสิ่งแล้ว
ด้วยสิ่งๆนั้น ปรากฏด้วยเหตุปัจจัย
เป็นกระแสอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
การกล่าวลอยๆว่า
"สิ่งๆนั้นมีอยู่"
จึงง่ายที่จะเข้าใจผิดต่อความเป็นจริง
ในทางเดียวกัน
การกล่าวถึงสิ่งๆใดที่ปรากฏว่ามีอยู่แม้ชั่วขณะ
หรือมีอยู่แบบเกิดดับๆ
"ว่าสิ่งๆนั้นไม่มีอยู่"
ด้วยคำนึงถึงว่าสิ่งๆนั้นชั่วคราว
เป็นมายา เหมือนไม่มีอยู่จริง
หากตรัสว่า"ไม่มี"
ผู้ฟังที่ยังไม่มีสัมมาทิฐิ เรื่องไตรลักษณ์
ย่อมฟังแล้ว จะนำไปยึดกับความเห็นเดิมว่า
"สิ่งทั้งหลายไม่มี"
พลัดตกไปในคลองแห่งความคิด
เป็นมิจฉาทิฐิ ชนิดอุทเฉททิฐิ
พระองค์จึงตรัสอย่างรัดกุมทุกๆครั้ง
เมื่อตรัสเรื่องนี้เป็นนัยโดยอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทว่า
"...ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ..."
และหลายครั้งจะไม่ตรัส เมื่อไม่มีทิฐิที่เป็นฐาน ที่เพียงพอ ในการรับฟัง
คือเรื่องไตรลักษณ์ของขันธ์ ธาตุ อายตนะ
ต่อเมื่อได้ปูพื้นฐาน การฟังบ้างแล้ว
จึงตรัสเรื่องความมี ความไม่มี และทางสายกลางคืออิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท
_____________________________________________________________________________
๘. ฉันนสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ...
... ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑.
ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี.
เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น
แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น
มีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา
ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย.
ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ.
ดูกรกัจจานะส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี.
ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ
สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้....
จบ สูตรที่ ๘.