6 มาตรการ ป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยทางถนน หลังพบเสียชีวิตสูงสุดเกิดจากเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
📝📝 รายงานชื่อ Global Status Report on Road Safety ระบุว่าอัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน ในประเทศไทยอยู่ที่ 32.7 เป็นอัตราสูงที่สุดในอาเซียน ห่างจากเวียดนาม ซึ่งเป็นอันดับ 2 คือ 26.7 โดยผลสำรวจข้อมูลนี้ใช้ข้อมูลเก่า เมื่อปี 2016
📌📌 สาเหตุของการเสียชีวิต 3 ใน 4 คือ เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ เพราะการบังคับใช้กฎหมายย่อหย่อนในเรื่องเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 74 เป็นคนขับและคนซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ และร้อยละ 6 เป็นผู้โดยสารในรถยนต์และรถขนาดเล็ก
📌📌 ทำให้อัตราการตายของไทยขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 32.6 ในการสำรวจเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งในตอนนั้นประเทศไทยมีอัตราสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากลิเบีย แต่ล่าสุดลิเบียมีอัตราลดลงมาอยู่ที่ 26.1 โดยมีไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการตายสูงกว่าไทย คือ ไลบีเรีย อยู่ที่ 35.9 และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อยู่ที่ 33.7
✅✅ สำหรับเรื่องการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติทางถนนช่วงปีใหม่ 2562 ครม.ได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา เรื่อง แนวทางป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ ภายใต้หัวข้อ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” โดยได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
📍📍 ช่วงเตรียมความพร้อมและช่วงที่รณรงค์ ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. – 26 ธ.ค. 61
📍📍 และช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 61 – 2 ม.ค. 62
📊📊 เรื่องนี้ได้มีการประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ตามระบบการเตือนภัยของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2558 มาวิเคราะห์ (ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา) พบว่าสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
🔴🔴 พื้นที่สีแดง – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงสุด มีทั้งหมด 35 อำเภอ
🔶🔶 พื้นที่สีส้ม – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูง มีทั้งหมด 109 อำเภอ
☑☑ พื้นที่สีเหลือง – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย มีทั้งหมด 687 อำเภอ
🆗🆗 และพื้นที่สีเขียว – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายน้อย มีทั้งหมด 47 อำเภอ
✳✳ โดยในปีนี้มีมาตรการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีอยู่ด้วยกัน 6 มาตรการหลัก ได้แก่
1⃣ มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน อาทิ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน
2⃣ มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม จะใช้มาตรการถนนปลอดภัย “1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย” โดยให้ อปท.ทุกแห่งจัดให้มีถนนปลอดภัยและสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดตัดทางรถไฟ และดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมให้มีความปลอดภัยในทุกพื้นที่
3⃣ มาตรการการลดปัจจัยเสียงด้านยานพาหนะ จะกำหนดมาตรการ แนวทาง เพื่อกำกับ ดูแล ควบคุมรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารไม่ประจำทาง ทั้งพนักงานขับ รถโดยสาร พนักงานประจำรถ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ให้ผู้ขับขี่ ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง รวมถึงอันตรายจากการบรรทุกผู้โดยสารในกระบะท้าย
4⃣ มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ ได้จัดเตรียมความพร้อม ของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ และกู้ภัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ ประสานงาน และการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่าย
5⃣ มาตรการความปลอดภัยทางน้ำ โดยให้กระทรวงคมนาคมบูรณาการ ทำงานร่วมกับจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ กทม. อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกำหนดมาตรการแนวทางการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ
6⃣ มาตรการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ได้จัดให้จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และ กทม. พิจารณาหามาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิเศษตามความเหมาะสมของพื้นที่
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริม ซึ่งเป็นมาตรการที่เพิ่มเติมจากปี 61 โดยให้พื้นที่อำเภ สีแดงและสีส้มมีการเข้มงวด กวดขัน และกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ และให้มีรางวัลสนับสนุนการปฏิบัติงานกับจังหวัด และอำเภอที่มีสถิติผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนดีเด่น
https://bit.ly/2LdBA3k
6 มาตรการ ประเทศไทย ป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยทางถนน
📝📝 รายงานชื่อ Global Status Report on Road Safety ระบุว่าอัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน ในประเทศไทยอยู่ที่ 32.7 เป็นอัตราสูงที่สุดในอาเซียน ห่างจากเวียดนาม ซึ่งเป็นอันดับ 2 คือ 26.7 โดยผลสำรวจข้อมูลนี้ใช้ข้อมูลเก่า เมื่อปี 2016
📌📌 สาเหตุของการเสียชีวิต 3 ใน 4 คือ เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ เพราะการบังคับใช้กฎหมายย่อหย่อนในเรื่องเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 74 เป็นคนขับและคนซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ และร้อยละ 6 เป็นผู้โดยสารในรถยนต์และรถขนาดเล็ก
📌📌 ทำให้อัตราการตายของไทยขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 32.6 ในการสำรวจเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งในตอนนั้นประเทศไทยมีอัตราสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากลิเบีย แต่ล่าสุดลิเบียมีอัตราลดลงมาอยู่ที่ 26.1 โดยมีไม่กี่ประเทศที่มีอัตราการตายสูงกว่าไทย คือ ไลบีเรีย อยู่ที่ 35.9 และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อยู่ที่ 33.7
✅✅ สำหรับเรื่องการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติทางถนนช่วงปีใหม่ 2562 ครม.ได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา เรื่อง แนวทางป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ ภายใต้หัวข้อ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร” โดยได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
📍📍 ช่วงเตรียมความพร้อมและช่วงที่รณรงค์ ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. – 26 ธ.ค. 61
📍📍 และช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 61 – 2 ม.ค. 62
📊📊 เรื่องนี้ได้มีการประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ตามระบบการเตือนภัยของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2558 มาวิเคราะห์ (ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา) พบว่าสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
🔴🔴 พื้นที่สีแดง – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงสุด มีทั้งหมด 35 อำเภอ
🔶🔶 พื้นที่สีส้ม – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูง มีทั้งหมด 109 อำเภอ
☑☑ พื้นที่สีเหลือง – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย มีทั้งหมด 687 อำเภอ
🆗🆗 และพื้นที่สีเขียว – สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายน้อย มีทั้งหมด 47 อำเภอ
✳✳ โดยในปีนี้มีมาตรการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีอยู่ด้วยกัน 6 มาตรการหลัก ได้แก่
1⃣ มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน อาทิ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน
2⃣ มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม จะใช้มาตรการถนนปลอดภัย “1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย” โดยให้ อปท.ทุกแห่งจัดให้มีถนนปลอดภัยและสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดตัดทางรถไฟ และดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมให้มีความปลอดภัยในทุกพื้นที่
3⃣ มาตรการการลดปัจจัยเสียงด้านยานพาหนะ จะกำหนดมาตรการ แนวทาง เพื่อกำกับ ดูแล ควบคุมรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารไม่ประจำทาง ทั้งพนักงานขับ รถโดยสาร พนักงานประจำรถ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ให้ผู้ขับขี่ ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง รวมถึงอันตรายจากการบรรทุกผู้โดยสารในกระบะท้าย
4⃣ มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ ได้จัดเตรียมความพร้อม ของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ และกู้ภัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ ประสานงาน และการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่าย
5⃣ มาตรการความปลอดภัยทางน้ำ โดยให้กระทรวงคมนาคมบูรณาการ ทำงานร่วมกับจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ กทม. อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกำหนดมาตรการแนวทางการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ
6⃣ มาตรการดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ได้จัดให้จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และ กทม. พิจารณาหามาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิเศษตามความเหมาะสมของพื้นที่
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเสริม ซึ่งเป็นมาตรการที่เพิ่มเติมจากปี 61 โดยให้พื้นที่อำเภ สีแดงและสีส้มมีการเข้มงวด กวดขัน และกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ และให้มีรางวัลสนับสนุนการปฏิบัติงานกับจังหวัด และอำเภอที่มีสถิติผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนดีเด่น
https://bit.ly/2LdBA3k