เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ปช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 1
https://ppantip.com/topic/37968927
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ปช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 2
https://ppantip.com/topic/37974865
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 3
https://ppantip.com/topic/37992031
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 4
https://ppantip.com/topic/38007481
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 5
https://ppantip.com/topic/38070769
วันหนึ่งฉันไปเดินเล่นในมอลล์ใกล้บ้าน ไปเจอเพื่อนฝรั่งที่เรียนที่เดียวกัน นั่งขายของอยู่ที่บูทหนึ่ง กลางมอลล์แห่งนั้น ฉันจึงรี่เข้าไปถามว่า ขายมานานหรือยัง ค่าเช่าเท่าไหร่ ทำอย่างไร เขาก็แนะนำว่าให้ไปหาผู้จัดการห้าง ดังนั้นในวันหนึ่ง ฉันจึงตัดสินใจหอบสินค้าไทย อันได้แก่ ตุ๊กตาช้างแกะสลัก ตุ๊กตาหญิงไทยไหว้ ผ้าปักดุมและเลี่ยมขนาดใหญ่เป็นรูปนางฟ้าและเทวดา กระเป๋าช้าง และอื่นๆ ที่เป็นของที่เอามาจากเมืองไทย ใส่กล่อง และลุยเดี่ยว เดินเอาไปให้ผู้จัดการห้างเขาดู ด้วยความมั่นหน้ามั่นโหนก ไม่สนใจว่าจะภาษาอังกฤษของฉันจะดี หรือไม่ดีอย่างไร วันนี้ต้องรู้เรื่องให้ได้
ผู้จัดการห้างใจดีมาก อีกทั้งยังใจเย็น และพยายามที่จะฟังภาษาอังกฤษสำเนียงเพี้ยนๆของฉันอย่างเต็มที่ เขามองดูข้าวของที่ฉันเอามาให้ผู้จัดการดู เขาให้ความเห็นว่า ของไทยที่เราเอามาให้เขาดู เขาไม่รู้มันจะขายได้หรือเปล่า เพราะมันเป็นของแปลกมาก แต่เขาก็บอกว่าโอเค ถ้าอยากจะขาย เขาก็จะยอมให้เช่าบูท ให้ลองขายดู ด้วยราคาสี่ร้อยเหรียญต่อเดือน ผู้จัดการยังมีถามต่อว่า ไหวไหม เพราะเขาก็ห่วงนะ กลัวว่าเราจะขายไม่ได้ เราก็บอกว่าลองดู เขาก็เลยทำสัญญาเช่าเป็นเดือน ต่อเดือน แทนที่จะทำสัญญาเช่ากันเป็นปี อย่างคนอื่นๆเขา
เมื่อได้หนังสือสัญญาเช่าแล้ว ฉันก็มาเกาหัวแกร็กๆว่า ต้องทำอย่างไรต่อนะ เราก็เลยถามผู้จัดการว่า ฉันต้องทำยังไงต่อดี เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าการทำกิจการ ร้านค้าในอเมริกา หรือแม้แต่ที่เมืองไทย เขาทำกันอย่างเรา เพราะตอนนั้นเราก็เด็กนะ และนี่มันก็เป็นการทำกิจการ ร้านแรกของเรา
ผู้จัดการเขาน่าจะเอ็ดดูฉัน เลยแนะนำให้ไปที่ City Hall (ภาษาไทยเรียกว่าตำบลมั้งค่ะ 555 ไม่รู้จริงๆค่ะ ว่าเขาเรียกว่าอะไร ขอโทษด้วยนะคะ) หลังจากที่ฉันออกจากมอลล์แล้ว ก็มุ่งหน้าไปที่ City Hall อย่างที่บอกไปแล้วหล่ะคะ ว่าฉันไม่รู้เลยว่า การทำกิจการร้านค้า นั้นต้องทำอย่างไร แต่ก็ไม่กลัวนะ กลับเดินตรงเข้าไปที่หาเจ้าหน้าที่ บอกว่าจะขายของที่ร้านในมอลล์ทำอย่างไร เจ้าหน้าที่เขาก็ใจดี เขาเอารายการ ลิสต์มาให้ดูว่า ลำดับการขอเอกสาร เปิดทำการค้า ขายของนั้น มีอะไรบ้าง
อย่างแรกก็คือ สัญญาการเช่าร้าน เราต้องรู้ก่อนว่า เราจะขายของที่ไหน ในกรณีของฉัน มันเป็นร้านกิ๊ฟช๊อป ที่ไม่มีความยุ่งยากเท่าร้านอาหาร เราก็เพียงแค่ เอาขอตั้งบริษัท/ร้านค้า/กิจการ มาให้เรากรอก ก็ต้องมีชื่อร้าน มีที่อยู่ และรายละเอียดของ ของที่จะขาย จากนั้นเขาก็เอาไปใส่ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ไม่นานนัก เขาก็มีเลขทะเบียนการค้าของร้านเราเอามาให้ ถือว่าร้านเรานั้น ใกล้ที่จะเป็นกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วหล่ะ
เมื่อร้านฉันได้เลขทะเบียนการค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ เดินขึ้นบันไดไปอีกชั้นนึง เพื่อไปลงทะเบียนเลขทะเบียนการเสียภาษี ของร้านของเรา ฉันก็ต้องไปเอาเอกสารมากรอก อีกครั้ง และเมื่อเอาไปส่งให้เจ้าหน้าที่ มันก็ยังไม่จบแค่นั้น ยังมีหนึ่งขั้นตอน คือการไปหา Fire Deparment หรือสถานีตำรวจดับเพลิง เขาให้ฉันเอาเอกสารการจดทะเบียนการค้า และเลขทะเบียนการเสียภาษีของร้าน เอาไปให้ เจ้าหน้าตำรวจดับเพลิงดู เพื่อให้เขานัดวัน เพื่อมาตรวจร้านกิ๊ฟช๊อปของเรา ว่าร้านเรา จัดสร้าง หรือตกแต่งร้าน ให้ถูกต้อง กับความปลอดภัย ในกรณีเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ทางเจ้าหน้าที่ จะมาตรวจสอบว่า มีป้ายไฟบอกทางออกฉุกเฉินหรือไม่ มีประตูทางออกฉุกเฉิน หรือไม่ มีถังดับเพลิง ที่ถูกต้องและยังไม่หมดอายุ เตรียมไว้กี่ตัว ให้พอเหมาะกับขนาดของร้านหรือไม่ มีสปริงเกอร์ น้ำดับเพลิงติดเพดาน ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ กี่ตัว และพอกับขนาดของร้านหรือไม่ แต่ที่บอกมาทั้งหมดนั้น คือเขาไม่ได้มาทำที่ร้านกิ๊ปช๊อปของฉันหรอกค่ะ (555 หลอกให้อ่านกัน 555) ที่เขาไม่มาเพราะร้านฉันมันเป็นบูท ไม่ใช่ร้านเดี่ยวๆ เพราะมันเป็นแค่บูทอยู่กลางมอลล์ ทางเจ้าหน้าที่เขาบอกแค่ ให้ฉันมีถังดับเพลิงขนาดเล็ก ติดไว้ที่ร้าน แค่นั้นก็พอ แต่ฉันแค่อยากเล่า เพราะอยากให้รู้ว่า ทางอเมริกา ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นที่หนึ่งค่ะ
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจดับเพลิง เซ้นต์ชื่อในใบสำคัญ การตรวจความปลอดภัย ให้ผ่านแล้ว ฉันก็เอาใบนั้นกลับไปให้เจ้าหน้าที่ที่ชั้นหนึ่ง ก็คุณป้าคนแรกที่เจอกันเมื่อสี่ห้าชั่วโมงก่อนหน้านั้น เอาเอกสารต่างๆ ที่วิ่งไปให้คนนั้น คนนี้เซ็นต์ เอาให้ป้า แกก็หันไปเอาข้อมูลกรอกใส่คอมพิวเตอร์ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน
และแล้วฉันก็ได้เป็นเจ้าของกิจการ ร้านกิ๊ปช๊อปอย่างเต็มตัว...
(สมัยนี้การจัดตั้งบริษัทการค้า สามารถทำได้ในอินเตอร์เน็ทแล้วนะคะ สะดวกสบายมากค่ะ ไม่ต้องวิ่งขึ้น วิ่งลงบันได แบบเมื่อก่อนแล้วค่ะ)
เมื่อทุกอย่างทางกฎหมาย และเอกสารเรียบร้อยลงตัวแล้ว ฉันก็เริ่มลำเลียงของเข้าร้าน ตอนแรกๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ของที่ฉันเอาไปขายที่ตลาดนัด จริงๆแล้วเอามาขายที่ร้านกิ๊ฟช๊อปไม่ได้ ก็เยอะ เพราะส่วนใหญ่ เป็นของเก่า เก็บมาบ้าง ดังนั้นฉันจึงต้องเริ่มมองหาสิ้นค้าเอามาขายที่ร้านของฉัน
ตอนนั้นฉันเริ่มรู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ และก็อินเตอร์เน็ท ฉันก็เลยท่องเที่ยวไปใน World Wide Web (www.) จึงได้เจอร้านไทย ที่เขาขายของในเว็บไซ์ด และเริ่มสั่งของจากทางอินเตอร์เน็ท เข้ามาขายมากขึ้น ส่วนการจ่ายเงินค่าสินค้า และการส่งของ ในสมัย ยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ในรูปแบบของการใช้บัตรเครดิต และการส่งของข้ามประเทศ ถือว่าเป็นอะไรที่ล้ำหน้า สะดวกสบาย ไม่ยุ่งยากในเรื่องการจ่ายเงินค่าธรรมเนียม ภาษีนำเข้า และอื่นๆ เพราะบริษัทจากทางเมืองไทย ทำมาให้ หมดแล้ว ทางเจ้าของบริษัท ร้านค้าทางเมืองไทย แต่ละเจ้า ก็เชื่อถือได้ ฉันจึงค่อยวางใจ ในการซื้อสิ้นค้าข้ามโลกข้ามทวีป
การหาของเข้าร้านในระยะแรกๆ ฉันเจาะจงไปว่ามันต้องเป็นของทำมือ ของ Art & Craft และของแปลก ที่ไม่มีใครขายในเมืองนี้ ดังนั้นการสั่งซื้อสินค้า จากเมืองไทย เป็นอะไรที่เข้าคอมเซ็ปต์กับร้านของฉันมาก อีกทั้งสินค้าที่มาจากเมืองไทย มีแต่ช้าง ช้างๆๆๆๆๆ ที่มันเหมาะสำหรับประชาชน คนเมืองนี้ ที่บ้า และคลั่งใคล้ทีมฟุตบอล จากมหาวิทยาลัยประจำรัฐ ที่มีมาสก๊อต เป็นช้าง ที่ชื่อว่า Big AL ตอนแรกๆฉันก็ไม่ได้ฉุกใจคิดอย่างไร แต่เมื่อมีลูกค้า มาอู.. อา.. กับกระเป๋าช้าง รูปแกะสลักช้าง เยอะแยะเข้า ฉันเลยเห็นว่า “ฉันมาถูกทางแล้ว”
ร้านเล็กๆของฉัน เริ่มเป็นที่สนใจ แก่บรรดาลูกค้า ผู้รักในงานการฝีมือ Art & Craft, ของแต่งบ้านที่แปลกแหวกแนว และมีเพียงอันเดียวในโลก, และผู้ติดตามทีมฟุตบอล จนทำให้ผู้จัดการมอลล์แปลกใจ และเอ่ยกับฉันว่า ตอนแรกเขาแน่ใจเลยว่าร้านฉันจะต้องไม่มีลูกค้า และต้องปิดร้านไปในเวลาสองเดือนแน่ๆ แต่ที่ไหนได้ นี่ผ่านมาเป็นปีแล้ว ร้านฉันยังตั้งโด่เด่ และดูเหมือนว่า จะไม่ไปไหน และจะอยู่กับที่มอลล์นี้ไปอีกนาน ซึ่งเขาก็ดีใจกับความสำเร็จกับร้านของฉัน
การเปิดร้านของฉันก็ผ่านไปแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี พ่อแม่ที่อยู่ทางเมืองไทย ก็เลยมีความคิดว่า การสั่งของจากอินเตอร์เน็ท ราคาของมันสูงอยู่มาก เขามีความคิดว่า ถ้าเขาจะไปเดินหาซื้อของ และแพ็คใสกล่อง ส่งของมากับเครื่องบิน คาร์โก้ทางเครื่องบิน และให้ฉันไปรับของที่สนามบิน น่าจะดีนะ คงจะลดต้นทุนได้บ้าง ไอ้ฉันก็ไม่มีความรู้เรื่องการส่งของมากับเครื่องบิน ก็เลยบอกว่าโอเค คิดว่า ไม่น่าจะมีอะไรยุ่งยาก คล้ายๆกับการซื้อขาย และรับของจากร้านไทย ที่ซื้อในอินเตอร์เน็ท
หลังจากที่พ่อและแม่ ตะเวนไปหาของไทย จากแหล่งขายของต่างๆ เช่นจตุจักรบ้าง บางลำภูบ้าง ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด พ่อกับแม่ก็จัดการแพ็คของใส่กล่องขนาดกลางสองใบ และไปฝากของส่ง ที่คาร์โก้ของบริษัทขนส่งของทางอากาศ แต่ส่งในลักษณะของใช้ส่วนตัว ทางฉันที่อยู่ทางนี้ก็รอรับของประมาณหนึ่งอาทิตย์ ทางสนามบินในเมืองโทรมาบอกว่าให้ไปรับของ ฉันก็ไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะไม่รู้จะคิดอะไร เพราะมันเป็นครั้งแรก ในการทำแบบนี้
เมื่อไปถึงสนามบินเขาให้ไปทางออฟฟิต ที่มีหน้าที่รับของจากเรื่องบิน โดยเฉพาะ ฉันก็ไปบอกทางเจ้าหน้าที่ของสนามบินว่า จะมารับของ ทางเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า เขาได้เปิดดูของในกล่องที่ส่งมาแล้ว ลักษณะว่าเป็นของนำเข้ามาเพื่อการค้า ไม่ใช่ในรูปแบบของของใช้ส่วนตัว ดังนั้นจะต้องทำเรื่องรับของแบบเชิงการค้า และต้องเสียภาษีการนำเข้า ฉันก็บอกว่าโอเค ต้องทำเรื่องอย่างไรบ้าง เพราะฉันไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย และนี่เป็นการทำครั้งแรก ทางเจ้าหน้าที่เขาใจดีมาก เขาก็บอกขั้นตอนการทำว่า ต้องกรอกเอกสารแจกแจงว่า ของในกล่องมีอะไรบ้าง และประเมินราคาสินค้า ในราคาขายว่ามูลค่าเท่าไหร่ เพื่อไปคิดคำนวนหาค่าภาษีที่จะต้องจ่าย และที่สำคัญ สินค้าประเภทเลื้อผ้า และสิ่งทักทอ จะต้องมีใบอนุญาต หรือวีซ่าสิ่งถักทอ ที่เรียกว่า A Textile Visa คือใบอนุญาต การนำเข้าเครื่องสิ่งทอ จากประเทศต่างๆ เข้ามาในประเทศอเมริกา เพื่อให้แน่ใจว่า เส้นใย และสิ่งทอเหล่านั้น ได้มีการตรวจสอบแล้วว่า ปลอดจากเชื้อโรค และมลพิษต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคภัย ไข้เจ็บ แก่ประชาชนในประเทศ
เจ้าหน้าที่อธิบายมาแบบนี้ คุณๆคิดว่าฉันจะมีไหมคะ ไอ้วีซ่าอะไรเนี่ย.. ก็ไม่สิคะ มิหนำซ้ำ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เพิ่งจะได้รู้รักกับคำว่า วีซ่าสิ่งถักทอ แล้วฉันจะเอาอะไรไปให้เขา เจ้าหน้าที่เขาน่าจะเห็นใบหน้าเหยเก แบบจะร้องไห้ของฉัน เขาเลยปลอบใจว่า เอาอย่างนี้ เขาจะให้เวลาฉันหนึ่งเดือน ไปศึกษาและขอทำเรื่องวีซ่าสิ่งถักทอมา เขาจะเก็บของที่เป็นผ้าเอาไว้ให้ วันนี้ให้เอาของที่ทำจากสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่ผ้า กลับไปก่อน ซึ่งของที่ฉันเอาออกมาได้ในวันนั้น มันเป็นแค่หนึ่งในสามของ ของทั้งหมด ที่พ่อกับแม่ส่งมาให้ สองส่วนที่เหลือไว้ เป็นของที่ทำด้วยผ้าล้วนๆ และก็เป็นของที่น่าจะขายและทำรายได้ได้ดีมาก แต่ก็น่าเสียดาย ที่ฉันไม่สามารถเอามันออกมาได้
ฉันกลับบ้านมาลองศึกษาดูว่า ไอ้วีซ่าสิ่งถักทอนี่คืออะไร และทำอย่างไรถึงจะได้มา แต่มันก็ยุ่งยาก วุ่นวาย จนฉันต้องตัดใจ กลับไปบอกเจ้าหน้าว่าฉันคงต้องตัดใจ ให้เขายึดเอาของไป ซึ่งเขาก็จะเอาของที่ยึดได้นั้น เอาไปประมูลขาย ทอดตลาดอีกครั้งนึง ซึ่งในออฟฟิต ก็มีป้ายบอกวันเวลาการประมูล และของที่จะประมูล ที่มีตั้งแต่ รถยนต์ เครื่องตกแต่งบ้าน เหล้า ไวน์ และของจิปาถะอื่นๆทั่วไป ซึ่งก็มีคนมาประมูลเอาของพวกนี้ไปขายต่อกันอีกทอดนึง สำหรับฉัน ครั้งนี้เป็นบทเรียนราคาแพง อีกบทหนึ่งที่สอนให้ฉันรู้ว่า การเดินเทิ้งๆ ไปทำอะไร โดยที่ไม่ได้หาความรู้ไว้ล่วงหน้า ก็มีทั้งผลดี และผลเสีย และบทเรียนอีกบทหนึ่งที่ได้ก็คือ คราวหน้า ให้บริษัทขนส่งสินค้า มีอาชีพ ส่งของให้เราเองจะดีกว่า
หลังจากนั้นไม่นานนัก ฉันก็มีโอกาสได้กลับมาเมืองไทย ดังนั้น มันจึงเป็นการดี ที่ฉันจะได้ไปหาเลือกซื้อของเอง เพราะตอนนั้นฉันก็ชอบของการฝีมือ และงานศิลปะแปลกๆด้วย พ่อกับแม่ของฉันเลยพาตะเวนไปหาสินค้า ที่ต่างจังหวัด ที่ศูนย์งานฝีมือ หรือสมัยนี้รู้จักกันในนามว่า โอท๊อป (ซึ่งฉันก็ไม่รู้จริงๆ ว่าโอท๊อป หมายความว่าอะไร) ฉันได้ไปเยี่ยมชมช่างฝีมือ ที่เป็นชาวบ้าน และสมาชิกของที่ศูนย์ มานั่งถัก สาน ตะกร้า กระเป๋า จากผักตบชวา และไม่ไผ่ ฉันขอบอกเลยว่า แต่ละท่าน มีความชำนาญงาน และทำงานฝีมือได้ออกมาอย่างปราณีตมาก
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ปช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 6 (จบ)
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ปช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 2 https://ppantip.com/topic/37974865
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 3 https://ppantip.com/topic/37992031
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 4 https://ppantip.com/topic/38007481
เล่าได้เล่าดี ตอนการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปในอเมริกาของฉัน ตอนที่ 5 https://ppantip.com/topic/38070769
วันหนึ่งฉันไปเดินเล่นในมอลล์ใกล้บ้าน ไปเจอเพื่อนฝรั่งที่เรียนที่เดียวกัน นั่งขายของอยู่ที่บูทหนึ่ง กลางมอลล์แห่งนั้น ฉันจึงรี่เข้าไปถามว่า ขายมานานหรือยัง ค่าเช่าเท่าไหร่ ทำอย่างไร เขาก็แนะนำว่าให้ไปหาผู้จัดการห้าง ดังนั้นในวันหนึ่ง ฉันจึงตัดสินใจหอบสินค้าไทย อันได้แก่ ตุ๊กตาช้างแกะสลัก ตุ๊กตาหญิงไทยไหว้ ผ้าปักดุมและเลี่ยมขนาดใหญ่เป็นรูปนางฟ้าและเทวดา กระเป๋าช้าง และอื่นๆ ที่เป็นของที่เอามาจากเมืองไทย ใส่กล่อง และลุยเดี่ยว เดินเอาไปให้ผู้จัดการห้างเขาดู ด้วยความมั่นหน้ามั่นโหนก ไม่สนใจว่าจะภาษาอังกฤษของฉันจะดี หรือไม่ดีอย่างไร วันนี้ต้องรู้เรื่องให้ได้
ผู้จัดการห้างใจดีมาก อีกทั้งยังใจเย็น และพยายามที่จะฟังภาษาอังกฤษสำเนียงเพี้ยนๆของฉันอย่างเต็มที่ เขามองดูข้าวของที่ฉันเอามาให้ผู้จัดการดู เขาให้ความเห็นว่า ของไทยที่เราเอามาให้เขาดู เขาไม่รู้มันจะขายได้หรือเปล่า เพราะมันเป็นของแปลกมาก แต่เขาก็บอกว่าโอเค ถ้าอยากจะขาย เขาก็จะยอมให้เช่าบูท ให้ลองขายดู ด้วยราคาสี่ร้อยเหรียญต่อเดือน ผู้จัดการยังมีถามต่อว่า ไหวไหม เพราะเขาก็ห่วงนะ กลัวว่าเราจะขายไม่ได้ เราก็บอกว่าลองดู เขาก็เลยทำสัญญาเช่าเป็นเดือน ต่อเดือน แทนที่จะทำสัญญาเช่ากันเป็นปี อย่างคนอื่นๆเขา
เมื่อได้หนังสือสัญญาเช่าแล้ว ฉันก็มาเกาหัวแกร็กๆว่า ต้องทำอย่างไรต่อนะ เราก็เลยถามผู้จัดการว่า ฉันต้องทำยังไงต่อดี เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าการทำกิจการ ร้านค้าในอเมริกา หรือแม้แต่ที่เมืองไทย เขาทำกันอย่างเรา เพราะตอนนั้นเราก็เด็กนะ และนี่มันก็เป็นการทำกิจการ ร้านแรกของเรา
ผู้จัดการเขาน่าจะเอ็ดดูฉัน เลยแนะนำให้ไปที่ City Hall (ภาษาไทยเรียกว่าตำบลมั้งค่ะ 555 ไม่รู้จริงๆค่ะ ว่าเขาเรียกว่าอะไร ขอโทษด้วยนะคะ) หลังจากที่ฉันออกจากมอลล์แล้ว ก็มุ่งหน้าไปที่ City Hall อย่างที่บอกไปแล้วหล่ะคะ ว่าฉันไม่รู้เลยว่า การทำกิจการร้านค้า นั้นต้องทำอย่างไร แต่ก็ไม่กลัวนะ กลับเดินตรงเข้าไปที่หาเจ้าหน้าที่ บอกว่าจะขายของที่ร้านในมอลล์ทำอย่างไร เจ้าหน้าที่เขาก็ใจดี เขาเอารายการ ลิสต์มาให้ดูว่า ลำดับการขอเอกสาร เปิดทำการค้า ขายของนั้น มีอะไรบ้าง
อย่างแรกก็คือ สัญญาการเช่าร้าน เราต้องรู้ก่อนว่า เราจะขายของที่ไหน ในกรณีของฉัน มันเป็นร้านกิ๊ฟช๊อป ที่ไม่มีความยุ่งยากเท่าร้านอาหาร เราก็เพียงแค่ เอาขอตั้งบริษัท/ร้านค้า/กิจการ มาให้เรากรอก ก็ต้องมีชื่อร้าน มีที่อยู่ และรายละเอียดของ ของที่จะขาย จากนั้นเขาก็เอาไปใส่ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ไม่นานนัก เขาก็มีเลขทะเบียนการค้าของร้านเราเอามาให้ ถือว่าร้านเรานั้น ใกล้ที่จะเป็นกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วหล่ะ
เมื่อร้านฉันได้เลขทะเบียนการค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ เดินขึ้นบันไดไปอีกชั้นนึง เพื่อไปลงทะเบียนเลขทะเบียนการเสียภาษี ของร้านของเรา ฉันก็ต้องไปเอาเอกสารมากรอก อีกครั้ง และเมื่อเอาไปส่งให้เจ้าหน้าที่ มันก็ยังไม่จบแค่นั้น ยังมีหนึ่งขั้นตอน คือการไปหา Fire Deparment หรือสถานีตำรวจดับเพลิง เขาให้ฉันเอาเอกสารการจดทะเบียนการค้า และเลขทะเบียนการเสียภาษีของร้าน เอาไปให้ เจ้าหน้าตำรวจดับเพลิงดู เพื่อให้เขานัดวัน เพื่อมาตรวจร้านกิ๊ฟช๊อปของเรา ว่าร้านเรา จัดสร้าง หรือตกแต่งร้าน ให้ถูกต้อง กับความปลอดภัย ในกรณีเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ทางเจ้าหน้าที่ จะมาตรวจสอบว่า มีป้ายไฟบอกทางออกฉุกเฉินหรือไม่ มีประตูทางออกฉุกเฉิน หรือไม่ มีถังดับเพลิง ที่ถูกต้องและยังไม่หมดอายุ เตรียมไว้กี่ตัว ให้พอเหมาะกับขนาดของร้านหรือไม่ มีสปริงเกอร์ น้ำดับเพลิงติดเพดาน ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ กี่ตัว และพอกับขนาดของร้านหรือไม่ แต่ที่บอกมาทั้งหมดนั้น คือเขาไม่ได้มาทำที่ร้านกิ๊ปช๊อปของฉันหรอกค่ะ (555 หลอกให้อ่านกัน 555) ที่เขาไม่มาเพราะร้านฉันมันเป็นบูท ไม่ใช่ร้านเดี่ยวๆ เพราะมันเป็นแค่บูทอยู่กลางมอลล์ ทางเจ้าหน้าที่เขาบอกแค่ ให้ฉันมีถังดับเพลิงขนาดเล็ก ติดไว้ที่ร้าน แค่นั้นก็พอ แต่ฉันแค่อยากเล่า เพราะอยากให้รู้ว่า ทางอเมริกา ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นที่หนึ่งค่ะ
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจดับเพลิง เซ้นต์ชื่อในใบสำคัญ การตรวจความปลอดภัย ให้ผ่านแล้ว ฉันก็เอาใบนั้นกลับไปให้เจ้าหน้าที่ที่ชั้นหนึ่ง ก็คุณป้าคนแรกที่เจอกันเมื่อสี่ห้าชั่วโมงก่อนหน้านั้น เอาเอกสารต่างๆ ที่วิ่งไปให้คนนั้น คนนี้เซ็นต์ เอาให้ป้า แกก็หันไปเอาข้อมูลกรอกใส่คอมพิวเตอร์ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน
และแล้วฉันก็ได้เป็นเจ้าของกิจการ ร้านกิ๊ปช๊อปอย่างเต็มตัว...
(สมัยนี้การจัดตั้งบริษัทการค้า สามารถทำได้ในอินเตอร์เน็ทแล้วนะคะ สะดวกสบายมากค่ะ ไม่ต้องวิ่งขึ้น วิ่งลงบันได แบบเมื่อก่อนแล้วค่ะ)
เมื่อทุกอย่างทางกฎหมาย และเอกสารเรียบร้อยลงตัวแล้ว ฉันก็เริ่มลำเลียงของเข้าร้าน ตอนแรกๆ ก็ไม่มีอะไรมาก ของที่ฉันเอาไปขายที่ตลาดนัด จริงๆแล้วเอามาขายที่ร้านกิ๊ฟช๊อปไม่ได้ ก็เยอะ เพราะส่วนใหญ่ เป็นของเก่า เก็บมาบ้าง ดังนั้นฉันจึงต้องเริ่มมองหาสิ้นค้าเอามาขายที่ร้านของฉัน
ตอนนั้นฉันเริ่มรู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ และก็อินเตอร์เน็ท ฉันก็เลยท่องเที่ยวไปใน World Wide Web (www.) จึงได้เจอร้านไทย ที่เขาขายของในเว็บไซ์ด และเริ่มสั่งของจากทางอินเตอร์เน็ท เข้ามาขายมากขึ้น ส่วนการจ่ายเงินค่าสินค้า และการส่งของ ในสมัย ยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ในรูปแบบของการใช้บัตรเครดิต และการส่งของข้ามประเทศ ถือว่าเป็นอะไรที่ล้ำหน้า สะดวกสบาย ไม่ยุ่งยากในเรื่องการจ่ายเงินค่าธรรมเนียม ภาษีนำเข้า และอื่นๆ เพราะบริษัทจากทางเมืองไทย ทำมาให้ หมดแล้ว ทางเจ้าของบริษัท ร้านค้าทางเมืองไทย แต่ละเจ้า ก็เชื่อถือได้ ฉันจึงค่อยวางใจ ในการซื้อสิ้นค้าข้ามโลกข้ามทวีป
การหาของเข้าร้านในระยะแรกๆ ฉันเจาะจงไปว่ามันต้องเป็นของทำมือ ของ Art & Craft และของแปลก ที่ไม่มีใครขายในเมืองนี้ ดังนั้นการสั่งซื้อสินค้า จากเมืองไทย เป็นอะไรที่เข้าคอมเซ็ปต์กับร้านของฉันมาก อีกทั้งสินค้าที่มาจากเมืองไทย มีแต่ช้าง ช้างๆๆๆๆๆ ที่มันเหมาะสำหรับประชาชน คนเมืองนี้ ที่บ้า และคลั่งใคล้ทีมฟุตบอล จากมหาวิทยาลัยประจำรัฐ ที่มีมาสก๊อต เป็นช้าง ที่ชื่อว่า Big AL ตอนแรกๆฉันก็ไม่ได้ฉุกใจคิดอย่างไร แต่เมื่อมีลูกค้า มาอู.. อา.. กับกระเป๋าช้าง รูปแกะสลักช้าง เยอะแยะเข้า ฉันเลยเห็นว่า “ฉันมาถูกทางแล้ว”
ร้านเล็กๆของฉัน เริ่มเป็นที่สนใจ แก่บรรดาลูกค้า ผู้รักในงานการฝีมือ Art & Craft, ของแต่งบ้านที่แปลกแหวกแนว และมีเพียงอันเดียวในโลก, และผู้ติดตามทีมฟุตบอล จนทำให้ผู้จัดการมอลล์แปลกใจ และเอ่ยกับฉันว่า ตอนแรกเขาแน่ใจเลยว่าร้านฉันจะต้องไม่มีลูกค้า และต้องปิดร้านไปในเวลาสองเดือนแน่ๆ แต่ที่ไหนได้ นี่ผ่านมาเป็นปีแล้ว ร้านฉันยังตั้งโด่เด่ และดูเหมือนว่า จะไม่ไปไหน และจะอยู่กับที่มอลล์นี้ไปอีกนาน ซึ่งเขาก็ดีใจกับความสำเร็จกับร้านของฉัน
การเปิดร้านของฉันก็ผ่านไปแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี พ่อแม่ที่อยู่ทางเมืองไทย ก็เลยมีความคิดว่า การสั่งของจากอินเตอร์เน็ท ราคาของมันสูงอยู่มาก เขามีความคิดว่า ถ้าเขาจะไปเดินหาซื้อของ และแพ็คใสกล่อง ส่งของมากับเครื่องบิน คาร์โก้ทางเครื่องบิน และให้ฉันไปรับของที่สนามบิน น่าจะดีนะ คงจะลดต้นทุนได้บ้าง ไอ้ฉันก็ไม่มีความรู้เรื่องการส่งของมากับเครื่องบิน ก็เลยบอกว่าโอเค คิดว่า ไม่น่าจะมีอะไรยุ่งยาก คล้ายๆกับการซื้อขาย และรับของจากร้านไทย ที่ซื้อในอินเตอร์เน็ท
หลังจากที่พ่อและแม่ ตะเวนไปหาของไทย จากแหล่งขายของต่างๆ เช่นจตุจักรบ้าง บางลำภูบ้าง ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด พ่อกับแม่ก็จัดการแพ็คของใส่กล่องขนาดกลางสองใบ และไปฝากของส่ง ที่คาร์โก้ของบริษัทขนส่งของทางอากาศ แต่ส่งในลักษณะของใช้ส่วนตัว ทางฉันที่อยู่ทางนี้ก็รอรับของประมาณหนึ่งอาทิตย์ ทางสนามบินในเมืองโทรมาบอกว่าให้ไปรับของ ฉันก็ไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะไม่รู้จะคิดอะไร เพราะมันเป็นครั้งแรก ในการทำแบบนี้
เมื่อไปถึงสนามบินเขาให้ไปทางออฟฟิต ที่มีหน้าที่รับของจากเรื่องบิน โดยเฉพาะ ฉันก็ไปบอกทางเจ้าหน้าที่ของสนามบินว่า จะมารับของ ทางเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า เขาได้เปิดดูของในกล่องที่ส่งมาแล้ว ลักษณะว่าเป็นของนำเข้ามาเพื่อการค้า ไม่ใช่ในรูปแบบของของใช้ส่วนตัว ดังนั้นจะต้องทำเรื่องรับของแบบเชิงการค้า และต้องเสียภาษีการนำเข้า ฉันก็บอกว่าโอเค ต้องทำเรื่องอย่างไรบ้าง เพราะฉันไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย และนี่เป็นการทำครั้งแรก ทางเจ้าหน้าที่เขาใจดีมาก เขาก็บอกขั้นตอนการทำว่า ต้องกรอกเอกสารแจกแจงว่า ของในกล่องมีอะไรบ้าง และประเมินราคาสินค้า ในราคาขายว่ามูลค่าเท่าไหร่ เพื่อไปคิดคำนวนหาค่าภาษีที่จะต้องจ่าย และที่สำคัญ สินค้าประเภทเลื้อผ้า และสิ่งทักทอ จะต้องมีใบอนุญาต หรือวีซ่าสิ่งถักทอ ที่เรียกว่า A Textile Visa คือใบอนุญาต การนำเข้าเครื่องสิ่งทอ จากประเทศต่างๆ เข้ามาในประเทศอเมริกา เพื่อให้แน่ใจว่า เส้นใย และสิ่งทอเหล่านั้น ได้มีการตรวจสอบแล้วว่า ปลอดจากเชื้อโรค และมลพิษต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคภัย ไข้เจ็บ แก่ประชาชนในประเทศ
เจ้าหน้าที่อธิบายมาแบบนี้ คุณๆคิดว่าฉันจะมีไหมคะ ไอ้วีซ่าอะไรเนี่ย.. ก็ไม่สิคะ มิหนำซ้ำ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เพิ่งจะได้รู้รักกับคำว่า วีซ่าสิ่งถักทอ แล้วฉันจะเอาอะไรไปให้เขา เจ้าหน้าที่เขาน่าจะเห็นใบหน้าเหยเก แบบจะร้องไห้ของฉัน เขาเลยปลอบใจว่า เอาอย่างนี้ เขาจะให้เวลาฉันหนึ่งเดือน ไปศึกษาและขอทำเรื่องวีซ่าสิ่งถักทอมา เขาจะเก็บของที่เป็นผ้าเอาไว้ให้ วันนี้ให้เอาของที่ทำจากสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่ผ้า กลับไปก่อน ซึ่งของที่ฉันเอาออกมาได้ในวันนั้น มันเป็นแค่หนึ่งในสามของ ของทั้งหมด ที่พ่อกับแม่ส่งมาให้ สองส่วนที่เหลือไว้ เป็นของที่ทำด้วยผ้าล้วนๆ และก็เป็นของที่น่าจะขายและทำรายได้ได้ดีมาก แต่ก็น่าเสียดาย ที่ฉันไม่สามารถเอามันออกมาได้
ฉันกลับบ้านมาลองศึกษาดูว่า ไอ้วีซ่าสิ่งถักทอนี่คืออะไร และทำอย่างไรถึงจะได้มา แต่มันก็ยุ่งยาก วุ่นวาย จนฉันต้องตัดใจ กลับไปบอกเจ้าหน้าว่าฉันคงต้องตัดใจ ให้เขายึดเอาของไป ซึ่งเขาก็จะเอาของที่ยึดได้นั้น เอาไปประมูลขาย ทอดตลาดอีกครั้งนึง ซึ่งในออฟฟิต ก็มีป้ายบอกวันเวลาการประมูล และของที่จะประมูล ที่มีตั้งแต่ รถยนต์ เครื่องตกแต่งบ้าน เหล้า ไวน์ และของจิปาถะอื่นๆทั่วไป ซึ่งก็มีคนมาประมูลเอาของพวกนี้ไปขายต่อกันอีกทอดนึง สำหรับฉัน ครั้งนี้เป็นบทเรียนราคาแพง อีกบทหนึ่งที่สอนให้ฉันรู้ว่า การเดินเทิ้งๆ ไปทำอะไร โดยที่ไม่ได้หาความรู้ไว้ล่วงหน้า ก็มีทั้งผลดี และผลเสีย และบทเรียนอีกบทหนึ่งที่ได้ก็คือ คราวหน้า ให้บริษัทขนส่งสินค้า มีอาชีพ ส่งของให้เราเองจะดีกว่า
หลังจากนั้นไม่นานนัก ฉันก็มีโอกาสได้กลับมาเมืองไทย ดังนั้น มันจึงเป็นการดี ที่ฉันจะได้ไปหาเลือกซื้อของเอง เพราะตอนนั้นฉันก็ชอบของการฝีมือ และงานศิลปะแปลกๆด้วย พ่อกับแม่ของฉันเลยพาตะเวนไปหาสินค้า ที่ต่างจังหวัด ที่ศูนย์งานฝีมือ หรือสมัยนี้รู้จักกันในนามว่า โอท๊อป (ซึ่งฉันก็ไม่รู้จริงๆ ว่าโอท๊อป หมายความว่าอะไร) ฉันได้ไปเยี่ยมชมช่างฝีมือ ที่เป็นชาวบ้าน และสมาชิกของที่ศูนย์ มานั่งถัก สาน ตะกร้า กระเป๋า จากผักตบชวา และไม่ไผ่ ฉันขอบอกเลยว่า แต่ละท่าน มีความชำนาญงาน และทำงานฝีมือได้ออกมาอย่างปราณีตมาก