เมื่อพ่อกับแม่เริ่มโอเค กับการฟัง และพูดภาษาอังกฤษได้ระดับหนึ่งแล้ว ทั้งสองคนก็ทำการเทคโอเวอร์ ร้านกิ๊ฟชีอป ของฉันทันที 555 พูดโอเวอร์ไปอย่างนั้นแหละคะ ที่จริงแล้ว การที่พ่อ Early Retired มาก่อนเวลา ทำให้คนที่เคยตื่นไปทำงาน ตั้งแต่ตีห้าตีหกทุกวัน พอออกจากงานแล้ว เขาก็เคว้งคว้าง ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เพราะว่าชีวิตเขาตั้งแต่เป็นเด็กๆ เขามีแต่ทำงาน กับทำงานค่ะ อีกอย่างการเป็นผู้ชาย การทำงานหาเลี้ยงครอบครัว เป็นสิ่งที่เขาทำมาตั้งแต่ สร้างครอบครัวด้วยกันกับแม่ ตั้งแต่เขาทั้งสองคนอายุยี่สิบเท่านั้น พ่อก็ออกไปทำงานตลอด แล้วให้แม่อยู่กับบ้านเลี้ยงดูลูกๆสี่คน ดังนั้นการที่จะให้พ่อมานั่งๆนอนๆ ตอนอายุห้าสิบกว่า เป็นอะไร ที่แกอึดอัดมากๆเลยค่ะ
ขอย้อนกลับไปก่อนหน้าที่พ่อจะตัดสินใจเกษียณและลาออกจากงาน ฉันมาอยู่ที่อเมริกาก่อนหน้านั้นแล้วตั้งแต่ปี 1997 มาเรียนด้วยและทำงานด้วยไปพร้อมๆกัน เนื่องจากพ่อเคยบอกว่า ถ้าอยากไปเรียนที่อเมริกา พ่อทำได้เพียงออกตั๋วค่าเครื่องบินให้แค่นั้น (ซึ่งได้ส่วนลด เพราะเป็นพนักงานสายการบิน) ส่วนค่าใช้จ่าย ค่าโรงเรียน ค่าอยู่ ค่ากิน อะไร ยังไงให้ไปหาเอาเอง ฉันก็โอเคค่ะ ไม่รู้ว่าเอาความมั่นหน้ามั่นโหนกจากไหน แต่มั่นใจมากๆว่าจะต้องทำได้ พ่อก็เลยอนุญาต และช่วยในเรื่องการออกตั๋ว กับสายการบินที่พ่อทำงานอยู่ และช่วยเรื่องวีซ่า ให้ได้มาอเมริกา เมื่อมาถึงก็ทำงานๆ เรียนๆ เที่ยวๆ สนุกสนานไปตามเรื่องตามราวค่ะ ก่อนหน้าที่พ่อจะมาอยู่ด้วยกัน พี่สาวกับแม่ก็เคยมาอยู่ด้วยหกเดือน แล้วก็กลับไป พอแม่กลับไปแล้วก็ชวนพ่อมาอยู่ด้วยกันกับฉัน พ่อจึงตัดสินใจลาออกจากงาน และก็มาอยู่ที่นี่กลับฉัน แต่พ่อกับแม่ยังต้องบินไปๆกลับๆ ทุกๆหกเดือน ทำอย่างนั้นอยู่หลายปีค่ะ จนกว่าจะได้กรีนการ์ด ตอนนั้นฉันก็เรียนด้วย ขายของด้วย ทำงานที่ร้านอาหารด้วย ก็ยุ่งมากค่ะ ฉันก็เลยให้พ่อแม่เทคโอเวอร์ร้านกิ๊ฟช๊อปไป เพื่อว่าเขาสองคนจะได้มีอะไรทำ แถมมีรายได้อีกด้วย เพราะการมาอยู่ที่นี่ จะไม่มีรายได้อะไรเลย ก็ใช่ว่าจะดี (ขอติดเรื่องการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปไว้ก่อนนะคะ เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังทีหลัง รับรองเรื่องนี้สนุกแน่)
การที่พ่อกับแม่ของฉัน พูดภาษาอังกฤษได้นิดๆหน่อยๆ ไม่ได้เป็นอุปสรรค์ต่อการทำกิจการการค้า ในประเทศนี้เลยนะคะ เพราะคนที่นี่น่ารักมาก แต่ละคนจะพยายามทำความเข้าใจ ว่าพ่อกับแม่พูดอะไร บางทีใช้การอ่านปากของพ่อกับแม่ อีกทั้งก็พยายามพูดช้าๆให้พ่อกับแม่ได้ฟังชัดๆ อีกทั้งก่อนหน้าที่พ่อกับแม่จะมาอยู่ที่อเมริกา พ่อกับแม่เคยเปิดร้านมินิมาร์ท ในขณะที่พ่อทำงาน แม่ก็ไปเปิดร้านมินิมาร์ท พอลูกๆกลับจากโรงเรียนก็ไปช่วยขายของที่ร้านมินิมาร์ท แต่ประมาณว่าไปกินของที่ร้านมากกว่าจะไปช่วยขายของค่ะ 555 การขายของนี้เป็นอะไรที่พ่อกับแม่ชอบมาก และทำได้ดีมาก นอกจากภาษาที่ติดๆขัดๆนิดๆหน่อย แต่การจัดการกิจการร้านขายของ ก็ทำอย่างที่พ่อกับแม่เคยทำมาค่ะ ไม่ยากเท่าไหร่ แต่ถ้าจะมีอะไร ที่เขาไม่เข้าใจ ฉันก็จะเข้าไปช่วย และจัดการให้ค่ะ จนเขาสามารถขยายกิจการร้านกิ๊ฟช๊อฟ จากบู้ทขายของเล็กๆ เป็นร้านใหญ่โตในมอลล์ ซึ่งคุณสามีเคยเปรยๆแบบชื่นชมว่า "พ่อแม่ของเธอนี่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ทำไมทำธุรกิจได้" ฉันก็ตอบกลับไปว่า "คนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ นี่ไม่ใช่ว่าเขาโง่นะค๊าาาาาา"
ร้านที่ขายของของพ่อกับแม่ เป็นที่รู้จักกันดีในนาม ร้านไทย (Thai) ที่จริงพ่อเขาจะตั้งชื่อร้านยาวกว่านี้ แต่ป้ายหน้าร้านนี่นะ ร้านที่รับทำป้าย เขาคิดราคาต่อตัวอักษร ตัวละห้าร้อยบาท ฉันบอกพ่อว่าเอาแค่คำว่า Thai นี่แหละ สี่ตัวก็สองพันแล้ว ถ้าจะให้ชื่อยาวกว่านี้จะไม่มีตังค์จ่าย 55555 สินค้าที่ขายในร้านไทย ก็เป็นสินค้าจากเมืองไทยนี่แหละคะ เป็นแฮนด์เมด สั่งมาจากอินเตอร์เน็ท จากร้านทางเมืองภาคเหนือ ซะส่วนใหญ่ ของที่ขายก็แตกต่างไปจากร้านอื่นๆในมอลล์ค่ะ ช่วงที่ขายดีที่สุด คือช่วงเทศกาลฟุตบอลเด็กมหาวิทยาลัย ในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม เนื่องจากผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็น ช้าง รูปช้าง หรือสัญลักษณ์ช้าง เสียส่วนใหญ่ แล้วทางมหาวิทยาลัยในเมือง มีมาสก๊อตเป็นตัวช้างด้วย คนในเมืองนี้ก็เลยชอบ ที่จะมาซื้อของที่ร้านเรา เพราะมีข้าวของที่มีรูปช้าง เยอะแยะเต็มไปหมด ที่หาซื้อที่ไหนก็ไม่ได้ นอกจากร้านนี้ อีกช่วงนึง ที่ขายดีมากคือช่วงเทศกาลคริสต์มาสต์ ที่ใครๆก็อยากได้ของขวัญจากร้านเรา ช่วงนี้จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยค่ะ ก็ถือว่าเราเป็นหนี้บุญคุณ ผลิตภัณฑ์ช้างน้อย กลอยใจ ของเมืองไทยนะคะ
เนื่องจากร้านที่พ่อกับแม่ขายของอยู่นั้น เป็นร้านใหญ่มาก พ่อเขาเลยมีไอเดีย เปิดข้างในร้านที่กั้นเป็นห้องเก็บของ ที่ใหญ่มากๆ เป็นยิม สอนมวยไทยค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่ง พ่อกลับเมืองไทย ไปเรียนวิชามวยไทย กับกรมพละศึกษา จนได้ใบประกาศนียบัตร จบวิชามวยไทย เขาก็เอามาเปิดยิมที่ร้าน เป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ตอนนั้นที่เปิดยิมอยู่ที่ร้านไทย ก็จะมีคนสนใจมาเรียนมวยกับพ่อมากมายเลยค่ะ และเป็นการออกกำลังกายของพ่อด้วย ซึ่งตอนนี้เขาอายุ 72 แล้วนะคะ แต่แข็งแรงมากๆ
พ่อสอนมวยไทยจนมีชื่อเสียงระดับหนึ่ง จนพิธีกรรายการวาไรตี้ที่ถอดสดในมอลล์ ทุกเที่ยงวัน มาขอให้พ่อออกรายการ โชว์เตะ ต่อย และวิชามวยไทย ออกรายการบ่อยๆ อีกทั้งทาง มหาวิทยาลัย และ Community College ก็เชิญพ่อไปเป็นวิทยากร สอนการต่อสู้มวยไทย บ่อยๆเช่นกัน นับได้ว่าช่วงนั้นพ่อเป็นที่รู้จัก กันไปทั่ว เพราะด้วยความที่พ่อมีอัธยาสัยที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลา พ่อก็เริ่มมีวงสังคมที่กว้างมากขึ้น อย่างเช่นไปร่วมงาน การกุศล Mall Ball ที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินช่วยเหลือคนพิการ ซึ่งพ่อกับแม่ก็สนุกสนาน และรู้จักคนทั้งชาวไทยและอเมริกัน ที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น
อย่างที่เคยเกริ่นไว้ก่อนว่า ตอนที่อยู่เมืองไทย พ่อจะมีนิสัย คล้ายๆคนโบราณ หัวแข็งหน่อยๆ ถือประเพณีไทยเคร่งครัด อย่างฉันกับพี่สาวนี่ เวลานั่งกินข้าว หรือนั่งดูทีวีที่พื้น จะต้องนั่งพับเพียบตลอดเวลา แต่ฉันเคยแอบนอนดูทีวี แล้วเวลาอยากเปลี่ยนช่อง ตอนนั้นไม่มีรีโมท ฉันก็ใช้หัวแม่เท้า กดปุ่มเปลี่ยนทีวี พ่อแม่เห็นเข้า โอ๊ย... งานเข้าค๊า..... แต่การที่ได้มาอยู่ที่อเมริกา และได้ออกมารู้จักคนมากขึ้น ทำให้ความคิด ต่างๆของพ่อเปลี่ยนไป พ่อยอมรับถึงค่านิยม ขนบธรรมเนียนมประเพณี ของที่นี่ และปรับตัวให้เข้ากับคนที่นี่ได้เร็ว และไม่ยากเท่าไหร่ แม้บางที จะขัดตาขัดใจกับอะไรไปบ้าง พ่อเขาก็พยายามทำใจ อย่างเช่น การที่เด็กวัยรุ่นผู้ชายที่มาเดินมอลล์ จะใส่กางเกงหลุดตูด โชว์กางเกงใน ที่บางทีกางเกงหลุดไปถึงเข่า มันก็ไม่ดึงขึ้น เดินแบบนั้นแหละ สงสัยมันคิดว่าเท่ห์มั้ง....
ที่เมืองนี้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยค่ะ ก็จะมีนักเรียนต่างชาติ มาเรียนมากมาย นักเรียนที่มาใหม่ส่วนใหญ่จะติดต่อที่อยู่ กับทางมหวิทยาลัย ก่อนที่จะมากันทั้งนั้น พอมาถึงเขาก็จับให้อยู่หอ หรือที่เรียกว่า ดอม หรือ Dormitory ที่อยู่ในเขตของมหวิทยาลัย ที่เรียกว่า Campus สามารถเดินไปเรียนได้ พอวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ทางโรงเรียนมีรถบัส พานักเรียนเหล่านี้มาเที่ยวซื้อข้าวของเครื่องใช้ ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต และมาเที่ยวในมอลล์
การเปิดร้านขายของไทยในมอลล์ ที่มีชื่อป้ายโชว์หลาเลยว่า "Thai" ทำให้เด็กนักเรียนชาวไทย ที่มาใหม่ๆ ไม่รู้จักใครเลย รู้ว่าร้านนี้เป็นร้านคนไทย ก็มีเด็กๆนักเรียนเดินเข้ามาทัก มาคุยกับพ่อ กับแม่มากมาย มาเล่าว่ามายังไง อยู่ยังไง พ่อกับแม่ ก็จะชวนเขามาบ้าน มาทำอาหารกินบ้าง พาไปเที่ยวบ้าง เพราะสงสาร เห็นว่าเป็นเด็กๆ เป็นคนไทยด้วยกัน อีกทั้งก็ยังช่วยพาไปแนะนำ ให้รู้จักเจ้าของร้านอาหารไทย เผื่อว่ามีงานให้เด็กๆทำ หารายได้พิเศษ หรือไม่ก็แนะนำ อพาร์ทเม้นต์ราคาถูกๆ ให้เขาไป หาเขาหมดสัญญากับทางหอพักของมหาวิทยาลัย ที่ราคาแพงกว่าก็จะได้ย้ายมาอยู่ที่ ที่ราคาถูกกว่า พ่อกับแม่ก็ถือว่าได้ช่วยลูก ช่วยหลาน เพราะคนไทยด้วยกัน ไม่เคยทิ้งกันค่ะ
ติดตามตอนต่อไปนะคะ
รูปนี้ให้ดูอีกทีค่ะ เป็นกิ๊ฟช๊อป เล็กๆของฉัน เอาไว้เปรียบเทียบกับร้านของพ่อกับแม่...
แตนแต๊นนนนนน.....ร้านไทยของพ่อกับแม่ค่ะ ร้านใหญ่ม๊ากกกกก
พ่อจัดร้าน และซ่อมบำรุงอะไรในร้านทุกอย่างเองค่ะ
ภายในร้านก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ
อยู่ที่อเมริกาก็มีรูป ที่ทุกบ้านต้องมีนะคะ
งานอดิเรกเวลาว่างของพ่อ คือปลูกบอนไซขายค่ะ
มีเสื้อ กางเกงมวย และอุปกรณ์มวยขายด้วยนะคะ
พ่อกับแม่ออกงาน Mall Ball สนุกสนานกันไป
งานผูกฝ้าย ของคนไทย คนลาว ในเมืองค่ะ
เล่าได้เล่าดี ตอนชีวิตในอเมริกาของพ่อกับแม่ ตอนที่ 3
ขอย้อนกลับไปก่อนหน้าที่พ่อจะตัดสินใจเกษียณและลาออกจากงาน ฉันมาอยู่ที่อเมริกาก่อนหน้านั้นแล้วตั้งแต่ปี 1997 มาเรียนด้วยและทำงานด้วยไปพร้อมๆกัน เนื่องจากพ่อเคยบอกว่า ถ้าอยากไปเรียนที่อเมริกา พ่อทำได้เพียงออกตั๋วค่าเครื่องบินให้แค่นั้น (ซึ่งได้ส่วนลด เพราะเป็นพนักงานสายการบิน) ส่วนค่าใช้จ่าย ค่าโรงเรียน ค่าอยู่ ค่ากิน อะไร ยังไงให้ไปหาเอาเอง ฉันก็โอเคค่ะ ไม่รู้ว่าเอาความมั่นหน้ามั่นโหนกจากไหน แต่มั่นใจมากๆว่าจะต้องทำได้ พ่อก็เลยอนุญาต และช่วยในเรื่องการออกตั๋ว กับสายการบินที่พ่อทำงานอยู่ และช่วยเรื่องวีซ่า ให้ได้มาอเมริกา เมื่อมาถึงก็ทำงานๆ เรียนๆ เที่ยวๆ สนุกสนานไปตามเรื่องตามราวค่ะ ก่อนหน้าที่พ่อจะมาอยู่ด้วยกัน พี่สาวกับแม่ก็เคยมาอยู่ด้วยหกเดือน แล้วก็กลับไป พอแม่กลับไปแล้วก็ชวนพ่อมาอยู่ด้วยกันกับฉัน พ่อจึงตัดสินใจลาออกจากงาน และก็มาอยู่ที่นี่กลับฉัน แต่พ่อกับแม่ยังต้องบินไปๆกลับๆ ทุกๆหกเดือน ทำอย่างนั้นอยู่หลายปีค่ะ จนกว่าจะได้กรีนการ์ด ตอนนั้นฉันก็เรียนด้วย ขายของด้วย ทำงานที่ร้านอาหารด้วย ก็ยุ่งมากค่ะ ฉันก็เลยให้พ่อแม่เทคโอเวอร์ร้านกิ๊ฟช๊อปไป เพื่อว่าเขาสองคนจะได้มีอะไรทำ แถมมีรายได้อีกด้วย เพราะการมาอยู่ที่นี่ จะไม่มีรายได้อะไรเลย ก็ใช่ว่าจะดี (ขอติดเรื่องการเปิดร้านกิ๊ฟช๊อปไว้ก่อนนะคะ เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังทีหลัง รับรองเรื่องนี้สนุกแน่)
การที่พ่อกับแม่ของฉัน พูดภาษาอังกฤษได้นิดๆหน่อยๆ ไม่ได้เป็นอุปสรรค์ต่อการทำกิจการการค้า ในประเทศนี้เลยนะคะ เพราะคนที่นี่น่ารักมาก แต่ละคนจะพยายามทำความเข้าใจ ว่าพ่อกับแม่พูดอะไร บางทีใช้การอ่านปากของพ่อกับแม่ อีกทั้งก็พยายามพูดช้าๆให้พ่อกับแม่ได้ฟังชัดๆ อีกทั้งก่อนหน้าที่พ่อกับแม่จะมาอยู่ที่อเมริกา พ่อกับแม่เคยเปิดร้านมินิมาร์ท ในขณะที่พ่อทำงาน แม่ก็ไปเปิดร้านมินิมาร์ท พอลูกๆกลับจากโรงเรียนก็ไปช่วยขายของที่ร้านมินิมาร์ท แต่ประมาณว่าไปกินของที่ร้านมากกว่าจะไปช่วยขายของค่ะ 555 การขายของนี้เป็นอะไรที่พ่อกับแม่ชอบมาก และทำได้ดีมาก นอกจากภาษาที่ติดๆขัดๆนิดๆหน่อย แต่การจัดการกิจการร้านขายของ ก็ทำอย่างที่พ่อกับแม่เคยทำมาค่ะ ไม่ยากเท่าไหร่ แต่ถ้าจะมีอะไร ที่เขาไม่เข้าใจ ฉันก็จะเข้าไปช่วย และจัดการให้ค่ะ จนเขาสามารถขยายกิจการร้านกิ๊ฟช๊อฟ จากบู้ทขายของเล็กๆ เป็นร้านใหญ่โตในมอลล์ ซึ่งคุณสามีเคยเปรยๆแบบชื่นชมว่า "พ่อแม่ของเธอนี่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ทำไมทำธุรกิจได้" ฉันก็ตอบกลับไปว่า "คนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ นี่ไม่ใช่ว่าเขาโง่นะค๊าาาาาา"
ร้านที่ขายของของพ่อกับแม่ เป็นที่รู้จักกันดีในนาม ร้านไทย (Thai) ที่จริงพ่อเขาจะตั้งชื่อร้านยาวกว่านี้ แต่ป้ายหน้าร้านนี่นะ ร้านที่รับทำป้าย เขาคิดราคาต่อตัวอักษร ตัวละห้าร้อยบาท ฉันบอกพ่อว่าเอาแค่คำว่า Thai นี่แหละ สี่ตัวก็สองพันแล้ว ถ้าจะให้ชื่อยาวกว่านี้จะไม่มีตังค์จ่าย 55555 สินค้าที่ขายในร้านไทย ก็เป็นสินค้าจากเมืองไทยนี่แหละคะ เป็นแฮนด์เมด สั่งมาจากอินเตอร์เน็ท จากร้านทางเมืองภาคเหนือ ซะส่วนใหญ่ ของที่ขายก็แตกต่างไปจากร้านอื่นๆในมอลล์ค่ะ ช่วงที่ขายดีที่สุด คือช่วงเทศกาลฟุตบอลเด็กมหาวิทยาลัย ในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม เนื่องจากผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็น ช้าง รูปช้าง หรือสัญลักษณ์ช้าง เสียส่วนใหญ่ แล้วทางมหาวิทยาลัยในเมือง มีมาสก๊อตเป็นตัวช้างด้วย คนในเมืองนี้ก็เลยชอบ ที่จะมาซื้อของที่ร้านเรา เพราะมีข้าวของที่มีรูปช้าง เยอะแยะเต็มไปหมด ที่หาซื้อที่ไหนก็ไม่ได้ นอกจากร้านนี้ อีกช่วงนึง ที่ขายดีมากคือช่วงเทศกาลคริสต์มาสต์ ที่ใครๆก็อยากได้ของขวัญจากร้านเรา ช่วงนี้จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยค่ะ ก็ถือว่าเราเป็นหนี้บุญคุณ ผลิตภัณฑ์ช้างน้อย กลอยใจ ของเมืองไทยนะคะ
เนื่องจากร้านที่พ่อกับแม่ขายของอยู่นั้น เป็นร้านใหญ่มาก พ่อเขาเลยมีไอเดีย เปิดข้างในร้านที่กั้นเป็นห้องเก็บของ ที่ใหญ่มากๆ เป็นยิม สอนมวยไทยค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่ง พ่อกลับเมืองไทย ไปเรียนวิชามวยไทย กับกรมพละศึกษา จนได้ใบประกาศนียบัตร จบวิชามวยไทย เขาก็เอามาเปิดยิมที่ร้าน เป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ตอนนั้นที่เปิดยิมอยู่ที่ร้านไทย ก็จะมีคนสนใจมาเรียนมวยกับพ่อมากมายเลยค่ะ และเป็นการออกกำลังกายของพ่อด้วย ซึ่งตอนนี้เขาอายุ 72 แล้วนะคะ แต่แข็งแรงมากๆ
พ่อสอนมวยไทยจนมีชื่อเสียงระดับหนึ่ง จนพิธีกรรายการวาไรตี้ที่ถอดสดในมอลล์ ทุกเที่ยงวัน มาขอให้พ่อออกรายการ โชว์เตะ ต่อย และวิชามวยไทย ออกรายการบ่อยๆ อีกทั้งทาง มหาวิทยาลัย และ Community College ก็เชิญพ่อไปเป็นวิทยากร สอนการต่อสู้มวยไทย บ่อยๆเช่นกัน นับได้ว่าช่วงนั้นพ่อเป็นที่รู้จัก กันไปทั่ว เพราะด้วยความที่พ่อมีอัธยาสัยที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลา พ่อก็เริ่มมีวงสังคมที่กว้างมากขึ้น อย่างเช่นไปร่วมงาน การกุศล Mall Ball ที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินช่วยเหลือคนพิการ ซึ่งพ่อกับแม่ก็สนุกสนาน และรู้จักคนทั้งชาวไทยและอเมริกัน ที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น
อย่างที่เคยเกริ่นไว้ก่อนว่า ตอนที่อยู่เมืองไทย พ่อจะมีนิสัย คล้ายๆคนโบราณ หัวแข็งหน่อยๆ ถือประเพณีไทยเคร่งครัด อย่างฉันกับพี่สาวนี่ เวลานั่งกินข้าว หรือนั่งดูทีวีที่พื้น จะต้องนั่งพับเพียบตลอดเวลา แต่ฉันเคยแอบนอนดูทีวี แล้วเวลาอยากเปลี่ยนช่อง ตอนนั้นไม่มีรีโมท ฉันก็ใช้หัวแม่เท้า กดปุ่มเปลี่ยนทีวี พ่อแม่เห็นเข้า โอ๊ย... งานเข้าค๊า..... แต่การที่ได้มาอยู่ที่อเมริกา และได้ออกมารู้จักคนมากขึ้น ทำให้ความคิด ต่างๆของพ่อเปลี่ยนไป พ่อยอมรับถึงค่านิยม ขนบธรรมเนียนมประเพณี ของที่นี่ และปรับตัวให้เข้ากับคนที่นี่ได้เร็ว และไม่ยากเท่าไหร่ แม้บางที จะขัดตาขัดใจกับอะไรไปบ้าง พ่อเขาก็พยายามทำใจ อย่างเช่น การที่เด็กวัยรุ่นผู้ชายที่มาเดินมอลล์ จะใส่กางเกงหลุดตูด โชว์กางเกงใน ที่บางทีกางเกงหลุดไปถึงเข่า มันก็ไม่ดึงขึ้น เดินแบบนั้นแหละ สงสัยมันคิดว่าเท่ห์มั้ง....
ที่เมืองนี้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยค่ะ ก็จะมีนักเรียนต่างชาติ มาเรียนมากมาย นักเรียนที่มาใหม่ส่วนใหญ่จะติดต่อที่อยู่ กับทางมหวิทยาลัย ก่อนที่จะมากันทั้งนั้น พอมาถึงเขาก็จับให้อยู่หอ หรือที่เรียกว่า ดอม หรือ Dormitory ที่อยู่ในเขตของมหวิทยาลัย ที่เรียกว่า Campus สามารถเดินไปเรียนได้ พอวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ทางโรงเรียนมีรถบัส พานักเรียนเหล่านี้มาเที่ยวซื้อข้าวของเครื่องใช้ ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต และมาเที่ยวในมอลล์
การเปิดร้านขายของไทยในมอลล์ ที่มีชื่อป้ายโชว์หลาเลยว่า "Thai" ทำให้เด็กนักเรียนชาวไทย ที่มาใหม่ๆ ไม่รู้จักใครเลย รู้ว่าร้านนี้เป็นร้านคนไทย ก็มีเด็กๆนักเรียนเดินเข้ามาทัก มาคุยกับพ่อ กับแม่มากมาย มาเล่าว่ามายังไง อยู่ยังไง พ่อกับแม่ ก็จะชวนเขามาบ้าน มาทำอาหารกินบ้าง พาไปเที่ยวบ้าง เพราะสงสาร เห็นว่าเป็นเด็กๆ เป็นคนไทยด้วยกัน อีกทั้งก็ยังช่วยพาไปแนะนำ ให้รู้จักเจ้าของร้านอาหารไทย เผื่อว่ามีงานให้เด็กๆทำ หารายได้พิเศษ หรือไม่ก็แนะนำ อพาร์ทเม้นต์ราคาถูกๆ ให้เขาไป หาเขาหมดสัญญากับทางหอพักของมหาวิทยาลัย ที่ราคาแพงกว่าก็จะได้ย้ายมาอยู่ที่ ที่ราคาถูกกว่า พ่อกับแม่ก็ถือว่าได้ช่วยลูก ช่วยหลาน เพราะคนไทยด้วยกัน ไม่เคยทิ้งกันค่ะ
ติดตามตอนต่อไปนะคะ
รูปนี้ให้ดูอีกทีค่ะ เป็นกิ๊ฟช๊อป เล็กๆของฉัน เอาไว้เปรียบเทียบกับร้านของพ่อกับแม่...
แตนแต๊นนนนนน.....ร้านไทยของพ่อกับแม่ค่ะ ร้านใหญ่ม๊ากกกกก
พ่อจัดร้าน และซ่อมบำรุงอะไรในร้านทุกอย่างเองค่ะ
ภายในร้านก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ
อยู่ที่อเมริกาก็มีรูป ที่ทุกบ้านต้องมีนะคะ
งานอดิเรกเวลาว่างของพ่อ คือปลูกบอนไซขายค่ะ
มีเสื้อ กางเกงมวย และอุปกรณ์มวยขายด้วยนะคะ
พ่อกับแม่ออกงาน Mall Ball สนุกสนานกันไป
งานผูกฝ้าย ของคนไทย คนลาว ในเมืองค่ะ