อุเบกขา จุดเลี้ยวระหว่างเส้นทางมารกับเทพ
บางคนทำดีเพื่อความโลภ แต่ไม่เอาเงิน แต่ทำเพื่อชื่อเสียง เพื่อจะให้คนยกย่อง ก็คือ ความโลภ
จะให้คนรู้จักแล้วไว้ชื่อในโลกนี้ อันนี้ยังเป็นตัวโลภ ตัวอิจฉา
ข้างหนึ่งว่า ทำอะไรไม่ต้องใส่ชื่อ ไม่ต้องมีชื่อ เป็นโลภเหมือนกัน
เมื่อทำความดีขึ้นมาต้องตั้งจิตเป็นอุเบกขา สุดแล้วแต่ธรรม
ท่านให้ไว้ ก็ไม่กังวล ท่านไม่ได้ให้ไว้ ก็ไม่กังวล เขาเรียกว่า ต้องมีตัวอุเบกขาจิต
ก็จะอยู่ในภวตัณหากับวิภวตัณหา ก็ยังอยู่ในหมวดของตัณหา
ต้องอยู่ในอุเบกขา คือ หลุดพ้นจากความเป็นอำนาจของตัณหาทั้งสองข้าง อันนี้จะมีตัณหาอยู่อย่างหนึ่งคือ ตัณหาประภัสสร
ตัณหาประภัสสร คือ ตัณหาโดยธรรมชาติที่ดำรงอยู่เช่นนั้นเอง เหมือนกับจิตประภัสสร มีอยู่ แต่ไม่ถูกครอบงำทั้งสองด้าน มีแต่ดำรงอยู่เท่านั้นเอง เหมือนกับจิตประภัสสรแล้วแต่เหตุของธรรมจะมาปรุง
ทำไมพรหมวิหาร ๔ จึงต้องมีอุเบกขา มีอุเบกขาเพราะจะเป็นชั้นที่ต่อแต้มที่จะขึ้นไปยังชั้นสูงต่อๆ ไป ไม่มีอุเบกขาไม่ได้ ทีนี้ คนเขาบอกว่าอุเบกขาแล้ววางเฉย อันนี้ไม่ใช่ กลายเป็นว่า อุเบกขาไม่มีอะไรเลย มี ๓ ข้อ ข้อ ๔ ไม่มีอะไรเลย นี่ไม่ใช่ เพราะใน ๓ ข้อนี้ ถ้าไม่มีข้อ ๔ อุเบกขา จะเลี้ยวผิดทางอยู่เรื่อย
เราจะเลี้ยวไปทางเทพหรือทางมารก็จะอยู่ที่ตัวนี้ละ แรกๆ มาจะเหมือนกัน แล้วพอมาอยู่ที่ตัวอุเบกขาแล้วก็จะเลี้ยวไปทางไหน
ถ้าเราไม่อุเบกขาก็จะถูกตัณหา ตัวอยากชักจูงไปได้ ชักจูงกันไป ชักจูงกันมา แต่ถ้ามีอุเบกขาจะดำรงเป็นประภัสสรไว้
แรกๆ มีมุฑิตา คนที่เป็นมาร แรกๆ ก็จะช่วยเหลือคน เยอะแยะ แล้วมาเกิดความโลภทีหลัง เพราะเกิดการสรรเสริญ นี่แหละเป็นของกูหรือของธรรม ถ้าเราไม่อุเบกขา ก็คืนสู่ธรรมไม่ได้
วิธีอุเบกขา คืนสู่ธรรม ก็ต้องทำดีแล้วสำนึกยกให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรายกให้ท่านแล้วเราอุเบกขาหรือเปล่า? ปกติของเรา ให้เราคิดว่า เราทำในธรรมแล้วก็ต้องคืนสู่ธรรม เรามีตัวนี้เป็นในจิตตลอด
ถ้าเราทำในธรรม ไม่ทำในธรรม ก็จะเกิดของกูตลอด ของกูตัวนี้แหละที่จะพัฒนาไปสู่ตัวมาร มิจฉาล่ะ
มารกับสายเทพมาด้วยกันตลอด เป็นหน้ามือกับหลังมือ มาแยกตรงจุดอุเบกขานี่แหละ จะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาตรงนี้แหละ แต่จริงๆ ก็มาจากสายเดียวกัน
มารเขามาแล้วเลี้ยวผิดสาย แล้วมารสำนึก สำนึกในอุเบกขาแล้วมารจะเกิดเป็นเทพได้ การเป็นมารต้องถอยจากมารมาหน่อยหนึ่งแล้วมาหยุดตรงอุเบกขาแล้วก็จะเข้าสู่สายเทพ ก็คือเลี้ยวให้ถูกทาง ถ้าเราเลี้ยวผิดทางเราต้องถอยมากลับทางเก่าก่อน กลับแล้วมาตั้งที่ศูนย์แล้วค่อยไปใหม่ นี่จึงจะถูกทาง ถ้าเราไปแล้วจะเปลี่ยนตรงนั้น จะเปลี่ยนไม่ได้ ต้องถอยกลับมาถึงจะเปลี่ยนได้ ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะวิ่งไปเรื่อย
บางคนเป็นเทพแล้วไปถึงครึ่งทาง ผิดหวัง กลับมา ตั้งตรงนี้แล้วเลี้ยวไปทางมารเยอะแยะไป เทพก็จะเป็นมารได้ มารก็จะเป็นเทพได้
ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ เวลาเราปฏิบัติหรือเวลาเราจะมองคน ดูภูมิปัญญา หรือภาวะกรรม จะดูชัดเจน
เราทำในธรรมแล้วคืนสู่ธรรม เราทำจนเป็นปกติจนเป็นสันดาน สันดานทำจนถึงขั้นจุดอุเบกขา สบาย ไม่ใช่ยาก แต่ถ้าข้างล่างไม่สะสมพลังมา มันยาก อยู่ดีๆ มาหักดิบมันยากมาก มันสันดาน เราเรียกว่า ค่าของกรรม แรงกรรม มันดัน ถ้าแรงกรรมตั้งแต่ต้นเราทำถูกทาง มันสบาย แต่ถ้าตั้งแต่ต้นเราทำไม่ถูกทางเราจะลำบาก
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
อุเบกขา จุดเลี้ยวระหว่างเส้นทางมารกับเทพ
บางคนทำดีเพื่อความโลภ แต่ไม่เอาเงิน แต่ทำเพื่อชื่อเสียง เพื่อจะให้คนยกย่อง ก็คือ ความโลภ
จะให้คนรู้จักแล้วไว้ชื่อในโลกนี้ อันนี้ยังเป็นตัวโลภ ตัวอิจฉา
ข้างหนึ่งว่า ทำอะไรไม่ต้องใส่ชื่อ ไม่ต้องมีชื่อ เป็นโลภเหมือนกัน
เมื่อทำความดีขึ้นมาต้องตั้งจิตเป็นอุเบกขา สุดแล้วแต่ธรรม
ท่านให้ไว้ ก็ไม่กังวล ท่านไม่ได้ให้ไว้ ก็ไม่กังวล เขาเรียกว่า ต้องมีตัวอุเบกขาจิต
ก็จะอยู่ในภวตัณหากับวิภวตัณหา ก็ยังอยู่ในหมวดของตัณหา
ต้องอยู่ในอุเบกขา คือ หลุดพ้นจากความเป็นอำนาจของตัณหาทั้งสองข้าง อันนี้จะมีตัณหาอยู่อย่างหนึ่งคือ ตัณหาประภัสสร
ตัณหาประภัสสร คือ ตัณหาโดยธรรมชาติที่ดำรงอยู่เช่นนั้นเอง เหมือนกับจิตประภัสสร มีอยู่ แต่ไม่ถูกครอบงำทั้งสองด้าน มีแต่ดำรงอยู่เท่านั้นเอง เหมือนกับจิตประภัสสรแล้วแต่เหตุของธรรมจะมาปรุง
ทำไมพรหมวิหาร ๔ จึงต้องมีอุเบกขา มีอุเบกขาเพราะจะเป็นชั้นที่ต่อแต้มที่จะขึ้นไปยังชั้นสูงต่อๆ ไป ไม่มีอุเบกขาไม่ได้ ทีนี้ คนเขาบอกว่าอุเบกขาแล้ววางเฉย อันนี้ไม่ใช่ กลายเป็นว่า อุเบกขาไม่มีอะไรเลย มี ๓ ข้อ ข้อ ๔ ไม่มีอะไรเลย นี่ไม่ใช่ เพราะใน ๓ ข้อนี้ ถ้าไม่มีข้อ ๔ อุเบกขา จะเลี้ยวผิดทางอยู่เรื่อย
เราจะเลี้ยวไปทางเทพหรือทางมารก็จะอยู่ที่ตัวนี้ละ แรกๆ มาจะเหมือนกัน แล้วพอมาอยู่ที่ตัวอุเบกขาแล้วก็จะเลี้ยวไปทางไหน
ถ้าเราไม่อุเบกขาก็จะถูกตัณหา ตัวอยากชักจูงไปได้ ชักจูงกันไป ชักจูงกันมา แต่ถ้ามีอุเบกขาจะดำรงเป็นประภัสสรไว้
แรกๆ มีมุฑิตา คนที่เป็นมาร แรกๆ ก็จะช่วยเหลือคน เยอะแยะ แล้วมาเกิดความโลภทีหลัง เพราะเกิดการสรรเสริญ นี่แหละเป็นของกูหรือของธรรม ถ้าเราไม่อุเบกขา ก็คืนสู่ธรรมไม่ได้
วิธีอุเบกขา คืนสู่ธรรม ก็ต้องทำดีแล้วสำนึกยกให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรายกให้ท่านแล้วเราอุเบกขาหรือเปล่า? ปกติของเรา ให้เราคิดว่า เราทำในธรรมแล้วก็ต้องคืนสู่ธรรม เรามีตัวนี้เป็นในจิตตลอด
ถ้าเราทำในธรรม ไม่ทำในธรรม ก็จะเกิดของกูตลอด ของกูตัวนี้แหละที่จะพัฒนาไปสู่ตัวมาร มิจฉาล่ะ
มารกับสายเทพมาด้วยกันตลอด เป็นหน้ามือกับหลังมือ มาแยกตรงจุดอุเบกขานี่แหละ จะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาตรงนี้แหละ แต่จริงๆ ก็มาจากสายเดียวกัน
มารเขามาแล้วเลี้ยวผิดสาย แล้วมารสำนึก สำนึกในอุเบกขาแล้วมารจะเกิดเป็นเทพได้ การเป็นมารต้องถอยจากมารมาหน่อยหนึ่งแล้วมาหยุดตรงอุเบกขาแล้วก็จะเข้าสู่สายเทพ ก็คือเลี้ยวให้ถูกทาง ถ้าเราเลี้ยวผิดทางเราต้องถอยมากลับทางเก่าก่อน กลับแล้วมาตั้งที่ศูนย์แล้วค่อยไปใหม่ นี่จึงจะถูกทาง ถ้าเราไปแล้วจะเปลี่ยนตรงนั้น จะเปลี่ยนไม่ได้ ต้องถอยกลับมาถึงจะเปลี่ยนได้ ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะวิ่งไปเรื่อย
บางคนเป็นเทพแล้วไปถึงครึ่งทาง ผิดหวัง กลับมา ตั้งตรงนี้แล้วเลี้ยวไปทางมารเยอะแยะไป เทพก็จะเป็นมารได้ มารก็จะเป็นเทพได้
ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ เวลาเราปฏิบัติหรือเวลาเราจะมองคน ดูภูมิปัญญา หรือภาวะกรรม จะดูชัดเจน
เราทำในธรรมแล้วคืนสู่ธรรม เราทำจนเป็นปกติจนเป็นสันดาน สันดานทำจนถึงขั้นจุดอุเบกขา สบาย ไม่ใช่ยาก แต่ถ้าข้างล่างไม่สะสมพลังมา มันยาก อยู่ดีๆ มาหักดิบมันยากมาก มันสันดาน เราเรียกว่า ค่าของกรรม แรงกรรม มันดัน ถ้าแรงกรรมตั้งแต่ต้นเราทำถูกทาง มันสบาย แต่ถ้าตั้งแต่ต้นเราทำไม่ถูกทางเราจะลำบาก
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์