https://ppantip.com/topic/39926791
https://ppantip.com/topic/39930357
....................
ก่อนจะอธิบายขณะเข้าถึง อยากจะอธิบายสภาพจิตก่อนบรรลุเสียก่อนครับ
สภาพจิตก่อนเข้าถึงมีสภาพเป็นกลาง ไม่เป็นด่างเป็นกรด หรืออาจเรียกได้ว่าไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่กระทบเข้ามาผ่านอายตนะ 12 ไม่ว่าเป็นกลางต่อวัตถุกาม ต่อบุคคล ต่อเหตุการณ์ ต่อปรากฏการณ์ เป็นกลางต่อสังขาร ต้องไม่มีอคติในจิตใจไม่ว่าต่อบุคคล ทรรศนะการเมืองการปกครอง แนวคิด ลัทธิ ศาสนา
จิตหรืออายตนะ ๖ มีสภาพอุเบกขา แต่ต้องไม่ใช่อุเบกขามีอามิส หรือไปหลงลูบคลำ/โมหะอุเบกขา เช่น ไปลูบคลำต่ออุเบกขาพรหมวิหาร อุเบกขาฌาน อุเบกขาในวิปัสสนาญาณ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความลูบคลำหรือไปหลงยึดมั่นสร้างทิฏฐิในทั้งปวงนี้ไม่อาจเข้าถึงธรรมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
อุเบกขาต้องไม่ใช่เพียงอารมณ์ ไม่ใช่เพียงความคิด แต่เป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปฏิบัติ เป็นอุเบกขาที่ประกอบด้วยปัญญา มีการตื่นรู้ทางอายตนะ คล้อยตามต่อสัจจะ ซึ่งสังเกตได้ง่ายๆ เพราะจะเป็นอุเบกขาที่มีความเปิดกว้าง เปิดกะโหลก มิใช่อุเบกขากะลาครอบหรือคับแคบ ตีบตัน ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
อุเบกขาที่พร้อมจะบรรลุมิใช่อุเบกขาที่ตั้งเด่ดุจแท่งเสาหินหรือแข็งกระด้าง แต่ต้องมีลักษณะคล้อยตามธรรมชาติที่ปรากฏ เรียกว่า เป็นอุเบกขาที่ความอ่อนความเบาแต่ไม่หวั่นไหว มีปัญญา เอื้อต่อการเรียนรู้สัจธรรม
อุเบกขาที่พร้อมบรรลุ จะเปิดทางสู่ความรู้ยิ่งกว่า การเจริญสติปัฏฐาน 4 จะเป็นทางสู่อุเบกขาที่พร้อมจะเข้าถึงธรรม การนั่งภาวนาอย่างเดียวแต่ไม่เจริญ สติปัฏฐาน 4 มิอาจบรรลุได้เพราะจะมีส่วนหลง เหมือนฤษี หรือผู้ปฏิบัติที่หลง เพราะฉะนั้น ขณะนั่งภาวนานั่งสมาธิต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔ ควบคู่กันไป มีสติรู้ตัว
นอกจากสภาพจิตที่มีอุเบกขา ทุกส่วนของมรรคต้องมีความพอดี พอเหมาะสม หรือทางสายกลาง เอาจริงๆทางสายกลาง พอเหมาะ พอดี เป็นสภาพที่เกิดขึ้นได้ยาก และเข้าใจได้ยากอยู่พอสมควร ซึ่งมันสังเกตได้อยู่ว่า เมื่ออยู่ในทางสายกลางมันจะประหารกิเลส ประหารอกุศล พร้อมที่จะไปสู่วิชชา วิมุตติ แต่เมื่อใดที่อยู่นอกทางสายกลาง อกุศล กิเลสตัณหามันจะเกิดขึ้น เจริญเติบโต เข้าสู่ทางสายกลางเพียงแวบเดียวสามารถประหารสังโยชน์ได้
“ทางสายกลางอย่างบริบูรณ์แท้จริง เป็นเรื่องมรรคจิต” เกิดขึ้นแวบเดียว แต่ในแวบเดียวนั้นมันจะเกิดความรู้ในธรรมชาติมากมายมหาศาล
หัวใจของการปฏิบัติต้องกำหนดรู้เท่าทันสภาวะที่เกิดขึ้นอันเป็นผลของการปฏิบัติ รวมถึงธรรมอันธรรมดาสามัญ มิฉะนั้น มันจะเข้าเสพทางอารมณ์จนเกิดการยึดถือ เหมือนสภาวะสมาธิ คนที่ไม่เคยสัมผัสเมื่อได้สัมผัสก็หลงแทบทุกคน เพียงไม่รู้ว่าหลงเพราะเข้าใจว่าสิ่งนั้นถูก มันคล้ายกับคนมีฌาน ได้สมาธิ ได้ญาณ ได้สิ่งวิเศษ แล้วมันเกิดความกลัวความทุกข์เมื่อสิ่งนั้นกำลังหายไป เป็นภวตัณหา บางคนเห็นผีเห็นวิญญาณได้ก็มุ่งดูผีดูวิญญาณอยู่ร่ำไป นั่นเป็นความหลง มิอาจยกระดับภูมิธรรมให้สูงไปกว่านี้ได้
ในสภาพจิตก่อนที่จะเห็นธรรมชาตินั้น ก็อยู่กับอุเบกขาไม่นาน ซึ่งผมเห็นว่า นี้มันมิใช่ที่สุดของการเจริญธรรม มิใช่สิ่งสูงสุด น่าจะมีอะไรที่ลึกกว่านี้ “เพราะเห็นว่าเป็นสภาวะธรรมดาเกินไป ” ที่ว่าธรรมดานี้เป็นมุมมองส่วนตัวในขณะนั้น แต่ถ้าเทียบกับหลักทฤษฎีนี้มันไม่ธรรมดาแล้ว เป็นสภาวธรรมที่อยู่สูงพอสมควร เพราะมันต้องผ่านการละกาม ละอกุศลธรรม ละนิวรณ์ 5 เข้าสู่สัมมาสมาธิ ผ่านอัปปมัญญาภาวนา ผ่านการเจริญวิปัสสนา ผ่านการเจริญสติปัฏฐาน 4 มาแล้ว ส่วนในองค์ความรู้ในโพชฌงค์ ๗ เป็นสิ่งไม่รู้จักในสมัยนั้น พอมาศึกษาจึงรู้ว่านี้เป็นทางตรัสรู้ และเคยทำเคยเจริญในสมัยนั้น
การเห็นสภาวะธรรมดาเกินไป นั่นก็เห็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เลือกที่จะเดินต่อ จนเข้าสู่การเห็นธรรมชาติ แต่การเกิดขึ้นมันเป็นลักษณะยัดใส่มือ คาดไม่ถึง เกินคาดถึง มาเร็ว เหมือนว่าไม่ได้ต้องการแต่เอาไปเถอะ เอาไปเถอะ ซึ่งในขณะเห็นธรรมชาติรู้สึกตกใจพอสมควร จนถึงกลับอุทานว่า “.......”
หลังจากอุทานชั่วแวบเดียว ร่างกายที่กำลังเอนตัวลงกลับมาทำมุม 90 องศา และค่อยๆหลับตาลง....
....................................
จบตอนที่ 2
มาฟังเหตุผลทำไมผมจึงถามเกี่ยวกับโคตรภูญาณ อริยะ และโพธิสัตว์ซ้ำๆ (ตอนที่ 2 สภาพจิตก่อนบรรลุเป็นอย่างไร)
https://ppantip.com/topic/39930357
....................
ก่อนจะอธิบายขณะเข้าถึง อยากจะอธิบายสภาพจิตก่อนบรรลุเสียก่อนครับ
สภาพจิตก่อนเข้าถึงมีสภาพเป็นกลาง ไม่เป็นด่างเป็นกรด หรืออาจเรียกได้ว่าไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่กระทบเข้ามาผ่านอายตนะ 12 ไม่ว่าเป็นกลางต่อวัตถุกาม ต่อบุคคล ต่อเหตุการณ์ ต่อปรากฏการณ์ เป็นกลางต่อสังขาร ต้องไม่มีอคติในจิตใจไม่ว่าต่อบุคคล ทรรศนะการเมืองการปกครอง แนวคิด ลัทธิ ศาสนา
จิตหรืออายตนะ ๖ มีสภาพอุเบกขา แต่ต้องไม่ใช่อุเบกขามีอามิส หรือไปหลงลูบคลำ/โมหะอุเบกขา เช่น ไปลูบคลำต่ออุเบกขาพรหมวิหาร อุเบกขาฌาน อุเบกขาในวิปัสสนาญาณ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความลูบคลำหรือไปหลงยึดมั่นสร้างทิฏฐิในทั้งปวงนี้ไม่อาจเข้าถึงธรรมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
อุเบกขาต้องไม่ใช่เพียงอารมณ์ ไม่ใช่เพียงความคิด แต่เป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปฏิบัติ เป็นอุเบกขาที่ประกอบด้วยปัญญา มีการตื่นรู้ทางอายตนะ คล้อยตามต่อสัจจะ ซึ่งสังเกตได้ง่ายๆ เพราะจะเป็นอุเบกขาที่มีความเปิดกว้าง เปิดกะโหลก มิใช่อุเบกขากะลาครอบหรือคับแคบ ตีบตัน ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
อุเบกขาที่พร้อมจะบรรลุมิใช่อุเบกขาที่ตั้งเด่ดุจแท่งเสาหินหรือแข็งกระด้าง แต่ต้องมีลักษณะคล้อยตามธรรมชาติที่ปรากฏ เรียกว่า เป็นอุเบกขาที่ความอ่อนความเบาแต่ไม่หวั่นไหว มีปัญญา เอื้อต่อการเรียนรู้สัจธรรม
อุเบกขาที่พร้อมบรรลุ จะเปิดทางสู่ความรู้ยิ่งกว่า การเจริญสติปัฏฐาน 4 จะเป็นทางสู่อุเบกขาที่พร้อมจะเข้าถึงธรรม การนั่งภาวนาอย่างเดียวแต่ไม่เจริญ สติปัฏฐาน 4 มิอาจบรรลุได้เพราะจะมีส่วนหลง เหมือนฤษี หรือผู้ปฏิบัติที่หลง เพราะฉะนั้น ขณะนั่งภาวนานั่งสมาธิต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔ ควบคู่กันไป มีสติรู้ตัว
นอกจากสภาพจิตที่มีอุเบกขา ทุกส่วนของมรรคต้องมีความพอดี พอเหมาะสม หรือทางสายกลาง เอาจริงๆทางสายกลาง พอเหมาะ พอดี เป็นสภาพที่เกิดขึ้นได้ยาก และเข้าใจได้ยากอยู่พอสมควร ซึ่งมันสังเกตได้อยู่ว่า เมื่ออยู่ในทางสายกลางมันจะประหารกิเลส ประหารอกุศล พร้อมที่จะไปสู่วิชชา วิมุตติ แต่เมื่อใดที่อยู่นอกทางสายกลาง อกุศล กิเลสตัณหามันจะเกิดขึ้น เจริญเติบโต เข้าสู่ทางสายกลางเพียงแวบเดียวสามารถประหารสังโยชน์ได้
“ทางสายกลางอย่างบริบูรณ์แท้จริง เป็นเรื่องมรรคจิต” เกิดขึ้นแวบเดียว แต่ในแวบเดียวนั้นมันจะเกิดความรู้ในธรรมชาติมากมายมหาศาล
หัวใจของการปฏิบัติต้องกำหนดรู้เท่าทันสภาวะที่เกิดขึ้นอันเป็นผลของการปฏิบัติ รวมถึงธรรมอันธรรมดาสามัญ มิฉะนั้น มันจะเข้าเสพทางอารมณ์จนเกิดการยึดถือ เหมือนสภาวะสมาธิ คนที่ไม่เคยสัมผัสเมื่อได้สัมผัสก็หลงแทบทุกคน เพียงไม่รู้ว่าหลงเพราะเข้าใจว่าสิ่งนั้นถูก มันคล้ายกับคนมีฌาน ได้สมาธิ ได้ญาณ ได้สิ่งวิเศษ แล้วมันเกิดความกลัวความทุกข์เมื่อสิ่งนั้นกำลังหายไป เป็นภวตัณหา บางคนเห็นผีเห็นวิญญาณได้ก็มุ่งดูผีดูวิญญาณอยู่ร่ำไป นั่นเป็นความหลง มิอาจยกระดับภูมิธรรมให้สูงไปกว่านี้ได้
ในสภาพจิตก่อนที่จะเห็นธรรมชาตินั้น ก็อยู่กับอุเบกขาไม่นาน ซึ่งผมเห็นว่า นี้มันมิใช่ที่สุดของการเจริญธรรม มิใช่สิ่งสูงสุด น่าจะมีอะไรที่ลึกกว่านี้ “เพราะเห็นว่าเป็นสภาวะธรรมดาเกินไป ” ที่ว่าธรรมดานี้เป็นมุมมองส่วนตัวในขณะนั้น แต่ถ้าเทียบกับหลักทฤษฎีนี้มันไม่ธรรมดาแล้ว เป็นสภาวธรรมที่อยู่สูงพอสมควร เพราะมันต้องผ่านการละกาม ละอกุศลธรรม ละนิวรณ์ 5 เข้าสู่สัมมาสมาธิ ผ่านอัปปมัญญาภาวนา ผ่านการเจริญวิปัสสนา ผ่านการเจริญสติปัฏฐาน 4 มาแล้ว ส่วนในองค์ความรู้ในโพชฌงค์ ๗ เป็นสิ่งไม่รู้จักในสมัยนั้น พอมาศึกษาจึงรู้ว่านี้เป็นทางตรัสรู้ และเคยทำเคยเจริญในสมัยนั้น
การเห็นสภาวะธรรมดาเกินไป นั่นก็เห็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เลือกที่จะเดินต่อ จนเข้าสู่การเห็นธรรมชาติ แต่การเกิดขึ้นมันเป็นลักษณะยัดใส่มือ คาดไม่ถึง เกินคาดถึง มาเร็ว เหมือนว่าไม่ได้ต้องการแต่เอาไปเถอะ เอาไปเถอะ ซึ่งในขณะเห็นธรรมชาติรู้สึกตกใจพอสมควร จนถึงกลับอุทานว่า “.......”
หลังจากอุทานชั่วแวบเดียว ร่างกายที่กำลังเอนตัวลงกลับมาทำมุม 90 องศา และค่อยๆหลับตาลง....
....................................
จบตอนที่ 2