การเจริญสติเพื่อเห็นความเกิดดับ ใช่แล้ว จากหยาบสู่ละเอียด จากกายสู่เวทนาสู่จิตสู่ธรรม โดยมีสติเห็นตามความเป็นจริง จะเห็นจริงได้ใจต้องประกอบด้วย สติ อุเบกขา พัฒนาการเห็นจริงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายเห็นจิตเกิดดับตามความเป็นจริง
เห็นเกิดดับ คือ เห็น ความรู้สึก วูบขึ้นมา ตั้งอยู่ ดับไป ซึ่งความเร็วประมาณเสี้ยวกระพริบตา 1 วินาทีต่อ 1 ขณะแล้วว่าง อีก1 วินาทีก็เกิดอีกดับไปอีกแล้วว่าง เป็นขณะ ๆ ๆ ต่อเนื่องกันไป เห็นได้แบบนี้จะแยกไม่ออก ว่าเป็นอารมณ์อะไร เพราะสักแต่ว่าเกิดขึ้นดับไป ผู้ใดเห็นการเกิดดับได้แบบนี้ ก็ไม่ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ เดินทางเองได้ เมื่อการเกิดดับสิ้นสุดลงถ้าอินทรีย์ไม่สม่ำเสมอก็จะเข้าสู่ฌาน ถ้าอินทรีย์สม่ำเสมอก็จะบรรลุธรรม
เห็นเกิดดับแบบนี้ เป็นเป้าหมายแห่ง วิปัสนา เห็นตามความเป็นจริงไม่เข้าไปพัวพัน ใครว่าไม่สำคัญ แต่ผู้ที่เห็นคงจะน้อยเลยไม่มีการสนธนากันแพร่หลาย การเกิดดับเลยถือเอาอนิจลักษณะมาพูดแทน ซึ่งอาจมีประโยชน์คือ ชักจูงอารมณ์ให้ไปประมาณเดียวกันคือปล่อยวาง ไม่พัวพัน แต่มันแค่เบื้องต้น
วิธีเข้าถึง ก็เห็นความเจ็บปวดขณะที่นั่งประมาณ1ชั่วโมง ดูไปอย่าให้จิตเฉไฉออกจากความรู้สึกนี้ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมเฉพาะความรู้สึกนี้ไม่ส่ายออกไป สักพัก จิตออกห่างความเจ็บปวดนั้นด้วยสติที่มาก ความเจ็บก็จะแตกยิบๆ ก็เฝ้าดูต่อไป ใจไม่ส่ายออกนอกเลย ความเจ็บปวดจะว่าเจ็บก็ไม่ใช่ จิตไม่แตะความเจ็บปวดนั้นแล้ว ขณะของมันจะช้าลง ๆ จนเหลือห่างกันประมาณ 1 วินาที ตอนนั้นจะแยกไม่ออกว่า จิตเกิดดับ หรือ ความเจ็บของร่างกาย เพราะเหลือแต่ความรู้สึกทางใจ นี่แหละความเกิดดับ เป็นขณะๆ เมื่อจิตดำรงอยู่แบบนี้ก็จะเกิดสมาธิ เมื่อสมาธิถึงระดับฌาน ถ้าอินทรีย์สม่ำเสมอก็สามารถได้ดวงตาเห็นธรรม
แต่บางคนก็ไม่เห็นนะ เพราะว่าความสงบมาดึงไปก่อน ไม่เห็นตามจริงเพียงพอที่จะประจักษ์ภาวะ เกิด ดับ ดังต้น แต่เมื่อถึงอัปนาสมาธิ ก็จะมีคุณค่าอย่างเดียวกัน คือ ไม่บรรลุธรรม ก็จะได้ฌาน
การเจริญสติ ก็เพื่อเห็นความเกิดดับ
เห็นเกิดดับ คือ เห็น ความรู้สึก วูบขึ้นมา ตั้งอยู่ ดับไป ซึ่งความเร็วประมาณเสี้ยวกระพริบตา 1 วินาทีต่อ 1 ขณะแล้วว่าง อีก1 วินาทีก็เกิดอีกดับไปอีกแล้วว่าง เป็นขณะ ๆ ๆ ต่อเนื่องกันไป เห็นได้แบบนี้จะแยกไม่ออก ว่าเป็นอารมณ์อะไร เพราะสักแต่ว่าเกิดขึ้นดับไป ผู้ใดเห็นการเกิดดับได้แบบนี้ ก็ไม่ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ เดินทางเองได้ เมื่อการเกิดดับสิ้นสุดลงถ้าอินทรีย์ไม่สม่ำเสมอก็จะเข้าสู่ฌาน ถ้าอินทรีย์สม่ำเสมอก็จะบรรลุธรรม
เห็นเกิดดับแบบนี้ เป็นเป้าหมายแห่ง วิปัสนา เห็นตามความเป็นจริงไม่เข้าไปพัวพัน ใครว่าไม่สำคัญ แต่ผู้ที่เห็นคงจะน้อยเลยไม่มีการสนธนากันแพร่หลาย การเกิดดับเลยถือเอาอนิจลักษณะมาพูดแทน ซึ่งอาจมีประโยชน์คือ ชักจูงอารมณ์ให้ไปประมาณเดียวกันคือปล่อยวาง ไม่พัวพัน แต่มันแค่เบื้องต้น
วิธีเข้าถึง ก็เห็นความเจ็บปวดขณะที่นั่งประมาณ1ชั่วโมง ดูไปอย่าให้จิตเฉไฉออกจากความรู้สึกนี้ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมเฉพาะความรู้สึกนี้ไม่ส่ายออกไป สักพัก จิตออกห่างความเจ็บปวดนั้นด้วยสติที่มาก ความเจ็บก็จะแตกยิบๆ ก็เฝ้าดูต่อไป ใจไม่ส่ายออกนอกเลย ความเจ็บปวดจะว่าเจ็บก็ไม่ใช่ จิตไม่แตะความเจ็บปวดนั้นแล้ว ขณะของมันจะช้าลง ๆ จนเหลือห่างกันประมาณ 1 วินาที ตอนนั้นจะแยกไม่ออกว่า จิตเกิดดับ หรือ ความเจ็บของร่างกาย เพราะเหลือแต่ความรู้สึกทางใจ นี่แหละความเกิดดับ เป็นขณะๆ เมื่อจิตดำรงอยู่แบบนี้ก็จะเกิดสมาธิ เมื่อสมาธิถึงระดับฌาน ถ้าอินทรีย์สม่ำเสมอก็สามารถได้ดวงตาเห็นธรรม
แต่บางคนก็ไม่เห็นนะ เพราะว่าความสงบมาดึงไปก่อน ไม่เห็นตามจริงเพียงพอที่จะประจักษ์ภาวะ เกิด ดับ ดังต้น แต่เมื่อถึงอัปนาสมาธิ ก็จะมีคุณค่าอย่างเดียวกัน คือ ไม่บรรลุธรรม ก็จะได้ฌาน