เช็กด่วน! 9 เดือนแรก
กองทุนไหนให้ผลตอบแทน 2 หลัก
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3778
ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้น-ตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 เผชิญกับความผันผวนค่อนข้างมาก จากปัจจัยลบปัญหาสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐ และจีน ซึ่งได้ขยายลุกลามไปทั่วโลก
การอ่อนค่าของเงินลีรา(สกุลเงินตุรกี)ที่สร้างความกังวลต่อภาวการณ์ลงทุนตลาดเกิดใหม่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ
ส่งผลกระทบกระแสเงินทุนไหลออก (Fund Flow) จากตลาดหุ้นไทย ซึ่งเห็นได้จากยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศ
Smart Invest สัปดาห์นี้ ชวนนักลงทุนมาเช็กสุขภาพกองทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 กองทุนประเภทไหนให้ผลตอบแทน 2 หลัก
@@@กองทุนน้ำมัน-เฮทธ์แคร์-อสังหาฯ
@@@ผลตอบแทนกระฉูด 2 หลัก
จากข้อมูลของ มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) พบว่า กองทุนประเภท Commodities Energy ให้ผลตอบแทนสูงถึง 27.75% ตามมาด้วย Global Health Care และ Property Indirect +12.83%, +10.83% ตามลำดับ
@@@ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทน0.21%
ส่วนกลุ่มกองทุนหุ้นไทยผลตอบแทน 9 เดือน แรกอยู่ที่ 0.21% และกลุ่มหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กแม้จะยังให้ผลตอบแทนติดลบแต่ก็ดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ -4.46%
ปัจจัยหนุนที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงให้ผลตอบแทนเป็นบวก มาจากการประกาศตัวเลข GDP ที่ดีกว่าคาด
และประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ เรื่องของความชัดเจนการประกาศวันเลือกตั้ง
@@@กองทุนหุ้นต่างประเทศอ่วม
ส่วนกองทุนหุ้นในตลาดต่างประเทศยังคงให้ผลตอบแทนติดลบเป็นส่วนใหญ่
นำโดย India Equity ที่ -15.32%
Emerging Market Equity -10.40%
Asia Pacific ex-Japan Equity -10.18%
ASEAN Equity -8.68%
China Equity -8.53%
Europe Equity -0.42%
ทั้งนี้ มีเพียงตลาดหุ้นในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีผลตอบแทนเป็นบวก
ส่วนการลงทุนในกองทุนประเภทตราสารหนี้ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียงเล็กน้อย นำโดย Money Market, Short Term Bond, และ Mid/Long Term Bond ที่ 0.67%, 0.64% และ 0.36% ตามลำดับ
ในส่วนตราสารหนี้ต่างประเทศอย่าง Emerging Market Bond และ กลุ่ม Global Bond นั้นยังให้ผลตอบแทนติดลบที่ -5.65% และ -2.06% ตามลำดับ
คงพอเห็นภาพของการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรก ชัดเจนว่า กองทุนไหนให้ผลตอบแทนอย่างไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อนาคตผลตอบแทนจะเป็นอย่างนั้นเสมอไป
เพราะผลตอบแทนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา และโอกาส
ไม่แน่กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในปัจจุบัน แนวโน้มในอนาคตอาจปรับตัวลดลง ขณะที่กองทุนที่ให้ผลตอบแทนติดลบ อาจพลิกกลับมาเป็นบวก
กองทุนน้ำมันที่ผลตอบแทนกลับมาโดดเด่น...หลังจากหลายปีที่ผ่านมาผลตอบจากการลงทุนติดลบ หลายคนถึงขั้นเข็ดขยาดทีเดียว
ไม่ต่างจากกองทุนทองคำ ที่ทุกวันนี้ ผลตอบแทนยังไม่กระเตื้อง ในมุมกลับกันก็อาจเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนบางท่าน ที่มีโอกาสได้ลงทุนในช่วงที่ราคาอยู่ในระดับต่ำ ดีกว่าไปลงทุนในช่วงที่ราคาวิ่งไปแล้ว
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมอง และความเข้าใจในสินทรัพย์ที่เราเข้าลงทุนในช่วงเวลานั้นๆ ขอให้มีความสุขกับการลงทุนครับ
เช็กด่วน! 9 เดือนแรก กองทุนไหนให้ผลตอบแทน 2 หลัก
กองทุนไหนให้ผลตอบแทน 2 หลัก
http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3778
ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้น-ตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 เผชิญกับความผันผวนค่อนข้างมาก จากปัจจัยลบปัญหาสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐ และจีน ซึ่งได้ขยายลุกลามไปทั่วโลก
การอ่อนค่าของเงินลีรา(สกุลเงินตุรกี)ที่สร้างความกังวลต่อภาวการณ์ลงทุนตลาดเกิดใหม่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ
ส่งผลกระทบกระแสเงินทุนไหลออก (Fund Flow) จากตลาดหุ้นไทย ซึ่งเห็นได้จากยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศ
Smart Invest สัปดาห์นี้ ชวนนักลงทุนมาเช็กสุขภาพกองทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 กองทุนประเภทไหนให้ผลตอบแทน 2 หลัก
@@@กองทุนน้ำมัน-เฮทธ์แคร์-อสังหาฯ
@@@ผลตอบแทนกระฉูด 2 หลัก
จากข้อมูลของ มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) พบว่า กองทุนประเภท Commodities Energy ให้ผลตอบแทนสูงถึง 27.75% ตามมาด้วย Global Health Care และ Property Indirect +12.83%, +10.83% ตามลำดับ
@@@ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทน0.21%
ส่วนกลุ่มกองทุนหุ้นไทยผลตอบแทน 9 เดือน แรกอยู่ที่ 0.21% และกลุ่มหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กแม้จะยังให้ผลตอบแทนติดลบแต่ก็ดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ -4.46%
ปัจจัยหนุนที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงให้ผลตอบแทนเป็นบวก มาจากการประกาศตัวเลข GDP ที่ดีกว่าคาด
และประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ เรื่องของความชัดเจนการประกาศวันเลือกตั้ง
@@@กองทุนหุ้นต่างประเทศอ่วม
ส่วนกองทุนหุ้นในตลาดต่างประเทศยังคงให้ผลตอบแทนติดลบเป็นส่วนใหญ่
นำโดย India Equity ที่ -15.32%
Emerging Market Equity -10.40%
Asia Pacific ex-Japan Equity -10.18%
ASEAN Equity -8.68%
China Equity -8.53%
Europe Equity -0.42%
ทั้งนี้ มีเพียงตลาดหุ้นในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีผลตอบแทนเป็นบวก
ส่วนการลงทุนในกองทุนประเภทตราสารหนี้ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียงเล็กน้อย นำโดย Money Market, Short Term Bond, และ Mid/Long Term Bond ที่ 0.67%, 0.64% และ 0.36% ตามลำดับ
ในส่วนตราสารหนี้ต่างประเทศอย่าง Emerging Market Bond และ กลุ่ม Global Bond นั้นยังให้ผลตอบแทนติดลบที่ -5.65% และ -2.06% ตามลำดับ
คงพอเห็นภาพของการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรก ชัดเจนว่า กองทุนไหนให้ผลตอบแทนอย่างไร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อนาคตผลตอบแทนจะเป็นอย่างนั้นเสมอไป
เพราะผลตอบแทนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา และโอกาส
ไม่แน่กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงในปัจจุบัน แนวโน้มในอนาคตอาจปรับตัวลดลง ขณะที่กองทุนที่ให้ผลตอบแทนติดลบ อาจพลิกกลับมาเป็นบวก
กองทุนน้ำมันที่ผลตอบแทนกลับมาโดดเด่น...หลังจากหลายปีที่ผ่านมาผลตอบจากการลงทุนติดลบ หลายคนถึงขั้นเข็ดขยาดทีเดียว
ไม่ต่างจากกองทุนทองคำ ที่ทุกวันนี้ ผลตอบแทนยังไม่กระเตื้อง ในมุมกลับกันก็อาจเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนบางท่าน ที่มีโอกาสได้ลงทุนในช่วงที่ราคาอยู่ในระดับต่ำ ดีกว่าไปลงทุนในช่วงที่ราคาวิ่งไปแล้ว
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับมุมมอง และความเข้าใจในสินทรัพย์ที่เราเข้าลงทุนในช่วงเวลานั้นๆ ขอให้มีความสุขกับการลงทุนครับ