พุทโธ จุ๊กรู๊ อรหันต์เต็มเบย!! เหตุไม่ควรมีคำบริกรรม

กระทู้นี้เป็นภาค 2  ต่อจาก  คณิกา และ อุจจาระ สมาธิ
  ตั้งใจอธิบายเอาไว้ให้  สำหรับ คนที่สงสัย ว่าเหตุใดไม่ควรมีคำบริกรรม
  ดีกว่าไปตอบว่า  "เพราะพระพุทธเจ้าไม่บัญญัติ"  คนฟังก็เลยยิ่ง งง  
  ก็ยังพากันเมาธรรมต่อไป

  นิทานสมมุติ....

  พระพุทธเจ้า :   เรากล่าวว่า อานาปานสติ  เป็นวิหารของตถาคต ทำให้มากเจริญให้มากเป็นเหตุให้ สติปัฐฐาน ๔ บริบูรณ์ - วิมุติ
  ภิกษุ :   หม่อมฉันสรรเสริญ พุทโธ  ว่าเป็นอุบายให้จิตสงบ  อานาปานสติ ยากไปสำหรับผู้เริ่มใหม่พระเจ้าข้า !!!
  พ :  แล้วจะสอนท่องพุทโธ อีกกี่วันถึงจะเรียกว่าเก่า เมื่อไรจะไปสอนให้เริ่ม อานาปานสติ กันซักที ?
  ภ :  ก็สอนจนกว่าหม่อมฉัน มรณะภาพ นั่นแหละพระเจ้าข้าาาา  อนึ่งครูบาอาจารย์สอนมา  เป็นอริยะเจ้ากันทั้งนั้น พระเจ้าข้าาาา
  พ :  ตะโพนอานกะ  มันตีปะผุ คำสอนเข้าไปใหม่ทุกยุคทุกสมัยจริง ๆ   อนึ่ง  ธรรมมีเกิดขึ้น ก็ต้องมีดับไป เสื่อมไป เป็นธรรมดา...
  ภ :  ..........


   เข้าเรื่อง.....
  
   พระพุทธเจ้ากล่าวย้ำเสมอว่า "อย่าประมาท"  ให้ทำ "ความเพียรเผากิเลส" , "มีใจเด็ดเดี่ยว"
   อะไรคือเรียกกว่า   "ทำความเพียรเผากิเลส"  ?    ............   อะไรคือกิเลส ?

   ต้องทำความเข้าใจตรงนี้กันก่อนนะ !!!
   กิเลสมันเป็นธาตุตามธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้ว จริงมั๊ย ?
   สิ่ง ๆ หนึ่ง ด้วยความไม่รู้ก็ "เข้าไปยึด" เข้าไปครองขันธ์  ตานี้เป็นของเรา... หูนี้เป็นของเรา แล้วก็ "ปรุงแต่ง"
   เมื่อมีผัสสะ เข้ามากระทบเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉย ๆ  เป็นกิเลส สร้างภพเพราะการปรุงแต่ง
   เพราะไปดึงเอา ธาตุตามธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วเข้ามา

   ดังนั้น การทำความเพียรเผากิเลส  คือการลด ละ เลิก การปรุงแต่งต่าง ๆ (ที่เกิดจากอายตนะไปกระทบ)
   "ขันธ์" ทั้ง ๕ ที่มีอยู่  ก็สร้างนิวรณ์ไปตามการปรุงแต่ง
    
    การฝึกทำความเพียรเผากิเลส  จึงต้องลดการใช้ขันธ์  ให้น้อยที่สุด (นิวรณ์)

    ขั้นหยาบ คือ ให้วิญญาณ ไปเกาะกับ  "รูป"   1+1 =  เหลืออยู่แค่ 2 ขันธ์
    ขั้นกลาง คือ ให้วิญญาณ "เพิก รูป"  เป็นอรูป = เหลืออยู่ขันธ์เดียว คือวิญญาณ ยังมีอยู่
    ขั้นสูงสุด คือ แม้นแต่วิญญาณ "ก็ไม่ยึด"  ( ผู้รู้  ผู้ดู  ผู้ถูกรู้  ผู้ถูกดู)

    เมื่อเข้าใจอย่างนี้เรา  ก็จะเห็นว่า
    -    ก็ต้องขอถามกลับว่า การท่อง พุทโธ  ใช้กี่ขันธ์ ??????

    ต่อ....
    คนเราเวลาทำสมาธิ โดยธรรมชาติเลย อย่างเช่นการทำอานาปานสติ จิตฟุ้ง เรารู้ว่าฟุ้ง
    จะเห็นได้ว่า เป็นการฝึกจับสัตว์ทั้ง ๕ ชนิด มาใส่กระด้ง  ต้องอาศัยความชำนาญ...ทำให้บ่อย
    นายพลานมือใหม่ย่อมจับสัตว์ไม่เก่ง   หรือ ห่างหายจากการจับสัตว์ไปนาน ก็ต้องมาซ้อมคล้องบ่วงบาศก์กันใหม่

    -    ทำ พุทโธ ที่ว่ากันว่าเป็นอุบายให้จิตสงบแล้ว  แปลว่าพอท่องแล้ว จิตแทบไม่ฟุ้งเลย  นิ่งเร็วมาก จริงหรือ ? คำถามที่ ๒


     เมื่อทำ อานาปานสติ สติปัฐฐานทั้ง ๔ จะบริบูรณ์ เป็นทางสายเอก  ทำความเพียรเผากิเลส อย่างไร ?
     ๑. เดี่ยวจิตกลับมา ที่รูป   สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น  
    (เมื่อได้ ๑ ที่เหลือจะค่อย ๆ ตามมาสัมปชัญญะบ้าง (ไม่ห่างจากฌาน) มองโดยความเป็นธาตุบ้าง มองร่างกายไม่สะอาดบ้าง
    
     ๒. เมื่อจิตสบาย ๆ รู้ลมตามความเป็นจริง เพียงอาศัยระลึก  เมื่อเวทนาเกิด  ก็เพียงอาศัยระลึก ว่าขันธ์เราเต็มไปด้วยกองทุกข์
  
     ๓.  ตรงนี้สำคัญ จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าไม่เป็น  จิตฟุ้ง ก็รู้ว่าจิตฟุ้  ไม่ใช่อาการไปพยายามเพ่ง (โดยมีความคิดที่ว่า ตรูจะเพ่งซ้อนเข้าไปอีก)

     ๔.  ทำ ๆ ไปแล้วขี้เกียจอยากเลิก เกิดนิวรณ์ ทนไม่ไหว  ให้รู้ว่ามีนิวรณ์  มี ถีนมิทธะ เข้าแทรก พอรู้อยู่อย่างนี้ มันก็ดับ (แล้วก็เกิดมาอีก)


      เอาแต่เพ่งคำบริกรรม จะไปรู้ ปัฐฐานทั้ง ๔ ได้อย่างไร ?



     ก็ถ้าในเมื่อทำ อานาปนสติ แล้วมันก็ฟุ้ง        ท่องคำบริกรรม ก็มีหลุดไปคิดเหมือนกัน   แล้วจะท่องทำเพื่อ ?   คำถามที่ ๓
    

       หากเหตุการเกิดแห่งการแตกนิกายเซ็น  เพราะพระกัสสะปะมองดอกบัว แล้วบรรลุเฉียบพลัน แล้วไซร์
       ( จริตความสามารถส่วนตัวพระองค์เดียว )
        เหตุแห่งสาย พุทโธ นิมิตรแสงสีเสียง มโนแล้วยุกยิก ๆลๆ  ก็เพราะเหตุแห่งเรื่องของ "นายช่างทอง"
        และ "นั่งถูผ้าขาว"    ไม่ต่างกัน   ที่เอาจริตความสามารถส่วนตัวของคนบางคน
        มาขยายประเด็น เผยแพร่ เห็นดีเห็นงาม  จะ"เลียนแบบ"จริตส่วนตัวนั้น ทั้งประเทศ........


        นี่ยังไม่นับเรื่อง อนิมิตร  ที่ไม่ค่อยชอบพูดถึงกันอีกนะ ใส่คียเวริดเข้าไป ผลการค้นหาออกมาเพียบบบบ
        ที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้....

        


        ส่วนตัวเชื่อว่า  ถ้าเป็นผู้เดินตาม คงไม่ทำตำราขาย  สร้างคำสอน ขึ้นมาเองในแบบฉบับของตน แข่งกับศาสดา
        ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่า ศาสดาสอนทำสมาธิแบบไหน

        ส่วนตัวเชื่อว่า โมฆบุรุษ ทั้งนั้น!!!      (ความเห็นส่วนตัวน๊ะจ๊ะ)



       ทิ้งท้ายไว้ว่าเหตุแห่งจิตไม่สงบ พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้แล้ว ๘ ประการ (ตรงนี้ไม่แน่ใจนะ ผมขี้เกียจไปค้น ลองหาดูเอาแล้วกัน)
       เป็นเหตุที่ท่านสอนเอาไว้ตรง ๆ เลย ว่าทำไมถึงไม่สงบ  เช่น ตื่นเต้น เพ่งมากไป ตั้งใจน้อยไป ๆลๆ.......
      
       ไม่เกี่ยวเลยกับท่องบริกรรมแล้วจะสงบเร็ว  คำสอนไปคนละทาง.....

        ท่อง ๆ ไประวัง พระพุทธเจ้ามาอนุโมทนา ยิ้มหวานนน  ให้เบย......



       ตั้งใจทิ้งกระทู้นี้เอาไว้ให้  อยากสงบ  แต่ผิดศีลซะแระ กลับมาตั้งกระทู้เฉยเบย ...
       กระทู้นี้  ก็แสลงหู  สำหรับคนที่ยึดในเรื่องพวกนี้ไปแล้วนะแหละ

       แต่ลองดูนะ  ถ้า ลมหายใจแผ่ว ๆ  ก็น่าจะอ่านแล้วเข้าใจ ...  (<<<จิ้ม)

       บาย.....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่