ทุกคนมีฌาน 1 ติดตัว แม้เวลาเพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว "ปัญหาของคำแต่งใหม่ บั่นทอนกำลังใจ มือเก่า และ มือใหม่"

เกริ่นนำเล็กน้อยว่า เมื่อคืนขณะกำลังฝึกหัดอิริยาบทนอนสีหไสยาสน์
นึกเรื่องนี้ขึ้นมาได้ ...
คิดว่าเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความความเข้าใจ และกำลังใจที่ดีให้แก่
ผู้เก่า และ ผู้ใหม่  แม้นไม่มีเวลามากนัก และบางท่านละเลย
เพราะสำคัญตนผิดว่าชาตินี้คงไม่มีวันได้ฌาน  
จึงควรมามาบอกเล่า สร้างกำลังใจ...

เป็นที่ทราบกันดี คำว่าขณิกสมาธิ  อุปจาระสมาธิ  อัปนาสมาธิ  ไม่มีอยู่ในพุทธวจนะ
มีอยู่แต่ในส่วนอรรถกถา  ถ้าจำไม่ผิดแม้แต่ในส่วนอรรถกถาบาลีก็ไม่มีด้วยซ้ำ
(ถึงจะจำผิดก็ไม่ใช่ประเด็นที่มากล่าวต่อ)  จึงขออ้างอิงพระสูตรที่ทุกคนรู้จักดีแล้วว่า..
" ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ "  
เหตุเพราะการบัญญัติใหม่ๆจะไม่สอดคล้อง เชื่อมโยงไปถึงพระสูตรอื่น ๆได้
ตัวอย่างเช่น ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ อัปนาสมาธิ ไม่สามารถโยงไปที่สูตรโพธิปักขิยธรรมได้แน่นอน
ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว

เข้าเรื่องเลย...      ไม่เชื่อมโยงอย่างไร  ทำลายอย่างไร ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจริญอานาปานสติ แม้นเวลาสูดดมของหอม,แม้นชั่วกาลลัดนิ้วมือ,แม้นช้างกระดิกหู
"เป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌาน"   ผมก็เคยคิดเหมือนคนอื่นในส่วนเดียวกันคือ
พจ.หมายถึงให้เราฝึกสร้างอุปนิสัย   แต่จากการที่พิจารณาตาม และทดลองลงมือปฏิบัติ กลับค้นพบว่า
"มันถูกแค่ครึ่งเดียว"   แท้ที่จริงแล้วเราควรพิจารณาไปที่นิวรณ์ ๕ ร่วมด้วย

ขณะที่สูดลมหายใจ แม้นเพียงชั่วลัดนิ้วมือ "สูดลมเข้าลึก ๆ ถ่ายลมออกสุด ตามรู้ลม ๑ วงรอบ"
(ขณะอ่านลองวางจิตว่าง ๆ แล้วทำตาม)  "นิวรณ์ ๕ ได้ดับไปแล้ว" ในเพียงแค่ชั่วขณะสูดลมของหอมนั้นเอง
ขณะนั้นเธอได้เจริญ มรรค มีองค์ทั้ง ๘ แปด เพราะความเพียรในขณะนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฐิ
ขณะนั้นเธอได้ออกจากกาม สัมมาวาจาเธอสมบูรณ์ สัมมากัมมันตะเธอถูกต้อง สัมมาอาชีวะ ๆลๆ  
ครอบถ้วนไล่เรียงกันมาเป็นสายโดยพร้อมเพรียงครบทั้ง ๘ ในขณะจิตเดียวกันนี้เอง...

ต้องเข้าใจว่าขณะที่นิวรณ์ ๕ ดับ ขณะนั้น "ได้ฌานที่เรียบร้อยแล้ว"  
เพราะเธอมีสติจดจ่ออยู่ในสิ่งตรงหน้าชั่วขณะหนึ่ง
เป็น"คนละประเด็น" กับการดับนิวรณ์ ๕ ได้ทั้งวัน หรือเป็นชั่วโมง-หลายชั่วโมง
เพราะนิวรณ์ทั้ง ๕ ก็เป็นอนัตตา มีเกิดขึ้นและมีดับไปไม่ได้คงทนถาวร

หากเข้าใจตรงนี้ จะเห็นว่าเพราะเหตุไร ท่านถึงตรัสว่าภิกษุทำเพียงเท่านี้
"ก็ขึ้นชื่อว่าไม่ฉันบิณฑบาตรของชาวแว่นแคว้นเปล่า"

จึงสามารถตอบปัญหาได้ตรงที่ว่า เหตุใดครั้งพุทธกาลบางท่านฟังธรรมจึงบรรลุ
ทั้ง ๆ ที่สมาบัติอะไรก็ไม่ได้กระทำ ตนกำลังทำไร่ไถนาเห็นพระพุทธองค์กำลังเดินผ่าน
เพียงแค่ได้สดับจึงเกิดดวงตาเห็นธรรม  เพียงแค่ชั่วสูดดมของหอม
และตอบปัญหาได้อีกข้อตรงที่ธรรมมะของพระพุทธองค์ ไม่เนิ่นช้า

เราไปดูข้อมูลประกอบเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จึงมาดูที่อานิสงค์อายุในพรหมโลก
ปฐมฌาน มีตั้งแต่อย่างอ่อน ๑/๓, อย่างกลาง ๑/๒, อย่างละเอียดมีอายุเท่ากับ   ๑   "กัป"
ทุติยฌาน  ก็ไล่ไปตั้งแต่ ๒ กัป ๔ กัป ๘ กัป ไปเรื่อย ๆ  จนกระทั่งถึงตติยฌาน(๓)

มากระโดดที่ตรงที่ ฌาน ๔ จตุตถฌาน ๕๐๐ กัป   จึงควรสะดุดใจ...
ทำไมอายุของพรหมกายิกาชั้น ๑ จึงน้อยนัก  ....
อายุของชั้นที่ ๒ ยากขึ้นมาอีกนิด แต่ก็ยังดูเล็กน้อยอยู่ดี...

จะมาติดกับดักก็ตรง ๓ หรือ ๔  ที่ขึ้นไปยากสุด ๆ
หากขึ้นไปได้ก็อาจจะมีอภิญญา
อานิสงค์จึงเยอะมาก อยู่ ๖๔ กัป ใน ตติยฌาน
และ ๕๐๐ กัป ในจตุตถฌาน  

หากจริงอย่างที่กระทู้นี้กล่าว ว่าฌานไม่ใช่ของยาก
"เป็นเรื่องที่ใคร ๆก็ทำได้" แค่สงบ และครบองค์ประกอบก็คือฌานแล้ว
เพียงแต่หากหวังฌานขั้นสูงในชั้นถัดไป ยากส์พระยะคะ แน่นอน....


อีกประการหนึ่งที่ควรประกอบในการพิจารณาว่าใคร ๆ ก็มีฌานได้
นั่นก็คือ การเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
กระทู้นี้จะเน้นไปที่ฌานขั้นปฐมฌานเท่านั้น จึงกล่าวแต่ส่วนของเจริญเมตตา
เพียงแต่มีจิตเจริญเมตตา ปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๕  
ก็ยังได้ไปบังเกิดยังพรหมกายิกาได้  เป็นฐานะที่จะเป็นได้

อีกประการหนึ่งอีก....  ทำทานโดยการวางจิตปราศจากความตระหนี่
ก็เป็นเหตุให้ได้กายเป็นพรหมกายิกา ชั้นที่ ๑


สิ่งเหล่านี้เพียงแค่วางจิต แป๊ป ๆ ชั่วสูดดมของหอม,ชั่วลัดนิ้วมือ,ช้างกระดิกหู,งูแลบลิ้น
เพียงเท่านั้น!!!





สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือ...  พระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ
ได้บำเพ็ญบารมีนั่งสมาธิมากี่อสงไขย กว่าจะได้มาตรัสรู้
เรื่องสมาธิ พระพุทธองค์ เก่งกว่าใครแน่นวล...
แสงสี นิมิตร นั่งสมาธิไปเห็นปีกาจู้ เห็นบอล เห็นรุ้ง ๆลๆ
ท่านย่อมเคยผ่านมาก่อน รู้แน่นวล แต่ทำไมท่านไม่เคยบัญญัติ?
ว่าเห็นปีกาจู้ ต้องเพ่งที่ที่ตามัน  จึงจะผ่านไปได้  ๆลๆ...

หรือว่า สมาธิก่อนขั้นปฐมฌานนะ จะมีขั้นย่อยก่อนนะ....

ท่านไม่สรรพพัญญูเพียงพออย่างนั้นหรือ ?

หากท่านเห็นมันสำคัญขนาดนั้น ท่านคงบัญญัติไปแล้ว
ก่อนปรินิพพานท่านยังพูดว่า ไม่มีอะไรในกำมือที่ท่านจะสอนอีกแล้ว..

แล้วก็เป็นอย่างที่เห็น เมือ่มีคนไปบัญญัติเพิ่ม ตามเว็บบอร์ด
-อิฉันได้ปฐมฌานรึยังอะคร๊าา....
-อย่างนี้เรียกว่าสมาธิ อุปจาระหรือยังคร้าา.....


ห่อเหี่ยวนะ  เห็นคนทำดีอยู่แล้วแต่ไม่รู้ตัว

ธรรมมะพระศาสดา เรียบ ง่าย ลัด สั้น ตรง
อะไรที่ท่านไม่สอน  คือเฉ เบี้ยว อ้อม หลง
ออกนอกทางทั้งนั้น .... ไม่มียกเว้นว่าคนกล่าวจะเป็นใคร ดังแค่ไหน
ธรรมะจึงกลายเป็นของยาก
นั่งสมาธิแล้ว งง ต้องวิ่งหาคนนู้น ต้องถามคนนี้วุ่นไปหมด



บั่นทอนกำลังใจแด่ผู้เก่า    และสร้างความหวาดหวั่นให้แด่ผู้ใหม่
ใครนั่งสมาธิ แล้วไม่เห็นนู่น ตื่นเต้นนี้  กลายเป็นคนไม่เก่ง





ผมก็เคยสงสัยลึก ๆ เรื่อง พวกนี้มานานแล้ว เรื่องขณิกะ อุปจาระ อะไรพวกนี้
ผ่านการพิจารณาธรรม และ สดับธรรม และลงมือทดลอง
ตอนนี้กระจ่างหมดแล้ว   ....

จบการกล่าวในส่วนของผมแล้ว  ไม่มีประเด็นจะแย้ง-ถกอะไรใคร
เชิญกล่าว แสดงความคิดเห็น-แย้งเต็มที่ครับ



-กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับทางวัดนา กรุณาอย่าเอาข้อความตัดแปะ หรือโจมตี ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ ควรสงบจิต สงบใจ แย้งแบบสุภาพชน ให้สมกับเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่